Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่6 : การพยาบาลมารดา ที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด (ต่อ) - Coggle Diagram
บทที่6 : การพยาบาลมารดา ที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด (ต่อ)
Sheehan's syndrome
หมายถึง
เป็นภาวะที่พบในสตรีหลังคลอดที่มีประวัติตกเลือดอย่างรุนแรง ทำให้ต่อมใต้สมองขาดเลือด เซลล์บางส่วนตายไป เกิดภาวะต่อมใต้สมองทำงานได้น้อย (hypotuitarism)
ส่งผลให้ต่อมธัยรอยด์ ต่อมหมวกไตและรังไข่ซึ่งอยู๋ภายใต้การควบคุมของต่อมนี้ไม่ทำงานไปด้วย ทำให้มีอาการของต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ร่วมกับอาการขาดประจำเดือนและเป็นหมัน
อาการ
อ่อนเพลีย ทำงานเชื่องช้า คิดช้า ผิวหนังเหี่ยวหยาบแห้ง ความดันเลือดต่ำ ขนรักแร้และขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ร่ง ประจำเดือนไม่มา เป็นหมัน ขี้หนาว หน้าตาแก่เกินวัย วิงเวียน บางคนมีอาการเบื่ออาหาร ซูบผอม
การรักษา
ตรวจเลือด เอกซเลย์หรอตรวจพิเศษ
กินยาตลอดชีวิต สำหรับผู้ใหญ่ ขนาดที่ให้ 20mg/d หรือ 15mg/d ทุกเย็น
ในรายที่มีบุตร อาจต้องฉีดฮอร์โมนกระตุ้นเอสโตรเจนให้รังไข่ทำงาน
ภาวะเต้านมอักเสบและติดเชื้อ (Breast inflammation and infection)
หมายถึง
เต้านมคัดตึงมักพบได้ใน 3-4 วันหลังคลอด โดยมีอาการปวด บวมบริเวณเต้านม ซึ่งในขณะให้นมบุตร ท่อน้ำนมจะมีการเปิด เลือดที่มาเลี้ยงเต้านมมีปริมาณสูง เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
อาการ
อาการมักเกิดใน 3-4 สัปดาห์หลังคลอด
มีอาการหนาวสั่น
หัวใจเต้นเร็ว
ตรวจพบเต้านมแข็ง แดง อักเสบ มีอาการปวดมาก
บางรายมีหนอง
มีไข้สูง 38.3-40 องศาเซลเซียส
สาเหตุ
หัวนมแตก ถลอกหรือมีรอยแตก
ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ดูดไม่เกลี้ยงเต้า
ท่อน้ำนมอุดตัน
การป้องกัน
แนะนำและดูแลให้มารดาทำความสะอาดหัวนมอย่างถูกวิธี
แนะนำมารดาให้ทารกดูดนมให้วิธี โดยให้บุตรอมหัวนมให้มิดถึงลานนม
แนะนำมารดาให้เอาหัวนมออกจากปากให้ถูกวิธี
การรักษา
อธิบายมารดาและช่วยเหลือในการจัดท่าที่มารดาถนัด ในการให้นมบุตรให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้หัวนมแตกให้น้ำนมเกลี้ยงเต้า และป้องกันการอุดตัน ของท่อน้ำนม
ดูแลให้มารดาสวมเสื้อชั้นใน ที่เหมาะกับขนาดของเต้านมดูแลให้มารดาดูแลผิวหนังบริเวณเต้านม
อธิบายให้มารดารับทราบถึงภาวะเต้านมอักเสบ และแนวทางในการ รักษา เพื่อป้องกันภาวะติดเชื้อ
ควบคุมการติดเชื้อสำหรับมารดาและทารกเพื่อป้องกันการแผ่กระจายเชื้อและบันทึกประวัติของมารดาหลังคลอด รวมทั้งประวัติการให้ยา โดยเฉพาะการแพ้ยาในกลุ่ม penicillin
ดูแลให้มารดางดการให้นมบุตรเนื่องจากอาการติดเชื้อ
ในกรณีได้รับการผ่าเอาฝีออก ต้องงดการให้นมบุตรและอาจใช้วิธีปั๊มน้ำนมออกจนกว่า แผลจะหาย และสามารถให้นมบุตรได้ตามปกติเมื่อ ไม่มีผลข้างเคียง
ดูแลให้ประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นจัดอาบด้วยน้ำอุ่นหรือประคบด้วยความเย็นเพื่อให้เกิดลดความไม่สุขสบาย
ดูแลให้มารดาดื่มน้ำมากๆและพักผ่อนในกรณีที่มีไข้
ดูแลให้ได้รับยาAntibioticตามแผนการรักษา
ประเมินและบันทึกอาการไม่สุขสบายให้analgesic ตามความจำเป็น
การติดเชื้อหลังคลอด (postpartum infection / pureperal infection)
อาการ
มีไข้สูง อุณหภูมิสูงกว่า 38-40 องศาเซลเซียส
ปวดบริเวณท้องน้อย
น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น (Foul lochia)
มดลูกเข้าอู่ช้ากว่าปกติ (subinvolution)
พบเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น
การป้องกัน
ยึดหลัก standard precautions
ใช้เทคนิค Aseptic technique เมื่อต้องทำ การตรวจภายในในระยะรอคลอด
หลีกเลี่ยงการตรวจภายในโดยไม่จำเป็น
ล้างมืออย่างถูกวิธีก่อน-หลังการให้พยาบาลแก่ผู้ป่วย
ดูแล flushing ให้
แนะนำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์อย่างถูกวิธี แยกผู้ป่วยในกรณีที่มีการติดเชื้อ
การพยาบาล
Record V / S q 4 hr.
ดูแลให้ Bed rest
ดูแลให้ทำความสะอาดร่างกาย เพื่อลดการหมักหมมของเชื้อโรค
ดูแลให้เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ โดยถอดจากด้านหน้าไปหลังโดยเปลี่ยนทุก 3-4 ชั่วโมง
กระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่าง ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง แคลอรี่สูง ธาตุเหล็กสูงและอาหารที่มีวิตามินซีสูง เพื่อส่งเสริมการหายของบาดแผล
Force oral fluid
ดูแลประคบด้วยความร้อนหรือเย็นเพื่อบรรเทาปวด
Record Intake / Output
ประเมิน capillary refit , Skin turgor.
อธิบายแนวทางการรักษาของแพทย์ให้มารดาหลังคลอดและครอบครัวรับทราบดูแลพูดคุยให้กำลังใจ
แยกมารดาหลังคลอดในกรณีที่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง แต่สามารถให้อยู่ร่วมกันกับทารกได้
ดูแลให้ยาปฏิชีวนะยาแก้ปวดยาทำความสะอาดเฉพาะที่หรือยาแก้คลื่นไส้อาเจียนตามแผนการรักษา
ในกรณีที่มารดาหลังคลอดได้รับยาAntibioticsสามารถให้นมบุตรได้ตามปกติยกเว้นได้รับยาบางชนิดที่เป็นอันตราย เช่น Metronidazole (flagyl) , Acyclovir (Zovirax)
ในกรณีที่ไม่สามารถให้นมบุตรได้ต้องแนะนำให้นวดและบีบน้ำนมออกเพื่อป้องกันไม่ให้เต้านมคัดตึงและสามารถกลับมาให้นมบุตรได้
ดูแลเตรียมในการทำหัตถการ เช่น I&C ในกรณีที่มีรกค้างและ I&D ในกรณีเป็น Abscess parametritis
แบ่งออกเป็น
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
อาการ
มีไข้หลังคลอด หนาวสั่น
อาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด
การติดเชื้อระบบอวัยวะสืบพันธ์ุและแผลผ่าตัด
ภาวะแทรกซ้อน
เยื่อบุช่องท้องอักเสบ (peritonitis)
ฝีที่ช่องเชิงกราน (pelvic abscess)
ฝีบริเวณปีกมดลูก (parametrial phlegmon)
การติดเชื้อของปีกมดลูก (adnexal infection)
การติดเชื้อ septic pelvic thrombophlebitis
toxic shock syndrome
การวินิจฉัย
ตรวจร่างกายอย่างละเอียด
อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38-40 องศาเซลเซียส
หาสาเหตุด้วยการซักประวัติ
ตรวจทางห้องปฎิบัติการ
การติดเชื้อที่เต้านม
หมายถึง
การติดเชื้อแบคทีเรียของอวัยวะสิบพันธ์ุสตรีภายหลังคลอด
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยทางสูติศาสตร์
prolonged rupture of membrane
การฉีกขาดของช่องทางคลอด
การล้วงรก หรือเศษรก
ปัจจัยทั่วไป
การไม่ได้ฝากครรภ์
การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์
มีการอักเสบของมดลูกหรือปากมดลูกมาก่อน
ภาวะซีด
ภาวะทุพโภชนาการ
ประวัติโรคเบาหวาน
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
หมายถึง
ในระยะหลังคลอด สตรีหลังคลอดจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ ตลอดจนบทบาทหน้าที่ในการเลี้ยงดูทารกที่เกิดขึ้นมา หากสตรีหลังคลอดไม่สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ หรือมีการปรับตัวที่ไม่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้น อาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ในระยะหลังคลอดขึ้นได้ ซึ่งส่งผลทำให้มีอารมณ์แปรปรวน (Mood disorders) เกิดขึ้นได้
แบ่งออกเป็น
โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)
หมายถึง
โรคจิตหลังคลอดเป็นโรคที่พบได้ประมาณ 0. 1-0. 2% ของมารดาหลังคลอดแต่อาการมักรุนแรงโดยมักเริ่มเกิดอาการใน 48-72 ชั่วโมงหลังคลอดมีน้อยรายมากที่ไปเริ่มเกิดอาการหลัง 2 สัปดาห์แรกไปแล้ว
อาการ
มีความคิดและความหลงเชื่อผิดๆ (delusion)
ประสาทหลอน (hallucination)
นอนไม่หลับ
หงุดหงิดขี้รำคาญ (irritability)
ผุดลุกผุดนั่ง (restlessness)
มีอาการสับสน (confusion)
อารมณ์ซึมเศร้าหรืออารมณ์ที่ผิดปกติ
อารมณ์จะเปลี่ยนแปลงเร็วมีพฤติกรรมวุ่นวาย (disorganized behaviour)
การรักษา
จำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและจัดเป็นภาวะฉุกเฉินอย่างหนึ่งยาที่ใช้คือยาแก้โรคจิต (Antipsychotic drugs, เช่น Haloperidot 4-20mg / day) บางครั้งอาจให้ยาควบคุมอารมณ์เช่นลิเที่ยม (Lithium carbonate) หรือคาร์บามาซีพีน (Carbamazepine) ร่วมด้วยการใช้เครื่องรักษาด้วยไฟฟ้า (ElectroConvulsive therapy, ECT) ในกรณีที่ให้ยาลิเที่ยมแก่ผู้ป่วยควรงดป่วยควรงดการให้นมบุตรเพราะปริมาณลิเที่ยมที่ถูกขับออกมาทางน้ำนมมีความเข้มข้นค่อนข้างสูงไม่ปลอดภัยกับทารกแรกเกิด
โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)
หมายถึง
โรคซึมเศร้าหลังคลอดพบได้ค่อนข้างบ่อยคือประมาณ 10-15% ของมารดาหลังคลอด โดยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการในช่วงเดือนแรกหลังคลอดแต่มีในบางรายที่เริ่มเป็นตั้งแต่ยังไม่คลอด ลักษณะสำคัญที่ต่างจากภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดคืออาการรุนแรงจนรบกวนการดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่และการเลี้ยงดูทารกอาการเป็นอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์และ / หรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
อาการ
มีความวิตกกังวล (Anxiety)
อาการย้ำคิดย้ำทำ (Obsessionality)
มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย (Suicide)
รำพึงว่าตนทำอะไรผิดหรือทำบาปกรรมไว้ (Guilty rumination)
หมดเรี่ยวแรง (Low energy)
เบื่อหน่ายไปหมด (Anhedonia)
มีอารมณ์ซึมเศร้า (Depressed mood)
การรักษา
ทั่วๆไปโดยใช้ยาแก้ซึมเศร้าในขนาดที่เพียงพอเช่นแพทย์ทำการรักษาเหมือนโรคซึมเศร้ fluoxetine 20-40 mg / day, amitriptyline 50-250 mg / day และให้ต่อเนื่องไปนานประมาณ 6 เดือนในระหว่างให้ยาผู้ป่วยสามารถให้นมบุตรเนื่องจากมีการศึกษาแล้วว่าไม่มีอันตรายร้ายแรงกับทารกแรกเกิด
ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blues)
หมายถึง
เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุดคือประมาณ 30-75% ของมารดาหลังคลอดอาการของภาวะนี้ไม่รุนแรงและหายได้เองเนื่องจากหลังภายหลังการคลอดร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรลที่ลดลงทำให้เกิดความแปรปรวนทางอารมณ์ขึ้นได้
อาการ
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
กินไม่ได้นอนไม่หลับหรือกินมากนอนมากผิดปกติ (Appetite and sleep disturbance)
มีความวิตกกังวลไปหมดทุกเรื่อง (Generalized anxiety)
ร้องให้ง่าย (Tearfulness)
หงุดหงิดขี้รำคาญ (Irritability)
มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย (Mood lability)
อาการมักเริ่มเกิดในช่วงหลังคลอดวันที่ 2-3 และมีอาการมากที่สุดประมาณวันที่ 4-5 และมักหายภายในวันที่ 10 ในรายที่มีอาการอยู่นานจนเกิน 2 สัปดาห์หลังคลอดแล้วยังไม่หายควรได้รับการตรวจเพราะอาจเป็นโรคซึมเศร้าซึ่งมีอาการรุนแรงกว่าและต้องการการรักษาที่จำเพาะเจาะจง
ปัจจัย
อ่อนเพลียจากการอดนอน
ความวิตกกังวลในการเลี้ยงบุตร
ความไม่สุขสบายจากภาวะหลังคลอด
ความวิตกกังวลกลัวว่าสามีจะลดความสนใจลง
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์มีความกลัวและเครียดจากการคลอด
มีภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังคลอด
การลดระดับฮอร์โมนในร่างกาย
การรักษา
อาการมักไม่ค่อยรุนแรงและมักหายได้เองการรักษาก็เป็นเพียงการให้กำลังใจการให้ความมั่นใจ แต่ถ้าอาการไม่หายภายใน 2 สัปดาห์หลัง คลอดให้กลับมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยดูว่าเป็นโรคอื่นหรือไม่
ภาวะเศร้าโศก (Grief)
หมายถึง
เป็นภาวะตอบสนองภายหลังการสูญเสียภาวะเศร้าโศกมีหลายอารมณ์เช่นเศร้าวิตกกังวลโกรธรู้สึกผิดสูญเสีย (Loss) ภาวการณ์ขาดหรือแยกจากบุคคลหรือขาดบางสิ่งที่มีค่าอันยิ่งใหญ่
การสูญเสียวัตถุสิ่งของที่มีความสำคัญ
การสูญเสียบุคคลที่เป็นที่รักและมีค่าของตน
การสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองในบางด้าน
ปัจจัย
การคลอดบุตรตายคลอด
ความคาดหวังของมารดาและครอบครัว
ปฏิกิริยาตอบสนองต่อการสูญเสีย
ระยะที่ 1 ระยะปฏิเสธและแยกตัว (Denial and Isolation)
ระยะที่ 2 ระยะโกรธ (Anger)
ระยะที่ 3 ระยะต่อรอง (Bargaining)
ระยะที่ 4 ระยะซึมเศร้า (Depression)
ระยะที่ 5 ระยะยอมรับ (Acceptance)
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตนหลังคลอด
แนะนำให้สามีและญาติเข้าเยี่ยมอย่างใกล้ชิด
เปิดโอกาสให้มารดาหลังคลอดซักถามพูดคุยระบายความรู้สึก
ดูแลให้พักผ่อน