Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่9 การนำผลประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้ - Coggle Diagram
บทที่9
การนำผลประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้
หลักการในการนำผลประเมินไปใช้
มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กำหนดว่าในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใด ไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ให้จัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด
หากไม่ได้ดำเนินการดังกล่าวให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการอาชีวศึกษา หรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อดำเนินการใหม้ีการปรับปรุงแก้ไข
คณะกรรมการบริหาร สมศ. จึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามการนำผลประเมินไปใช้โดยมีวาระ 2 ปี โดยมีหน้าที่ติดตามและเร่งรัดหน่วยงานต้นสังกัด ในการนำผลประเมินไปกำหนดนโยบายและแนวทางในการพัฒนา คุณภาพมาตรฐานสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์ในการนำผลประเมินไปใช้
เพื่อให้หน่วยงานต้นสังกัดใช้ในการกำกับ ติดตามการนำผลการประเมินไปใช้และใช้ผลประเมินในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัด
เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการสร้างพลังขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาให้ได้มาตรฐานที่พึงประสงค์
เพื่อเป็นแนวทางให้สถานศึกษานำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
กรอบการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำผลประเมินไปใช้
สถานศึกษาที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ
สถานศึกษาจะต้องจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ ตามข้อเสนอแนะของกรรมการประเมินส่งหน่วยงานต้นสังกัดและ สมศ. ภายใน 30 วัน หากไม่มีการทักท้วงแผนพัฒนาคุณภาพจากหน่วยงานต้นสังกัด สถานศึกษาดำเนินงานแผนและขอรับการประเมินซ้ำได้ ภายใน 2 ปี
เกณฑก์ารรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของ สมศ.
เกณฑก์ารตัดสินผลการประเมินคุณภาพภายนอกด้านการอาชีวศึกษา
ผลรวมคะแนนของการประเมินของทุกตัวบ่งชี้มีค่าตั้งแต่ 70 คะแนนขึ้นไป
ผลรวมคะแนนการประเมินของกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน (1-13) มีค่าตั้งแต่ 42 คะแนนขึ้นไป
ผลการดำเนินงานอย่างน้อย 16 ตัว บ่งชี้มีค่าคะแนนตั้งแต่ ร้อยละ 50 ขึ้นไป
ต้องไม่มีตัวบ่งชี้ใดอยู่ในระดับคุณภาพ “ต้องปรับปรุง เร่งด่วน”
เกณฑก์ารตัดสินผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา
ผลประเมินระดับสถาบันได้คะแนนเฉลี่ยเป็นไปตามเกณฑ์ของตัวบ่งชี้ 1-11 มีค่า ตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป และคะแนนเฉลี่ยของตัวบ่งชี้ทุกตัวมีค่าตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป
สถาบันที่มีจำนวน 1-3 คณะ ทุกคณะต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
สถาบันที่มีจำนวน 4-8 คณะ มีคณะที่มีผลการประเมินคุณภาพในระดับ พอใช้ได้เพียง 1 คณะเท่านั้น
สถาบันที่มีคณะหน่วยงานเทียบเท่าจำนวน ตั้งแต่ 10 คณะขึ้นไป มีคณะ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานตั้งแต่ร้อยละ 90 ของจำนวนคณะทั้งหมด
เกณฑก์ารตัดสินผลการประเมินคุณภาพ ภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีผลการรวมคะแนนการประเมินคุณภาพภายนอกระดับสถานศึกษาตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป
มีตัวบ่งชี้อย่างน้อย 10 ตัวบ่งชี้จากทั้งหมด 12 ตัวบ่งชี้
ต้องไม่มีตัวบ่งชี้ใดอยู่ในระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
สถานศึกษาที่ผ่านการประเมินได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ
วางแผนและดำเนินการในการพัฒนาคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น การจัดทำแผนและการดำเนินการพัฒนาหน่วยงานต้นสังกัดระดับเขตพื้นที่/จังหวัด และผู้บริหารสถานศึกษา ต้องมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา
แนวปฏิบัติในกรณีที่สถานศึกษาได้รับรอง มาตรฐานและคุณภาพ
ในกรณีที่สถานศึกษาได้รับการรับรองมาตรฐานสถานศึกษาควรนำข้อเสนอแนะของผู้ประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้ประกอบในการวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป แผนการพัฒนาดังกล่าวเป็นแผนการดำเนินการภายในของสถานศึกษา
หน่วยงานต้นสังกัดควรติดตามผลการดำเนินการภายในของสถานศึกษา เพื่อติดตามว่าสถานศกึษานำข้อเสนอของผู้ประเมินคุณภาพภายนอกไปพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป
กรณีสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินตัวบ่งชี้ที่ 5 เรื่อง ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาซึ่งใช้ผลทดสอบระดับชาติ (O-NET) ให้สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาส่งหน่วยงานสังกัดและ สมศ. และเมื่อผลทดสอบระดับชาติ(O-NET) ในปีต่อไปผ่านเกณฑ์การประเมินของ สมศ. ให้สถานศึกษาทำหนังสือแจ้งผลการทดสอบระดับชาติ(O-NET) ให้หน่วยงานต้นสังกัดรับรอง และแจ้ง สมศ. เพื่อการตรวจสอบและรับรองผลการประเมินคุณภาพภายนอกโดยไม่ต้องให้ คณะกรรมการประเมินภายนอกประเมินซ้ำ
สมศ. จะทำการติดตามสถานศึกษา โดยการสุ่มตรวจสถานศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน โดยแบ่งสถานศึกษาออกตามประเภท สังกัด และขนาด
การดำเนินงานปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของสมาชิกในสถานศึกษานั้นๆ โดยเฉพาะผู้บริหาร สถานศึกษาต้องเป็นผู้นำ
การดำเนินงานการนำผลประเมินไปใช้ของสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัดและ หน่วยงานระดับนโยบาย
หน่วยงานต้นสังกัดแต่ละแห่งต้องมีระบบและกลไกการติดตามการนำผลการประเมินไปใช้ที่ชัดเจน เพื่อให้การดำเนินงานภายในมีช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และมีหน่วยงานรับผิดชอบที่จะประสานงานกับหน่วยงานภายนอกได้
การนำผลประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้ในมิติอื่นๆ
มิติด้านวิชาการ
บุคลากรทางการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ฐานข้อมูลคุณภาพสถานศึกษาทุกระดับในประเทศ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล ติดตามการดำเนินงาน เฉพาะเรื่องที่เป็นนโยบายด้านการศึกษา
มิติการเป็นเครื่องมือของรัฐบาล
หน่วยงานระดับชาติและรัฐบาล ใช้ผลการประเมินอภิมานคุณภาพภายนอกในการกำหนดนโยบาย วางแผน และจัดสรรงบประมาณให้กับการศึกษา และการจัดกลุ่มข้อมูล
มิติด้านคุ้มครองผู้บริโภค
ผู้บริโภค ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้เรียน ใช้เป็นข้อมูลรายงานผลการประเมินของ สมศ. ประกอบการตัดสินใจเลือกสถานศึกษาจะเข้าเรียน ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านการอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา