Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายสาธารณสุขอื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล…
กฎหมายสาธารณสุขอื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์(3.5)
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 4 “สถานพยาบาล”
หมายความว่า
สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะ ซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ การประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม กาประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือการประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม “ผู้ป่วย” หมายความว่า ผู้ขอรับบริการในสถานพยาบาล “ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล “ผู้ดำเนินการ” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล “ผู้ประกอบวิชาชีพ” หมายความว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมการพยาบาล การผดุงครรภ์ ทันตกรรม เภสัชกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประภทของสถานพยาบาล
1.สถานพยาบาลประเภทไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน รักษาเฉพาะผู้ป่วยไป-กลับ เช่น คลินิก
2.สถานพยาบาลประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน รับตรวจผู้ป่วยไป-กลับ และค้างคืน เช่น โรงพยาบาล
การขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
คุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
1.มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
2.มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
3.ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
4.ไม่เป็นโรคที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
5.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
6.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือ คนเสมือนไร้ความสามารถ
หน้าที่ของผู้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
1.ต้องแสดงใบอนุญาตของตนไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายในสถานพยาบาลแห่งนั้น
2.ต้องแสดงรายละเอียดดังข้างล่างนี้ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายในสถานพยาบาลนั้น1.ชื่อสถานพยาบาล 2.รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ ทันตกรรม เภสัชกรรมหรือผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลนั้น3.อัตราค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการ4.สิทธิของผู้ป่วย
3.การย้ายสถานพยาบาลไปประกอบกิจการที่อื่นต้องดำเนินการเช่นเดียวกันกับการขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลใหม่
4.ถ้าประสงค์จะเลิกกิจการสถานพยาบาล ต้องแจ้งเป็นหนังสือและจัดทำรายงานที่จะปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ป่วยให้ผู้อนุญาตทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวัน
5.ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อนุญาตที่ให้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งในการเลิกกิจการ เพื่อประโยชน์และส่วนได้ส่วนเสียของผู้ป่วยใสถานพยาบาลนั้น
6.ถ้าพ้นจากหน้าที่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เกินเจ็ดวัน ผู้รับอนุญาตอาจมอบหมายให้บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตทราบภายในสามวัน นับแต่วันที่เข้าดำเนินการแทน
7.ถ้ามีการเปลี่ยนตัวผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนนั้น
8.ต้องไม่เรียกเก็บเงินหรือยินยอมให้มีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล หรือค่าบริการอื่นเกินอัตราที่ได้แสดงไว้ และต้องให้การบริการแก่ผู้ป่วยตามสิทธิที่แสดงไว้
อายุใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
สิ้นปีปฏิทินของปีที่สิบนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตแล้ว ผู้รับอนุญาตยังประกอบกิจการสถานพยาบาลต่อไปได้จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ
คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ในการดำเนินสถานการพยาบาล
1.เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมขึ้นอยู่กับว่าสถานพยาบาลนั้นเป็นสถานพยาบาลประเภทใด หรือให้บริการทางการแพทย์ใด
2.ต้องไม่เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลอยู่ก่อนแล้วสองแห่ง ถ้าเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนแห่งหนึ่งแล้ว จะเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งไม่ได้ แต่จะขออนุญาตเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งได้
3.ต้องเป็นผู้ที่สามารถควบคุมดูแลกิจการสถานพยาบาลได้โดยใกล้ชิด
หน้าที่ของผู้ดำเนินการสถานพยาบาล
1.ต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลที่ตนได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการ ประกอบวิชาชีพผิดสาขา ชั้น หรือแผนตามที่ได้รับอนุญาต และต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้อื่นซึ่งไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพมาประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลที่ตนเป็นผู้ดำเนินการ
2.ต้องควบคุมดูแลมิให้มีการรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินจำนวนเตียงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
3.ต้องควบคุมดูแลให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม หรือกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม
4.ต้องควบคุมดูแลสถานพยาบาลให้สะอาดเรียบร้อย ปลอดภัย และมีลักษณะ อันเหมาะสมแก่การใช้เป็นสถานพยาบาล
หน้าที่ร่วมกันของผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการสถานพยาบาล
1.ต้องจัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามวิชาชีพและจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงตลอดเวลาทำการ
2.ต้องจัดให้มีเครื่องมี เครื่องใช้ ยา และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นประจำสถานพยาบาลนั้น ตามชนิดที่กำหนดในกฎกระทรวง
3.ต้องจัดให้มีและรายงานหลักฐานเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล ผู้ป่วยและเอกสารอื่นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และต้องเก็บรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพที่ตรวจสอบได้ไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่จัดทำ
4.ต้องควบคุมและดูแลการประกอบกิจการสถานพยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐาน การบริการตามที่รัฐมนตรีประกาศ
5.ต้องควบคุมดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน
6.ต้องควบคุมดูแลมิให้มีการใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานพยาบาลประกอบกิจการสถานพยาบาลผิดประเภท หรือผิดลักษณะการให้บริการตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
7.ต้องควบคุมดูแลมิให้โฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาชื่อ ที่ตั้งหรือกิจการสถานพยาบาลหรือคุณวุฒิ หรือความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลของตน เพื่อชักชวนให้มีผู้มาขอรับบริการจากสถานพยาบาลของตนโดยใช้ความเท็จหรือโอ้อวดเกินความจริง
8.ต้องไม่จัดทำหรือยินยอมให้ผู้อื่นจัดทำหลักฐานเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการเอกสารแสดงการตรวจโรค เอกสารแสดงผลการรักษาพยาบาล หรือเอกสารกรณีอื่นอันเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเป็นเท็จ
กำหนดบทลงโทษที่สำคัญ
1.ผู้รับอนุญาตไม่ชำระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานพยาบาลตามเวลาที่กำหนด
2.ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการกระทำการหรือละเว้นกระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้อยู่ในสถานพยาบาลหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานพยาบาลเดือดร้อนหรือเกิดอันตราย
3.สถานพยาบาลไม่แก้ไขปรับปรุงการประกอบกิจการ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์ตามที่ผู้อนุญาตมีคำสั่งภายในระยะเวลาที่กำหนด
4.ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้สั่งให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการแล้วแต่กรณี ระงับการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องนั้น หรือปฏิบัติเสียให้ถูกต้องภายในเวลาที่เห็นสมควร แต่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการไม่ปฏิบัติภายในเวลาที่กำหนด
โทษทางอาญา
1.ไม่แสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ไม่มีชื่อสถานพยาบาล ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพ ไม่แจ้งอัตราค่ารักษาพยาบาลและไม่แจ้งสิทธิผู้ป่วยมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
2.ไม่จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยาเวชภัณฑ์ ไม่จัดทำรายงานการรักษาพยาบาล ไม่ควบคุมและดูแลสถานพยาบาลให้เป็นไปตามกฎกระทรวง มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.ไม่ช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะอันตรายและไม่ช่วยเหลือ เพื่อส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่มีความเหมาะสมตามความจำเป็นหรือความต้องการของผู้ป่วย มีโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4.โฆษณาสถานพยาบาลอันเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินความจริง ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด มีโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทนับแต่วันที่ฝ่าฝืนจนกว่าจะระงับการโฆษณานั้น
5.จัดทำหลักฐานค่ารักษาพยาบาลหรือเอกสารแสดงผลการรักษาพยาบาลอันเป็นเท็จ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ประกอบวิชาชีพอาจมีบทบาท
1.ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสถานพยาบาลในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิโดยคำแนะนำของสภาการพยาบาล
2.ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
3.ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
4.ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการและผู้ดำเนินการสถานพยาบาลประเภทต่างๆดังนี้ 1.คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ให้บริการด้านการพยาบาล การดูแลมารดาและทารกก่อนคลอดและหลังคลอด ยกเว้นการทำคลอด2.สถานพยาบาลการผดุงครรภ์ ให้บริการมารดาและทารกก่อนคลอดและหลังคลอดการคลอดปกติ การส่งเสริมสุขภาพและการอนามัยแม่และเด็ก โดยสามารถรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนไม่เกิน 30 เตียง3.สถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง ให้บริการผู้ป่วยเรื้อรังโดยวิธีการทางการพยาบาล ซึ่งหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพตามบทบาทหน้าที่
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523
ความหมายของคำต่างๆ
“โรคติดต่อ” หมายความว่า โรคซึ่งรัฐมนตรีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นโรคติดต่อ และให้ความหมายรวมถึงโรคซึ่งรัฐมนตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นโรคติดต่อด้วย
“โรคติดต่อต้องแจ้งความ” หมายความว่า โรคติดต่อซึ่งรัฐมนตรีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นโรคติดต่อต้องแจ้งความ และให้หมายความรวมถึงโรคติดต่อ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศไว้ให้เป็นโรคติดต่อต้องแจ้งความด้วย
“ผู้สัมผัสโรค” หมายความว่า คนซึ่งได้ใกล้ชิด คน สัตว์ หรือสิ่งของ ติดโรค จนเชื้อโรคนั้นอาจติดต่อถึงผู้อื่นได้
“ระยะฟักตัวของโรค” หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจนถึงเวลาที่ผู้ติดโรคแสดงอาการป่วยของโรคนั้น
“ระยะติดต่อของโรค” หมายความว่า ระยะเวลาที่เชื้อโรคสามารถจะแพร่จากคนหรือสัตว์ที่มีเชื้อโรคไปยังผู้อื่นได้ โดยทางตรงหรือทางอ้อม
“แยกกัก” หมายความว่า การแยกผู้สัมผัสโรคหรือพาหะ ออกไว้ต่างหากจากผู้อื่นในเอกเทศ และตามภาวะอันจะป้องกันมิให้เชื้อโรคแพร่หลายโดยทางตรงหรือทางอ้อมไปยังผู้ซึ่งอาจได้รับเชื้อโรคนั้นๆได้จนกว่าจะพ้นระยะติดต่อของโรค
“กักกัน” หมายความว่า การแยกผู้สัมผัสโรค หรือพาหะให้อยู่ในที่เอกเทศจนกว่าจะพ้นระยะฟักตัวของโรคนั้นๆ หรือจนกว่าจะพ้นความเป็นพาหะ
“คุมไว้สังเกต” หมายความว่า การควบคุมดูแลผู้สัมผัสหรือพาหะโดยไม่กักกัน อาจจะถอนอนุญาตให้ผ่านไปในที่ใดๆก็ได้ โดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อไปถึงท้องที่กำหนดไว้ ผู้นั้นต้องแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำท้องที่นั้น เพื่อรับการตรวจในทางแพทย์
“เขตติดโรค”หมายความว่า ท้องที่หนึ่งท้องที่ใด ในหรือนอกราชอาณาจักรที่มีโรคติดต่อเกิดขึ้น ตามที่รัฐมนตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศในท้องที่นั้นๆเป็นเขตติดโรค
“พาหะ” หมายความว่า ยาน สัตว์ หรือวัตถุ ซึ่งใช้ในการขนส่งคน สัตว์หรือส่งของทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ
“เจ้าของพาหะ” หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการควบคุมพาหนะ
“ผู้เดินทาง” หมายความว่า คนซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร รวมทั้งผู้ควบคุมพาหะ และคนประจำพาหนะ
“การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค” หมายความว่า การกระทำทางการแพทย์โดยวิธีใดๆก็ตาม ยต่อคนหรือสัตว์เพื่อให้คนหรือสัตว์นั้นเกิดอำนาจต้านทานโรค
“ที่เอกเทศ” หมายความว่า ที่ใดๆซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนดให้เป็นที่สำหรับแยกกัก หรือกักกันคนหรือสัตว์ที่ป่วยหรือมีเหตุผลสงสัยว่าป่วยเป็นโรคติดต่อใดๆ เพื่อป้องกันและควบคุมมิให้โรคนั้นแพร่หลาย
“เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจตราดูแล และรับผิดชอบในการสาธารณสุขโดยทั่วไป หรือเฉพาะท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
โรคติดต่อต้อแจ้งความ20โรค
ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย หรือโรคติดต่อต้องแจ้งความเกิดขึ้น หรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้น ให้บุคคลดังต่อไปนี้แจ้งเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่มีการเจ็บป่วยหรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีการป่วยโดยโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในบ้าน ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้าน หรือของผู้คุมดูแลบ้าน หรือของแพทย์ผู้ทำการรักษาพยาบาล
ในกรณีมีการป่วยหรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีการป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานพยาบาลให้เป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาลนั้น
ในกรณีที่ได้มีการชันสูตรทางแพทย์ตรวจพบว่าอาจมีเชื้ออันเป็นเหตุของโรคติดต่อดังกล่าว ให้เป็นหน้าที่ของผู้ทำการชันสูตรทางแพทย์ หรือของผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตรทางแพทย์นั้น
ในกรณีที่ได้มีการชันสูตรทางแพทย์ตรวจพบว่าอาจมีเชื้ออันเป็นเหตุของโรคติดต่อดังกล่าว ให้เป็นหน้าที่ของผู้ทำการชันสูตรทางแพทย์ หรือของผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตรทางแพทย์นั้น
การแจ้งความตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ
เจ้าบ้านหรือผู้ควบคุมดูแลบ้าน ต้องแจ้งชื่อและที่อยู่ของตน ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย ชื่อ อายุ และ ที่อยู่ของผู้ป่วย สถานที่ที่ผู้ป่วยพักรักษาตัวอยู่ วันเริ่มป่วย และอาการสำคัญของผู้ป่วย
แพทย์ผู้ทำการรักษพยาบาล หรือผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาลต้องแจ้งชื่อที่อยู่และสถานที่ทำงานของตน ชื่อ อายุ และที่อยู่ของผู้ป่วย สถานที่ที่ผู้ป่วยพักรักษาตัวอยู่ วันเริ่มป่วย และอาการสำคัญของผู้ป่วยวันแรกรับไว้รักษา การวินิจฉัยโรคขั้นต้น และสภาพผู้ป่วยขณะแจ้งความ
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้รับแจ้งความให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแจ้งดังกล่าว รายงานต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขทันที
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้รับแจ้งความให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแจ้งดังกล่าว รายงานต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขทันที
ผู้รับแจ้งความโรคติดต่อ
ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตกรุงเทพมหานคร
หัวหน้าฝ่ายสาธารณสุขเมื่อพัทยา เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในเขตเมืองพัทยา
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตจังหวัดนั้นๆ
นายอำเภอเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตจังหวัดนั้นๆ
นายกเทศมนตรี หัวหน้าฝ่ายสาธารณสุข ประธานกรรมการสุขาภิบาล และหัวหน้าฝ่ายสาธารณสุขสุขาภิบาล เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลนั้นๆแล้วแต่กรณี
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในเขตตำบลหรือหมู่บ้านนั้นๆแล้วแต่กรณี
ผู้มีอำนาจในการควบคุมโรคติดต่อตาม พ.ร.บ ฉบับนี้ ได้แก่ รัฐมนตรี ผู้ว่าราชการ-จังหวัด เจ้าพนักงานสาธารณสุข และพนักงานเจ้าหน้าที่
กำหนดบทลงโทษ
1.บุคคลใดไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุข เมื่อมีโรคติดต่ออันตราย หรือโรคติดต่อต้องแจ้งความเกิดขึ้น หรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีโรคติดต่อเกิดขึ้น มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
2.ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานสาธารณสุข เมื่อมีเหตุสงสัยว่าได้เกิดโรคติดต่ออันตรายขึ้นในบ้าน โรงเรือน สถานที่หรือยานพาหนะ หรือฝ่าฝืนเข้าไปในเขตติดโรค ซึ่งรัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดและประกาศไว้ มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
3.ถ้าเจ้าของยานพาหนะหรือผู้ควบคุมยานพาหนะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานสาธารณสุข เมื่อมีโรคติดต่ออันตรายเกิดขึ้นในท้องที่หรือเมืองท่าในต่างประเทศแล้วรัฐมนตรีประกาศให้เป็นเขตติดโรค โดยไม่จอดยานพาหนะ ณ สถานที่ที่กำหนดให้จนกว่าเจ้าพนักงานสาธารณสุขจะอนุญาตให้ไปได้ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
ความหมายของคำต่างๆ
“โรคติดต่อ” หมายความว่า โรคที่เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคซึ่งสามารถแพร่โดยทางตรง หรือทางอ้อมมาสู่คน
“โรคติดต่ออันตราย” หมายความว่า โรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูงและสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ อย่างรวดเร็ว
“โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” หมายความว่า โรคติดต่อที่ต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ หรือจัดเก็บ ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
“โรคระบาด” หมายความว่า โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคแน่ชัด ซึ่งอาจแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง หรือมีภาวะของการเกิดโรคมากผิดปกติกว่าที่เคยเป็นมา
“พาหะ” หมายความว่า คนหรือสัตว์ซึ่งไม่มีอาการของโรคติดต่อปรากฏแต่ร่างกายมีเชื้อโรคนั้น ซึ่งอาจติดต่อถึงผู้อื่นได้
“ผู้สัมผัสโรค” หมายความว่า คนซึ่งได้เข้าใกล้ชิดคน สัตว์ หรือสิ่งของติดโรค จนเชื้อโรคนั้น อาจติดต่อถึงผู้นั้นได้
“ระยะติดต่อของโรค” หมายความว่า ระยะเวลาที่เชื้อโรคสามารถแพร่จากคนหรือสัตว์ที่มีเชื้อโรค ไปยังผู้อื่นได้โดยทางตรงหรือทางอ้อม
“แยกกัก” หมายความว่า การแยกผู้สัมผัสโรคหรือพาหะไว้ต่างหากจากผู้อื่นในที่เอกเทศ เพื่อป้องกันมิให้เชื้อโรคแพร่โดยทางตรงหรือทางอ้อมไปยังผู้ซึ่งอาจได้รับเชื้อโรคนั้น ๆ ได้ จนกว่าจะพ้น ระยะติดต่อของโรค
“กักกัน” หมายความว่า การควบคุมผู้สัมผัสโรคหรือพาหะให้อยู่ในที่เอกเทศ เพื่อป้องกัน มิให้เชื้อโรคแพร่โดยทางตรงหรือทางอ้อมไปยังผู้ซึ่งอาจได้รับเชื้อโรคนั้น ๆ ได้ จนกว่าจะพ้นระยะฟักตัวของโรค หรือจนกว่าจะพ้นความเป็นพาหะ
“คุมไว้สังเกต” หมายความว่า การควบคุมดูแลผู้สัมผัสโรคหรือพาหะโดยไม่กักกัน และอาจจะ อนุญาตให้ผ่านไปในที่ใด ๆ ก็ได้ โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อไปถึงท้องที่ใดที่กําหนดไว้ ผู้นั้นต้องแสดงตัวต่อ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําท้องที่นั้นเพื่อรับการตรวจในทางแพทย์ เพื่อป้องกันมิให้เชื้อโรคแพร่ โดยทางตรงหรือทางอ้อมไปยังผู้ซึ่งอาจได้รับเชื้อโรคนั้น ๆ ได้
“ระยะฟักตัวของโรค” หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจนถึงเวลาที่ผู้ติดโรค แสดงอาการป่วยของโรคนั้น
“เขตติดโรค” หมายความว่า ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรที่มีโรคติดต่ออันตราย หรือโรคระบาดเกิดขึ้น
“การสอบสวนโรค” หมายความว่า กระบวนการเพื่อหาสาเหตุ แหล่งที่เกิดและแหล่งแพร่ของโรค เพื่อประโยชน์ในการควบคุมโรค
"การเฝ้าระวัง” หมายความว่า การสังเกต การเก็บรวบรวม และการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจน การรายงาน และการติดตามผลของการแพร่ของโรคอย่างต่อเนื่องด้วยกระบวนการที่เป็นระบบ เพื่อประโยชน์ ในการควบคุมโรค
“พาหนะ” หมายความว่า ยานพาหนะ สัตว์ หรือวัตถุ ซึ่งใช้ในการขนส่งคน สัตว์ หรือสิ่งของ โดยทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ
“เจ้าของพาหนะ” หมายความรวมถึง ตัวแทนเจ้าของ ผู้เช่า ตัวแทนผู้เช่า หรือผู้ครอบครอง พาหนะนั้น
“ผู้ควบคุมพาหนะ” หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการควบคุมพาหนะ
คําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนดในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
1.ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
2.ช่องทางเข้าออกแห่งใดในราชอาณาจักรให้เป็นด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และยกเลิกด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
3.การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
ควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจหน้าที่
1.ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะแจ้งกําหนดวัน เวลา และสถานที่ที่พาหนะนั้น ๆ จะเข้ามาถึงด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุม โรคติดต่อระหว่างประเทศ
2.ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในราชอาณาจักรยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงาน ควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
3.ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยังไม่ได้รับการตรวจ จากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และห้ามผู้ใดนําพาหนะอื่นใด เข้าเทียบพาหนะนั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อ ระหว่างประเทศ
4.เข้าไปในพาหนะและตรวจผู้เดินทาง สิ่งของ หรือสัตว์ที่มากับพาหนะ ตรวจตราและควบคุม ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะแก้ไขการสุขาภิบาลของพาหนะให้ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งกําจัด สิ่งอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในพาหนะ ในการนี้ ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะอํานวยความสะดวก แก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
5.ห้ามเจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะนําผู้เดินทางซึ่งไม่ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของคณะกรรมการเข้ามาในราชอาณาจักร
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
สิทธิการรับบริการสาธารณสุข
มาตรา 5 บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 6 บุคคลใดประสงค์จะใช้สิทธิตามมาตรา 5 ให้ยื่นคำขอลงทะเบียนต่อสำนักงานหรือหน่วยงานที่สำนักงานกำหนด เพื่อเลือกหน่วยบริการ เป็นหน่วยบริการประจำ
มาตรา 38 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสํานักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติเรียกว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคคลสามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและ มีประสิทธิภาพ ให้ใช้จ่ายเงินกองทุนโดยคํานึงถึงการพัฒนาการบริการสาธารณสุขในเขตพื้นที่ที่ไม่มี หน่วยบริการเพียงพอหรือมีการกระจายหน่วยบริการอย่างไม่เหมาะสมประกอบด้วย
มาตรา 42 ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดได้แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควรตามมาตรา 41 เมื่อสำนักงานได้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการไปแล้ว สำนักงานมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้กระทำผิดได้
มาตรา60 ในกรณีที่การกระทําผิดของหน่วยบริการตามมาตรา ๕๘ หรือมาตรา 59 เป็นการกระทําผิดร้ายแรงหรือเกิดซ้ําหลายครั้ง ให้เลขาธิการรายงานต่อคณะกรรมการควบคุม คุณภาพและมาตรฐานเพื่อพิจารณาดําเนินการ ดังต่อไปนี้ 1.สั่งเพิกถอนการขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการนั้น 2.แจ้งต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเพื่อพิจารณา ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น 3. แจ้งต่อรัฐมนตรีผู้กํากับดูแลเพื่อให้มีการดําเนินการทางวินัยแก่ผู้บริหารของ หน่วยบริการในกรณีที่เป็นสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ 4.แจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดข้อกล่าวหา หรือข้อกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุขซึ่งมีส่วนรับผิดชอบในการกระทําผิดของหน่วย บริการ และให้มีการดําเนินการทางวินัยในกรณีที่ผู้กระทําผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
มาตรา ๕ บุคคลมีสิทธิในการดํารงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
มาตรา ๖ สุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศและสุขภาพ ของระบบเจริญพันธุ์ซึ่งมีความจําเพาะ ซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพ หญิงตลอดช่วงชีวิต ต้องได้รับการสร้างเสริม และคุ้มครองอย่าง สอดคล้องและเหมาะสม สุขภาพของเด็ก คนพิการ คนสูงอายุ คนด้อยโอกาสในสังคมและ กลุ่มคนต่าง ๆ ที่มีความจําเพาะในเรื่องสุขภาพต้องได้รับการสร้างเสริม และคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสมด้วย
มาตรา ๗ ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนําไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทําให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้น แต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคล นั้นโดยตรง หรือ มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย แต่ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ผู้ใดจะอาศัยอํานาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการหรือกฎหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ ของตนไม่ได้
ในกรณีที่เกิดความเสียหายหรืออันตรายแก่ผู้รับบริการเพราะเหตุ ที่ผู้รับบริการปกปิด ข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้ง หรือแจ้ง ข้อความอันเป็นเท็จ ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรือ อันตรายนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ให้บริการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
การอ้างอิง
ภาษาไทย
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541
ภาษาอังกฤษ
Communicable Disease Act 2015
Sanatorium Act 2541 B.E.
National Health Act 2007
นางสาวธิดาพร หวังแนบกลาง นศ.พยบ.ชั้นปีที่2 รุ่น36/1 เลขที่49 รหัสนักศึกษา612001050