Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย, นางสาว อรพิมล ปิ่นปี เลขที่ 60 36/2…
การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดในการวิจัย
Conceptualization
กระบวนการสร้างมโนทัศน์จากปรากกการณ์ที่เกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติ
ใช้ความรู้จากทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เขียนแล้วได้เป็นกรอบแนวคิดเชิงทฤษฏี
Theoretical framework
เขียนแสดงความสัมพันธ์ เชื่อมโยงของตัวแปรตามหลักการทฤษฏี
เขียนครอบคลุมทุกตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
มักนิยมเขียนเป็น Diagram
Conceptual framework
เขียนแสดงตัวแปรไม่ครบทุกตัว
เลือกเขียนเฉพาะตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
ใช้คำบรรยายประกอบแผนภาพ
เขียนอธิบายความสัมพันธ์ สอดคล้อง เกี่ยวข้อง ข้องตัวแปร และอธิบายเหตุที่ไม่ได้เขียนถึงตัวแปรครบทุกตัว
กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย
แบบจำลองที่นักวิจัยสร้างขึ้นจากทฤษฏีที่มีอยู่และจากผลการวิจัยที่มีอยู่ก่อนซึ่งเกี่ยวข้องกัน เพื่อศึกษาดูว่าเป็นเช่นนั้นหรือไม่
การเขียน Conceptual framework
กำหนดขอบเขตการวิจัย
เปลี่ยนชื่อเรื่อง
ทำให้มีตัวแปรควบคุม
ทำให้อยู่ใน Inclusion criteria
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
นักเรียน ครอบครัว ครู โรงเรียน
ปัจจัยด้านครูและนักเรียนคงที่(เป็นไปไม่ได้ไม่มีทฤษฏีรองรับ)
ปัจจัยด้านครอบครัวและโรงเรียน
กำหนดขอบเขต เช่น เลือกศึกษาในโรงเรียนเดียว ห้องเรียนเดียว
กำหนด ครูที่จบปริญญาตรี นักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนในแต่ละรายวิชา
วิธีการเขียน
ทบทวนเอกสารและวรรณกรรมให้ครอบคลุม และทันสมัย
สรุปและเขียนประเด็นความรู้ว่าเป็นอย่างไร
มีเกณฑ์ช่วยในการอ่าน เพื่อบอกความรู้เรื่องนี้เป็นอย่างไร
ข้อบกพร่อง
การทบทวนวรรณกรรมไม่ดีพอ จึงไม่สามารถ comment ได้
เขียนเป็นกระบวนการวิจัย
ใช้ theoretical concept มาเขียน
แสดงความสัมพันธ์ไม่ถูกต้อง
ประเภทของการวิจัย
1.แบ่งตามประโยชน์ของการนำผลการวิจัยไปใช้
การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์ (Basic or pure research) เป็นวิจัยที่มุ่งสร้างทฤษฏี สูตร หรือกฏ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องอื่นๆ
การวิจัยประยุกต์ (Applied research) เป็นวิจัยที่เป็นไปเพื่อจะนำผลวิจัยที่เกิดขึ้นไปใช้ในการทำวิจัยจริง
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เป็นวิจัยที่มุ่งทำให้เกิดผลที่เป็นพัฒนางานหรือแก้ไขข้อบกพร่องของหน่วยงาน
2.แบ่งตามวัตถุประสงค์และวิธีการเสนอข้อมูล
การวิจัยขั้นสำรวจ(Exploratory research) เป็นการหาคำตอบเกี่ยวกับตัวแปรที่ศึกษาว่าเป็นอย่างไร เช่น จำนวน ร้อยละ มาก-น้อย สูง-ต่ำ เท่านั้น ไม่มีการเปรียบเทียบ
การวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) เป็นการวิจัยคล้ายกับแบบสำรวจตรวที่ไม่มีการทดลองในการวิจัย แต่สามารถเปรียบเทียบตัวแปรได้
การวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (Explanatory research) ไม่มีการทดลอง แต่หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ หรือหาปัจจัยที่มีผลต่อตัวแปรได้
การวิจัยเชิงคาดคะเน(Predictive research) เป็นการวิจัยที่ให้ผลการวิจัยที่บอกสิ่งที่ยังไม่เกิด แต่คาดไว้ว่าจะเกิดอย่างไร
การวิจัยเชิงวินิจฉัย(Diagnostic research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาปัญหาหรือสาเหตุของปัญหา
3.แบ่งตามความสามารถในการควบคุมตัวแปร
การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) เป็นการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนได้เต็มที่
การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) เป็นการวิจัยที่ควบคุมได้บางส่วน
การวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic research) ไม่ต้องการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนใดๆ ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ
4.แบ่งตามระเบียบวิธีการวิจัย
การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical research) ศึกษาว่าในอดีตเกิดอะไรขึ้น ปัจจุบันเป็นอย่างไร หาความสัมพันธ์ตัวแปรบางตัวในอดีตกับปัจจุบัน เพื่อทำนายว่าอนาคตเป็นอย่างไร
การวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) ไม่มีการทดลอง ศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
การวิจัยเชิงทดลอง(Experimental research) มีการทดลอง
การวิจัยเชิงย้อนรอย (Expost facto research) เป็นการวิจัยที่ศึกษาจากผลไปหาเหตุผลในปัจจุบัน ที่เกิดจากเหตุในอดีต เริ่มจากกำหนดผลหรือตัวแปรตามก่อนแล้วค่อยค้นหาสาเหตุ
การวิจังเชิงสำรวจ (Survey research) หาคำตอบเกี่ยวกับตัวแปรว่ามีคุณลักษณะอย่างไร จำนวนเท่าไร
การวิจัยเชิงประเมินผล (Evaluative research) การประเมินโดยใช้ CIPP ประเมิน Context คือบริบทของงานที่ประเมินเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์กับปัญหาสอดคล้องกันไหม
5.แบ่งตามลักษณะของข้อมูล
การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research)
การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)
การวิจัยแบบผสม (Mixed methods)
แบบคู่ขนาน
แบบตามลำดับก่อนหลัง
6.แบ่งตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิจัยจากเอกสาร (Documentary research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงาน จดหมายเหตุ ศิลาจารึก
การวิจัยจากการสังเกต (Observation research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต
การวิจัยแบบสำมะโน (Gensus research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกๆหน่วยของประชาชน
การวิจัยแบบสำรวจจากตัวอย่าง (Sample survey research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง
การศึกษาเฉพาะกรณี (Gase study) เป็นการศึกษาเรื่องที่สนใจในขอบเขตจำกัดแคบๆและใช้จำนวนตัวอย่างไม่มากนัก แต่จะศึกษาอย่างลึกซึ้ง
การศึกษาแบบต่อเนื่อง (Panel study) เป็นการศึกษาที่เก็บข้อมูลเป็นระยะ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาของกลุ่มตัวอย่าง
การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยเก็บข้อมูลมาจากการทดลอง
นางสาว อรพิมล ปิ่นปี เลขที่ 60 36/2 612001141