Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของหัวใจและโครงสร้าง, นางสาวกนกอร เสริมราษฎร์ เลขที่ 3…
ความผิดปกติของหัวใจและโครงสร้าง
โรคระบบไหลเวียนเลือด
อาการและอาการแสดง
1.เจ็บหน้าอก(Chest pain)
2.หายใจลำบาก(Dyspnes)
เหนื่อยหอบเมื่อมีกิจกรรมออกแรง(Dyspnea on exertion-DOE)
เหนื่อยหอบเมื่อนอนราบ(Orthopnea)
เหนื่อยหอบตอนกลางคืน สะดุ้งตื่นลุกขึ้นมาหอบซักพักแล้วจึงนอนต่อได้(Paroxysmal nocturnal dyspnea-PND)
เป็นหืดเนื่องจากโรคหัวใจ(Cardiac asthma)
การหายใจเร็วสลับหยุดหายใจเป็นช่วงๆ(Cheyne Stroke respiration)
อ่อนล้า
4.ใจสั่น(Palpitation)
5.เป็นลม(Syncope)
6.บวม(edema)
7.ภาวะเขียว
โรคเกี่ยวกับหัวใจ
Heart failure
อาการแสดงหัวใจวาย
1.ซีด เขียวคล้ำ(Cyanosis)
2.บวมจากความดันเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้น
3.เหนื่อยง่าย
4.มึนศีรษะ วิงเวียน สับสน
5.คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ท้องบวมน้ำ ตับโต
6.หายใจเหนื่อยกลางคืน
7.ปัสสาวะน้อยลง
การตรวจร่างกาย
1.คลำพบ Heaving และ Thrill
2.เคาะพบตับโต **ห้องขวาวาย
3.PMI จากหัวใจโตขึ้น
4.Pulse Irregular
5.ฟังพบ S3 Gallop และ Murmur
6.ปอด Crepitation จากภาวะน้ำท่วมปอด
7.ท้องบวม น้ำหนักตัวเพิ่ม
8.หลอดเลือดคอโป่ง CVP>4cms
9.บวมที่ส่วนต่างๆ เช่น หน้าแข็ง ก้นกบ
การรักษา
การให้ออกซิเจน
เพิ่มออกซิเจนในเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจ
Digitalis
ลดอัตราการเต้นของหัวใจและเพิ่มการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
Dopamine
-ให้ขนาดต่ำหลอดเลือดไต ลำไส้ สมองและโคโรนารีขยายตัว ปัสสาวะออกดีขึ้น
-ให้ขนาดปานกลางทำให้หัวใจบีบตัวเร็วขึ้น แรงขึ้น หลอดเลือดโคโรนารีขยายตัว หัวใจได้รับออกซิเจนมากขึ้น
Dobutamine
ทำให้หัวใจบับตัวเร็วขึ้น แต่ไม่เพิ่มการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ
Amrinone
ช่วยการบีบตัวของหัวใจ กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดคลายตัว
ไซเดียมไนโตรปรัสไซด์
ขยายหลอดเลือดดำและแดง ลดการทำงานของหัวใจ
เบต้าบล็อกเกอร์
ยับยั้งประสาทซิมพาเธติค หัวใจทำงานลดลง ทำให้ภาวะหัวใจล้มเหลวดีขึ้น ทำกิจกรรมได้มากขึ้น
หัวใจห้องล่างซ้ายวาย(Left ventricular failure)
พยาธิสรีระภาพ
-กล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถบีบเลือดที่มีออกซิเจน น้ำตาลและสารอาหารต่างๆไปเลี้ยงร่างกายได้
-อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ชีพจรเบาลง
-อาการเหนื่อยง่าย เกิดจากการที่มีแรงต้านทานระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายกับปอดและเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบในปอดทำให้เกิดภาวะน้ำคั่งในปอด ทำให้หายใจลำบาก มีเสียง Crepitation ในปอด
สาเหตุ
-BP สูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจโดยเฉพาะลิ้นหัวใจ Aortic หรือ Mitral valve
อาการ
-มีปัสสาวะน้อย เนื่องจากร่างกายมีการเก็บน้ำไว้ในร่างกาย
-หัวใจเต้นเร็วหรือไม่สม่ำเสมอ
-ใจสั่น หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก หายใจลำบากตอนกลางคืน ไอ หายใจลำบากเมื่อนอนราบ ปัสสาวะออกน้อย ซีดเขียว คล้ำ ชีพจรเบา
อาการแทรกซ้อน
น้ำท่วมปอดเฉียบพลัน มีอาการเหนื่อย หอบรุนแรง ไอมาก บางครั้งเสมหะเป็นฟองสีชมพู นอนราบไม่ได้ หายใจมีเสียงวี๊ด ฟังปอดพบ Crepitation ฟังพบ S3 Gallop
หัวใจห้องล่างขวาวาย(Right ventricular failure)
พยาธิสรีระภาพ
-กล้ามเนื้อหัวใจทำหน้าที่ลดลง ไม่สามารถบีบเลือดไปที่ปอดได้ ทำให้มีเลือดคั่งอยู่ในระบบไหลเวียน ส่งผลให้เลือดดำคั่งในอวัยวะต่างๆของร่างกายและมีอาการบวมที่แขนขาและท้อง
-มีหลอดเลือดที่คอโป่ง(JVD)จากการที่เลือดที่ไปเลี้ยงสมองและศีรษะไม่สามารถไหลกลับสู่หัวใจห้องบนขวาได้น้ำหนักขึ้นจากการที่มีน้ำคั่งในร่างกายปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
สาเหตุ
กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาขาดเลือด หลอดเลือดที่ปอดมีความดันสูง หรือหัวใจห้องล่างซ้ายวายมีผลทำให้หัวใจห้องล่างขวาวายตาม
อาการ
-บวมที่ขาทั้ง 3 ข้างกดบุ๋ม มือบวม นิ้วบวม ก้นกบบวม อวัยวะเพศบวม น้ำหนักตัวเพิ่ม
-ตับ ม้ามโตและปวดแน่นท้อง จากการมีเลือดคั่งที่ตับ เบื่ออาการ NV ท้องอืด
-BPสูง เนื่องจากน้ำในร่างกายมาก ความดันเลือดดำส่วนกลางสูง
-Hepatojugular reflux ผล+ ใช้มือกดตับนาน1/2-1 นาที สังเกตเส้นเลือดที่คอโป่งหรือไม่
-หลอดเลือดดำที่คอโป่วพอง
หัตถการเกี่ยวกับหัวใจ
การสวนหัวใจ (Coronary angioplastry)
การใส่สายสวนที่มี Balloon ตรงปลาย ผ่านทางผิวหนังเข้าสู่เส้นเลือดหัวใจเพื่อขยายหลอดเลือด
Coronary artery bypass graft
การผ่าตัด ตัดเส้นเลือดเพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจมีเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ
ผู้ป่วยมีหลอดเลือดหัวใจตีบอย่างรุนแรง มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างรุนแรง เจ็บหน้าอก ไม่ตอบสนองการรักาาด้วยยา
หลอดเลือดโป่งพอง Aneurysm
ผนังหลอดเลือดแดงหรือดำอ่อนแอ หรือการสะสมของไขมัน ทำให้ผนังหลอดเลือดบริเวณนั้นโป่งตึงรูปร่งคล้ายถุง ที่พบบ่อยคือ AAA ซึ่งอาจแตกได้ในกรณีที่มีHT ทำให้PT.ช็อคจากการเสียเลือดและมีโอกาสเสียชีวิต 50-90%
ปัจจัยเสี่ยงในผู้สูงอายุ และกลุ่ม Marfan syndrome สูบบุหี่ HT ปอดเรื้อรัง
อาการ คลำก้อนได้ที่หน้าท้องใต้ลิ้นปี่ ปวดท้องเรื้อรัง มีก้อนเต้นที่ท้องสัมพันธ์กับชีพจร
โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจตีบ/รั่ว
สาเหตุ
อายุ สูงอายุ เสื่อม ส่งผลลิ้นหัวใจปิดไม่สนิทในขณะที่หัวใจบีบตัว
การติดเชื้อต่างๆ พบบ่อย โรคไข้รูมาติค
HT
โรคหลอดเลือดแข็ง โรคออโตอิมูน การสูบบุหรี่ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อ้วน
ที่พบบ่อย
ลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ(Mitral valve stenosis)
การไหลของเลือดจากเอเตรยมซ้ายสู่เวนตริเคิลซ้ายไม่สะดวก
ไข้รูมาติก พบบ่อย
การอักเสบของลิ้นหัวใจทำให้เกิดความแข็ง หนา หดรัด ดึงรั้งของลิ้นหัวใจ ทำให้รูเปิดแคบ เลือดไหลไม่สะดวกเกิดเลือดไหลวน ความดันในเอเตรียมซ้ายสูงขึ้น หลอดเลือดแดงที่ปอดความดันสูงขึ้น ถ้าเป็นรุนแรงทำให้ Arial fibrillation เกิดลิ่มเลือดในเอเตรียมซ้าน และหัวใจล้มเหลว
อาการ
เหนื่อยล้า หายใจลำบากเวลาออกแรง นอนราบไม่ได้ หอบเหนื่อยกลางคืน ไอเป็นเลือด ตับโต ขาบวมกดบุ๋ม murmur Arial fibrillation เขียว
ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว(Mitral valve regurgitation)
เกิดขึ้นเมื่อลิ้นหัวใจไมตรัลปิดไม่สนิท มีเลือดไหลย้อนกลับไปที่หัวใจเอเตรียมซ้าย ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและร่างกายไม่เพียงพอ PT.มักรู้สึกเหนื่อยและหอบ
จากการที่ปิดไม่สนิททำให้เลือดไหลย้อนจากเวนตริเคิลซ้ายไปเอเตรียม
อาการ
หายใจลำบากขณะมีกิจกรรม เมื่อพักอาการจะหายไป ใจสั่น นอนราบไม่ได้ บวมกดบุ๋ม หลอดเลือดที่คอโป่งพอง อ่อนเพลียมาก
3.ลิ้นหัวใจเอออร์ต้าตีบ (Aorta valve stenosis)
ตีบแคบ เปิดไม่เต็มที่ ก่อให้เกิดการอุดกั้นการไหลของหลอดเลือดออกจากเวนตริเคิลซ้ายเข้าสู้เอออร์ต้า ในช่วงที่หัวใจบีบตัว
อาการ
เจ็บหน้าอกแบบ Angina หายใจลำบาก หมดสติเมื่อออกแรง อ่อนเพลีย ล้า นอนราบไม่ได้ มีเหนื่อยหอบกลางคืน เสียงหัวใจผิดปกติ แบบ Harsh Crescendo-decrescendo ในช่วงหัวใจบีบตัว
ลิ้นหัวใจเอออร์ต้ารั่ว (Aorta valve regurgitation)
ปิดเชื่อมได้ไม่สมบูรณ์ขณะหัวใจคลายตัว ทำให้เลือดจากเอออร์ต้ารั่วย้อนกลับเข้ามา ในเวนตริเคิลซ้าย
เฉียบพลัน มักเกิดจากเยี่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อหลอดเลือดเอออร์ต้าฉีกขาด การบาดเจ็บของทรวงอก ทำให้เวนตริเคิลไม่สามารถปรับตัวรับกับปริมาตรเลือดที่ย้อนกลับได้ ความดันในเวนตริเคิลสูงมาก ทำให้ลิ้นไมตัลปิดก่อนกหนด เลือดค้างในเอเตรยม และหลอดเลือดปอด เกิดภาวะปอดบวมน้ำเฉียบพลัน(Pulmonary edema)
ในระยะสุดท้ายหัวใจปรับตัวไม่ได้ เลือดย้อนคืนเข้าสู่เวนตริเคิลมากขึ้นและในที่สุดเกิดหัวใจล้มเหลว
เรื้อรัง ทำให้มีเลือดแดงในเอออร์ต้าบางส่วนไหลกลับสู่เวนตริเคิลซ้ายในขณะที่หัวใจคลายตัว เนื่องจากความดันในเอออร์ต้าสูงกว่าในเวนตริเคิล เวนตริเคิลซ้ายจึงต้องรับเลือดปกติจากเอเตรียมซ้ายและจากกการไหลย้อนผิดปกติจากลิ้นเอออร์ติกรั่ว
ปรับตัวโดยการขยายห้องหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจทำให้ความตึงตัวผนังหัวใจเพิ่มขึ้น เวนตริเคิลซ้ายจึงหนาตัวขึ้น
อาการ
ใจสั่น หายใจลำบาก นอนราบไม่ได้ หายใจเหนื่อยตอนกลางคืน ล้า เจ็บหน้าอก Angina หัวใจเต้นเร็ว มีเสียงฟู่แบบ Decrescendo ช่วงหัวใจคลายตัว
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis)
อาการสำคัญ เจ็บหน้าอก ฟังเสียงหัวใจได้ Friction rub คลื่นหัวใจผิดปกติ
พยาธิสภาพ
เกิดไฟบรินและน้ำเกินบริเวณเยื่อหุ้มหัวใจ ทำให้เยื่อหุ้มหัวใจแข็งและหนา ขาดความยืดหยุ่น ทำให้หัวใจไม่สามารถยืดขยายตัวไม่เต็มที่
ความจุหัวใจลดลง ความดันรอบหัวใจสูงขึ้น ทำให้เลือดไหลกลับหัวใจลดลง และการสูบฉีดเลือดลดลง
อาการ
ไข้ เจ็บหน้าอก ร้าวไปแขนไหล่ คอ หนาวสั่น ฟังเสียงหัวใจได้ยินเสียง rub หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หายใจลำบาก อ่อนล้า
การรักษา
การใช้ยา NSAID,cochicin,อาจใช้ตัวเดียวหรือร่วมกัน สำหรับ Coricosteroid
การระบาย โดย
การเจาะน้ำออกจากเยื่อหุ้มหัวใจ Pericardiocentesis
การผ่าตัด ได้แก่ Pericardiectomy
การดูแลระบบไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น Cardiac output โดย
ให้น้ำเกลือเพื่อเพิ่มปริมาตรเลือด
ให้ยากระตุ้นหัวใจ
ติดตามวัดประเมินความดันโลหิต ชีพจร
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis)
อาการ
อาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ ไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาเจียน ท้องเสีย
เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้า
การหายใจลำบาก
หมดสติเสียชีวิตเฉียบพลันได้
ในระยะยาว อาจมีภาวะแทรกซ้อนต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ จนเป็นภาวะหััวใจล้มเหลวเรื้อรัง
การรักษาพยาบาล
การช่วยเหลือการทำงานของหัวใจ โดยใช้เครื่องช่วยการทำงานของหัวใจ แบบพิเศษ (Intraaortic balloon pump หรือ Extracorporeal membrane oxygenation) รวมทั้งการให้ออกซิเจนเพื่อพยุงช่วยเหลือปอดและหัวใจ
การให้ยาคุ้มกันหรือยาต้านการอักเสบ ให้ผู้ป่วยที่ผล biopsy ยืนยันค่าเป็นโรคกล้ามเรื้อหัวใจอักเสบจริง
การให้ยารักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลง เช่น ยากลุ่มขยายหลอดเลือด
ยากลุ่ม ACEI เช่น enalapril
ยากลุ่มขับปัสสาวะ เช่น flirosemide
เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis)
สาเหตุ
แบคทีเรีย ริกเกตเซีย เชื้อรา พยาธิ ที่พบส่วนใหญ่คือ แบคทีเรีย ซึ่งมักจะเข้าสู่กระแสเลือดได้ จากการเข้าหรือแผลเปิดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งสาเหตุสำคัญคือ ไข้รูมาติค ไข้หวัดใหญ่ เยื่อหุ้มหัวใจชั้นในอักเสบ
พยาธิ
เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เข้าสู่ระบบไหลเวียนไปที่หัวใจและฝังตัวอยู่ในเยื่อบุหัวใจชั้น Endothelium ในบริเวรณที่มีการไหลเวียนเลือดช้า เกิดการอักเสบที่เยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ
เกิดที่ลิ้นหัวใจทำให้เกิดการอักสบ ติดเชื้อ ประกอบด้วย กลุ่มของเลือด และเชื้อก่อโรคซึ่งเรียกว่า Vegetation ซึ่งก้อนเลือดเล็กๆที่ติดเชื้อเหล่านี้เมื่อหลุดลอยเข้ากระแสเลือดจะมีโอกาสไปอุดตันที่อวัยวะต่างๆ
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย ไข้ เม็ดเลือดขาวสูง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอกหายใจลำบาก ถ้ามีอาการมากขึ้นจะมีภาวะหัวใจวายร่วมด้วย
รายรุนแรง ตรวจพบความผิดปกติของ T-wave
การรักษา/การพยาบาล
ให้ยาบีบการรัดตัวของหัวใจ เช่น Digitalis
ให้ยาขับปัสสาวะ
ให้ยาต้านการติดเชื้อจนครบ
ตืดตามการทำงานของหัวใจ
ดูแลช่วยเหลือกิจกรรมเนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะ Activity intolerance
ให้ข้อมูลการปฏิบัติตน การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การมีเพศสัมพันธ์
Cardiac Pacemaker/Artificial Pacemaker
เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ เพื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจตามที่กำหนด เพื่อให้เกิดจังหวะการเต้นของหัวใจที่ทำให้มีปริมาณเลือดออกจากหัวใจต่อนาที (Cardiac output) เพียงพอ
ก่อนใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ การทำความสะอาดตำแหน่งที่ผ่าตัดใช้บริเวณหัวไหล่ข้างที่ไม่ถนัด เพราะหลังผ่าตัดต้องงดใช้แขนข้างที่ใส่เครื่อวกำหนดจังหวัดการเต้นของหัวใจ 3 วัน เพื่อป้องกันสายเลื่อน และต้องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อบันทึกจังหวะการเต้นของหัวใจ
ขณะใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ
ติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจและความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง
เมื่อใส่สายสื่อไปยังตำแหน่งที่ต้องการแล้ว จดบันทึกลักษณะการกระตุ้นของเครื่อง อัตราเร็วของการกระตุ้นของเครื่อง อัตราเร็วของการกระตุ้น ความไว ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้กระตุ้น
ติดตามผล Chest X - Ray หลังการใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ เพื่อดูตำแหน่งของสื่อ
หลังใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ วัดสัญญาณชีพ สังเกตความสม่ำเสมอของชีพจร อัตราการเต้น ถ้าชีพจรเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าหรือมากกว่า 10 ครั้ง/นาที ต้องรายงานแพทย์
นางสาวกนกอร เสริมราษฎร์ เลขที่ 3 รหัสนักศึกษา 612501003