Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Mappingที่5 การวินิจฉัยการตั้งครรภ์, นางสาวกนกวรรณ เนาวพันธ์ เลขที่ 66 …
Mappingที่5 การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
1.อาการและอาการแสดงที่สงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ (Presumtive evidences of pregnancy)
อาการและอาการแสดงในกลุ่มนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระที่เกิดขึ้นในระยะที่ 1 และเริ่มเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการตั้งครรภ์ อาการหรืออาการแสดงที่ทำให้เกิดความสงสัยว่าอาจจะมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น เป็นข้อมูลประกอบที่มีน้ำหนักน้อยที่สุดในการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ ได้แก่
1.1. การขาดระดู (Amenorrhea)
ประวัติเกี่ยวกับระดูเป็นสิ่งสำคัญในการวินิจฉัยการ ตั้งครรภ์ เพราะการตั้งครรภ์จะทำให้ไม่มีระดู โดยเฉพาะในสตรีที่มีระดูสม่ำเสมอแล้วขาดหายไป มากกว่า 4 สัปดาห์ ให้คิดเสมอว่าอาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้
การขาดระดูที่ไม่ได้เกิดจากการตั้งครรภ์ พบได้ในกรณีดังต่อไปนี้
1) สตรีที่คุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนอาจทำให้ระดูคลาดเคลื่อน หรือขาดหายได้โดยเฉพาะหลังหยุดใช้ยาคุมกำเนิด 2) สตรีที่มีภาวะเครียด จะมีผลทำให้ขาดระดูเนื่องจากไม่มีภาวะไข่ตก 3) สตรีในระยะให้นมบุตร และยังไม่มีระดูเลยตั้งแต่หลังคลอดบุตร 4) สตรีที่เข้าสู่วัยหมดระดู (menopause)
การขาดระดูจากการตั้งครรภ์แต่ท าให้เข้าใจผิดว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ พบใน
1) สตรีครรภ์แรกที่ตั้งครรภ์ก่อนมีระดูครั้งแรก (menarche) พบในวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุยังน้อย 2) สตรีใกล้วัยหมดระดู (premenopause) การขาดระดูครั้งแรกอาจทำให้สับสน ระหว่างการเข้าสู่วัยหมดระดู (menopause) กับการตั้งครรภ์ 3) ในสตรีที่ระดูมาสม่ำเสมอ การมีเลือดระดูครั้งสุดท้ายเร็วและน้อยกว่าปกติอาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นเลือดระดู
1.2.การเปลี่ยนแปลงของเต้านม (Breast change)
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ estrogen, progesterone และ prolactin ซึ่งจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของท่อน้ำนม (alveoli duct) และต่อมน้ำนม (alveoli gland) ทำให้สตรีตั้งครรภ์เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี
1) เต้านมมีขนาดโตขึ้น คัดตึงเต้านม บางรายอาจมีน้ำนมเหลือง (colostum) พบ เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 2-3 เดือน
2) ลานหัวนม (areola) กว้างและมีสีเข้มขึ้น ตุ่ม montgomery tubercle ขยาย ขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากต่อมไขมัน (sebaceous gland) ที่กระจายอยู่บริเวณลานหัวนมโตขึ้น
3) เต้านมเทียม (secondary breast) มักพบบริเวณรักแร้ หรือ บริเวณ nipple line ซึ่งอาจทำให้รู้สึกปวดได้
4) การเปลี่ยนแปลงของเต้านมดังกล่าว ต้องแยกออกจากภาวะบางอย่าง เช่น สตรี ที่มีเนื้องอกของต่อมใต้สมองที่สร้าง prolactin หรือในรายที่กินยากระตุ้นการหลั่ง prolactin
1.3.คลื่นไส้ อาเจียน (Nousea and Vomitting)
การตั้งครรภ์จะรบกวนการทำงาน ของระบบทางเดินอาหารทำให้คลื่นไส้ ผะอืดผะอม รับประทานอาหารได้น้อย สตรีตั้งครรภ์บางราย อาจมีอาการคลื่นไส้อย่างเดียว หรือมีอาการอาเจียนร่วมด้วย เรียกว่า morning sickness
1.4. อ่อนเพลีย (Fatigue)
เป็นอาการที่พบบ่อยโดยเฉพาะระยะ 3 เดือนแรกของการ ตั้งครรภ์เนื่องจากสตรีตั้งครรภ์มีเมตตาบอลิสมเพิ่มขึ้น สตรีงตั้งครรภ์จะรู้สึกอ่อนเพลีย อยากนอนหรือ นั่งพัก ซึ่งเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกายขณะตั้งครรภ์ อาการอ่อนเพลียจะ รู้สึกดีขึ้นหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
1.5. ปัสสาวะบ่อย (Disterbance in urination)
เกิดในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากมดลูกมีขนาดโตขึ้นและไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะทำให้กระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลงจึง รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
1.6. สีผิวหนังเปลี่ยนแปลง (Skin change)
เกิดจากมีการสะสมเม็ดสีเพิ่มมาก ขึ้น (pigmentation) ซึ่งนอกจากจะพบในสตรีตั้งครรภ์แล้ว อาจพบได้ในสตรีที่รับประทานยาคุมก าเนิด หรือสตรีที่อ้วนมาก
1) ผิวคล้ำบริเวณใบหน้า โหนกแก้ม หน้าผาก และจมูก ลักษณะคล้ายฝ้า เรียกว่า chloasma หรือ the mask of pregnancy มักพบหลังอายุครรภ์ 16 สัปดาห์
2) หน้าท้องลาย (abdominal striae) หรืออาจมีเต้านมลาย และยังพบแถบเส้นสี เข้มกลางหน้าท้อง (linear nigra) อีกด้วย เนื่องจากเป็นบริเวณที่มี melanin ที่ผิวหนังมาก
1.7. เยื่อบุช่องคลอดเปลี่ยนแปลง (Vaginal mucosa changes)
สีเยื่อบุช่องคลอด จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินคล้ำหรือม่วงแดง (Chadwick’s sign) เกิดจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงมากและมี เลือดคั่งที่บริเวณเยื่อบุช่องคลอด
1.8. รู้สึกเด็กดิ้น (Fetal movement)
เป็นการรับรู้ของมารดาว่าบุตรดิ้น ซึ่งการรู้สึก ว่าทารกในครรภ์ดิ้นเป็นครั้งแรกเรียกว่า quickening โดยสตรีครรภ์แรกจะเริ่มรู้สึกเมื่ออายุครรภ์ 18-20 สัปดาห
2. อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะตั้งครรภ์ (Probable signs of pregnancy)
อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะตั้งครรภ์ หมายถึง อาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะมีการ ตั้งครรภ์เกิดขึ้น แต่ไม่ถึงกับยืนยันว่ามีการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์เกิดขึ้นอย่างแน่นอนประกอบด้วย
2.1 ขนาดท้องโตขึ้น
ขนาดของมดลูกจะโตขึ้นจนอยู่เหนือระดับรอยต่อกระดูกหัวเหน่า และสามารถคลำได้คล้ายก้อนเนื้องอกเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 12 สัปดาห์ ก้อนนี้จะโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ท้องมีขนาดโตขึ้นถ้ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นขนาดท้องที่โตขึ้นจะสัมพันธ์กับอายุครรภ์
2.2 การเปลี่ยนแปลงของมดลูก (Uterine change)
จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งขนาด รูปร่าง และความยืดหยุ่นของมดลูก ซึ่งจะตรวจพบได้จากตรวจภายในโดยการท า bimanual examination
2.3.การเปลี่ยนแปลงที่ปากมดลูก (Cervical change)
เมื่ออายุครรภ์ 8-10 สัปดาห์ ปากมดลูกจะนุ่มคล้ายริมฝีปากแทนที่จะแข็งคล้ายกระดูกอ่อนที่จมูกเหมือนขณะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เรียกว่า Goodell’s sign
2.4.การหดรัดตัวของมดลูก (Contraction)
ระยะท้ายไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์มดลูก จะมีการหดรัดตัวเป็นครั้งคราว ไม่สม่ำเสมอ และไม่รู้สึกเจ็บปวด อาจเกิดขึ้นทุก 5-10 หรือ 20 นาที และมีตลอดระยะของการตั้งครรภ์ การหดรัดตัวแบบนี้เรียกว่า Braxton hicks contraction Braxton Hicks contraction ไม่ใช่สิ่งที่แสดงว่ามีการตั้งครรภ์แน่นอน เพราะอาจพบในสตรีที่มีเนื้องอกของมดลูก สำหรับสตรีตั้งครรภ์ Braxton hicks contraction จะช่วยในการวินิจฉัย แยกการตั้งครรภ็ในมดลูกออกจากการตั้งครรภ์ในช่องท้อง (Abdominal pregnancy)
2.5. Ballottement
ประมาณเดือนที่ 4-5 ของการตั้งครรภ์ ภายในโพรงมดลูกจะมีน้ำหล่อเด็กค่อนข้างมาก ขณะที่ทารกยังตัวเล็กอยู่ทารกในครรภ์จะเคลื่อนไหวได้สะดวก
2.6. คล้าพบขอบเขตรูปร่างทารก (Outlining the fetus) ในระยะปลายไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป ผู้ตรวจจะคลำขอบเขตรูปร่างของทารกได้ทางหน้าท้อง
2.7. การทดสอบทางฮอร์โมนได้ผลบวก(Hormone test of pregnancy)
เป็นการตรวจหา human chorionic gonadotrophin (HCG) ระดับ HCG จะสูงสุดขณะอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ และ ลดลงจนคงที่เมื่ออายุครรภ์ 12-14 สัปดาห์
3. อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์ (Positive signs of pregnancy)
อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะตั้งครรภ์ หมายถึง อาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นอย่างแน่นอนและมีความแม่นยำร้อยละ 100 ได้แก่
3.1. การเต้นของหัวใจทารก (Fetal heart movement)
สามารถตรวจสอบได้จาก 1) การฟังเสียงเต้นของหัวใจผ่านทางหน้าท้องด้วย stethoscope โดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะเริ่มได้ยินเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 17 สัปดาห์ และเมื่ออายุครรภ์ 19 สัปดาห์จะสามารถฟังเสียงหัวใจทารกเต้นได้ทุกคนซึ่งมีอัตราการเต้นระหว่าง 120-160 ครั้งต่อนาที 2) การใช้ Doppler ultrasound เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงพุ่งเข้าหาหลอด เลือดของทารกที่กำลังมีการไหลเวียนเลือด และคลื่นจะสะท้อนเป็นคลื่นเสียงกลับเข้าสู่เครื่องแปลง สัญญาณเสียงอีกต่อหนึ่ง วิธีนี้สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ เป็นต้นไป
3.2. การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ (Fetal movement)
เป็นการเคลื่อนไหวที่ ไม่ใช่เกิดจากการรับรู้ของมารดา แต่ได้จากการตรวจพบของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ ครรภ์ 20 สัปดาห์ โดยใช้มือสัมผัสกับหน้าท้องแล้วคอยรับความรู้สึกเมื่อทารกดิ้น
3.3. การตรวจพบทารกโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ทางช่องคลอดจะตรวจพบถุงที่เกิดจากการตั้งครรภ์ (gestational sac) ในโพรงมดลูกได้ตั้งแต่ 16 วัน หลังปฏิสนธิ ส่วนการตรวจทางหน้าท้องจะพบได้ช้ากว่า
3.4.ภาพเงากระดูกทารก
การตรวจพบเงากระดูกทารกในภาพรังสี (X-ray) ซึ่งมักเริ่ม เห็นหลังอายุครรภ์ 16 สัปดาห์ แต่ในทางปฏิบัติการวินิจฉัยการตั้งครรภ์โดยวิธีนี้ไม่ใช้กันแล้ว เนื่องจาก อาจเกิดอันตรายต่อทารกโดยเฉพาะในช่วงที่ทารกยังเป็นตัวอ่อน (embryo) ปกติจะใช้การตรวจด้วย คลื่นเสียงความถี่สูงแทนซึ่งปลอดภัยกว่าและตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
สตรีเมื่อมีเพศสัมพันธ์ กับคู่สมรสและมีตั้งครรภ์จะมีอาการและอาการแสดงบางอย่าง เกิดขึ้นภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ สตรีทั่วไปมักเกิดความสงสัยว่าตนเองอาจตั้งครรภ์หรือในสตรีที่ต้องการมีบุตรมากอาจเกิดจินตนาการ และมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เหมือนกับหญิงที่ตั้งครรภ์ เรียกว่า การตั้งครรภ์เทียม(pseudo pregnancy) ซึ่งการที่จะสรุปหรือวินิจฉัยว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจริงหรือไม่นั้นต้องทำด้วยความรอบครอบโดยอาศัยการประเมินอาการและอาการแสดงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงที่ใช้สำหรับวินิจฉัยการตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 3 ระดับ โดยเรียงจากความแม่นยำน้อยที่สุดไปหามากที่สุด คือ อาการและอาการแสดงที่สงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะตั้งครรภ์ และอาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์
นางสาวกนกวรรณ เนาวพันธ์ เลขที่ 66 รหัสนักศึกษา 61122230073