Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะช็อก สัตว์กัดต่อย แผลไหม้ การแพ้อย่างรุนแรง - Coggle Diagram
ภาวะช็อก สัตว์กัดต่อย แผลไหม้ การแพ้อย่างรุนแรง
ภาวะช็อก ( Shock )
หมายถึง ภาวะที่ร่างกาย หรือเนื้อเยื่อต่างๆได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างความ ต้องการ และปริมาณออกซิเจนที่เลือดนำไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ
อาการแสดง
กระสับกระส่าย
ซีด
ตัวเย็น
เหงื่อออก
ชิพจรเบาเร็ว
กระหายน้ำ
อ่อนเพลีย
จะเป็นลม
อาเจียน
ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออกเลย
หายใจเร็วถี่ขึ้น ไม่สม่ำเสมอ
หมดสติ
การรักษาเบื้อต้น/ส่งต่อ
ประเมินความรู้สึกตัว ABCs
ให้นอนราบยกขาสูงขึ้น 10-20 นิ้ว เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดจากส่วนปลายกลับสู่หัวใจ และเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมอง
ให้ออกซิเจนและให้ความมอบอุ่นแก่ร่างกาย
ให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำ เพื่อรักษาสัญญาณชีพควรให้สารน้ำที่มีความเข้มข้นใกล้เคียงกับเลือด (isotonic solution) เช่น NSS, Lactated Ringer’s solution ไม่ควรให้สารน้ำที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าเลือด เช่น 5% D/W
ให้งดน้ำและอาหารทางปาก
ใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้เพื่อดูปริมาณปัสสาวะ
แก้สาเหตุของการช็อก เช่น ถ้าเสียเลือดจากบาดแผลทำการห้ามเลือด
ส่งต่อไปสถานบริการที่มีความพร้อม
การแพ้อย่างรุนแรง
( Anaphylaxis )
หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นฉับพลัน และเป็นอันตรายต่อชีวิต เกิดจากปฏิกริยาภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อสิ่งแปลกปลอม ซึ่งเคยเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อสิ่งแปลกปลอม ซึ่งเคยเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมาก่อนแล้ว ( sensitized ) โดยอาจมีอาการเฉพาะที่ ( local ) หรือมีอาการทุกระบบ (systemic) ก็ได้
การรักษาเบื้อต้น/ส่งต่อ
ประเมินความรู้สึกตัว, ABCs
ถ้าระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตหยุดทำงานให้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพ (cardiopulmonary resuscitation)
ให้ adrenaline 1:1000 ขนาด 0.30 - 0.5 ml IM, IV ในเด็กให้ 0.01 ml / kg / dose ( ตาม standing order )
ให้ออกซิเจน
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำโดยใช้ isotonic solution เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตต่ำลงหรือช็อก และเป็นการเปิดเส้นเลือดไว้สำหรับฉีดยา
ให้ยาแก้แพ้
ถ้ามีอาการ bronchospasm หรือ laryngeal edema ให้ยาพ่นขยายหลอดลม ( ตาม standing order )
ส่งต่อไปสถานบริการที่มีความพร้อม
อาการแสดง
ผื่นคันตามร่างกาย หน้าแดง ตัวแดง
ไอจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล น้ำตาไหล เสียงแหบ
ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม อ่อนเพลีย เป็นลม
การรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง
ช็อก เป็นลม หมดสติ เสียชีวิต
สัตว์กัดต่อย
คนกัด
(Human bite)
หมายถึง การบาดเจ็บที่เกิดจากการต่อสู้กัน การทำร้ายร่างการ หรืออาจพบในผู้ที่มีความผิดปกติในระหว่างมี เพศสัมพันธ์ บาดแผลคนกัด จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าสัตว์อื่นเพราะในปากคน มีเชื้อโรค มากมาย
อาการแสดง
บาดแผลเหวอะหวะบริเวณใบหน้าหรือบริเวณใดที่มีขนาดกว้าง สกปรกมาก และคิดว่าไม่สามารถจะให้การดูแลรักษาเองได้(ฉุกเฉิน)
มีบาดแผลเล็กน้อย และไม่ใช่ตำแหน่งที่ทำให้เกิดการเสียโฉม เช่น ที่ใบหน้า (สามารถรักษาได้)
การรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ
ฉุกเฉิน
ประเมินสัญญาณชีพ ซักถามประวัติเกี่ยวกับการได้รับบาดแผล เช่น สุขภาพของผู้ที่กัด ระยะเวลาที่ถูกกัด การรักษาที่ได้รับ
ให้การดูแลบาดแผล
ให้ยาป้องกันบาดทะยัก (ตามแนวทางมาตรฐาน)
ส่งต่อไปสถานบริการที่มีความพร้อม
สามารถรักษาได้
ให้การดูแลบาดแผล ล้างด้วย NSS จำนวนมาก ตัดแต่งเนื้อตาย เอาเศษสิ่งสกปรกออก
ไม่ควรเย็บทันที ยกเว้นบาดแผลที่ใบหน้าที่ไม่เหวอะหวะ ช้ำ หรือสกปรกมาก อาจจะเย็บได้เพราะต้องการความสวยงาม ลดรอยแผลเป็น และใบหน้าเป็นตำแหน่งที่มีเลือดมาเลี้ยงมากจึงมีโอกาสติดเชื้อต่ำ
ให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อ เช่น amoxicillin หรือ dicloxacillin
ให้ยาป้องกันบาดทะยัก (ตามแนวทางมาตรฐาน)
นัดตรวจติดตามการรักษา
งูกัด (Snake bite)
งูแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
งูมีพิษ
งูที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา
งูที่มีพาต่อระบบเลือด (hematotoxin) ได้แก่ งูกะปะ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้
งูที่มีพิษต่อระบบกล้ามเนื้อ (myotoxin) ได้แก่ งูทะเลบางชนิด เช่น งูคออ่อน งูชายธง งูแสมรัง
งุูไม่มีพิษ
เช่น งูแม่ตะง่าว งูปล้องฉนวนหลังเหลือง งูเห่ามังหรืองูแส้ม้า งูดอกหมากแดง งูทางมะพร้าว (งูปล้องไฟ) งูเหลือม งูหลาม งูปากจิ้งจก งูลายสาบ งูลายสอ งูก้นกบ งูงอด งูปี่แก้ว งูแสงอาทิตย์
อาการแสดง
งูที่มีพิษต่อระบบประสาทกัด
มึนงง เวียนศีรษะ หนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น
ขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ขึ้น อ่อนเพลีย หมดแรง กระวนกระวาย
หายใจลำบาก
หมดสติ
ตาย
งูที่มีพิษต่อระบบกล้ามเนื้อกัด
ปวดเมื่อยตามแขนขา ลำตัว เอี้ยวคอลำบาก
กลอกตาไม่ได้
กล้ามเนื้ออักเสบรุนแรง
ระบบปัสสาวะล้มเหลว (ปัสสาวะเป็นสีน้ำโค้ก)
ระบบหายใจล้มเหลว
งูที่มีพิษต่อระบบเลือดกัด
ปวดมาก บวมมาก
มีเลือดออกจากแผล เหงือก ไรฟัน ริมฝีปาก
มีจ้ำเลือด
มีปัสสาวะเป็นเลือด
กระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตลดต่ำลง
ปวดท้อง แน่นหน้าอก
หมดสติ
งูไม่มีพิษกัด
อาจจะมีอาการปวด บวม
มีเลือดออกไม่มาก
ผู้ป่วยไม่มีอาหารผิดปกตึอื่นใดที่ชัดเจน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เม็ดเลือดขาวสูงได้ตั้งแต่ 10,000-20,000 ตัวต่อลบ.ซม.
แรกรับค่าฮีมาโตคริตจะสูง ต่อมาฮีมาโตคริตจะต่ำได้
เกล็ดเลือดจะต่ำ
ผลการตรวจอย่างอื่น
fibrinogen degradation product (FDP) สูง
ตรวจปัสสาวะจะพบเม็ดเลือดแดงและ granular cast
ถ้าได้รับพิษงูทะเลจะมีปัสสาวะดำจาก hemoglobinuria และ myoglobinuria ตรวจหาระดับ serum potassium SGOT SGPT CPK จะสูง
ปฐมพยาบาล
ผู้ถูกงูกัด
ทำความสะอาดแผลที่ถูกงูกัดด้วยยาฆ่าเชื้อเช่น แอลกอฮอล์หรือทิงเจอร์ไอโอดีน
ไม่ควรเอาใบไม้ รากไม้ หรือสมุนไพรต่าง ๆ มาใส่แผล เพราะจะทำให้แผลสกปรก เกิดการติดเชื้อ และอาจเป็นบาดทะยักได้
ตำแหน่งขาหรือแขนที่ถูกกัดควรให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด โดยใช้ไม้กระดานหรือกระดาษแข็งๆ รองหรือดามไว้
ห้ามดื่มของมึนเมาหรือกินยากลางบ้าน เนื่องจากอาจเกิดการสำลักและอาเจียน หรือปิดบังอาการหรืออาการแสดงที่เกิดจากพิษงูได้
อย่าตื่นตกใจเกินไป ต้องพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยที่ใกล้ที่สุด โดยนำเอาซากงูที่กัดไปด้วย (ถ้ามี) เพื่อความถูกต้องในการรักษา
การรักษา
1.ผู้ป่วยถูกงูพิษกัดใช่หรือไม่ จำเป็นต้องให้เซรุ่มแก้พิษงูหรือไม่
2.ขนาดและวิธีการให้เซรุ่มแก้พิษงูและข้อควรระวัง
3.การรักษาแผลและภาวะแทรกซ้อน
แผลไหม้ (Burn)
หมายถึง ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาจากการถูกเผาไหม้ หรือการ ได้รับความร้อนจากเปลวไฟ กระแสไฟฟ้า รังสี สารเคมี
การแบ่งความรุนแรงของผิวหนังไหม้
ขนาดของแผลซึ่งอาจจะใช้กฎเลขเก้า (rules of nine) ในผู้ใหญ่ หรือวิธีของ Lund and Browder ในเด็ก
ตารางระดับความลึกของบาดแผล
Partial-thickness burns
ระดับที่ 1ผิวหนังสีแดงเหมือนโดนแดดเผา แห้ง
ระดับที่ 2 บาดแผลพองเป็นตุ่มน้ำใส มีอาการปวด
ระดับที่ 3 ผิวหนังเป็นสีขาวซีดแต่ยังมีลักษณะนิ่มอยู่
ระดับ 3 ผิวหนังเป็นสีขาว หรือน้ำตาล แข็งเหมือนหนังอาจพบเส้นเลือดอุดตันอยู่ใต้ผิวหนัง
เม่นทะเลตำ (Sea urchins)
อาการ
(ฉุกเฉิน)Systemic reaction จะมีอาการแพ้ต่างๆ โดยเฉพาะ anaphylaxis
(รักษาได้) Local reaction จะมีอาการเจ็บปวดเหมือนถูกหนามตำ ต่อมาจะมีอาการชาบริเวณที่ถูกตำ และถ้าหนามของหอยเม่นหักคา จะปวดมาก โดยเฉพาะเม่นทะเลตำ จะมีหนามที่ยาวและเปราะมาก
การรักษา
สามารถรักษาได้
ทุบหนามที่หักคาให้แหลก โดยอาจใช้น้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาวทาที่แผลสลับการทุบ เพื่อลดอาการชา
ให้ยาแก้ปวดถ้าปวดมาก
ให้ยาแก้แพ้
ทาด้วยแอมโมเนีย เพื่อช่วยลดอาการปวด
ฉุกเฉิน
ประเมินความรู้สึกตัว ABCs
ถ้าระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตหยุดทำงานให้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพ
ให้ออกซิเจนถ้าหายใจไม่ดี
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ถ้ามีความดันโลหิตลดลงหรือมีภาวะช็อก
ให้การรักษาเหมือน local reaction
ส่งต่อไปสถานบริการที่มีความพร้อม
พิษจากแมงกะพรุน (Jellyfish dermatitis)
อาการแสดง
รักษาได้
Systemic reaction ปวดเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก น้ำตาไหล ไข้ กล้ามเนื้อกระตุก ชา แน่นหน้าอก
ฉุกเฉิน
Fatal reaction อาการ anaphylaxis, cardio pulmo nary arrest
Local reaction บวมแดงเป็นแนวเส้น ตามรอยหนวดที่สัมผัส เจ็บ คัน บางทีมีตุ่มพอง ระยะเวลาการเกิดตั้งแต่ทันทีที่สัมผัส และ/หรือหลังสัมผัส 1-4 สัปดาห์
การรักษาเบื้องต้น
Fatal reaction/ Systemic reactio
ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ถ้าระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตหยุดทำงานให้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพ
ลดการเคลื่อนไหวบริเวณบาดแผล ห้ามถูแผล
Local heat อุ่นน้ำทะเลที่อุณหภูมิ 39 องศา เทราดบริเวณแผล
ใช้แป้งโรยบริเวณแผลเพื่อเอาหนวดออก
ใช้ผักบุ้งทะเลโขลกแล้วทาบนแผล
รักษาตามอาการ ยาแก้แพ้ ยาแก้ปวด ส่วนยาแก้อักเสบให้กรณีแผลลึกมากๆ
แนะนำเฝ้าระวังอาการของ anaphylaxis และ systemic infection
Local reaction
ดูแลระบบหายใจ โดยเฉพาะภาวะหลอดลมตีบ ได้ยินเสียงวี๊ด หายใจลำบาก เขียว
ให้สารน้ำตามความเหมาะสม
ให้ยาแก้แพ้
ให้ออกซิเจน
ส่งต่อไปสถานบริการที่มีความพร้อม
ไฟฟ้าช็อต (Electrical injury)
หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยจะได้รับอันตรายเนื่องจากผลโดยตรงของกระแสไฟฟ้าและจากการที่ กระแสไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน
ความรุนแรง
ชนิด และกำลังของกระแสไฟฟ้า
ตำแหน่งของร่างกายที่สัมผัสไฟฟ้า
สิ่งแวดล้อม เช่น ร่างกายสัมผัสโลหะ กำลังยืนอยู่ในน้ำ เป็นต้น
การรักษา
ฉุกเฉิน
ประเมินความรู้สึกตัว ABCs
ถ้าระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตหยุดทำงานให้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพ
ให้ออกซิเจนถ้าหายใจไม่ดี
ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ถ้ามีความดันโลหิตลดลงหรือมีภาวะช็อก
ให้การดูแลบาดแผล และประเมินอาการบาดเจ็บร่วม เช่น กระดูกสันหลังหัก (spinal injury) การบาดเจ็บที่ศีรษะ (head injury)
ส่งต่อไปสถานบริการที่มีความพร้อม
รักษาได้
ให้การดูแลบาดแผล
ให้ยาลดอาการปวด
พูดคุยปลอบโยนเพื่อคลายความกลัวความวิตกกังวล
ติดตาม ประเมินผลการรักษา ติดตามอาการเกี่ยวกับหัวใจ ต้อกระจก และอาการทางระบบจิตประสาท
อาการฉุกเฉิน
ไม่รู้สึกตัว ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง
ระบบการไหลเวียนโลหิตผิดปกติ หัวใจเต้นผิดปกติ
มีบาดแผลไหม้ โดยเฉพาะบริเวณทางเข้าและทางออกของกระแสไฟฟ้า
4.มีภาวะกระดูกหัก หรือข้อเคลื่อน กระดูกสันหลังหัก
เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน