Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เรื่อง การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
เรื่อง การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดงที่สงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ (Presumtive evidences of
pregnancy)
การขาดระดู (Amenorrhea) ประวัติเกี่ยวกับระดูเป็นสิ่งสำคัญในการวินิจฉัยการ
ตั้งครรภ์ เพราะการตั้งครรภ์จะทำให้ไม่มีระดู โดยเฉพาะในสตรีที่มีระดูสม่ำเสมอแล้วขาดหายไปมากกว่า 4 สัปดาห์ ให้คิดเสมอว่าอาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้ แต่ประวัติการขาดระดูเพียงอย่างเดียว
อาจทำให้การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ผิดพลาดได้ ดังนั้นการซักประวัติต้องถามถึงการมีเพศสัมพันธ์
อ่อนเพลีย (Fatigue) เป็นอาการที่พบบ่อยโดยเฉพาะระยะ 3 เดือนแรกของการ
ตั้งครรภ์เนื่องจากสตรีตั้งครรภ์มีเมตตาบอลิสมเพิ่มขึ้น สตรีงตั้งครรภ์จะรู้สึกอ่อนเพลีย อยากนอน
คลื่นไส้ อาเจียน (Nousea and Vomitting) การตั้งครรภ์จะรบกวนการทำงาน
ของระบบทางเดินอาหารทำให้คลื่นไส้ ผะอืดผะอม รับประทานอาหารได้น้อย
ปัสสาวะบ่อย (Disterbance in urination) เกิดในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
เนื่องจากมดลูกมีขนาดโตขึ้นและไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะท าให้กระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลง
การขาดระดูที่ไม่ได้เกิดจากการตั้งครรภ์ พบได้ในกรณีดังต่อไปนี้
สตรีที่คุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนอาจทำให้ระดูคลาดเคลื่อน หรือขาดหายได้
โดยเฉพาะหลังหยุดใช้ยาคุมกำเนิด
สตรีที่มีภาวะเครียด จะมีผลทำให้ขาดระดูเนื่องจากไม่มีภาวะไข่ตก
สตรีที่เข้าสู่วัยหมดระดู (menopause)
สตรีในระยะให้นมบุตร และยังไม่มีระดูเลยตั้งแต่หลังคลอดบุตร
อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์ (Positive signs of pregnancy)
3.1. การเต้นของหัวใจทารก (Fetal heart movement) สามารถตรวจสอบได้จาก
การใช้ Doppler ultrasound เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงพุ่งเข้าหาหลอด
เลือดของทารกที่ก าลังมีการไหลเวียนเลือด และคลื่นจะสะท้อนเป็นคลื่นเสียงกลับเข้าสู่เครื่องแปลงสัญญานเสียง
การฟังเสียงเต้นของหัวใจผ่านทางหน้าท้องด้วย stethoscope โดยผู้เชี่ยวชาญ
ซึ่งจะเริ่มได้ยินเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 17 สัปดาห์ และเมื่ออายุครรภ์ 19 สัปดาห์จะสามารถฟังเสียงหัวใจทารก
การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ (Fetal movement) เป็นการเคลื่อนไหวที่
ไม่ใช่เกิดจากการรับรู้ของมารดา แต่ได้จากการตรวจพบของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ20สัปดาห์
การตรวจพบทารกโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
ทางช่องคลอดจะตรวจพบถุงที่เกิดจากการตั้งครรภ์ (gestational sac) ในโพรงมดลูกได้ตั้งแต่ 16 วันหลังปฏิสนธิ
ภาพเงากระดูกทารก การตรวจพบเงากระดูกทารกในภาพรังสี (X-ray) ซึ่งมักเริ่ม
เห็นหลังอายุครรภ์ 16 สัปดาห์ แต่ในทางปฏิบัติการวินิจฉัยการตั้งครรภ์โดยวิธีนี้ไม่ใช้กันแล้ว เนื่องจากอาจเกิดอันตรายต่อทารกโดยเฉพาะในช่วงที่ทารกยังเป็นตัวอ่อน (embryo) ปกติจะใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงแทนซึ่งปลอดภัยกว่าและตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ
อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะตั้งครรภ์ (Probable signs of pregnancy)
การเปลี่ยนแปลงของมดลูก (Uterine change) จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งขนาด
รูปร่าง และความยืดหยุ่นของมดลูก
.การเปลี่ยนแปลงที่ปากมดลูก (Cervical change) เมื่ออายุครรภ์ 8-10 สัปดาห์
ปากมดลูกจะนุ่มคล้ายริมฝีปากแทนที่จะแข็งคล้ายกระดูกอ่อนที่จมูกเหมือนขณะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์
ขนาดท้องโตขึ้น ขนาดของมดลูกจะโตขึ้นจนอยู่เหนือระดับรอยต่อกระดูกหัวเหน่า
และสามารถคล าได้คล้ายก้อนเนื้องอกเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 12 สัปดาห์ ก้อนนี้จะโตขึ้นเรื่อยๆ
การหดรัดตัวของมดลูก (Contraction) ระยะท้ายไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ มดลูก
จะมีการหดรัดตัวเป็นครั้งคราว ไม่สม่ าเสมอ และไม่รู้สึกเจ็บปวด อาจเกิดขึ้นทุก 5-10 หรือ 20 นาที
การขาดระดูจากการตั้งครรภ์แต่ทำให้เข้าใจผิดว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
สตรีใกล้วัยหมดระดู (premenopause) การขาดระดูครั้งแรกอาจท าให้สับสนระหว่างการเข้าสู่วัยหมดระดู (menopause) กับการตั้งครรภ์
ในสตรีที่ระดูมาสม่ าเสมอ การมีเลือดระดูครั้งสุดท้ายเร็ว และน้อยกว่าปกติอาจทำ
ให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นเลือดระดู แต่ความจริงเป็นเลือดที่เกิดจากการฝังตัวของไซโกตในเยื่อบุผนังมดลูก
สตรีครรภ์แรกที่ตั้งครรภ์ก่อนมีระดูครั้งแรก (menarche) พบในวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุยังน้อย