Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์, นางสาวสิรามล มนต์ช่วย
…
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
- สตรีเมื่อมีเพศสัมพันธ์ กับคู่สมรสและมีตั้งครรภ์ จะมีอาการและอาการแสดงบางอย่างเกิดขึ้นภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ สตรีทั่วไปมักเกิดความสงสัยว่าตนเองอาจตั้งครรภ์ หรือในสตรีที่ต้องการมีบุตรมากอาจเกิดจินตนาการ และมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เหมือนกับหญิงที่ตั้งครรภ์ เรียกว่า การตั้งครรภ์เทียม(pseudo pregnancy) ซึ่งการที่จะสรุปหรือวินิจฉัยว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจริงหรือไม่นั้น ต้องทาด้วยความรอบครอบโดยอาศัยการประเมินอาการและ อาการแสดงต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- อาการและอาการแสดงที่สงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ (Presumtive evidences of
pregnancy)
- การขาดระดู (Amenorrhea) ประวัติเกี่ยวกับระดูเป็นสิ่งสาคัญในการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ เพราะการตั้งครรภ์จะทาให้ไม่มีระดู โดยเฉพาะในสตรีที่มีระดูสม่าเสมอแล้วขาดหายไปมากกว่า 4 สัปดาห์ ให้คิดเสมอว่าอาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้ แต่ประวัติการขาดระดูเพียงอย่างเดียวอาจทาให้การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ผิดพลาดได้ ดังนั้นการซักประวัติต้องถามถึงการมีเพศสัมพันธ์ และการคุมกาเนิดร่วมด้วย อย่างไรก็ตามประวัติระดูอาจทาให้การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ผิดพลาดได้ในกรณีต่อไปนี้
- สตรีที่คุมกาเนิดด้วยฮอร์โมนอาจทาให้ระดูคลาดเคลื่อน หรือขาดหายได้ โดยเฉพาะหลังหยุดใช้ยาคุมกาเนิด
- สตรีที่มีภาวะเครียด จะมีผลทาให้ขาดระดูเนื่องจากไม่มีภาวะไข่ตก
- สตรีในระยะให้นมบุตร และยังไม่มีระดูเลยตั้งแต่หลังคลอดบุตร
- สตรีที่เข้าสู่วัยหมดระดู (menopause)
- การเปลี่ยนแปลงของเต้านม (Breast change) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ estrogen, progesterone และ prolactin ซึ่งจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของท่อน้านม (alveoli duct) และต่อมน้านม (alveoli gland) ทาให้สตรีตั้งครรภ์เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- เต้านมมีขนาดโตขึ้น คัดตึงเต้านม บางรายอาจมีน้านมเหลือง (colostum) พบเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 2-3 เดือน
- ลานหัวนม (areola) กว้างและมีสีเข้มขึ้น ตุ่ม montgomery tubercle ขยายขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากต่อมไขมัน (sebaceous gland) ที่กระจายอยู่บริเวณลานหัวนมโตขึ้น
- เต้านมเทียม (secondary breast) มักพบบริเวณรักแร้ หรือ บริเวณ nipple line ซึ่งอาจทาให้รู้สึกปวดได้
- อ่อนเพลีย (Fatigue) เป็นอาการที่พบบ่อยโดยเฉพาะระยะ 3 เดือนแรก
- คลื่นไส้ อาเจียน (Nousea and Vomitting) การตั้งครรภ์จะรบกวนการทางานของระบบทางเดินอาหารทาให้คลื่นไส้ ผะอืดผะอม รับประทานอาหารได้น้อย สตรีตั้งครรภ์บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อย่างเดียว หรือมีอาการอาเจียนร่วมด้วย เรียกว่า morning sickness พบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 6-12 สัปดาห์ และจะเป็นอยู่นาน 6-8 สัปดาห์
- ปัสสาวะบ่อย (Disterbance in urination) เกิดในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เนื่องจากมดลูกมีขนาดโตขึ้นและไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ
- สีผิวหนังเปลี่ยนแปลง (Skin change) เกิดจากมีการสะสมเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น (pigmentation) ซึ่งนอกจากจะพบในสตรีตั้งครรภ์แล้ว อาจพบได้ในสตรีที่รับประทานยาคุมกาเนิด หรือสตรีที่อ้วนมาก การเปลี่ยนแปลงสีผิวหนังในสตรีที่ตั้งครรภ์ที่สังเกตได้ มีดังนี้
- หน้าท้องลาย (abdominal striae) หรืออาจมีเต้านมลาย และยังพบแถบเส้นสีเข้มกลางหน้าท้อง (linear nigra) อีกด้วย เนื่องจากเป็นบริเวณที่มี melanin ที่ผิวหนังมาก
- ผิวคล้าบริเวณใบหน้า โหนกแก้ม หน้าผาก และจมูก ลักษณะคล้ายฝ้า เรียกว่า chloasma หรือ the mask of pregnancy มักพบหลังอายุครรภ์ 16 สัปดาห์
- เยื่อบุช่องคลอดเปลี่ยนแปลง (Vaginal mucosa changes) สีเยื่อบุช่องคลอดจะเปลี่ยนเป็นสีน้าเงินคล้าหรือม่วงแดง (Chadwick’s sign) เกิดจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงมากและมีเลือดคั่งที่บริเวณเยื่อบุช่องคลอด นอกจากจะพบในสตรีตั้งครรภ์แล้วยังพบได้ในสตรีที่รับประทานยาคุมกาเนิดชนิด conbined pill ที่มีส่วนผสมของ estrogen และ progesterone
- รู้สึกเด็กดิ้น (Fetal movement) เป็นการรับรู้ของมารดาว่าบุตรดิ้น ซึ่งการรู้สึกว่าทารกในครรภ์ดิ้นเป็นครั้งแรกเรียกว่า quickening โดยสตรีครรภ์แรกจะเริ่มรู้สึกเมื่ออายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์
- อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์ (Positive signs of pregnancy)
- การใช้ Doppler ultrasound เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงพุ่งเข้าหาหลอดเลือดของทารกที่กาลังมีการไหลเวียนเลือด และคลื่นจะสะท้อนเป็นคลื่นเสียงกลับเข้าสู่เครื่องแปลงสัญญาณเสียงอีกต่อหนึ่ง วิธีนี้สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ เป็นต้นไป
- การเต้นของหัวใจทารก (Fetal heart movement) สามารถตรวจสอบได้จาก
- การตรวจพบทารกโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอดจะตรวจพบถุงที่เกิดจากการตั้งครรภ์ (gestational sac) ในโพรงมดลูกได้ตั้งแต่ 16 วันหลังปฏิสนธิ ส่วนการตรวจทางหน้าท้องจะพบได้ช้ากว่า
- การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ (Fetal movement) เป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่ใช่เกิดจากการรับรู้ของมารดา แต่ได้จากการตรวจพบของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ โดยใช้มือสัมผัสกับหน้าท้องแล้วคอยรับความรู้สึกเมื่อทารกดิ้น
- การฟังเสียงเต้นของหัวใจผ่านทางหน้าท้องด้วย stethoscope โดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะเริ่มได้ยินเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 17 สัปดาห์ และเมื่ออายุครรภ์ 19 สัปดาห์จะสามารถฟังเสียงหัวใจทารกเต้นได้ทุกคน ซึ่งมีอัตราการเต้นระหว่าง 120-160 ครั้งต่อนาที
- ภาพเงากระดูกทารก การตรวจพบเงากระดูกทารกในภาพรังสี (X-ray) ซึ่งมักเริ่มเห็นหลังอายุครรภ์ 16 สัปดาห์ แต่ในทางปฏิบัติการวินิจฉัยการตั้งครรภ์โดยวิธีนี้ไม่ใช้กันแล้ว เนื่องจากอาจเกิดอันตรายต่อทารกโดยเฉพาะในช่วงที่ทารกยังเป็นตัวอ่อน (embryo) ปกติจะใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงแทนซึ่งปลอดภัยกว่าและตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ
- อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์ (Positive signs of pregnancy)
- การทดสอบทางฮอร์โมนได้ผลบวก(Hormone test of pregnancy) เป็นการตรวจหา human chorionic gonadotrophin (HCG) ระดับ HCG จะสูงสุดขณะอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ และลดลงจนคงที่เมื่ออายุครรภ์ 12-14 สัปดาห์ การทดสอบทางฮอร์โมน เป็นการทดสอบการตั้งครรภ์ (pregnancy test) ที่ใช้บ่อยที่สุด
- คล้าพบขอบเขตรูปร่างทารก (Outlining the fetus) ในระยะปลายไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป ผู้ตรวจจะคลาขอบเขตรูปร่างของทารกได้ทางหน้าท้อง โดยเฉพาะสตรีที่เคยตั้งครรภ์จะคลาได้ตั้งแต่อายุครรภ์อ่อนกว่าสตรีครรภ์แรก
- Ballottement ประมาณเดือนที่ 4-5 ของการตั้งครรภ์ ภายในโพรงมดลูกจะมีน้าหล่อเด็กค่อนข้างมาก ขณะที่ทารกยังตัวเล็กอยู่ทารกในครรภ์จะเคลื่อนไหวได้สะดวก การตรวจโดยใช้ปลายนิ้วมือกดบนตัวมดลูกเร็วๆ
- การหดรัดตัวของมดลูก (Contraction) ระยะท้ายไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ มดลูกจะมีการหดรัดตัวเป็นครั้งคราว ไม่สม่าเสมอ และไม่รู้สึกเจ็บปวด อาจเกิดขึ้นทุก 5-10 หรือ 20 นาที และมีตลอดระยะของการตั้งครรภ์ การหดรัดตัวแบบนี้เรียกว่า Braxton hicks contraction
- การเปลี่ยนแปลงที่ปากมดลูก (Cervical change) เมื่ออายุครรภ์ 8-10 สัปดาห์ ปากมดลูกจะนุ่มคล้ายริมฝีปากแทนที่จะแข็งคล้ายกระดูกอ่อนที่จมูกเหมือนขณะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เรียกว่า Goodell’s sign
- การเปลี่ยนแปลงของมดลูก (Uterine change) จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งขนาด รูปร่าง และความยืดหยุ่นของมดลูก ซึ่งจะตรวจพบได้จากตรวจภายในโดยการทา bimanual examination การตรวจพบที่แสดงว่าน่าจะมีการตั้งครรภ์ คือ
- ขนาดท้องโตขึ้น ขนาดของมดลูกจะโตขึ้นจนอยู่เหนือระดับรอยต่อกระดูกหัวเหน่าและสามารถคลาได้คล้ายก้อนเนื้องอกเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 12 สัปดาห์ ก้อนนี้จะโตขึ้นเรื่อยๆ ทาให้ท้องมีขนาดโตขึ้นถ้ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นขนาดท้องที่โตขึ้นจะสัมพันธ์กับอายุครรภ์
-