Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พัฒนาการของระบบต่างๆของทารกในครรภ์, นางสาวสัภยา นาคพิมาย รหัส 61122230027…
พัฒนาการของระบบต่างๆของทารกในครรภ์
ระบบการไหลเวียนโลหิต
ทารกในครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 3 เริ่มมีการแลกเปลี่ยนสารอาหารระหว่างเลือดของตัวอ่อน และเลือดของมารดาผ่าน chorionic villi การไหลเวียนโลหิตของทารกในครรภ์แตกต่างจากการไหลเวียนของทารกหลังคลอดหลายอย่าง
ระบบประสาท
ระบบประสาท จะเจริญมากในระยะแรก (สัปดาห์ที่ 3 – 4) ของการตั้งครรภ์ ในขณะที่สตรีก็ยังไม่แน่ใจว่าตนตั้งครรภ
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ประมาณสัปดาห์ที่ 12 มีปัสสาวะเกิดขึ้น ประมาณสัปดาห์ที่ 16 มี
การหลั่งของปัสสาวะมาผสมอยู่ในน้ำหล่อเด็ก
ระบบสืบพันธุ์
ประมาณสัปดาห์ที่ 6 มีพัฒนาการของต่อมเพศ อายุครรภ์ 3 เดือน เริ่มแยกเพศได้
ระบบภูมิคุ้มกันโรค
ระบบภูมิคุ้มกันของทารกพัฒนาจนสามารถทำงานได้ตั้งแต่อายุครรภ์เพียง 13 สัปดาห์
การเจริญเติบโตของรก
รก (Placenta) เป็นอวัยวะที่สร้างขึ้นมาในขณะตั้งครรภ์เมื่อมีการตกไข่ ประมาณวันที่ 6-7 หลังจากตกไข่ เซลล์เริ่มแบ่งตัวและพัฒนากลายเป็นตัวอ่อนทารกและรก รกประกอบด้วย เนื้อรก สายสะดือ และเยื่อหุ้มรก รกต่อกับเส้นเลือดที่สายสะดือของทารก เชื่อระหว่างรกกับทารก
รกทำหน้าที่ แลกเปลี่ยนสารอาหารจากแม่สู่ลูกในท้อง ,เป็นจุดแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างแม่กับทารกในครรภ์ , ขับถ่ายของเสีย , สร้างฮอร์โมน , ป้องกันอันตราย
สายสะดือ(Umbilical cord)
สายสะดือ เป็นเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อระหว่างรกในผนังมดลูกของมารดากับหน้าท้องของเด็ก สายสะดือจะประกอบไปด้วยเส้นเลือด 3 เส้น คือ เส้นเลือดดำเส้นใหญ่ จะมีหน้าที่ส่งอาหารและออกซิเจนไปสู่ทารกในครรภ์ ส่วนอีก 2 เส้นจะเป็นเส้นเลือดแดง มีหน้าที่ นำของเสียออกจากร่างกายของทารก
สายสะดือจะยาวหรือสั้นนั้นไม่มีผลเสียอะไรกับทารก ขึ้นอยู่กับว่าสายสะดือที่เชื่อมต่อทารกอยู่นั้นจะไปพันกับคอของทารกจนเกิดอันตรายหรือไม่ นอกจากนั้นในสายสะดือยังมีสารที่มีลักษณะเป็น
เจลลี (Jelly) ที่ช่วยพยุง ปกป้อง และปรับอุณหภูมิของหลอดเลือดในสายสะดือ
น้้าหล่อเด็ก (Amniotic fluid)
น้ำหล่อเด็กบางครั้งเรียก น้ำทูนหัวทารก เป็นของเหลวที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำ/ถุงที่เป็นที่อยู่ของทารกในครรภ์โดยน้ำคร่ำจะอยู่รอบ ๆตัวทารก
โดยน้ำคร่ำนี้จะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันการกระทบกระเทือนต่อทารก
น้ำหล่อเด็กบางส่วน มาจากของเหลวจากเลือดของมารดาที่ซึมผ่านถุงน้ำคร่ำ ปริมาณน้ำคร่ำจะมากหรือน้อย ขึ้นกับความสมดุลของการกลืนน้ำคร่ำของทารกและการขับปัสสาวะของทารกที่อยู่ในครรภ์
หากทารกไม่สามารถสร้างปัสสาวะได้ ทำให้ไม่มีน้ำคร่ำหรือมีน้อยมาก (Oligohydramnios) แต่หากทารกไม่สามารถกลืนน้ำคร่ำได้ จะทำให้น้ำคร่ำมากกว่าปกติ ( Hydramnios หรือ Polyhydramnios)
นางสาวสัภยา นาคพิมาย
รหัส 61122230027 เลขที่ 24
นักศึกษาชั้นปีที่ 2