Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 แนวคิดและหลักการการดูแลมารดาทารก ที่มีภาวะเสี่ยงและมีปัญหาสุขภาพ…
บทที่ 1
แนวคิดและหลักการการดูแลมารดาทารก
ที่มีภาวะเสี่ยงและมีปัญหาสุขภาพ
2.กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาทารกที่มีภาวะเสี่ยงและมีปัญหาสุขภาพ
กระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือและวิธีการที่สำคัญของวิชาชีพพยาบาลที่อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของผู้รับบริการและเพื่อช่วยให้การปฏิบัติการพยาบาลเป็นไปอย่างมีคุณภาพและบรรลุเป้าหมาย
กระบวนการพยาบาล
1.การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินภาวะสุขภาพ (assessment)
1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล
1.1.1 การสังเกต โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า วิธีการสังเกตจะทำให้ทราบถึงลักษณะทั่วไปของผู้รับบริการเช่น ผู้รับบริการที่มาขอรับบริการที่หน่วยฝากครรภ์ มีลักษณะการเดินลำบาก เท้าบวมทั้ง 2 ข้าง สีหน้าอึดอัด
1.1.2 การสัมภาษณ์/การซักประวัติ พยาบาลจะต้องใช้ทักษะในการติดต่อสื่อสารโดยคำพูด กิริยาท่าทาง ทักษะการฟัง การสร้างสัมพันธภาพและการสังเกตร่วมด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลเพียงพอ เช่น ผู้รับบริการอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ มีอาการคันบริเวณขาหนีบและมีตกขาวคันบริเวณช่องคลอดมาก มีประวัติมารดาป่วยด้วยโรคเบาหวาน
ข้อมูลทั่วไป เช่น ชื่อ อายุ เพศ ศาสนา เชื้อชาติ อาชีพ สถานภาพสมรส การศึกษา ภูมิลำเนา รายได้
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ
-อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล
-ประวัติการตั้งครรภ์ในปัจจุบัน
-ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดในอดีต -ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
-ประวัติการเจ็บป่วยในของครอบครัว
1.1.3 การตรวจร่างกาย ข้อมูลที่ได้จากการตรวจร่างกาย จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างหน้าที่ และสิ่งที่ตรวจพบในแต่ละอวัยวะนั้นๆ การตรวจร่างกายมักจะกระทำต่อเนื่องจาก การสังเกต การสัมภาษณ์และการซักประวัติ การตรวจร่างกายต้องอาศัยเทคนิคการดู (inspection) การคลำ(palpation) การเคาะ (percussion) และการฟัง (aussculation)
โดยตรวจตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า
1.1.4 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด เพื่อดูความผิดปกติของเม็ดเลือดความผิดปกติของอิเล็คโทรลัยท์ การตรวจอุจจาระเพื่อดูว่ามีพยาธิหรือไม่ ตรวจปัสสาวะเพื่อดูภาวะการติดเชื้อ หรือการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) เพื่อคาดคะเนอายุครรภ์และความผิดปกติของทารกในครรภ์
1.2 การจัดระบบข้อมูล
เป็นการรวบรวมข้อมูลที่ได้มาจัดให้เป็นหมวดหมู่ จะช่วยให้การวินิจฉัยการพยาบาลได้เที่ยงตรง และครอบคลุมปัญหา และความต้องการของผู้รับบริการ
แบบแผนที่ 1 การรับรู้และการดูแลสุขภาพ
แบบแผนที่ 2 อาหารและการเผาผลาญสารอาหาร
แบบแผนที่ 3 การขับถ่าย
แบบแผนที่ 4 กิจกรรมและการออกกำลังกาย
แบบแผนที่ 5 การพักผ่อนนอนหลับ
แบบแผนที่ 6 สติปัญญาและการรับรู้
แบบแผนที่ 7 การรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
แบบแผนที่ 8 บทบาทและสัมพันธภาพ
แบบแผนที่ 9 เพศและการเจริญพันธุ์
แบบแผนที่ 10 การปรับตัวและความทนทานต่อความเครียด
แบบแผนที่ 11 คุณค่าและความเชื่อ
1.3 การวิเคราะห์และการแปลผล
เมื่อรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วนแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์แยกจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ เพื่อที่จะนำมาสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
2.การวินิจฉัยการพยาบาล (nursing diagnosis)
ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน
ปัญหา หมายถึง ปัญหาสุขภาพหรือภาวะไม่สมดุลของร่างกายในปัจจุบันหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
สาเหตุของปัญหา ซึ่งมีสาเหตุเดียวหรือหลายสาเหตุประกอบกัน ได้แก่ สาเหตุด้านจิตใจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านร่างกาย
ข้อมูลสนับสนุน ซึ่งได้แก่ อาการและอาการแสดงต่างๆ เช่น สัญญาณชีพ ลักษณะการหดรัดตัวของมดลูก
3.การวางแผนการพยาบาล (planning)
3.1 การจัดลำดับข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เป็นขั้นตอนในการพิจารณาว่าข้อวินิจฉัยภาวะสุขภาพของผู้รับบริการข้อใดที่ควรได้รับการช่วยเหลือดูแลก่อนหลัง ตามลาดับความสาคัญและสถานการณ์ในขณะนั้น
3.2 การกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์การพยาบาล
เป็นขั้นตอนที่พิจารณาว่าตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ระบุไว้แล้วนั้น เมื่อให้การพยาบาลแล้ว น่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น หรือทำให้ปัญหาและความผิดปกติกลับสู่ภาวะปกติ
3.3 การกำหนดกิจกรรมการพยาบาล
เป็นขั้นตอนการกำหนดกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
3.4 การกำหนดเกณฑ์การประเมินผล
เป็นการกำหนดที่ต้องการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ โดยผลดังกล่าวต้องสามารถได้ ทำได้ เน้นที่ผู้รับบริการ และสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
4.การปฏิบัติการพยาบาล (implementation)
4.1 การตรวจสอบแผนการพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย 3 กิจกรรม
4.1.1 การประเมินภาวะสุขภาพซ้ำ โดยเน้นจุดสำคัญที่ปัญหา อารมณ์ สังคม พัฒนาการ และจิตวิญญาณ
4.1.2 การทบทวนและปรับแผนการพยาบาล ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามภาวะสุขภาพของผู้รับบริการเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับสถานการณ์
4.1.3 การระบุสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ คน องค์ความรู้ ทักษะของผู้ปฏิบัติและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การปฏิบัติการพยาบาลบรรลุจุดมุ่งหมาย
4.2 การปฏิบัติการพยาบาล
4.2.1 ทักษะทางสติปัญญา พยาบาลต้องรวบรวมความรู้ในศาสตร์ต่างๆ เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการประเมินภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ
4.2.2 ทักษะการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ พยาบาลจะต้องฝึกการสร้างสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพกับผู้รับบริการที่มีพื้นฐานความเป็นบุคคลที่แตกต่างกัน
4.2.3 เทคนิคการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาลต้องอาศัยทักษะการใช้เครื่องมือต่างๆ ในการพยาบาล เช่น การอาบน้ำ การฉีดยา การทำแผล เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับความสะดวกสบาย
4.3 การบันทึกการพยาบาล
เป็นหลักฐานแสดงว่าพยาบาลได้ให้การพยาบาลหรือปฏิบัติกิจกรรมใดแก่ผู้รับบริการรูปแบบของการบันทึกการพยาบาลควรเขียนอย่างชัดเจน กระทัดรัด สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้ง่ายระหว่างทีมการพยาบาลเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผล และเป็นแนวทางในการปรับแผนการพยาบาลให้เหมาะสมกับสภาพของผู้รับบริการที่เปลี่ยนแปลงไป
5.การประเมินผลการพยาบาล (evaluation)
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการพยาบาลโดยนำมาเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจและประเมินคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลว่า ปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการทางสูติศาสตร์ในภาวะผิดปกติ บรรลุตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ แต่ถ้าไม่ประสบผลสาเร็จ พยาบาลจะต้องนำแผนการพยาบาลนั้นมาพิจารณาจุดบกพร่อง เพื่อปรับแผนการพยาบาลใหม่ จนสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายของผู้รับบริการหรือจนกว่าปัญหานั้นๆ จะสิ้นสุดไป
1.มโนทัศน์การดูแลมารดาทารกที่มีภาวะเสี่ยงและมีปัญหาสุขภาพ
ความหมาย
มารดาทารกที่มีภาวะเสี่ยงและมีปัญหาสุขภาพหมายถึง ภาวะที่ทำให้หญิงที่ตั้งครรภ์และบุตร มีโอกาสได้รับอันตรายและมีโอกาสตายสูงทั้งในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ 2 แบบ
ความผิดปกติที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ หมายถึง โรคหรืออาการนั้นๆ จะทำให้การตั้งครรภ์เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
1.1 ผลต่อทารก ทำให้ทารกตายในครรภ์ ตายคลอดหรือมีน้าหนักผิดปกติ และทารกมีอันตรายจากการคลอด
1.2 ผลต่อการตั้งครรภ์ ทำให้เกิดการแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด
1.3 ผลต่อการคลอดและหลังคลอด ทำให้ต้องใช้หัตถการ เช่น การช่วยคลอดโดยใช้คีม (Forceps extraction) การใช้เครื่องดูดสูญญากาศ (Vacuum extraction) การผ่าคลอดทางหน้าท้อง (Cesarean section) ภาวะตกเลือดในระยะคลอดและหลังคลอด และภาวะการติดเชื้อหลังคลอด
การตั้งครรภ์ที่มีผลต่อภาวะผิดปกติ การเปลี่ยนแปลงในระหว่างการตั้งครรภ์ที่มีผลทำให้เกิดภาวะผิดปกติได้ง่ายหรือรุนแรงขึ้น ได้แก่
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะ
การเพิ่มขึ้น ของฮอร์โมนโปรเจคเตอโรนทำให้ท่อไตขยายตัวขึ้น และมีการบีบตัวลดลงทำให้ปัสสาวะค้างอยู่ใน ท่อไตนานกว่าปกติ
มดลูกที่โตขึ้นจะกดท่อไตบริเวณขอบเชิงกรานและถูกเบียดกับลำไส้ใหญ่ทำให้ปัสสาวะไหลไม่สะดวก จึงทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะได้ง่าย
การเปลี่ยนแปลงของโลหิต
มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณเลือดโดยมีการสร้างและเพิ่มขึ้นของปริมาณพลาสม่ามากกว่าเม็ดเลือดแดง จึงทำให้ระดับความเข้มข้นของเลือดลดลง หากหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางอยู่เดิม จะทำให้เกิดภาวะซีดเพิ่มมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่อมไร้ท่อ
หากต่อมทำงานมากกว่าปกติ จะเป็นผลทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ มีผลกระทบต่อกระบวนการเผาผลาญ และปฏิกิริยาเคมีในเซลล์และกระบวนการเจริบเติบโตของร่างกาย ความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญ
การเปลี่ยนแปลงของระบบหมุนเวียนโลหิตและหัวใจ
ระดับของพลาสม่ามีปริมาณเพิ่มมากกว่าเม็ดเลือดแดง ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดภาวะโลหิตจาง มีผลทำให้มีการนำออกซิเจนภายในเลือดได้น้อยกว่าปกติ ทาให้หญิงตั้งครรภ์อ่อนเพลีย ติดเชื้อได้ง่าย และอาจเกิดภาวะหัวใจวายได้
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินหายใจ
ผลจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีการหายใจตื้นและรู้สึกลำบากในการหายใจ ส่วนใหญ่อาการนี้มักเกิดเมื่ออายุครรภ์ได้ 30 สัปดาห์ หากหญิงตั้งครรภ์มีปัญหาเรื่องภูมิแพ้ หอบหืด จะทำให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น
3.บทบาทพยาบาลในการดูแลมารดาทารกที่มีภาวะเสี่ยงและมีปัญหาสุขภาพ
บทบาทผู้ประเมินปัญหาและวางแผนการพยาบาล
1.1 ซักประวัติผู้รับบริการให้ครอบคลุมอาการสำคัญ
1.2 ตรวจร่างกายเพื่อหาความบกพร่องในส่วนโครงสร้างของร่างกายจากภาวะผิดปกติและภาวะแทรกซ้อน
1.3 บันทึกผลการตรวจร่างกายและซักประวัติ
1.4 วางแผนเพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยร่วมมือกับแพทย์
1.5 เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการเพิ่มเติม โดยร่วมมือกับทีมดูแลรักษาสุขภาพ
1.6 วางแผนการพยาบาลที่ต่อเนื่องสาหรับผู้รับบริการทั้งที่โรงพยาบาลและเมื่อกลับบ้าน
1.7 รายงานและส่งต่อผู้รับบริการตามความเหมาะสม เพื่อการรักษาพยาบาลที่ต่อเนื่อง
บทบาทผู้ให้การดูแล
2.1 ป้องกันผู้รับบริการและทารกในครรภ์จากอันตรายทางด้านสรีรวิทยาที่อาจเกิดขึ้น จากผลของภาวะผิดปกติของการตั้งครรภ์
2.2 ดูแลช่วยเหลือผู้รับบริการและครอบครัวให้ปรับตัวต่อภาวะกดดันต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์
2.2.1 กระตุ้นให้แสดงออกถึงความรู้สึกและให้ความสนใจ
2.2.2 กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการดูแลรักษาพยาบาล
2.2.3 ให้ความรู้แก่ครอบครัวหรือสมาชิกของครอบครัว รวมทั้งให้กาลังใจแก่ผู้รับบริการและครอบครัว
บทบาทผู้สอน
3.1 ประเมินความต้องการเรียนรู้ของผู้รับบริการและครอบครัว
3.2 วางแผนการสอน
3.3 ให้การสอนเป็นกลุ่มหรือเป็นรายบุคคลตามความเหมาะสม
3.4 ประเมินผลการสอน
บทบาทผู้ให้คำปรึกษา
มารดาบางรายอาจมีปัญหาเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ ซึ่งมีผลกระทบต่ออารมณ์ จิต สังคม พยาบาลจะต้องแสดงบทบาทผู้ให้คำปรึกษา เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการใช้กระบวนการแก้ปัญหาเพื่อที่จะรับรู้และจัดการกับภาวะเครียด สามารถปรับตัวให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้รับบริการ ครอบครัว และทีมสุขภาพ
บทบาทผู้ประสานงาน
พยาบาลยังต้องมีบทบาทผู้ประสานงานกับทีมสุขภาพ เพื่อให้การรักษาพยาบาลเป็นไปตามแผนและการบริหารจัดการให้เกิดความเรียบร้อย
บทบาทผู้เปลี่ยนแปลง
พยาบาลจะต้องมีความริเริ่มสร้างสรรค์ มีความมานะพยายาม รู้จักกาลเทศะ มีทักษะในการสร้างสัมพันธภาพ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้รับบริการให้มีคุณภาพ
บทบาทด้านบริหารจัดการ
7.1 มอบหมายงานแก่บุคลากรตามความสามารถ ให้ผู้รับบริการได้รับการแก้ปญหาและตอบสนองความต้องการ
7.2 การวางแผนและร่วมมือในการให้การศึกษาอบรมแก่บุคลากรในหน่วยงานที่ปฏิบัติเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย
7.3 ให้ผู้รับบริการได้รับการรักษาครบถ้วนตามแผน รายงานอาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ก่อนและภายหลังการรักษาพยาบาล
7.4 นิเทศและประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาลที่ให้แก่ผู้รับบริการ
7.5 ร่วมให้การพยาบาลแก่ผู้รับบริการ เพื่อสังเกตให้ความอบอุ่นใจ หรือเพื่อนิเทศสอนแนะนาบุคลากรให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง
7.6 ส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูสภาพอันเนื่องมาจากภาวะผิดปกติ นิเทศ และประเมินผลการสอน
7.7 ตรวจเยี่ยมเพื่อประเมินสภาพร่างกายและจิตใจ ความก้าวหน้าของการรักษาพยาบาลและสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวผู้รับบริการ
บทบาทผู้วิจัย
8.1 ให้การพยาบาลอย่างมีระบบและเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการพยาบาลใหม่ๆ ที่ทดลองปฏิบัติกับผู้รับบริการ
8.2 เขียนคำสั่งการพยาบาลเป็นหลักฐานและเก็บไว้ใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลเพื่อการวิจัย
8.3 กระทำหรือร่วมมือในการทาวิจัยทางคลินิก
8.4 ศึกษางานวิจัยต่างๆ และนำมาใช้ประกอบในการกำหนดมาตรฐานการพยาบาลเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาล
8.5 นาผลการวิจัยมาใช้ปรับปรุงงาน
นางสาวชื่นนภา มูลนิคม รหัสนักศึกษา 602701020