Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การทำคลอดและการช่วยเหลือการคลอดปกติ, https://w1.med.cmu.ac.th, http://www…
การทำคลอดและการช่วยเหลือการคลอดปกติ
การช่วยเหลือการคลอดปกติ
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
โดยใช้คีมคีบสำลีชุบน้ำยาฆ่าเชื้อ เช็ดทำความสะอาด
อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
การปูผ้า
ผู้ทำคลอดจะปูผ้าให้ผู้คลอดโดย ผืนที่ 1 ปูหน้าท้องโดยจับผ้าที่สันทบบนสุดกับล่างสุดแล้วยกผ้า คลี่ออกจะได้เป็นผ้าครึ่งผืน ปูให้สันทบอยู่ด้านบน หลังจากนั้นสวมปลอกขา(Legging) ทั้งสองข้าง โดยสอดมือเข้าไปใต้ผ้าที่พับตลบกลับด้านโคนขา สวมปลอกขาด้านใกล้ตัวผู้ทำคลอดก่อน บางแห่งจะเป็นผ้าสี่เหลี่ยม โดยให้จับที่มุมผ้าบนสุดและล่างสุด คลี่ผ้าออกจะได้ผ้า 1 ผืน ปูลงไปตรงหน้าขาของผู้คลอดด้านใกล้ตัวผู้ทำคลอด จากนั้นสวมถุงเท้าหรือคลุมผ้าด้านไกลตัว เพื่อปูองกันการปนเปื้อนของเสื้อกาวน์ขณะปูผ้ารองก้น และปูผ้ารองก้นบนผ้ายางรองคลอด โดยพับผ้าเข้ามา 1ใน 4 ส่วน หงายมือทั้งสองข้างสอดเข้าใต้ผ้าที่พับไว้แล้วสอดเข้าใต้ก้นของผู้คลอด ขณะถอนมือออกมาต้องระมัดระวังไม่ให้มือไปสัมผัสกับก้นของผู้คลอด
ในกรณีที่เร่งด่วนให้ปูผ้ารองก้นและช่วยทำคลอดทารกตามสถานการณ์ เมื่อปูผ้าเรียบร้อย แล้วกรณีไม่ถอดปลายเตียงออก ให้หยิบเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ช่วยคลอดวางไว้บนปลายของผ้ารองก้นเพื่อสะดวกแก่การหยิบใช้ได้แก่ กรรไกรตัดฝีเย็บ ยาชาที่เตรียมแล้วได้แก่ Xylocaine 2% c adrenaline 1 : 80,000 ผ้า safe perineum และลูกสูบยางแดง ซึ่งต้องผ่านการทดสอบก่อน โดยการบีบถ้ามีเสียงลมออกแสดงว่าใช้ได้
การเชียร์เบ่ง
ผู้ทำคลอดจะต้องดูแลให้ผู้คลอดเบ่งเมื่อปากมดลูกเปิดหมดและเบ่งในขณะที่มดลูกมีการหดรัดตัว ให้ผู้คลอดนอนหงายชันเข่าทั้งสองข้าง เอามือทั้งสองข้างจับที่ข้อเท้าหรือข้างเตียง ให้ส้นเท้าจิกกับเตียงให้เต็มที่ เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัวให้ผู้คลอดสูดลมหายใจเข้าทางจมูกและเปุาลมหายใจออกทางปากหนึ่งครั้งเพื่อหายใจล้างปอด จากนั้นสูดลมหายใจเข้าเต็มที่แล้วกลั้นลมหายใจไว้ยกศีรษะจนคางจรดหน้าอก (C-shaped, Up-right position) ท่านี้จะช่วยให้ฝีเย็บผ่อนคลายลดแรงต้านต่อศีรษะทารก ออกแรงเบ่งลงก้นเหมือนการเบ่งถ่ายอุจจาระ ประมาณ 6 – 8 วินาทีไม่ควรเกิน 10 วินาทีต่อครั้ง ให้ผู้คลอดเบ่งซ้ำ หากมดลูกยังหดรัดตัวแข็งอยู่ เมื่อมดลูกคลายตัวให้หยุดเบ่ง โดยหายใจล้างปอดหนึ่งครั้ง หายใจตามปกติและนอนพักจนกว่ามดลูกจะหดรัดตัวครั้งใหม่จึงเชียร์เบ่งต่อ
ไม่ควรให้ผู้คลอดเบ่งนานเกินไป เนื่องจากจะมีผลทำให้เกิดvalsalva maneuver จากการเบ่งมีผลทำให้ความดันในช่องอกและช่องท้องเพิ่มมากขึ้นจนเลือดไหลกลับสู่หัวใจได้ลดลง เลือดที่ไหลออกจากหัวใจต่อนาทีและความดันโลหิตลดต่ำลง หัวใจเต้นเร็วขึ้น และมีการหดรัดตัวของเส้นเลือด เลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกและรกจึงลดลง ทำให้ทารกขาดออกซิเจน เมื่อผู้คลอดหยุดเบ่งความดันโลหิตจะสูงขึ้น หัวใจเต้นช้าลง ถ้ามีพยาธิสภาพที่หัวใจ หัวใจอาจทำงานชดเชยไม่ได้ทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติและเกิดหัวใจหยุดเต้น เป็นอันตรายต่อผู้คลอดได้
ผู้ทำคลอดควรกล่าวชมเชยและพูดให้กำลังใจผู้คลอด เพื่อให้ผู้คลอดเกิดความกระตือรือร้นและมีกำลังใจในการเบ่งมากขึ้น
ในขณะที่ผู้คลอดเบ่งถ้าถึงน้ำทูนหัวยังไม่แตกอาจแตกเองในระยะนี้หรือผู้ทำคลอดจะช่วยเจาะถุงน้ำให้เพื่อป้องกันการเกิดการสำลักน้ำคร่ำของทารกในระยะแรกเกิด ผู้ช่วยคลอดจะต้องฟังเสียงการเต้นของหัวใจทารกทันทีและสังเกตดูลักษณะสีของน้ำคร่ำว่าปกติหรือไม่ ถ้าน้ำคร่ำมีสีเหลืองปนเขียวเนื่องจากมีขี้เทาปนอยู่แสดงว่าทารกอาจมีอาการของการขาดออกซิเจน ซึ่งจะต้องรีบช่วยให้การคลอดนั้นสิ้นสุดโดยเร็ว
ถ้าเบ่งจนเห็นศีรษะทารกมาตุงอยู่ที่บริเวณฝีเย็บประมาณ 3-5 ซม. แล้วไม่ผลุบกลับเข้าไปให้เตรียมตัดฝีเย็บ โดยฉีดยาชาเฉพาะที่ก่อนบริเวณรอบๆ ปากช่องคลอด
การตัดฝีเย็บ
คือการใช้กรรไกรตัดเนื้อเยื่อบริเวณปากช่องคลอดให้กว้างขึ้น สะดวกแก่การเคลื่อนผ่านของทารก
ตามปกติในการคลอดฝีเย็บจะมีการฉีกขาดได้ การฉีกขาดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกระบวนการคลอด ถ้าทารกคลอดอย่างช้าๆ ฝีเย็บที่นุ่มมีโอกาสยืดขยายได้จนบาง การฉีกขาดจะมีได้น้อย แต่ถ้าทารกคลอดเร็วจนเกินไปหรือคลอดด้วยเครื่องมือหรือในรายที่ฝีเย็บยืดขยาย (rigid perineum) จะทำให้มีการฉีกขาดมาก
การฉีกขาดนี้เกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ ความไม่สมดุลระหว่างศีรษะทารกกับฝีเย็บ การคลอดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ฝีเย็บถูกยืดขยายอย่างรวดเร็ว (ripid delivery) และ คลอดโดยใช้สูติศาสตร์หัตถการ
การฉีกขาดของฝีเย็บถ้ามีการฉีกเอง ส่วนมากจะอยู่ในแนว midline ขอบแผลรุ่งริ่ง เย็บยากและติดช้า จึงนิยมทำการตัดฝีเย็บ เพราะขอบแผลจะเรียบ เย็บง่ายและติดเร็ว
ในขณะทำคลอด ผู้คลอดจะยืนอยู่ปลายเตียงด้านขวาของผู้คลอด ผู้ช่วยคลอดอยู่ทางด้านซ้ายเพื่อช่วยฟังเสียงการเต้นของหัวใจทารกประเมินการหดรัดตัวของมดลูก กระตุ้นให้ผู้คลอดเบ่งเมื่อมีการหดรัดตัวของมดลูก และสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของผู้คลอด
การทำคลอดปกติ
การทำคลอดศีรษะ
ตามกลไกการคลอดศีรษะทารกจะผ่านช่องทางคลอดออกมาในระหว่างที่มีการเงยของศีรษะทารก ดังนั้นจะต้องให้ผู้คลอดเบ่งพร้อมกับการหดรัดตัวของมดลูก
การช่วยทำคลอดศีรษะทารกมีจุดประสงค์ก็เพื่อต้องการให้มีการเคลื่อนต่ำของส่วนนำลงมาจนกว่าบริเวณใต้ท้ายทอยมายันอยู่ใต้ขอบล่างของกระดูกหัวหน่าว
ทราบได้จาก
Parietal eminences ทั้งสองข้างผ่านพ้นปากช่องคลอดมาแล้ว เมื่อมดลูกคลายตัว ศีรษะทารกจะไม่ผลุบกลับเข้าไปในช่องคลอด เรียกว่า Crowning
มือซ้ายที่กดศีรษะทารกทางด้านหน้าของช่องคลอดที่บริเวณท้ายทอยของทารก คลำได้ ส่วนท้ายทอยออกมาพ้นใต้ของล่างของกระดูกหัวหน่าวคือปุ่ม occipital protuberance ผ่านพ้นออกมาแล้วอย่างน้อย 2-3 ซม.
ระยะนี้ส่วนใหญ่ของศีรษะโผล่ออกมาแล้ว ผู้คลอดรู้สึกเจ็บปวดมากเหมือนฝีเย็บฉีกขาดออกจากกัน จึงอยากเบ่งให้ศีรษะพ้นออกมาโดยเร็ว ดังนั้นจึงต้องป้องกันมิให้ศีรษะทารกคลอดเร็วจนเกินไป
ขณะเดียวกันก็ทำการป้องกันการฉีกขาดของแผลฝีเย็บ (safe perineum) โดยใช้มือข้างที่ถนัดให้ศีรษะทารกคลอดช้าๆ ในตอนท้ายของการหดรัดตัวของมดลูก โดยวิธี Modified Ritgen’s maneuver ซึ่งเป็นการผลักหน้าผากของทารกให้ศีรษะทารกเงยขึ้น หลักการคือ ป้องกันมิให้เกิดการฉีกขาดหรือถ้าเกิดก็ให้มีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยพยายามบังคับให้ทารกคลอดโดยเอาส่วนที่เล็กที่สุดผ่านปากช่องคลอดออกมา การคลอดของศีรษะทารกในท่าปกติ ทารกจะเงยออกมา โดยเอาส่วนใต้ท้ายทอยยันไว้ใต้กระดูกหัวหน่าวแล้วจึงเงยศีรษะส่วน SOB SOFและ SOM ผ่านออกมา
ส่วนวิธีการทำคลอดศีรษะจะกระทำได้โดยผู้ทำคลอดจะอยู่ด้านขวาของผู้คลอด ใช้นิ้วมือซ้าย (มือข้างที่ไม่ถนัด) ของผู้ทำคลอดช่วยกดศีรษะทารกบริเวณ vertex ไว้ ไม่ให้ศีรษะทารกเงยเร็วเกินไป ส่วนอุ้งมือขวา (มือข้างที่ถนัด) จับผ้า safe perineum วางทาบลงบนฝีเย็บ ให้นิ้วหัวแม่มือและอีก 4 นิ้ว อยู่คนละด้าน วางผ้าsafe perineumให้ต่ำกว่าขอบฝีเย็บ1-2 ซม. เพื่อจะได้สังเกตการฉีกขาดของฝีเย็บได้ชัด แล้วรวบเนื้อและผิวหนังบริเวณฝีเย็บไว้ที่ระดับของสองข้างรูทวารหนัก ให้มองเห็นบริเวณ forchette ด้วยและพร้อมที่จะดันศีรษะทารกเงยขึ้นด้วย
เมื่อบริเวณใต้ท้ายทอยออกมายันใต้ subpubic arch แล้ว มือขวาจับผ้า safe perineum และวางที่บริเวณ perineum โดยไม่ขยับเขยื้อน จนกระทั่งส่วนที่กว้างที่สุดของศีรษะทารกคลอดออกมาหรือศีรษะทารกมี Crowning จากนั้นผู้คลอดเปลี่ยนมือที่ไม่ถนัดที่กดบริเวณท้ายทอยมาโกยศีรษะทารกที่อยู่เหนือบริเวณฝีเย็บให้เงยขึ้น พร้อมกับใช้มือที่ถนัดช่วยรูดฝีเย็บให้ผ่านพ้นหน้าและคางของทารก
หลังจากนั้นบอกให้ผู้คลอดหยุดเบ่งและหายใจทางปากลึกๆ ยาวๆ เพื่อรอกลไกการคลอดและป้องกันการฉีกขาดของฝีเย็บ ทิ้งผ้า safe perineum ลงถังขยะ หมุนศีรษะทารกตาม Restitution ที่เกิดขึ้นเพื่อให้ทารกกลับมาอยู่ในท่าเดิม ทำการ External rotation ต่อ เพื่อให้ศีรษะทารกหันมาอยู่ตรงกับหลัง บางคนอาจหมุนให้ศีรษะเงยขึ้น เพื่อให้สามารถ Suction ได้ง่าย และให้สะดวกในการช่วยเหลือ
จากนั้นผู้ทำคลอดใช้สำลีชุบ N.S.S. บีบพอหมาด เช็ดตาทารกโดยเช็ดจากหัวตาไปหางตา และใช้ลูกสูบยางแดงดูดมูกออกจากปาก ลำคอ และจมูกของทารกจนหมด หรือดูดออกให้มากที่สุดก่อนที่ทารกจะหายใจครั้งแรก ซึ่งมีความสำคัญมาก ป้องกันการสูดส าลักในระบบทางเดินหายใจเนื่องจากทรวงอกและช่องท้องทารกจะถูกเบียดรัดโดยช่องทางคลอด ทำให้น้ำและมูกที่อยู่ในระบบทางเดินอาหารของทารกออกมาอยู่ในลำคอ ปาก และจมูก
ข้อควรปฏิบัติ
พยายามให้ศีรษะทารกก้มตลอดเวลา มีการควบคุมศีรษะ และฝีเย็บจนกระทั่งบริเวณท้ายทอยได้คลอดผ่านพ้นส่วนล่างของรอยต่อกระดูกหัวหน่าว และใต้ท้ายทอยมายันที่รอยต่อของกระดูกหัวหน่าว แล้วจึงดันให้ศีรษะทารกเงยคลอดออกมา เพื่อจะได้เอาเส้นผ่าศูนย์กลางที่เล็กที่สุดของศีรษะทารกคือ SOB ผ่านออกมาตามด้วย SOF, SOM ตามลำดับ
พยายามไม่ให้ศีรษะทารกคลอดในระหว่างที่มีการหดรัดตัวของมดลูกและผู้คลอดเบ่งเพื่อป้องกันการคลอดเฉียบพลันและการฉีกขาดที่รุนแรงของช่องคลอดและฝีเย็บ
พยายามให้ศีรษะทารกเคลื่อนออกมาช้าๆ เพื่อลดการฉีกขาดของบริเวณปากช่องคลอด
พยายามให้ผู้คลอดหยุดเบ่ง โดยให้อ้าปากหายใจยาวๆ ลึกๆ เพื่อจะได้ช่วยทำคลอดศีรษะได้ถูกวิธีและลดภาวะอันตรายต่อมารดาและทารก ตรวจดูว่าสายสะดือพันคอหรือไม่ ผู้ทำคลอดสอดนิ้วเข้าไปคลำรอบคอทารกทั่วไปพบว่าประมาณ 30 % จะมีสายสะดือพันคอ ซึ่งอาจจะเป็น 1-3 รอบก็ได้ ส่วนมากจะเป็น 1 รอบ ถ้าพบว่ามีสายสะดือพันคออยู่ ก็ต้องรีบแก้ไข
ถ้าสายสะดือพันคอ 1 รอบหลวมๆ ให้รูดผ่านศีรษะทารกมาข้างหน้า แต่ถ้ารูดไม่ได้ ให้ทำคลอดไหล่และลำตัวพร้อมทั้งรูดผ่านลำตัวทารกออกมา
ถ้าสายสะดือพันคอแน่น อาจพันอยู่ 2-3 รอบ ไม่สามารถคลายออกได้ ให้ใช้ artery clamp สายสะดือ แล้วตัดสายสะดือ
การทำคลอดไหล่
ก่อนการทำคลอดไหล่ ผู้ทำคลอดจะต้องตรวจสอบสายสะดือพันคอทารกหรือไม่ และจะต้องแน่ใจว่าส่วน bisacromial ของทารกหมุนมาอยู่แนวหน้าของช่องเชิงกรานจึงช่วยทำคลอดไหล่
2.1 การทำคลอดไหล่หน้า
ผู้ทำคลอดใช้มือจับขมับโดยเอามือประกบข้างบน (มือซ้าย) และข้างล่าง(มือขวา) ให้อยู่ระหว่างอุ้งมือทั้งสองข้างแล้วค่อยๆ โน้มศีรษะทารกลงมาข้างล่างตามแนวทิศทางของช่องเชิงกรานส่วนบน เมื่อเห็นไหล่หน้าจนถึงซอกรักแร้ทั้งหมด ห้ามเอามือดึงรั้งใต้คางทารกเป็นอันขาดเพราะอาจทำอันตรายแก่ประสาทบางส่วนได้ การดึงศีรษะทารกลงมามากๆ เพื่อทำคลอดไหล่นั้นบางรายท าให้เกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ Sternomastoid และมีเลือดขังอยู่ได้ ซึ่งภายหลังจะเกิดแผลเป็นและพังผืดขึ้น ทำให้เกิดการดึงรั้งกล้ามเนื้อข้างนั้นให้มีการเจริญยืดยาวได้ ทำให้คอเอียง (congenital torticollis) ดังนั้นจึงควรทำด้วยความนุ่มนวลและเวลาดึงโน้มลงตามแนวทิศทางของทางคลอดจริงๆ เพื่อป้องกันมิให้เกิดพยาธิสภาพนี้ขึ้น
2.2 การทำคลอดไหล่หลัง
โดยจับศีรษะทารกให้อยู่ระหว่างอุ้งมือทั้งสองข้างเช่นเดียวกับการทำคลอดไหล่หน้า แล้วยกศีรษะทารกขึ้นในทิศทางประมาณ 45 องศากับแนวดิ่ง ห้ามสอดนิ้วเข้าไปดึงรักแร้หรือใต้คางทารก เพราะจะทำอันตรายต่อกลุ่มประสาทที่ไปเลี้ยงบริเวณใต้แขน (Brachial plexus) ทำให้ทารกที่เกิดออกมามี Erb- Duchenne Paralysis ขณะเดียวกันจะต้องดูบริเวณฝีเย็บด้วยจนกระทั่งแขนทั้งสองคลอดออกมาแล้วจึงหยุดดึงทารก ในการท าคลอดไหล่หลังนี้ฝีเย็บจะเกิดการฉีกขาดได้เพราะมารดาอาจจะเบ่งดันทารกออกมาตรงๆ โดยที่ผู้ทำคลอดให้การช่วยเหลือไม่ทัน หรือเป็นเพราะผู้คลอดยกศีรษะทารกให้ไหล่หลังคลอดไม่พอคือไม่ตรงกับแนวหนทางคลอดส่วนล่าง แทนที่ bisacromial diameter ของทารกจะผ่านออกตรงๆ กลับเป็นส่วนเส้นรอบอกของทารก ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าออกมา
การทำคลอดลำตัว
เมื่อไหล่ทั้งสองข้างคลอดออกมาแล้ว ลำตัวและแขน ขา ซึ่งเป็นส่วนที่เล็กกว่าก็จะคลอดตามมาได้ง่ายโดยงอตัวข้างๆ ตามลักษณะของแนวช่องทางคลอด และหากเห็นท้องทารก ให้หยุดsuction อีกครั้ง (ถ้าไม่ทันก็ให้ทำคลอดทั้งตัวก่อนก็ได้) ควรดึงตัวทารกออกมาช้าๆ เพื่อให้มดลูกปรับขนาดได้ตามธรรมชาติ
ถ้าดึงออกเร็วเกินไปจะทำให้ความดันในโพรงมดลูกลดลงอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้เกิดการเกร็ง (spasm) เกิดภาวะปากมดลูกหดรัดตัว (cervical cramp) ทำให้เกิดภาวะรกค้างได้
เมื่อทารกคลอดหมดทั้งตัวแล้วให้ดูเวลาทารกคลอดและ วางทารกลงบนผ้า sterile โดยวางทารกให้ตะแคงหันหลังเข้าหาปากช่องคลอดของมารดาและจัดให้สายสะดือวางพาดอยู่บนลำตัว การที่วางทารกเช่นนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้มือและแขนขา ของทารกซึ่งจะเคลื่อนไหวไปมาเวลาทารกดิ้นไป Contaminate บริเวณ anus ได้ และเป็นการป้องกันการสำลักจากเมือกต่างๆ ที่อยู่ในปากและจมูกของทารก ขณะเดียวกันก็ทำให้มีการ drainage ดีด้วย
หลังจากนั้นต้อง clear air way และกระตุ้นทารก จนกว่าทารกจะร้องและหายใจเองได้ดี แล้วประเมิน apgar scoreเพื่อให้การพยาบาลทารกได้อย่างถูกต้องเหมาะสม การผูกและการตัดสายสะดือทารก โดยทั่วไปหลังจากทารกคลอดออกมา และได้รับการดูแลในระยะแรกเกิดทันทีจนกระทั่งปลอดภัยแล้ว
การ clamp สายสะดือ ผู้ทำคลอดต้อง clamp ผูกสายสะดือ 2 ตำแหน่ง โดยตำแหน่งที่ 1จะ clamp ห่างจากหน้าท้องทารกประมาณ 2 - 3 ซม. โดยต้อง clampให้แน่น และให้ปลายกรรไกรพอดี ไม่โผล่ยาวเกินไป เพื่อปูองกันเลือดไหลออกจากตัวทารกหลังจากตัดสายสะดือ และรูดเลือดกลับไปด้านมารดา แล้ว clamp ตัวที่ 2 ห่างจากตัวที่ 1 ประมาณ 3-4 ซม.
การตัดสายสะดือ
ก่อนตัดสายสะดือผู้ทำคลอดต้องทำความสะอาดสายสะดือบริเวณที่จะตัดคือระหว่าง clamp ที่ 1 และที่ 2 ด้วยน้ ายาฆ่าเชื้อ เช่น alcohol 70 % หรือ Tr. Iodine 2% แล้ววางสายสะดือบนนิ้วกลางและนิ้วนางของมือข้างที่ไม่ถนัด ส่วนนิ้วชี้และนิ้วก้อยให้วางทับบนสายสะดือ สอดสำลีชุบน้ำยาฆ่าเชื้อไว้ใต้สายสะดือตรงตำแหน่งที่จะตัด มือข้างที่ถนัดถือกรรไกรตัดสายสะดือโดยหันปลายกรรไกรเข้าหาอุ้งมือที่พาดสายสะดือไว้ แล้วก าอุ้งมือข้างนั้นไว้ขณะตัด เพื่อปูองกันไม่ให้ปลายกรรไกรออกไปตัดนิ้วทารกที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา การตัดสายสะดือควรห่างจาก clamp ตัวที่ 1 ประมาณ 1 ซม. ขณะตัดต้องไม่ดึงรั้งสายสะดือ ทั้งด้านทารกและมารดา เพราะจะท าให้เกิดการฉีกขาดตรงรอยต่อระหว่างสายสะดือกับผิวหนังหน้าท้องทารก เมื่อตัดเสร็จให้วางสายสะดือข้างที่ติดอยู่กับมารดา และสอดไว้ใต้ผ้าคลุมหน้าท้อง หรือวางไว้บนผ้าคลุมหน้าท้องของมารดา และใช้ towel clip เกี่ยวยางรัดสายสะดือ หลังจากนั้นคลาย clamp ออก และบีบสายสะดือข้างที่ติดหน้าท้องทารกเพื่อทดสอบดูว่ามีเลือดซึมออกมาหรือไม่
จากนั้นผู้ทำคลอดยกทารกโดยใช้มือข้างหนึ่งจับข้อเท้าทั้งสองข้างของทารก โดยใช้นิ้วชี้สอดระหว่างข้อเท้าทั้งสองข้าง นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วกลางรวบข้อเท้าทารกแล้วก าไว้ให้แน่นเพื่อไม่ให้ลื่น มืออีกข้างจับบริเวณต้นคอและไหล่ ยกให้มารดาดูหน้าและเพศ รวมทั้งยืนยันเพศบุตรแล้ววางทารกใน crib พร้อมลูกสูบยางแดงเพื่อให้ผู้ช่วยคลอดดูแลทารกต่อไป และจะต้องผูกปูายข้อมือทารกโดยจะต้องตรวจสอบความถูกต้องให้เรียบร้อยก่อนที่จะนำทารกไปท าการดูแลต่อไป เพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนทารก ถ้ามีการคลอดพร้อมกันหลายๆ คน และระวังอย่าให้มือโดน crib ดูด้วยว่ามีเส้นเลือดกี่เส้น ซึ่งจะต้องมี artery 2 เส้น และvein 1เส้น ตรวจร่างกายทารกอย่างคร่าวๆ
หากไม่แน่นพอจะมีเลือดซึมออกมาให้ผูกซ้ำอีกครั้ง เช็ดปลายสายสะดือให้สะอาด การตัดสายสะดือนิยมตัดภายใน 1 นาที ถ้าตัดช้าทารกจะได้ความเข้มข้นของเลือดมากขึ้น แต่ตัวเหลืองบ่อยขึ้น การเติมเลือดน้อยลง และโอกาสที่ต้อง On phototherapy สูงกว่าการ Clamp โดยเร็ว การชะลอการ Clamp สายสะดือไป 1 นาที ทารกอาจได้ฮีโมโกลบินเพิ่ม 2.2 กรัม/ดล ขณะเดียวกันถ้า Clamp เร็วก็จะลดอัตราการท า Phototherapy ลงได้ร้อยละ40
ข้อควรสังเกตในการทำคลอด
เพื่อให้มดลูกมีการปรับตัวกับปริมาณที่เล็กลงภายหลังที่ทารกคลอดไปแล้ว และระหว่างนี้จะได้มีการลอกตัวของรกเกิดขึ้นพร้อมไปด้วย จนในบางรายอาจลอกตัวหมดพอดีพร้อมกับทารกคลอด
เพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด โดยช่วยให้การลอกตัวของรกเร็วขึ้นและการหดรัดตัวดีขึ้น
เมื่อการคลอดผ่านไปปกติ ก็จะมีผลให้ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่จะเกิดภายหลังคลอดลดน้อยลงไป
การปฏิบัติเมื่อศีรษะคลอด คือ Suction และเช็ดตา
การปฏิบัติเมื่อทารกคลอดทั้งตัว คือ Suction เช็ดตัว กระตุ้นร้อง
ในการทำคลอดตั้งแต่ศีรษะทารกเกิดจนตลอดลำตัวไม่ควรให้เร็วจนเกินไป ควรใช้เวลาประมาณ 2-3นาที ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ
https://w1.med.cmu.ac.th
http://www.elnurse.ssru.ac.th