Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่7 การประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา - Coggle Diagram
บทที่7 การประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา
กรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. 2559 - 2563) ระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถานศึกษาเป็นผู้กำหนดเป้าหมายและ เกณฑก์ารประเมินตามสภาพบรบิทของสถานศึกษาเอง
การประเมินคณุภาพภายนอกของสถานศึกษาเป็นการตัดสินระดับคุณภาพตามหลกัการตัดสินโดยผู้เชี่ยวชาญ
การประเมินคุณภาพภายนอกเป็นการประเมิน ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามสภาพจริงของสถานศึกษา
ผู้ประเมินต้องมีความรู้อย่างรอบด้านและวิเคราะห์ ข้อมูลร่วมกันในคณะกรรมการประเมินเพื่อการตัดสินให้ระดับคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
ไม่มีการตัดสินผลการประเมินว่า “ได้-ตก”
หลักการและแนวคิดสําคัญ
หลักการ
การประเมินคุณภาพภายนอกต้องมีความเชื่อมโยงกับระบบประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดที่จะต้องรับผิดชอบให้บรรลุถึงเป้าหมายในการจัดการศึกษาและร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาที่เกิดขึ้น
การประเมินคุณภาพภายนอกต้องมีความท้าทายและช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา และยกระดับคุณภาพของสถานศึกษาสู่สากล ให้เป็นไปตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาของ ประเทศบรรลุเป้าหมายทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
แนวคิด
เน้นการประเมินเพื่อยืนยันคุณภาพของระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดรับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาชาติตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และมีความพร้อมในการ แข่งขันในระดับสากล
ให้ความสำคัญกับการประเมินที่มุ่งสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมี สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคต และสถานศึกษามีขีดสมรรถนะสูง สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต
ใช้กลไกการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อกระตุ้นและจูงใจให้เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา ที่สอดคล้องก้บความต้องการจำเป็นและยุทธศาสตรข์องประเทศ
เปิดโอกาสให้สถานศึกษาสร้างความโดดเด่นเฉพาะทาง หรือเป็นต้นแบบในการพัฒนาในระดับภูมิภาค ระดับชาติและระดับนานาชาติ
นิยามศัพท์
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
หมายถึง รายงานผลการดำเนินงาน ของสถานศึกษาซึ่งถือว่าเป็นรายงานประเมินตนเองที่สถานศึกษาเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา มีความสอดคล้องสามารถรองรับ และใช้เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกได้
รายงานการประเมิน
หมายถึง รายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาที่มีองค์ประกอบครบถ้วนเป็นไปตามที่ สมศ. กำหนด
ความเหมาะสม/เป็นไปได้ (Propriety / Feasibility)
หมายถึง การกำหนด เป้าหมาย/เกณฑค์วามสำเร็จของผู้เรียนมีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง ประหยัด และคุ้มค่า
ผู้ประเมินภายนอก
หมายถึง บุคคล หรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจาก สมศ. ให้ ทำการประเมนิคุณภาพภายนอกสถานศกึษาระดับต่างๆ ตามคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ที่ สมศ. กำหนดโดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
การรับรองรายงานการประเมิน
หมายถึง การรับรองรายงานประเมินคุณภาพภายนอกฉบับสมบูรณ์ที่ผ่านการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่ สมศ.กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพพ.) เพื่อ ใช้ในการพิจารณาให้การรับรองมาตรฐานการศึกษา โดยคณะกรรมการ สมศ
ความเป็นระบบ (Systematic)
หมายถึง กระบวนการดำเนินงานด้านการบริหารและ การจัดการด้านการจัดการเรียนรู้ที่เกิดจากการคิดอย่างเป็นกระบวนการ
คณะกรรมการพัฒนาระบบ
หมายถึง คณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพพ.)
ความเชื่อถือได้ (Validity / Credibility)
หมายถึง กระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาที่เกิดจากผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลายและมีคุณภาพใช้หลักฐานหรือสารสนเทศเชิงประจักษ์ หรือมีข้อมูลจากหลายแหล่งในการตัดสินผล การดำเนินงาน
คณะผู้ประเมิน
หมายถึง ผู้ประเมินภายนอกตามจำนวนและองค์ประกอบที่ สมศ. กำหนดที่ได้รับการรับรองให้ทำการประเมินภายนอกสำหรับสถานศึกษา
ประสิทธิผล (Effectiveness)
หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นของการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้อันเป็นผลที่เกิดต่อผู้เรียนต่อองค์กร ต่อวงวิชาการซึ่งผลการดำเนินงานมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง มีนวัตกรรมและเป็นแบบอย่างที่ดี
การประเมินคณุภาพภายนอก
หมายถึง การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษา ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือผู้ประเมินภายนอก แล้วแต่กรณีเพื่อให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษาให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
นวัตกรรม (Innovation)
หมายถึง แนวคิดหรือวิธีการที่นำมาใช้ในการปฏิบัติ แก้ปัญหาการพัฒนา ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด กระบวนการ หรือองค์กร อย่างเห็นได้ชัด เป็นการพัฒนาต่อยอด เพิ่มมูลค่า มีเป้าหมายในเชิงบวก
กฎกระทรวงฯ
หมายถึง กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
เป็นแบบอย่างที่ดี (Best-Practice)
หมายถึง รูปแบบวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้น ๆ มีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน
กรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. 2559 - 2563)
กรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. 2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ด้านคุณภาพของผู้เรียน หรือด้านอื่นตามชื่อที่สถานศึกษากําหนด
โดยมีแนวทางการพจิารณา คือ พิจารณาจากคุณภาพของผู้เรียน ในประเด็นดังต่อไปนี้
1.ความเหมาะสม เป็นไปได้
พิจารณาจากการกeหนดเป้าหมาย/เกณฑ์ในการ พัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพจริงของผู้เรียน
พิจารณาจากกระบวนการและผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนกับ ผลการตรวจสอบจากสภาพจริง
3.ประสิทธิผล