Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคขาดวิตามินอี (Vitamin E Deficiency), Pt, pt1, 22538727, 37805968,…
โรคขาดวิตามินอี (Vitamin E Deficiency)
ความหมาย
วิตามินอี เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน มีอยู่ด้วยกัน 8 ฟอร์ม แต่ละ
ฟอมร์จะทำหน้าที่และความแรงต่างกัน วิตามินอีในร่างกายที่มีความแรงมากที่สุดคือ Alpha-tocopherol ( tocopherol) วิตามินอีทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารอนุมูลอิสระเป็นสารที่เกิดจากการสันดาปหรือของเสียที่เกิดจากการผลิตพลังงาน สารอนุมูลอิสระเหล่านี้จะทำลายเซลล์ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคมะเร็ง จากการศึกษาพบว่าวิตามินอีจะลดการผลิตอนุมูลอิสระ และชะลอการเสื่อมของเซลล์ นอกจากนั้นวิตามินอี ยังมีส่วนในการสร้างภูมิคุ้มกัน การซ่อมDNA
อาการและอาการแสดง
โดยปกติจะไม่พบการขาดวิตามินอีจากการขาดสารอาหาร แต่มักพบจากความผิดปกติในการดูดซึมไขมัน เช่น การทำงานของตับ ตับอ่อน และลำไส้ผิดปกติ หรือมีโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคที่มีอาการผิดปกติของระบบประสาท (เดินเซ) ร่วมกับการขาดวิตามินอี (ataxia with vitamin E deficiency) นอกจากนี้ยังพบการขาดวิตามินอีได้ในทารกคลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ผู้ที่มีพังผืดจับในถุงน้ำดี (cystic fibrosis) รวมทั้งในผู้ที่ขาดเอนไซม์ กลูโคส-6-ฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนส (G-6-PD) ทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้ ซึ่งการขาดวิตามินอี ต้องใช้ระยะเวลานานจึงจะเริ่มมีสัญญาณการเกิดความเสียหายของระบบประสาทปรากฏขึ้น เช่น สูญเสียการรับสัมผัสและการตอบสนองต่อสิ่งเร้า สูญเสียความรู้สึกทางกาย กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีปัญหาเรื่องการกลอกตาและทรงตัวได้ยาก เป็นต้น ดังนั้นในผู้ที่ขาดวิตามินอีจึงควรได้รับการแก้ไข เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดความเสียหายดังกล่าว
สาเหตุและการติดต่อ
ส่วนใหญ่เกิดในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด(โดยเฉพาะน้ำหนักน้อยกว่า 1500 กรัม) เนื่องได้วิตามินจากแม่ไม่พอ
การได้รับยาบางชนิด เช่น ยาบำรุงโลหิตเสริมธาตุเหล็กประเภท
เฟอร์รัส ซัลเฟต สามารถทำลายวิตามินอีได้
การรับประทานอาหารแบบเดิมๆ ซ้ำๆ ไม่หลากหลาย ทำให้ได้รับวิตามินไม่ครบถ้วน เนื่องจากอาหารแต่ละเมนู แต่ละชนิด ต่างก็มีคุณค่าทางโภชนาการที่แตกต่างกัน ปริมาณสารอาหารและวิตามินที่อยู่ในอาหารที่รับประทานเข้าไปจึงไม่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ
ผู้ที่ไม่สามารถสร้างนำดี ทำให้ไม่สามารถดูดซึมไขมันได้
โรคทางพันธกรรม
การรักษา
ให้วิตามินอีตามปริมาณของผู้ป่วยที่ควรจะได้รับ
ผู้ใหญ่: รับประทาน 40-50 มิลลิกรัมต่อวัน
เด็ก: ทารกแรกเกิด รับประทาน 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) วันละครั้ง
เด็กอายุ 1 เดือน - 18 ปี รับประทาน 2-10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ต่อวัน สูงสุด 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม)
ผู้ป่วยที่สามารถดูดวิตามินซีได้เอง ก็สามารถรับประทานวิตามินอีได้ตามปกติ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถดูดซึมวิตามินอีได้ จำเป็นต้องให้วิตามินอีโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (วิธีนี้นิยมใช้ในทารกแรกเกิด)
การใช้ยาD-alphatocopherol (astocofersolan,Vitamin ETPGS) รูปแบบOral sol
รักษาภาวะการขาดวิตามินอี เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการดูดซึมและการย่อยไขมันบกพร่องในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรค chronic cholestasis ซึ่งเกิดจากพันธุกรรมหรือเป็นมาแต่เกิด ซึ่งมีอายุตั้งแต่แรกเกิด(new born)จนถึง 16 หรือ 18 ป
การใช้ยา Vitamin E รูปแบบEmulsion (hosp),syr
ใช้กับทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยหรือเกิดก่อนกำหนดเท่านั้น หรือใช้ป้องกันและรักษาภาวะขาดวิตามินอี ในทารกและเด็กที่มีปัญหาการย่อยไขมันและ/หรือการดูดซึมไขมันบกพร่องเท่านั้น
การพยาบาล
ประเมินภาวะขาดวิตามินอีของผู้ป่วยว่าอยู่ในระดับใด
สอบถามอาการของผู้ป่วยเพิ่มเติมที่บ่งบอกถึงอาการขาดวิตามินอี เช่น มีอาการท้องอืด หรือ อาการเดินเซ เป็นต้น
สอบถามถึงโรคประจำตัวของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือ ป้องกันการทำปฎิกิริยาร่วมกันระว่างยาที่รักษาโรคประจำตัวและวิตามินอี เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านไวรัส ยาเคมีบำบัดหรือยากดภูมิเป็นต้น ซึ่งผลที่ตามมาอาจทำให้ยาที่ใช้อยู่ไม่ได้ผล เกิดอาการเลือดออกผิดปกติ หรืออาการข้างเคียงอื่นๆ ได้
แนะนำการรับประทานอาหารที่ช่วยส่งเสริมการสร้างวิตามินอี เช่นน้ำมันพืช ไขมัน เนื้อสัตว์ นม ปลา จมูกข้าว ไข่ขาว ผักใบเขียว ถั่ว
แนะนำการเสริมสร้างวิตามินอีจากแหล่างอื่นๆ เช่นการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินอีเป็นส่วนประกอบ หรือใช้ครื่องสำอางที่มีวิตามินอีเป็นส่วนประกอบ
ให้วิตามินอีตามแผนการรักษาของแพทย์
การป้องกัน
ส่งเสริมการรับประทานอาหารที่มีแหล่งขิงวิตามินอี เช่น น้ำมันพืช ไขมัน เนื้อสัตว์ นม ปลา จมูกข้าว ไข่ขาว ผักใบเขียว ถั่ว
ควรเฝ้าระวังไม่ให้ผู้ป่วยที่เป็น renal failure อยู่ในภาวะขาดน้ำ
ในกรณีที่ผู้ป่วยบางรายขาดวิตามินอีอย่างหนัก อาจเสริมด้วยการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินอีเป็นส่วนประกอบ
อาจจะใช้ครื่องสำอางที่มีวิตามินอีเป็นส่วนประกอบ เช่น เครื่องสำอางสำหรับผิว โดยใช้วิตามินอีเป็นสารกันหืน ใช้เป็นสารให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ใช้ผสมในครีมกันแดด