Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์, ชื่อนางสาวนฤมล คำหล่า เลขที่41 รหัส61122230046 …
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
อาการทีีแสดงหรือสงสัยว่าตั้งครรภ์
คือ อาการแสดงในกลุ่มนี้ เป็นการเปลี่ยนทางด้านสรีระที่เกิดขึ้นในระยะที่1 เริ่มสู่ระยะที่2 ของการตั้งครรภ์
1.อาการขาดระดู (Amenorrhea) ระดุคือสิ่งสำคัญในการวินิจฉัยการตั้งครรภ์เพราะการตั้งครรภ์ทำให้ไม่มีระดู
2.การเปลี่ยนแปลงของเต้านม (Breast change) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนและโปรเลคติน จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของท่อน้ำนมและต่อมน้ำนมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
-เต้านมโตขึ้น
-ลานหัวนมกว้างและมีสีเข้ม
-เต้านมเทียมจะมักพบบริเวณรักแร้
3.คลื่นไส้อาเจียน (Nousea and Vomitting) การตั้งครรภ์จะรบกวนการทำงานของระบบทางเดินอาหารทำให้ คลื่นไส้ ผะอืดผะอม ทานอาหารได้น้อย
4.อ่อนเพลีย (Fatigue) เป็นอาการที่บ่อยโดยเฉพาะใน 3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์เพราะมีบอตาลิซึมเพิ่มขึ้น สตรีตั้งครรภ์จะรู้สึกอ่อนเพลีย อยากนอนหรืออยากนั่งพัก อาการอ่อนเพลียจะดีขึ้นหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
5.ปัสสาวะบ่อย (Disterbance in urination) เกิดในไรมาสแรกของการตั้งครรภ์เนื่องจากมดลูกมีขนาดโตขึ้นและไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะทำให้มีความลดลงจึงรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
6.สีผิวหนังปลี่ยนแปลง (Skin change) เกิดจากมีการสะสมของเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น สังเกตุได้ดังนี้
-ผิวคล้ำบริเวณใบหน้า โหนกแก้ม หน้าผาก มักพบหลังอายุครรภ์16สัปดาห์
-หน้าท้องลายหรืออาจมีเต้านมลาย
7.เยื่อบุช่องคลอดเปลี่ยนแปลง (Vaginal mucosa change) สีเยื่อบุช่องคลอดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินคล้ำหรือม่วงแดง เกิดจากมีเลือดมาเลี้ยงมากและมีเลือดคั่งบริเวณเยื่อบุช่องคลอด
8.รู้สึกเด็กดิ้น (Fetal movement) เป็นการรับรู้ของมารดาว่าบุตรดิ้น ซึ่งการรู้สึกว่าทารกดิ้นครั้งแรกเรียกว่า quickening โดยสตรีครรภืแรกจะรู้สึกเมื่ออายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ ส่วนสตรีครรภ์หลังรู้สึกเร็วกว่า คือเมื่อครรภ์ 16-18 สัปดาห์การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์จะบ่อยและแรงขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น
อาการที่บ่งชี้ว่าน่าจะตั้งครรภ์
คือ อาการที่แสดงว่าน่าจะมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแต่ไม่ถึงกับยืนยันว่ามีการตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์เกิดขึ้นแน่นอนประกอบด้วย
ขนาดท้องโตขึ้น ขนาดของมดลูกโตขึ้นจนอยู่เหนือระดับรอยต่อกระดูกหัวเหน่าและสามารถคลำได้คล้ายก้อนเนื้องอกเมื่ออายุครรภืประมาณ12 สัปดาห์ ก้อนนี้จะโตขึ้นเรื่อยๆทำให้ท้องมีขนาดโตขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของมดลูก จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งขนาดและรูปร่างและความหยืดหยุ่นของมดลูก
การเปลี่ยนแปลงที่ปากมดลูก เมื่ออายุครรภ์ 8-10 สัปดาห์ ปากมดลูกจะนุ่มคล้ายริมฝีปากแทนที่จะแข็งคล้ายกระดูกอ่อนที่จมูกเหมือนขณะที่ยังไม่ตั้งครรภ์การเปลี่ยนแปลงนี้เรียกว่า Goodell's sign
การหดรัดตัวของมดลูก ระยะท้ายไตรมาสของการตั้งครรภ์ มดลุกจะมีการหดตัวเป็นครั้งคราว ไม่สม่ำเสมอ ไม่รู้สึกเจ็บปวด
Ballottement ประมาณเดือนที่4-5 ของการตั้งครรภ์ ภายในโพรงมดลูกจะมีน้ำหล่อเด็กค่อนข้างมาก ขณะที่ทารกยังตัวเล็กอยู่ทารกในครรภ์จะเคลื่อนไหวได้สะดวก
คลำพบขอบเขตรูปร่างทารก ในระยะปลายไตรมาสที่2 ของกรตั้งครรภ์เป็นต้นไป โดยผู้ตรวจจะคลำขอบเขตรูปร่างของทารกได้ทางหน้าท้อง
การทดสอบทางฮอร์โมนได้ผลบวก เป็นการตรวจหา HCG ระดับ HCGจะสูงสุดขณะอยุครรภ์ 10 สัปดาห์และลดลงคงที่เมื่ออายุครรภ์ 12-14 สัปดาห์
อาการที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์
การเต้นของหัวใจทารก สามารถตรวจสอบได้จาก
-การฟังเสียงของหัวใจผ่านทางหน้าท้องด้วย Stethoscope
-การใช้ doppler ultrasound
การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์
การตรวจพบทารกโดยใช้ความถี่สูง
ภาพเงากระดูกทารก ตรวจพบเงากระดูกทารกในภาพรังสี (X-ray) มักเห็นหลังอายุครรภ์ 16สัปดาห์
ชื่อนางสาวนฤมล คำหล่า เลขที่41
รหัส61122230046
นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2