Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรีรวิทยาของการคลอดรกและการทำคลอดรก การตรวจรก, ที่มา (เพิ่มเติม) :…
สรีรวิทยาของการคลอดรกและการทำคลอดรก การตรวจรก
สรีรวิทยาของการคลอดรก
1. กลไกการลอกตัวของรก
การลอกตัวของรก (Placenta separation)
อาศัยการหดรัดตัว (Contraction) และคลายตัว (Retraction) เป็นระยะๆ ของกล้ามเนื้อมดลูกส่วนบน
ภายหลังทารกคลอดออกมา ทำให้ผนังมดลูกหนาขึ้นและโพรงมดลูกจะมีขนาด เล็กลงมาก ในขณะที่รกยังมีขนาดเท่าเดิมทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างพื้นที่ของรก และพื้นที่ของผนังมดลูก เป็นผลให้เกิดการดึงรั้งและฉีกขาดของหลอดเลือดที่ผนังมดลูกบริเวณที่รกเกาะ เลือดจะไหลซึมอยู่ข้างหลังรก เรียกว่า retroplacental bleeding
การลอกตัวนั้นเกิดที่ซั้น spongiosa และ decidua เมื่อมดลูกหดตัวต่อไปเรื่อยๆจะ ทำให้รกลอกตัวออกจากผนังมดลูกและเลื่อนจากมดลูกส่วนบนลงมาที่มดลูกส่วนล่าง และลงมาอยู่ในช่องคลอด
น้ำหนักของรกจะถ่วงให้มีเยื่อหุ้มทารกค่อยๆแยกตัวออกจาก decidua และมีถูกขับตามออกมาจนใน ที่สุดรกจึงมีการลอกตัวอย่างสมบูรณ์
กลไกการควบคุมการตกเลือด
กล้ามเนื้อยังคงมีการหดรัดตัว (Contraction) และคลายตัว (Retraction)
การแข็งตัวของเลือดในเส้นเลือด (Clotting of blood)
การคลอดรก
ระยะที่ 1
รกผ่านจากโพรงมดลูก ภายหลังจากรกลอกตัวได้หมดแล้ว รกจะยังด้างอยู่ภายในโพรง มดลูก จนกระทั่งกล้ามเนื้อมดลูกมีการหดรัดตัวครั้งต่อไป
ระยะที่ 2
รกคลอดออกมาภายนอก
อาศัยธรรมชาติ
ผู้ทำคลอดให้ความช่วยเหลือด้วยวิธีต่าง ๆ
หลังเด็กคลอด มดลูกมีฃนาดแบนใหญ่เพราะมีรกที่ยังไม่ลอกตัวค้างอยู่ภายในระดับของยอดมดลูก จะอยู่ตํ่ากว่าระดับสะดือเล็กน้อย
รกลอกตัวสมบูรณ์แล้ว และเคลื่อนลงมาอยู่ในส่วนล่างของมดลูก ถ่างบริเวณที่ย่นยู่ให้โป่งออก และดันให้มดลูกส่วนบน ซึ่งจะมีฃนาดเล็กลงให้ลอยสูงขึ้นไปเหนือระดับสะดือและอยู่ค่อนไปทางขวา
รกคลอดออกมาแล้ว มดลูกจะกลมเล็กลงและตำแหน่งอยู่ตํ่ากว่าสะดือประมาณ 2 นิ้วมือ
2. ชนิดของการลอกตัวของรก
2.1.
Schultze’s method
พบประมาณ 70% ของการลอกตัวทั้งหมด การลอกตัวของรก จะเกิดขึ้นตรงกลางของรก ทำให้มีเลือดออกอยู่ด้านหลังรก (Retroplacental bleeding) จึงทำให้ไม่มี เลือดออกมาให้เห็นทางช่องคลอด (Vulva sign) ซึ่งมีลอกตัวได้สมบูรณ์เร็วขึ้นลักษณะที่เห็นขณะรกคลอด จะเห็นรกด้านทารก (Fetal surface)
2.2.
Matthews duncan’s method
การลอกตัวของรกจะเกิดขึ้นโดยเริ่มที่บริเวณริมรกก่อนส่วนอื่น และเลือดที่เกิดจากการฉีกขาดของผนังมดลูกจะไหลซึมออกมาภายนอก (Vulva sign) ในระหว่างที่การลอกตัว ยังไม่สมบูรณ์ การลอกตัวชนิดนี้ไม่มืเลือดผ้เงอยู่ที่หลังรกที่จะช่วยในการลอกตัวของรก ดังนั้นจึงทำให้รกลอกตัว ได้สมบูรณ์ข้ากว่าชนิดแรก พบประมาณ 30% ของการลอกตัวทั้งหมด
3. การควบคุมการเสียเลือด
เมื่อรกลอกตัวและคลอดออกมาแล้ว จะมืแผลเกิดขึ้นที่ผนังมดลูก ซึ่งเป็นบริเวณที่รกเคยเกาะอยู่ เรียก Placental site จึงมืเลือดออกจากรอยแผลนี้
4. อาการแสดงว่ารกลอกตัว
4.1.
Uterine sign
การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของมดลูก จะมีการเปลี่ยนแปลงของมดลูกภายหลังจากรกลอกตัวแล้ว มดลูกหดตัวแข็ง เปลี่ยนรูปร่างจากแบนเป็นกลม มดลูกจะดันมาข้างหน้า คลำบริเวณ Fundus จะได้ขอบเขตซัดเจนและจะ เห็นมดลูกเอียงไปทางขวามือ
4.2
Cord sign
การเคลื่อนตํ่าของสายสะดือ จะมีการเคลื่อนตํ่าฃองสายสะดือประมาณ 8 - 10 ซม. สายสะดือจะเหี่ยวและไม่มี Pulsation เมื่อโกยมดลูกส่วนบนขึ้นไปสายสะดือจะไม่ตามขึ้นไป
4.3
Vulva sign
การมีเลือดออกทางช่องคลอด มีเลือดไหลออกให้เห็นทางซ่องคลอด ประมาณ 50 ซีซี. อาการนี้แสดงให้ทราบ ว่ารกมีการลอกตัว แต่รกอาจจะยังลอกตัวไม่สมบูรณ์ ในรายที่รกลอกตัวแบบ Matthews duncan จะเห็น เลือดออกทางซ่องคลอด แต่ในรายที่รกลอกตัวแบบ Schultze จะไม่มีเลือดออกมาให้เห็น
การทำคลอดรก (Placenta expulsion)
ให้คลอดเองตามธรรมชาติ
โดยให้มารดาเบ่ง (bearing down effort)
1.1 ภายหลังตรวจพบว่ารกลอกตัวสมบูรณ์แล้ว ผู้ทำคลอดใช้มือซ้ายคลึงมดลูกให้แข็งแล้วจับมดลูก เลื่อนจากด้านขวามาอยู่ในแนวกลาง จับมดลูกให้อยู่ในอุ้งมือ มือขวาจับสายสะดือไว้
1.2 ให้มารดาเบ่ง เมื่อรกผ่านซ่องคลอดออกมาใช้มือขวารองรับรกไว้ มือซ้ายโกยมดลูกส่วนบนขึ้นเพื่อ เป็นการช่วยรั้งให้เยื่อหุ้มทารกที่เกาะอยู่บริเวณส่วนล่างของมดลูกมีการลอกตัว มือขวาที่รองรับรกไว้หมุนรกไปรอบ ๆ ทางเดียว เพื่อเป็นการช่วยให้เยื่อหุ้มทารกลอกตัวได้ดีฃึ้น และไม่ขาดจากกันได้ง่าย ถ้ามือเดียวทำไม่ถนัดก็ใซ้สองมือจับรกหมุน
วิธีการทำคลอด
Modified crede’maneuver
โดยผู้ทำคลอดใช้มือขวาจับยอดมดลูกคลึงมดลูกให้แข็งตัว จับมดลูกให้มาอยู่กลางหน้าท้อง ใช้อุ้งมือดันมดลูกส่วนบนลงมาหาปุ่มกระดูก Sacrum เมื่อรกผ่านช่องคลอดแล้ว 2/3 ของรก ใช้มือซ้ายรองรับรกไว้หมุนไปทางเดียวกันเพื่อให้เยื่อหุ้มเด็กลอกตัวได้ดี ส่วนมือขวาที่ดันยอดมดลูกให้เปลี่ยนมากดตรงหัวเหน่าดันมดลูกขึ้นไปเพื่อช่วยให้เยื่อหุ้มทารกคลอดออกมา
Brandl Andrew maneuver
ใช้มือขวากดที่ท้องน้อยเหนือกกระดูกหัวเหน่ากดลงข้างล่าง เพื่อผลักรกที่อยู่ส่วนล่างของมดลูกและในช่องคลอดให้คลอดออกมาที่ปากช่องคลอดโดยมือซ้ายจับสายสะดือไว้เฉยๆ จากนั้นมือขวาเปลี่ยนจากกดลงเป็นดันมดลูกขึ้นไปเพื่อรั้งให้เยื่อหุ้มทารกคลอดออกมา
Controlled Cord traction
การทำคลอดรกโดยการดึงสายสะดือเพื่อให้รกคลอดออกมาก่อนทำคลอดรกทุกครั้งต้องตรวจสอบการลอกตัวของรกว่ามีการลอกตัวสมบูรณ์แล้วและคลึงมดลูกให้แข็งก่อนทำคลอดรกทุกครั้งเพื่อป้องกันภาวะมดลูกปลิ้น
การตรวจรกเมื่อรกคลอด
ตรวจว่ารกและเยื่อหุ้มทารกคลอดครบหรือไม่ถ้าค้างอยู่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน
ตรวจลักษณะต่อไปนี้
1.การเกาะของสายสะดือบนรก
Central insertion
Lateral insertion
Membranous insertion
Marginal insertion
2.การตรวจรกด้านทารก
การกระจายเส้นเลือดจากสายสะดือ
วงสีขาวรอบรก
3.การตรวจเยื่อหุ้มทารก
Amnion
Chorion
4.การตรวจรกด้านแม่
Cotyledon
5.ตรวจสายสะดือ
1.จำนวนหลอดเลือดในสายสะดือ
2.ความยาวสายสะดือ
3.ปม (Knot)
True knot
False knot
4.เนื้อตายของรก (Infarction) และหินปูน (Calcification)
5.รอยบุ๋มบนผิวรก
ที่มา
(เพิ่มเติม) : อุตม์ชญาน์ อินทเรืองและศีตรา มยูฃโชติ. (2558).
การเปลี่ยนแปลงทางสรีวิทยาในระยะคลอด
. จากเว็บไซต์ :
https://administer.pi.ac.th/uploads/eresearcher/upload_doc/2016/academic/1452168934153843001489.pdf
. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2563.
นางสาวณัฐทริกา อัตถะเรือง เลขที่ 44 รหัสนักศึกษา 612401045