Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคขาดวิตามินบี ๑ (Vitamin B1 Deficiency) - Coggle Diagram
โรคขาดวิตามินบี ๑ (Vitamin B1 Deficiency)
สาเหตุและการติดต่อ
การรับประทานวิตามินบี 1 ในปริมาณซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งอาจเกิดจากความอดอยาก และหรือการรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วน หรือได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน จากการได้รับ สารอาหารทางหลอดเลือดดำ (parenteral nutrition)
การรับประทานอาหารที่มีสารทำลายวิตามินบี 1
• สารที่ไม่ทนต่อความร้อน (heat labile) ซึ่งเป็นเอนไซม์ ที่เรียกว่า thiaminase พบได้ในอาหารจำพวกปลาน้ำจืด หอยลาย และปลาร้า
• สารที่ทนต่อความร้อน (heat stable) สารประเภทนี้มีอยู่หลายชนิด พบได้ในพืชและผัก พวกใบชา ใบเมี่ยง หมากพลู สีเสียด นอกจากนี้ยังอาจพบได้ในปลาน้ำจืดบางชนิด
• ภาวะมีการเพิ่ม metabolism ของร่างกาย ในภาวะดังกล่าวนี้ จะมีการสลายตัวของคาร์โบไฮเดรต เพิ่มขึ้น ความต้องการวิตามินบี 1 จึงสูงขึ้นด้วย ภาวะดังกล่าวได้แก่
ภาวะทางพยาธิวิทยา ได้แก่ โรคติดเชื้อ หรือมีความเจ็บป่วยต่างๆ อันได้แก่ การผ่าตัด ภาวะเครียด นอกจากนี้ยังอาจพบในภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมาก
ภาวะทางสรีระวิทยา ได้แก่ เด็กในวัยเจริญเติบโต หญิงมีครรภ์ และหญิงกำลังให้ นมบุตร การ ทำงานหนัก
• การลดการดูดซึมวิตามินบี 1 จากลำไส้ หรือการสูญเสียวิตามินบี 1 ซึ่งลำไส้จะลดการดูดซึมในกรณี ผู้ป่วยขาดสารอาหารเรื้อรัง ขาดสารอาหารโฟลิคแอซิด ภาวะ malabsorption มีท้องร่วง และพิษสุรา เรื้อรัง ซึ่งจะทำให้การบริโภคอาหารรวมทั้งวิตามินบี 1 ลดลง และความสามารถของตับที่จะเปลี่ยน วิตามินบี 1 เป็น TPP จะลดลงในรายที่เป็นโรคตับแข็ง นอกจากนี้ร่างกายจะสูญเสียวิตามินบี 1 จากการ ใช้ยาขับปัสสาวะ ท้องร่วง และการท า hemodialysis
อาการและอาการแสดง
โรคเหน็บชาในเด็ก (infantile beriberi)
พบ บ่อยในทารกอายุ 2-3 เดือน มักเป็นในทารกที่ดื่มน้ำนมแม่ และแม่กินอาหารที่ขาดวิตามินบี 1
เช่น
• อ่อนเพลีย ขาดมีสมาธิ ความจำไม่ดี หงุดหงิดง่าย
• เจ็บหน้าอก นอนไม่หลับ ท้องผูก อืด เบื่ออาหาร ชาตามปลายเท้าสองข้าง
• ปวดกล้ามเนื้อ ลุกไม่ขึ้น หากอาการรุนแรงอาจเป็นตะคริว ซึ่งมักเกิดในเวลากลางคืน
• มีอาการเหน็บชาตามปลายมือและปลายเท้า ทำให้รู้สึกเจ็บแปล๊บ
• เหนื่อยง่ายกว่าปกติ แขนขาอ่อนแรง ปัสสาวะลดลง ปวดตามน่อง อารมณ์แปรปรวน
• น้ำหนักลด
• เท้าบวม นอนราบไม่ได้ ผิวร้อน ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็วผิดจังหวะ
ความหมาย
หรือ ไทแอมีน (thiamine) เป็นวิตามิน (vitamin) ที่ละลายน้ำชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็น
ต่อการดำรงชีวิต
มีหน้าที่สำคัญ คือ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน
และไขมัน ทำให้เกิดพลังงานเพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้
นอกจากนี้ ยังมีส่วนสำคัญของระบบประสาทโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านนำกระแสความรู้สึกของเส้นประสาท ถ้าร่างกายได้รับวิตามินบีหนึ่งไม่เพียงพอจะทำให้เป็นโรคเหน็บชา
การพยาบาล
ตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ ซึ่งวัดระดับของวิตามิน บี 1 ในร่างกายได้ หากร่างกายของผู้ป่วยมีปัญหาในการดูดซึมวิตามิน บี 1 มักมีระดับของวิตามิน บี 1 ในเลือดต่ำ แต่ในปัสสาวะจะมีอยู่มาก
การตรวจร่างกาย อาจช่วยให้แพทย์ทราบหากผู้ป่วยมีความผิดปกติหรือมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ หัวใจเต้นเร็ว ขาส่วนล่างบวม หายใจติดขัด หรืออาจตรวจพบอาการหอบเหนื่อย ตัวเขียว หรือพบอาการหัวใจวาย หัวใจโต เมื่อใช้เครื่องฟังตรวจปอดแล้วมีเสียงกรอบแกรบ และตรวจพบตับโต เป็นต้น
ตรวจร่างกายทางระบบประสาท (Neurological Examination) จะช่วยทดสอบการประสานงานต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การเดิน การขยับของตา และการตอบสนองของร่างกาย นอกจากนั้น ผู้ป่วยเหน็บชาในระยะที่รุนแรงขึ้นจะสูญเสียความทรงจำ สับสน หรือมีอาการหลงผิด (Delusion) ซึ่งสามารถตรวจพบได้
เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI) หรือ ซีทีสแกน (CT-Scan) เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของสมองที่เกิดจากภาวะทางสมองขาดวิตามิน บี 1 (Wernicke's Encephalopathy)
การรักษา
ในผู้ป่วยที่มีอาการหนักมาก อาจจะฉีดไธอะมิน 25 มิลลิกรัม เข้าเส้นเลือดดำช้า และตามด้วยอีก 25 มิลลิกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หลังจากนั้นควรฉีดไธอะมินให้อีก 20 มิลลิกรัม ทุกวัน หรือวันเว้นวันจนกระทั่งอาการสำคัญหายไป
นอกจากนั้น ผู้ป่วยจะต้องได้รับการติดตามอาการหรือตรวจสอบการดูดซึมของวิตามิน บี 1 ของร่างกาย ด้วยการตรวจเลือด
สำหรับกรณีทั่วไปที่ไม่รุนแรงแพทย์จะให้วิตามิน บี 1 แบบชนิดเม็ดให้ผู้ป่วยรับประทานเสริมอาหาร
การป้องกัน
เลือกทานอาหารให้ครบตามหลักโภชนาการ ซึ่งถ้าเป็นวิตามินบี 1 จะพบได้มากในข้าวซ้อมมือ ไข่แดง เนื้อสัตว์ นม ถั่ว โยเกิร์ต น้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ และธัญพืชเปลือกบาง
หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำลายวิตามิน เช่น ปลาร้า หมาก พลู ชา หอยแมลงภู่ หอยกาบ
ไม่รับประทานกุ้งดิบ เนื้อสัตว์ดิบ และปลาน้ำจืดบางชนิด เพราะมีเอนไซม์ Thiaminase ที่ลดการดูดซึม Thiamine