Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดงที่สงสัยว่าอาจตั้งครรภ์
(Presumtive evidences of
pregnancy)
การขาดระดู (Amenorrhea) ประวัติเกี่ยวกับระดูเป็นสิ่งสาคัญในการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ เพราะการตั้งครรภ์จะทาให้ไม่มีระดู โดยเฉพาะในสตรีที่มีระดูสม่าเสมอแล้วขาดหายไปมากกว่า 4 สัปดาห์ ให้คิดเสมอว่าอาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้ แต่ประวัติการขาดระดูเพียงอย่างเดียวอาจทาให้การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ผิดพลาดได้ ดังนั้นการซักประวัติต้องถามถึงการมีเพศสัมพันธ์ และการคุมกาเนิดร่วมด้วย
การเปลี่ยนแปลงของเต้านม (Breast change) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ estrogen, progesterone และ prolactin ซึ่งจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของท่อน้านม (alveoli duct) และต่อมน้านม (alveoli gland) ทาให้สตรีตั้งครรภ์เกิดการเปลี่ยนแปลง
คลื่นไส้ อาเจียน (Nousea and Vomitting) การตั้งครรภ์จะรบกวนการทางานของระบบทางเดินอาหารทาให้คลื่นไส้ ผะอืดผะอม รับประทานอาหารได้น้อย สตรีตั้งครรภ์บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อย่างเดียว หรือมีอาการอาเจียนร่วมด้วย เรียกว่า morning sickness พบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 6-12 สัปดาห์ และจะเป็นอยู่นาน 6-8 สัปดาห์ หลังจากนั้นแล้วอาการจะค่อยๆดีขึ้น แต่บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนตลอดการตั้งครรภ์ เรียกว่า ภาวะอาเจียนไม่สงบ (hyperemesis gravidarum)
อ่อนเพลีย (Fatigue) เป็นอาการที่พบบ่อยโดยเฉพาะระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์เนื่องจากสตรีตั้งครรภ์มีเมตตาบอลิสมเพิ่มขึ้น สตรีงตั้งครรภ์จะรู้สึกอ่อนเพลีย อยากนอนหรือนั่งพัก ซึ่งเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกายขณะตั้งครรภ์ อาการอ่อนเพลียจะรู้สึกดีขึ้นหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
ปัสสาวะบ่อย (Disterbance in urination) เกิดในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เนื่องจากมดลูกมีขนาดโตขึ้นและไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะทาให้กระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลงจึงรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ แต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นมดลูกจะลอยพ้นเชิงกรานมาอยู่ในช่องท้อง ทาให้กระเพาะปัสสาวะถูกกดน้อยลงอาการปัสสาวะบ่อยก็จะดีขึ้น และจะกลับมาปัสสาวะบ่อยอีกครั้งเมื่อใกล้คลอดเนื่องจากศีรษะทารกเคลื่อนต่าลงสู่ช่องเชิงกรานและกดเบียดกระเพาะปัสสาวะอีกครั้ง
สีผิวหนังเปลี่ยนแปลง (Skin change) เกิดจากมีการสะสมเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น (pigmentation) ซึ่งนอกจากจะพบในสตรีตั้งครรภ์แล้ว อาจพบได้ในสตรีที่รับประทานยาคุมกาเนิด หรือสตรีที่อ้วนมาก การเปลี่ยนแปลงสีผิวหนังในสตรีที่ตั้งครรภ์ที่สังเกตได้
เยื่อบุช่องคลอดเปลี่ยนแปลง (Vaginal mucosa changes) สีเยื่อบุช่องคลอดจะเปลี่ยนเป็นสีน้าเงินคล้าหรือม่วงแดง (Chadwick’s sign) เกิดจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงมากและมีเลือดคั่งที่บริเวณเยื่อบุช่องคลอด นอกจากจะพบในสตรีตั้งครรภ์แล้วยังพบได้ในสตรีที่รับประทานยาคุมกาเนิดชนิด conbined pill ที่มีส่วนผสมของ estrogen และ progesterone
รู้สึกเด็กดิ้น (Fetal movement) เป็นการรับรู้ของมารดาว่าบุตรดิ้น ซึ่งการรู้สึกว่าทารกในครรภ์ดิ้นเป็นครั้งแรกเรียกว่า quickening โดยสตรีครรภ์แรกจะเริ่มรู้สึกเมื่ออายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ ส่วนสตรีครรภ์หลังจะรู้สึกเร็วกว่า คือเมื่ออายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์จะบ่อยและแรงขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ซึ่งการรับรู้นี้จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความหนาของหน้าท้อง และตาแหน่งที่รกเกาะ อย่างไรก็ตามการดิ้นของทารกเป็นเพียงการรับรู้ของสตรีตั้งครรภ์ซึ่งอาจผิดพลาดได้ เช่น สตรีบางรายอาจเข้าใจผิดคิดว่าการเคลื่อนไหวของลาไส้เป็นความรู้สึกว่าทารกในครรภ์ดิ้น
อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะตั้งครรภ์ (Probable signs of pregnancy)
Ballottement ประมาณเดือนที่ 4-5 ของการตั้งครรภ์ ภายในโพรงมดลูกจะมีน้าหล่อเด็กค่อนข้างมาก ขณะที่ทารกยังตัวเล็กอยู่ทารกในครรภ์จะเคลื่อนไหวได้สะดวก การตรวจโดยใช้ปลายนิ้วมือกดบนตัวมดลูกเร็วๆ จะทาให้ทารกที่ลอยอยู่ในน้าหล่อเด็กจมหรือถูกผลักออกไปยังส่วนล่าง หลังจากนั้นทารกจะลอยหรือสะท้อนกลับมายังที่เดิม ผู้ตรวจจะรู้สึกเหมือนมีก้อนมากระทบมือ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า external ballottement แต่ถ้าใช้นิ้วมือสอดเข้าไปในช่องคลอดแล้วกดเร็วๆ ผ่านปากมดลูกไปยังส่วนของทารก จะทาให้ทารกลอยขึ้นข้างบนแล้วตกลงมากระทบที่เดิม มือที่สอดเข้าไปในปากมดลูกจะรู้สึกว่ามีอะไรมากระทบ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า internal ballottement
คล้าพบขอบเขตรูปร่างทารก (Outlining the fetus) ในระยะปลายไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป ผู้ตรวจจะคลาขอบเขตรูปร่างของทารกได้ทางหน้าท้อง โดยเฉพาะสตรีที่เคยตั้งครรภ์จะคลาได้ตั้งแต่อายุครรภ์อ่อนกว่าสตรีครรภ์แรก อย่างไรก็ตามภาวะบางอย่าง เช่น เนื้องอกมดลูกบางชนิดอาจมีลักษณะเหมือนตัวทารก อาจทาให้ผู้ตรวจเข้าใจว่าคลาได้ขอบเขตรูปร่างของทารกโดยไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น
4.การหดรัดตัวของมดลูก (Contraction) ระยะท้ายไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ มดลูกจะมีการหดรัดตัวเป็นครั้งคราว ไม่สม่าเสมอ และไม่รู้สึกเจ็บปวด อาจเกิดขึ้นทุก 5-10 หรือ 20 นาที และมีตลอดระยะของการตั้งครรภ์ การหดรัดตัวแบบนี้เรียกว่า Braxton hicks contraction
Braxton Hicks contraction ไม่ใช่สิ่งที่แสดงว่ามีการตั้งครรภ์แน่นอน เพราะอาจพบในสตรีที่มีเนื้องอกของมดลูก สาหรับสตรีตั้งครรภ์ Braxton hicks contraction จะช่วยในการวินิจฉัยแยกการตั้งครรภ็ในมดลูกออกจากการตั้งครรภ์ในช่องท้อง (Abdominal pregnancy)
การทดสอบทางฮอร์โมนได้ผลบวก(Hormone test of pregnancy) เป็นการตรวจหา
human chorionic gonadotrophin (HCG) ระดับ HCG จะสูงสุดขณะอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ และลดลงจนคงที่เมื่ออายุครรภ์ 12-14 สัปดาห์ การทดสอบทางฮอร์โมน เป็นการทดสอบการตั้งครรภ์ (pregnancy test) ที่ใช้บ่อยที่สุด มีการทดสอบ 2 วิธี
1)การทดสอบทางชีวภาพ (Bioassay) เป็นการตรวจฤทธิ์ของ HCG ที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาในสัตว์ทดลอง ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้วิธีนี้แล้วเพราะยุ่งยาก และแม่นยาน้อยกว่า
2) การทดสอบทางอิมมูน เป็นการทดสอบปฏิกิริยาระหว่าง antibody กับ antigen ของ HCG ที่มีความจาเพาะ การทดสอบทางอิมมูนเป็นที่นิยมกันมาก และปัจจุบันสามารถซื้อชุดทดสอบทาเองที่บ้าน คือการตรวจ agglutination inhibition โดยใช้หลัก antigen-antiserum reaction คือปฏิกิริยาของ HCG ต่อ antiserum ส่วนมากจะได้ผลเมื่อขาดระดูแล้ว 7-10 วัน
3.การเปลี่ยนแปลงที่ปากมดลูก (Cervical change) เมื่ออายุครรภ์ 8-10 สัปดาห์ ปากมดลูกจะนุ่มคล้ายริมฝีปากแทนที่จะแข็งคล้ายกระดูกอ่อนที่จมูกเหมือนขณะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เรียกว่า Goodell’s sign นอกจากนี้บริเวณปากมดลูกจะมีเลือดมาคั่งทาให้มีสีคล้า เรียกว่า Chadwick’s sign อย่างไรก็ตาม สตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์แต่รับประทานยาคุมกาเนิดชนิดฮอร์โมนรวมก็อาจมีปากมดลูกนุ่มเหมือนริมฝีปากได้เช่นกัน
2.การเปลี่ยนแปลงของมดลูก (Uterine change) จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งขนาด รูปร่าง และความยืดหยุ่นของมดลูก ซึ่งจะตรวจพบได้จากตรวจภายในโดยการทา bimanual examination การตรวจพบที่แสดงว่าน่าจะมีการตั้งครรภ์
2) Hegar’s sign คือ มดลูกส่วนล่าง (isthmus) นุ่มมากจนสามารถกดเข้าหากันได้ โดยไม่มีแรงต้านจากการทา bimanual examination พบเมื่ออายุครรภ์ 6-8 สัปดาห์
3) McDonald’s sign คือ ตัวมดลูก (body) นุ่มมาก จนสามารถหักพับตัวมดลูกทามุมกับปากมดลูก (cervix) ได้
1) Von Fernwald’s sign คือ ตาแหน่งยอดมดลูกที่รกเกาะจะนุ่มลง พบเมื่ออายุครรภ์ 4-5 สัปดาห์
1.ขนาดท้องโตขึ้น ขนาดของมดลูกจะโตขึ้นจนอยู่เหนือระดับรอยต่อกระดูกหัวเหน่าและสามารถคลาได้คล้ายก้อนเนื้องอกเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 12 สัปดาห์ ก้อนนี้จะโตขึ้นเรื่อยๆ ทาให้ท้องมีขนาดโตขึ้นถ้ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นขนาดท้องที่โตขึ้นจะสัมพันธ์กับอายุครรภ์
อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์ (Positive signs of pregnancy)
การตรวจพบทารกโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอดจะตรวจพบถุงที่เกิดจากการตั้งครรภ์ (gestational sac) ในโพรงมดลูกได้ตั้งแต่ 16 วันหลังปฏิสนธิ ส่วนการตรวจทางหน้าท้องจะพบได้ช้ากว่า
4.ภาพเงากระดูกทารก การตรวจพบเงากระดูกทารกในภาพรังสี (X-ray) ซึ่งมักเริ่มเห็นหลังอายุครรภ์ 16 สัปดาห์ แต่ในทางปฏิบัติการวินิจฉัยการตั้งครรภ์โดยวิธีนี้ไม่ใช้กันแล้ว เนื่องจากอาจเกิดอันตรายต่อทารกโดยเฉพาะในช่วงที่ทารกยังเป็นตัวอ่อน (embryo) ปกติจะใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงแทนซึ่งปลอดภัยกว่าและตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ
การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ (Fetal movement) เป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่ใช่เกิดจากการรับรู้ของมารดา แต่ได้จากการตรวจพบของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ โดยใช้มือสัมผัสกับหน้าท้องแล้วคอยรับความรู้สึกเมื่อทารกดิ้น
การเต้นของหัวใจทารก (Fetal heart movement) สามารถตรวจสอบได้จาก
1) การฟังเสียงเต้นของหัวใจผ่านทางหน้าท้องด้วย stethoscope โดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะเริ่มได้ยินเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 17 สัปดาห์ และเมื่ออายุครรภ์ 19 สัปดาห์จะสามารถฟังเสียงหัวใจทารกเต้นได้ทุกคน ซึ่งมีอัตราการเต้นระหว่าง 120-160 ครั้งต่อนาที
2) การใช้ Doppler ultrasound เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงพุ่งเข้าหาหลอดเลือดของทารกที่กาลังมีการไหลเวียนเลือด และคลื่นจะสะท้อนเป็นคลื่นเสียงกลับเข้าสู่เครื่องแปลงสัญญาณเสียงอีกต่อหนึ่ง วิธีนี้สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ เป็นต้นไป