Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ขบวนการสร้างเซลสืบพันธุ์เพศชายและเพศหญิง - Coggle Diagram
ขบวนการสร้างเซลสืบพันธุ์เพศชายและเพศหญิง
ขบวนการสร้างเซลเพศ (Gametogenesis) หมายถึง ขบวนการสร้างเซลเพศจากต่อมเพศ
ชาย คือ อัณฑะ และต่อมเพศหญิง คือ รังไข่ โดยขบวนการลดจานวนโครโมโซมจาก Diploid number 46 ลงมาเป็น Haploid number 23
1. ขบวนการสร้างอสุจิ
(Spermatogenesis) เกิดขึ้นภายใน seminiferous tubule ของอัณฑะ ตั้งแต่ระยะวัยรุ่น จนถึงวัยชรา ในระยะตัวแก่ในครรภ์ (The Fetal Stage) ภายในอัณฑะมีเซล 2 ชนิด คือ
1)
Primodial germ cells ซึ่งต่อไปจะเจริญเป็นอสุจิ
2) Sertoli cellเป็นส่วนที่ให้อาหารแก่อสุจิ
ในวัยรุ่น อัณฑะได้รับการกระตุ้นจาก Follicle Stimulating Hormone (FSH) ทาให้
Spermatogenium (44+xy) แบ่งตัวแบบ mitosis ได้ primary spermatocyte (44+xy) และเริ่มแบ่งตัวครั้งที่หนึ่ง (first meiotic division) ได้ secondary spermatocyte 2 cells (22+x,22+y) ต่อมาแบ่งตัวครั้งที่สอง (secondary meiotic division) แต่ละเซลจะได้ spermatid 2 cells รวมทั้งหมด 4 เซล (22+x,22+y,22+x,22+y) ต่อไปspermatid จะเปลี่ยนรูปร่างเป็น spermatozoa โดยจะลด cytoplasm และพัฒนาหางขึ้น
2. การตกไข่ ขบวนการสร้าง (Oogenesis)
ขบวนการสร้าง (Oogenesis) เกิดขึ้นภายในรังไข่ เริ่มตั้งแต่ในระยะตัวแก่
ในครรภ์จนถึงระยะหมดประจาเดือน โดยเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 4 เดือน ในการเจริญของไข่จนเกิดเป็นไข่ที่สมบูรณ์นั้นจะเกิดเป็นวงจรภายใต้การควบคุมฮอร์โมน FSH และ LH จากระบบประสาทส่วนกลาง โดยในขณะที่มีการเจริญของ follicle มากขึ้น ก็จะมีการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนมากขึ้นด้วย ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะมีฤทธิ์กลับไปยับยั้งการหลั่ง FSH ให้น้อยลง และจะกระตุ้นให้มีการหลั่งLuteinizing hormone (LH) ออกมาแทนที่ เป็นผลให้follicleแตก ปล่อยให้ไข่หลุดออกมาจากรังไข่ เรียกว่า การตกไข่ (Ovulation)
ส่วนการเดินทางของอสุจิ การหดตัวของมดลูกและปีกมดลูก การโบกของcilia ของmucosa และของเหลวภายในปีกมดลูกมีความสาคัญในการเดินทางของอสุจิเพื่อไปยังบริเวณปีกมดลูกส่วนที่เรียกว่า ampular เพื่อตัวอสุจิ 1 ตัวทาการผสมกับไข่ที่เดินเข้ามาทางปีกมดลูกส่วน fimbria
น้าอสุจิ (semen) มีฤทธิ์เป็นด่างเล็กน้อย มีลักษณะเป็นของเหลวหนืด สีขาวขุ่นข้น ในการหลั่งแต่ละครั้งมีน้าอสุจิประมาณ 2-4 ซีซี มีจานวนอสุจิประมาณ 200-300 ล้านตัว ซึ่ง 75% ของอสุจิจะมีรูปร่างปกติและมีการเคลื่อนไหวปกติ หากมีการร่วมเพศมากว่า 4 ครั้งใน 1 สัปดาห์จะทาให้จานวนอสุจิลดลงเล็กน้อยแต่มีการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น ถ้าไม่มีการหลั่งอสุจิ ตัวอสุจิก็จะตายและถูกดูดซึมไป
การปฏิสนธิและการฝังตัวของไข่
การปฏิสนธิ (Fertilization) หมายถึง การผสมกันของเซลเพศชาย คือ อสุจิ กับเซลเพศหญิง คือไข่ ที่บริเวณ ampulla ของปีกมดลูก โดยการปฏิสนธิที่ปกติจะเกิดจากอสุจิและไข่อย่างละ 1 เท่านั้น การปฏิสนธิจะต้องเกิดทันทีหลังจากเดินทางมาถึงปีกมดลูก เพราะช่วงชีวิตของไข่ค่อนข้างสั้นไม่เกิน 24 ชั่วโมง และอสุจิมีความสามารถในการผสมพันธุ์ได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง
ขั้นตอนการปฏิสนธิ มีดังนี้
1) อสุจิผ่าน corona radiate ที่ล้อมรอบไข่อยู่
2) อสุจิเจาะzona pellucida ย่อยหนทางที่ผ่านไปโดยมีปฏิกิริยาของเอนไซม์ที่ถูกปล่อยออกมาจาก acrosome
3) หัวของอสุจิสัมผัสกับผิวของไข่
4) ไข่มีปฏิกริยาต่อการสัมผัสของอสุจิ โดยมีการเปลี่ยนแปลงของ zona pellucid และเยื่อหุ้มไข่ ป้องกันไม่ให้อสุจิตัวอื่นเข้าไปและจะเกิดการแบ่งตัวของ secondary oocte อย่างสมบูรณ์ เรียกนิวเคลียสในระยะนี้ว่า female pronucleus
5) หัวของอสุจิจะขยายใหญ่ขึ้น สร้าง male pronucleus และหางของอสุจิจะหายไป
6) เกิดการรวมตัวของนิวเคลียสและโครโมโซมทั้งสอง
การเปลี่ยนแปลงของไข่ภายหลังปฏิสนธิ
ผลที่ได้จากการปฏิสนธิ
1) Zygote ที่มีจานวนโครโมโซม 46 ซึ่งเป็นโครโมโซมจานวนปกติของมนุษย์ภายในโครโมโซมจะมียีนที่เป็นองค์ประกอบทางพันธุกรรมอยู่เป็นจานวนมาก แต่ละหัวจะแตกต่างกันและควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมอย่างละหนึ่งอย่างหรือมากกว่า
2) การตรวจเพศของตัวอ่อน ดูได้โดยการดูชนิดของอสุจิ ถ้าอสุจิ เป็น X-bearing zygote จะเป็น xx จะพัฒนาไปเป็นเพศหญิง ถ้าอสุจิเป็น y-bearing zygote จะเป็นxyจะพัฒนาไปเป็นเพศชาย
3) การรวมตัวของเซลเพศจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างทารก รก สายสะดือ และเนื้อเยื่อต่างๆ