Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ แต่ละสัปดาห์ - Coggle Diagram
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ แต่ละสัปดาห์
วันที่ 1
แบ่งตัวแบบ mitosis จาก 1 เป็น 2 เซล เรียก Clevage stage
วันที่ 4
เจริญเป็น morula ลักษณะคล้ายลูกน้อยหน่า มีจ านวนเซล 12 – 16 เซล แต่ละ เซลเรียกว่า Blastomere
วันที่ 5-6
เจริญเป็น Blastocyst ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจาก morula คือ 1) zona pellucidaหายไป 2) outer cell mass เจริญเป็น trophoblast 3) inner cell mass เจริญเป็นตัวเด็กภายในช่องว่างระหว่างเซลของ inner cell Mass จะเจริญเป็น blastocoele
วันที่ 7
เกิดการฝังตัวของ Blastocyst ที่บริเวณโพรงมดลูกส่วนบน โดยจะเอาด้านที่มี inner cell mass ที่เรียกว่า embryonic pole แตะลงบนเยื่อบุโพรงมดลูก และแทรกตัวกินทะลุเข้า ไปในระบบไหลเวียนเลือดของแม่บริเวณมดลูก
วันที่ 13
การฝังตัวเสร็จสมบูรณ์ การที่ตัวอ่อนฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูกของแม่ อาจท า ให้มีเลือดออกมาทางช่องคลอดของแม่ เรียกว่า Implantation bleeding
ในช่วงอายุ 1-3 เดือนแรก จะมีการเจริญของเนื้อเยื่อภายในตัวเด็ก
ชั้นกลาง (mesoderm) จะเจริญไปเป็นโครงกระดูก กล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์
ชั้นนอก (ectoderm) จะเจริญให้ส่วนที่ปกคลุมและสัมผัสสิ่งภายนอกได้แก่ระบบ ประสาท ผิวหนังฯลฯ
ชั้นใน (endoderm) จะเจริญไปเป็นส่วนที่ดาดภายในอวัยวะต่างๆ เช่น epithelial
cells
สัปดาห์ที่ 3 ระยะนี้จะมีการเจริญอย่างชัดเจน 3 อย่าง คือ
1) Trophoblast ซึ่งเจริญไปเป็นรกและ chorion
2) Body stake ซึ่งเจริญไปเป็นสายสะดือ
3) Embryoblast ซึ่งเจริญไปเป็น ทารก น้ าหล่อเด็ก และ amnion
สัปดาห์ที่ 9–12 อายุครรภ์ 3 เดือน
ทารกในครรภ์ (fetus) ยาวประมาณ 7.5 ซม. หนัก 28 กรัม วัดความยาว Crown-rump ได้ 6- 7 ซม. มีเล็บ นิ้วมือ นิ้วเท้า มีเปลือกตา (แต่ยังปิดอยู่) มี หลอดเสียงริมฝีปาก จมูกสูงขึ้น ศีรษะยังคงโตมากประมาณ 1/3 ของความสูงตลอดร่างกาย หน้าผาก สูง อวัยวะเพศชายหรือหญิงเห็นได้ชัด ทารกในครรภ์สามารถแสดงการตอบสนองได้ เช่น รู้จักขยับ ขา เท้า นิ้วหัวแม่มือ และศีรษะ ปากอ้าและหุบ และกลืนเป็น ถ้าแตะที่เปลือกตาจะกลอกตา แตะ ที่ฝ่ามือจะท าท่าก า แตะที่ริมฝีปากจะดูดปาก แตะที่ผ่าเท้าจะกางนิ้วเท้า
สัปดาห์ที่ 13–16 อายุครรภ์ 4 เดือน
ทารกยาวประมาณ 16 ซม หนัก 120 กรัม ความยาว Grown-rump ของเด็กวัดได้ 12 ซม. ร่างกายยาวออกจนท าให้ศีรษะมีสัดส่วนเป็น ¼ ของความสูง ทั้งตัว สายสะดือยาวเท่ากับทารกในครรภ์โดยจะยาวคู่กันต่อไปในขณะที่รกได้พัฒนาเต็มที่แม่รู้สึกได้ว่า ทารกดิ้น
สัปดาห์ที่ 17-20 อายุครรภ์ 5 เดือน
ทารกยาวประมาณ 25 ซม. หนัก 340-450 กรัม เริ่มมีขนอ่อน และไข (vernix caseosa) มีผมและคิ้ว เล็บเจริญขึ้น สามารถฟังเสียงหัวใจได้จากการฟังเสียงหัวใจ ทางหน้าท้อง
สัปดาห์ที่ 21-24 อายุครรภ์ 6 เดือน
ทารกยาวประมาณ 30 ซม. หนัก 630 กรัม ตาหลับและลืม ได้ ผิวหนังเหี่ยวย่น มีสีชมพูหรือแดง ภายในปอดเริ่มสร้างสาร surfactant ในปอด
สัปดาห์ที่ 25-28 อายุครรภ์ 7 เดือน
ทารกยาวประมาณ 35 ซม. หนัก 1,200 กรัม ความยาว Grown-rump ของเด็กวัดได้ 25 ซม. มีพัฒนาการของปอดเพียงพอที่จะมีการแลกเปลี่ยนของก๊าช ถ้า คลอดในระยะนี้และได้รับการดูแลอย่างดีอาจมีชีวิตรอดได้ ร้องเสียงค่อย ตัวผอม การเคลื่อนไหวของ แขน ขา ดี
สัปดาห์ที่ 29-32 อายุครรภ์ 8 เดือน
ทารกยาวประมาณ 40 ซม. หนัก 1,700 กรัม ความยาว Grown-rump ของเด็กวัดได้ 28 ซม. มีไขมันมากขึ้นเพื่อช่วยปรับตัวรับอุณหภูมิที่แตกต่างไปภายนอก มดลูก เล็บยาวถึงปลายนิ้ว rooting reflex ดี sucking refles แรง อัณฑะเริ่มลงมาในถุงอัณฑะถ้า คลอดจะสามารถเลี้ยงรอดได้ร้อยละ 40-50
สัปดาห์ที่ 33-36 อายุครรภ์ 9 เดือน
ทารกยาวประมาณ 45 ซม. หนัก 2,200–2,500 กรัม ความยาว Grown-rump ของเด็กวัดได้ 32 ซม. ผิวหนังตึง ขนอ่อนหายไปเกือบหมด เล็บพ้นปลายนิ้ว
สัปดาห์ที่ 37-40 อายุครรภ์ 10 เดือน
ทารกยาวประมาณ 50 ซม. หนัก 3,000-3,400 กรัม ความ ยาว Grown-rump ของเด็กวัดได้ 36 ซม. มีความสมบูรณ์ทุกอย่างของเด็กครบก าหนด ผิวหนังเรียบตึง สีชมพู ผมบนศีรษะยาว ลักษณะอวัยวะสืบพันธุ์เจริญสมบูรณ์ หลังคลอด ทารกจะร้องทันที มีการ เคลื่อนไหวของแขน ขา ลืมตา ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะเป็นปกติ ดูดนมได้