Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตั้งครรภ์เกินกำหนด Postterm Pregnancy - Coggle Diagram
การตั้งครรภ์เกินกำหนด
Postterm Pregnancy
ความหมาย
การตั้งครรภ์เกินกำหนด คือ การตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 42 สัปดาห์ (294 วัน) หรือมากกว่า 40 สัปดาห์ (280 วัน) เมื่อนับจากวันตกไข่
อุบัติการณ์
การตั้งครรภ์เกินกำหนดพบประมาณร้อยละ 4-19 ของการตั้งครรภ์ หรือประมาณร้อยละ 10
ในกรณีที่เคยตั้งครรภ์เกินกำหนดก็มีโอกาสที่จะเกิดซ้ำได้สูงขึ้นในครรภ์ต่อไป เช่น เป็นร้อยละ 27 และ ร้อยละ 39 ถ้าเคยตั้งครรภ์เกินกำหนด 1 และ 2 ครั้ง ตามลำดับและโอกาสเกิดสูงขึ้นเป็น 2-3 เท่า ในสตรีตั้งครรภ์ที่มารดาคลอดเขาเกินกำหนด
สาเหตุ
โดยส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุของการตั้งครรภ์เกินกำหนดว่าเกิดจากอะไร แต่ในส่วนที่จะพอทราบสาเหตุมีดังนี้
ทารกที่เป็น anencephaly
ทารกที่มีภาวะต่อมหมวกไตฝ่อ
ทารกที่ไม่มีต่อมใต้สมอง
Placental sulfates deficiency
การตั้งครรภ์ในช่องท้อง
ปัจจัยที่พบว่าสัมพันธ์กับครรภ์เกินกำหนดคือมารดาที่ไม่เคยคลอดบุตรมาก่อนและมารดาที่มีBMI ก่อนการตั้งครรภ์ ≥ 25
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์เกินกำหนดได้จากประวัติระดูครั้งสุดท้ายที่แม่นยำร่วมกับข้อมูลอื่นที่ช่วยประกอบ เช่น ประวัติระดูครั้งก่อนสุดท้าย ความสม่ำเสมอของระดู ประวัติการคุมกำเนิด ประวัติการฝากครรภ์ตั้งแต่ระยะแรก การตรวจภายในเพื่อประเมินขนาดมดลูกในไตรมาสแรก การตรวจปัสสาวะทดสอบการตั้งครรภ์ให้ผลบวกในช่วงแรกที่เริ่มขาดระดู การตรวจอัลตราซาวน์ เพื่อประเมินอายุครรภ์โดยเฉพาะอายุครรภ์น้อย ๆ ประวัติทารกดิ้นครั้งแรก เมื่อเอาข้อมูลเหล่านี้มาประกอบกันจะทำให้ทราบอายุครรภ์ที่แน่นอนได้
ความสำคัญของการตั้งครรภ์เกินกำหนด
ปัญหาจากรกเสื่อมสภาพ (Placental dysfunction)
เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นโดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์ 41 สัปดาห์เป็นต้นไป อาจจะพบปัญหาการขาดออกซิเจนในทารกบางรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างคลอด ซึ่งแสดงออก คือ มีลักษณะ fetal distress จาก late deceleration
ปัญหาจากน้ำคร่ำน้อย (ollgohydramnios)
ปริมาณน้ำคร่ำที่ลดลงเป็นผลจากเลือดที่ไปเลี้ยงที่ไตทารกลดลง จึงทำให้การสร้างปัสสาวะจากทารกลดลง และส่งผลกระทบที่สำคัญ คือเกิดการกดสายสะดือทารกได้ง่ายขึ้นทั้งก่อนระยะเจ็บครรภ์และยิ่งมีความสำคัญยิ่งขึ้นในระยะที่เจ็บครรภ์เนื่องจากมีการบีบตัวของมดลูกด้วยโดยที่พบเสียงหัวใจทารกเป็นแบบ variable deceleration หรือ prolonged deceleration ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ที่พบบ่อยเพื่อผ่าตัดคลอดเนื่องจากทารกเครียด(fetal distress)
ปัญหาจากขี้เทาปนในน้ำคร่ำ (Meconlum stained amniotic fluid)
และการสำลักขี้เทา
(Meconlum aspiration syndrome)
จากการที่มีน้ำคร่ำน้อยในครรภ์เกินกำหนดร่วมกับขี้เทาปนทำให้เกิดความเข้มข้นของขี้เทาในน้ำคร่ำสูง (thick meconium stained amniotic fluid) ซึ่งอาจมีผลต่อทำให้เกิดการสำลักขี้เทาในทารกได้ แล้วเกิดอันตรายได้ ในรายที่รุนแรงก็ทำให้ทารกเสียชีวิตได้
การที่ทารกมีการขับถ่ายขี้เทาออกมาในน้ำคร่ำ อาจจะอธิบายได้จากหลายสาเหตุ
ภาวะขาดออกซิเจนในทารก (hypoxia)
ความสมบูรณ์พร้อมของระบบทางเดินอาหารในทารก
การควบคุมของระบบประสาท (vaginal stimulation) อันเนื่องมาจากการกดสายสะดือ ทารกชั่วคราว และส่งผลให้เกิดการบีบตัวของลำไส้
การที่มีขี้เทาในน้ำคร่ำก็มิได้บอกว่าเป็นอันตรายต่อทารกเสมอไป จากการศึกษา ล่าสุดพบว่าการที่มีขี้เทาในน้ำคร่ำ (โดยรวมของทุกอายุครรภ์) ทำให้เกิดการตายปริกำเนิดของทารกแรกคลอดเพียง 1:1,000 ของทารกเกิดมีชีพเท่านั้น
4.ปัญหาด้านการเจริญเติบโตของทารก(Fetal growth restrriction )
เมื่อทารกอยู่ในครรภ์นานก็อาจเกิดการชะงักการเจริญเติบโตได้จากรกเสื่อมสภาพ ซึ่งครรภ์เกินกำหนดพบได้ร้อยละ 4 และเพิ่มอัตราตายปริกำเนิด ในบางส่วนทารกที่อยู่ในครรภ์นานอาจเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งพบได้ร้อยละ 11.2 ส่งผลให้คลอดยาก คลอดติดขัดได้ เพิ่มหัตถการทางสูติศาสตร์ ซึ่งเพิ่มอันตรายต่อทั้งมารดาและทารก
ปัญหาอื่น ๆ
ต่อมารดา
เพิ่มอัตราการเร่งคลอด การผ่าตัดคลอดอย่างมีนัยสำคัญ
ต่อทารก
อุณหภูมิกายต่ำ (hypothermia)
ภาวะขาดน้ำ (hypovolemia)
น้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia)
ภาวะเลือดเป็นกรด (metabolic acidosis)
การดูแลรักษา
ระยะก่อนคลอด
การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ มีหลาย ๆ วิธี
Non-stress test (NST) หรือ fetal acoustic stimulation test (FAST)
Contraction stress test (CST)
Biophysical profile (BPP)
Amniotic fluid volume assessment โดยอัลตราซาวน์
Doppler velocimetry
เริ่มทำการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ 42 สัปดาห์เป็นต้นไป
เนื่องจากครรภ์เกินกำหนดถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง จึงควรตรวจสุขภาพทารกในครรภ์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรืออาจจะพิจารณายุติการตั้งครรภ์เลยก็ได้ในกรณีที่ทราบอายุครรภ์ที่แน่นอน แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าจะเป็นครรภ์เกินกำหนดหรือไม่ การยุติการตั้งครรภ์เลย อาจจะเป็นผลเสียหากอายุครรภ์ผิดพลาดมากและเป็นครรภ์ก่อนกำหนด
ระยะคลอด
ระยะคลอดเป็นระยะที่อันตรายที่สุดของครรภ์เกินกำหนด ควรให้ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ว่าเมื่อเจ็บครรภ์คลอดให้รีบมาโรงพยาบาล เพราะต้องติดตามสุขภาพทารกอย่างใกล้ชิด ด้วย continuous fetal heart rate monitoring และติดตามการหดรัดตัวของมดลูกด้วย
การเจาะถุงน้ำคร่ำ amniotomy
ข้อดีคือสามารถดูลักษณะน้ำคร่ำได้ว่ามีขี้เทาปนหรือไม่ และสามารถทำ Internal Fetal Heart Rate Monitoring ได้
ข้อเสีย เนื่องจากการเจาะถุงน้ำคร่ำจะทำให้น้ำที่มีปริมาณอยู่ไม่มากลดปริมาณลงอีก มีโอกาสเกิดสายสะดือถูกกดได้
การผ่าท้องทำคลอดอาจพิจารณาทำได้ เช่น น้ำคร่ำมีขี้เทาปนมากและคาดว่าใช้เวลาอีกนานกว่าทารกจะคลอด สงสัยภาวะการผิดสัดส่วนระหว่างเชิงกรานกับทารก (Cephalopelvic disproportion) หรือการหดรัดตัวของมดลูกผิดปกติ
การเติมน้ำคร่ำ (Amnioinfusion)
ช่วยลดการผ่าตัดคลอดจากภาวะทารกเครียด
การดูแลทารกแรกคลอด
เตรียมกุมารแพทย์ไว้คอยรับเด็กเพราะอาจต้องช่วยเหลือเด็กทันทีหลังคลอด
ดูดเมือกออกจากปาก คอ จมูกของทารกก่อนจะคลอดไหล่ของทารก (Intrapartum suctioning)
ถ้าทารกมีอาการหายใจช้า ติดขัด หรือไม่หายใจ (Non-vigorous) ให้ทำการดูดขี้เทาอย่างเพียงพอผ่านท่อช่วยหายใจ (Endotracheal tube)
เฝ้าระวังการเกิดภาวะ hypoglycemia hypocalcemia hypothermia เป็นต้น