Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พัฒนาการของระบบต่างๆของทารกในครรภ์ - Coggle Diagram
พัฒนาการของระบบต่างๆของทารกในครรภ์
ระบบการไหลเวียนโลหิต
การไหลเวียนโลหิตของทารกในครรภ์แตกต่างจากการไหลเวียนของทารกหลังคลอดหลายอย่างเช่นระหว่างอยู่ในครรภ์มารดาทารกได้รับออกซิเจนจากการเปลี่ยนที่รกไม่ใช่ที่ปอดส่วนเลือดที่ไหลผ่านปอดเพื่อนำไปเลี้ยงเซลของปอดไม่ใช่ให้ปอดทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ
ทารกในครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 3 เริ่มมีการแลกเปลี่ยนสารอาหารระหว่างเลือดของตัวอ่อนและเลือดของมารตาผ่าน chorionic villi
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ประมาณสัปดาห์ที่ 12 มีปัสสาวะเกิดขึ้นประมาณสัปดาห์ที่ 16 มีการหลั่งของปัสสาวะมาผสมอยู่ในน้ำหล่อเด็ก
ระบบประสาท
ระบบประสาทจะเจริญมากในระยะแรก (สัปดาห์ที่ 3-4) ของการตั้งครรภ์ในขณะที่สตรีก็ยังไม่แน่ใจว่าตนตั้งครรภ์
ระบบสืบพันธุ์
ประมาณสัปดาห์ที่ 6 มีพัฒนาการของต่อมเพศอายุครรภ์ 3 เดือนเริ่มแยกเพศได้
ระบบภูมิคุ้มกันโรค
ระบบภูมิคุ้มกันของทารกพัฒนาจนสามารถทำงานได้ตั้งแต่อายุครรภ์เพียง 13 สัปดาห์ในระยะแรกๆของการพัฒนาพบ lymphocytes ในตับตั้งแต่อายุครรภ์เพียง 9 สัปดาห์
พบในเลือดและม้ามตั้งแต่อายุครรภ์ 12 สัปดาห์พบ T lymphocytes ในธัยมัสตั้งแต่อายุครรภ์ราว 14 สัปดาห์
ในกระแสเลือดของทารกจะมีเพียง IgG ซึ่งผ่านรกมาจากแม่ Antibody ในทารกแรกคลอดส่วนมากสะท้อนถึงการมีภูมิคุ้มกันจากแม่ที่ได้มีมาก่อนและผ่านไปยังลูก lgG เริ่มผ่านรกตั้งแต่อายุครรภ์ 16 สัปดาห์
การเจริญเติบโตของรก สายสะดือ เยื่อหุ้มเด็กและน้ำหล่อเด็ก
สายสะดือ (Umbitical cord)
เป็นเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อระหว่างรกในผนังมดลูกของมารดากับหน้าท้องของเด็กสายสะดือจะประกอบไปด้วยเส้นเลือด 3 เส้นคือเส้นเลือดดำเส้นใหญ่จะมีหน้าที่ส่งอาหารและออกซิเจนไปสู่ทารกในครรภ์ส่วนอีก 2 เส้นจะเป็นเส้นเลือดแดงมีหน้าที่นำของเสียออกจากร่างกาย
สายสะดือยังมีสารที่มีลักษณะเป็นเจลลี (Jelly) ที่ช่วยพยุงปกป้องและปรับอุณหภูมิของหลอดเลือดในสายสะดือและยังประกอบด้วยเซลล์กล้ามเนื้อเรียบเส้นใยหรือพังผืดที่เคยเป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างกระเพาะปัสสาวะซึ่งท่อนี้จะลีบฝ่อไปเริ่มตั้งแต่เมื่อทารกอายุครรภ์ได้ประมาณ 20 สัปดาห์สายสะดือทั่วไปจะมีความยาวเท่ากับช่วงยาวของลำตัวทารกคือประมาณ 50 เซนติเมตร
น้ำหล่อเด็ก (Amniotic fluid)
น้ำหล่อเด็กบางส่วนมาจากของเหลวจากเลือดของมารดาที่ซึมผ่านถุงน้ำคร่ำและ / หรือผิวหนังของทารกแต่ส่วนใหญ่มาจากปัสสาวะของทารกโดยปริมาณน้ำคร่ำจะมากหรือน้อยขึ้นกับความสมดุลของการกลืนน้ำคร่ำของทารกและการขับปัสสาวะของทารกที่อยู่ในครรภ์
เป็นของเหลวที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำ / ถุงที่เป็นที่อยู่ของทารกในครรภ์โดยน้ำคร่ำจะอยู่รอบ ๆ ตัวทารกโดยน้ำคร่ำนี้จะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันการกระทบกระเทือนต่อทารกทำให้ทารกเคลื่อนไหวน้ำคร่ำนี้
รก (Placenta)
หน้าที่ของรกคือ
2) หายใจ (respiration) รกเปรียบเสมือนปอด
1) แลกเปลี่ยนสารอาหารจากแม่สู่ลูกในท้อง (nutrition)
3) ขับถ่ายของเสีย (excretion)
4) สร้างฮอร์โมน (hormone production)
5) ป้องกันอันตราย (protection)
6) เป็นแหล่งเมตาโบไลต์สารบางอย่างเช่นแอนติบอดี (antibody)
เป็นอวัยวะที่สร้างขึ้นมาในขณะตั้งครรภ์เมื่อมีการตกไข่ ประมาณวันที่ 6-7 หลังจากตกไข่จากนั้นเซลล์เริ่มแบ่งตัวและพัฒนากลายเป็นตัวอ่อนทารกและรก รกประกอบด้วย เนื่อรกสายสะดือและเยื่อหุ้มรกโดยรกจะเกาะอยู่ตรงส่วนผนังด้านในของมดลูก