Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของสภาพร่างกายผู้คลอด Abnormality of physical condition -…
ความผิดปกติของสภาพร่างกายผู้คลอด
Abnormality of physical condition
ความหมาย
สภาพร่างกายที่ผิดปกติมีผลต่อการคลอด เช่น ความอ่อนเพลียเหนื่อยล้า ภาวะขาดน้ำ การมีโรคทางอายุรกรรมหรือ ภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม ที่เป็นอุปสรรคต่อการคลอด หรือการเบ่งคลอด ภาวะกระดูกเชิงกรานแตกหักผิดรูป หรือพิการมีน้ำหนักหรือความสูงผิดปกติ
สาเหตุ
1.คลอดที่มีความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ขาดน้ำ หรือมีความไม่สมดุลของสารน้ำ และอเล็กโทรไลต์
2.คลอดมีโรคทางอายุรกรรม เช่น โรคหัวใจและผู้คลอดมีภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม เช่น ภาวะความดันโลหิต สูงขณะตั้งครรภ์
3.ผู้คลอดที่น้ำหนักตัวผิดปกติ โดยเฉพาะรายที่น้ำหนักมากกวา่ 80 กิโลกรัม
4.ผู้คลอดที่ความสูง <145 cm.
5.อายุ โดยเฉพาะรายที่อายุ >35 ปี หรือ <17 ปี
6.มีประวัติได้รับ อุบัติเหตุของกระดูกเชิงกราน หรือ ความพิการผิดรูป
การประเมินสภาพ
1.การซักประวัติเกี่ยวกับโรคประจําตัว โรคทางอายุรกรรม
การได้รับอุบัติเหตุบริเวณช่องเชิงกราน
2.การตรวจร่างกาย เกี่ยวกับน้ำหนักตัว ความสูง ภาวะขาดน้ำและอิเล็กโทรไลต์ ภาวะกระดูกเชิง กรานผิดรูปพิการ หรือการได้รับอุบัติเหตุ
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1.ผู้คลอดและทารกได้รับอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคทางอายุรกรรมหรอื ภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม
2.ผู้คลอดมีโอกาสได้รับอันตรายจากการเบ่งคลอดเนื่องจากมีโรคทางอายุรกรรม หรือภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม
3.มีโอกาสเกิดการคลอดยาก เนื่องจากช่องเชิงกราน
ผิดปกติ หรือทาารกตัวใหญ่
วัตถุประสงค์
1.ผู้คลอดปลอดภัยทุกระยะของการคลอดไม่เกิดอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคทางอายุรกรรม หรือภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม
2.ผู้คลอดปลอดภัยไม่เกิดอันตรายจากการเบ่งคลอด
เนื่องจากมีโรคทางอายุรกรรม หรือภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม
3.ไม่เกิดการคลอดยาก หรือคลอดยาวนาน
กิจกรรมการพยาบาล
1.วัดสัญญาณชีพ เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้คลอด
2.ตรวจภายในเป็นระยะๆ ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินการเปิดขยายความบางของปากมดลูกลักษณะถุงนาทารกมีการหมุน และการเคลื่อนต่ำของทารก ของส่วนนําหากไม่ก้าวหน้าต้องรายงานแพทยเ์ พื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือที่เหมาะสม
3.ประเมินสภาพทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิดทุก 30 นาที ใน activephase
ทุก 1 ชั่วโมง ใน latent phaseและทุกครั้งที่มดลูกคลายตัวในระยะที่ 2
ของการคลอดเพื่อเฝ้าระวังภาวะ fetal distress
4.ดูแลให้สารนาทางหลอดเลือดดําตามแผนการรักษาอย่างเพียงพอ เพื่อบ้องกันภาวะขาดน้ำการไม่สมดุลสารน้ำและอิเล็กโทรไลตและมักให้งดน้ำและอาหารทางปากเนื่องจากอาจต้องช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ หรอการผ่าตัดคลอด
5.ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจความเข้มข้นของเมล็ดเลือดหมเู่ลือด ตามแผนการรักษาในรายที่จําเป็น
6.กระตุ้นให้เบ่งคลอดอย่างถูกวิธีในระยะที่ 2 ของการคลอดในรายที่ไม่มีข้อห้าม
7.รายที่มีโรคหัวใจ โรคไต หอบหืด ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ไม่ให้เบ่งคลอดนาน ไม่เกินครั้งละ 6 วินาที
8.ดูแลช่วยคลอด หรือช่วยแพทย์ทำสูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด
ตามแผนการรักษาอย่างถูกต้อง