Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดงที่สงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ (Presumtive evidences of pregnancy)
อ่อนเพลีย (Fatigue) เป็นอาการที่พบบ่อยโดยเฉพาะระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์และจะรู้สึกดีขึ้นหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
ปัสสาวะบ่อย (Disterbance in urination) เกิดในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เนื่องจากมดลูกมีขนาดโตขึ้นและไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะจึงรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
การขาดระดู (Amenorrhea) ประวัติเกี่ยวกับระดูเป็นสิ่งสำคัญในการวินิจฉัยการตั้งครรภ์เพราะการตั้งครรภ์จะทำให้ไม่มีระดูโดยเฉพาะในสตรีที่มีระดูสม่ำเสมอแล้วขาดหายไปมากกว่า 4 สัปดาห์
สีผิวหนังเปลี่ยนแปลง (Skin change) เกิดจากมีการสะสมเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น
เยื่อบุช่องคลอดเปลี่ยนแปลง (Vaginal mucosa changes) สีเยื่อบุช่องคลอดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินคลำหรือม่วงแดง (Chadvick 's sign) เกิดจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงมากและมีเลือดคั่งที่บริเวณเยื่อบุช่องคลอด
คลื่นไส้อาเจียน (Nousea and Vomitting) การตั้งครรภ์จะรบกวนการทำงานของระบบทางเดินอาหารทำให้คลื่นไส้ผะอืดผะอมรับประทานอาหารได้น้อย
. รู้สึกเด็กดิ้น (Fetal movement) เป็นการรับรู้ของมารดาว่าบุตรดิ้นซึ่งการรู้สึกว่าทารกในครรภ์ดิ้นเป็นครั้งแรกเรียกว่า quickening โดยสตรีครรภ์แรกจะเริ่มรู้สึกเมื่ออายุครรภ์ 18 20 สัปดาห์
การเปลี่ยนแปลงของเต้านม (Breast change) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ estrogen, progesterone และ prolactin มีอาการ เต้านมมีขนาดโตขึ้น ลานหัวนมกว้างและมีสีเข้มขึ้น พบเต้านมเทียม
อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะตั้งครรภ์ (Probable signs of pregnancy)
การเปลี่ยนแปลงที่ปากมดลูก (Cervical change) เมื่ออายุครรภ์ 8-10 สัปดาห์ ปากมดลูก จะนุ่มคล้ายริมฝีปาก การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เรียกว่า Goodell 's sign
การหดรัดตัวของมดลูก (Contraction) ระยะท้ายไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ มดลูกจะมีการหดรัดตัวเป็นครั้งคราวไม่สม่ำเสมอและไม่รู้สึกเจ็บปวด
ขนาดท้องโตขึ้นขนาดของมดลูกจะโตขึ้นจนอยู่เหนือระดับรอยต่อกระดูกหัวเหน่าและสามารถคลำได้คล้ายก้อนเนื้องอกเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 12 สัปดาห์
Ballottement ประมาณเดือนที่ 4-5 ของการตั้งครรภ์ภายในโพรงมดลูกจะมีน้ำหล่อเด็กค่อนข้างมาก
คลำพบขอบเขตรูปร่างทารก (Outlining the fetus) ในระยะปลายไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไปผู้ตรวจจะคลำขอบเขตรูปร่างของทารกได้ทางหน้าท้อง
การทดสอบทางฮอร์โมนได้ผลบวก (Hormone testof pregnancy) เป็นการตรวจหา human chorionic gonadotrophin (HCG) ระดับ HCG จะสูงสุดขณะอายุครรภ์ 10 สัปดาห์และลดลงจนคงที่เมื่ออายุครรภ์ 12-14 สัปดาห์
การเปลี่ยนแปลงของมดลูก (Uterine change) จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งขนาดรูปร่างและความยืดหยุ่นของมดลูกซึ่งจะตรวจพบได้จากตรวจภายในโดยการทำ bimanual examination
. อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์ (Positive signs of pregnancy)
การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ (Fetal movement) เป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่ใช่เกิดจากการรับรู้ของมารดาแต่ได้จากการตรวจพบของผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์โดยใช้มือสัมผัสกับหน้าท้องแล้วคอยรับความรู้สึกเมื่อทารกดิ้น
การตรวจพบทารกโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอดจะตรวจพบถุงที่เกิดจากการตั้งครรภ์ (gestational sac) ในโพรงมดลูกได้ตั้งแต่ 16 วันหลังปฏิสนธิส่วนการตรวจทางหน้าท้องจะพบได้ช้ากว่า
เต้นของหัวใจทารก (Fetal heart movement) สามารถตรวจสอบได้จาก การฟังเสียงเต้นของหัวใจผ่านทางหน้าท้องด้วย stethoscope โดยผู้เชี่ยวชาญ และ การใช้ Doppler ultrasound เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงพุ่งเข้าหาหลอดเลือดของทารกที่กำลังมีการไหลเวียนเลือด
ภาพเงากระดูกทารกการตรวจพบเงากระดูกทารกในภาพรังสี (X-ray) ซึ่งมักเริ่มเห็นหลังอายุครรภ์ 16 สัปดาห์แต่ในทางปฏิบัติการวินิจฉัยการตั้งครรภ์โดยวิธีนี้ไม่ใช้กันแล้วเนื่องจากอาจเกิดอันตรายต่อทารกโดยเฉพาะในช่วงที่ทารกยังเป็นตัวอ่อน (embryo) ปกติจะใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงแทนซึ่งปลอดภัยกว่าและตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ