Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลเด็กเม่อืเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล - Coggle Diagram
การดูแลเด็กเม่อืเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
Family-Centered Care การดูแลโดยให้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
เป็นแนวคิดการดูแลสุขภาพเด็กร่วมกันระหว่างเด็กครอบครัวและทีมสุขภาพโดยตระหนักว่าครอบครัวเป็นส่วนสำคัญในชีวิตเด็กมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลมีการร่วมมือกันเพื่อตอบสนองความต้องการของเด็กทั้งด้านร่างกายจิตใจอารมณ์และสังคม เสริมสร้างพลังอำนาจให้แก่ครอบครัว
องค์ประกอบของการดูแลโดยให้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
•การร่วมมือกันระหว่างเด็กครอบครัวและบุคลากรทางสุขภาพ
•การสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างครอบครัวและบุคลากรทางสุขภาพ
•การดูแลที่ให้เกียรติและยอมรับความแตกต่างระหว่างครอบครัวเช่นศาสนาการศึกษาความต้องการการเผชิญความเครียด
•การเสริมสร้างศักยภาพและแหล่งประโยชน์ของครอบครัว
•การตอบสนองความต้องการของเด็กและครอบครัว
•ให้ทางเลือกและโอกาลตัดสินใจ
•มีความยืดหยุ่น
การพยาบาลเด็กในระยะเฉียบพลัน
Separation anxiety
ระยะหมดหวัง (Despair) เด็กหยุดร้องไห้มีความตื่นตัวน้อยลงไม่สนใจอาหารและการเล่นเด็กจะเศร้าเหงาแยกตัว
ระยะปฏิเสธไoeniat or Detachment) เกิดขึ้นเมื่อเด็กแยกจากครอบครัวเป็นเวลานานเด็กดูเหมือนจะปรับตัวได้เริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นเป็นพฤติกรรมที่เป็นผลจากความทุกข์ใจเด็กปฏิเสธครอบครัวผูกพันกับผู้อื่นอย่างผิวเผิน
ระยะประท้วง (Protest) เด็กจะร้องไห้เสียงดังกรีดร้องเรียกมารดาโดยไม่สนใจผู้อื่นการร้องไห้ของเด็กไม่สามารถปลอบโดนให้เงียบได้พฤติกรรมนี้จะดำเนินต่อไปเป็นชั่วโมงถึงสองหรือสามวันเด็กจะสงบลงเมื่อเหนือย
คำแนะนำสำหรับมารดา
พยายามฝึกการแยกห่างจากกันบ้างเป็นบางครั้งและให้ลูกได้มีโอกาสพบและอยู่กับคนแปลกหน้าบ้างเช่นตอนที่มีพี่เลี้ยงคนใหม่ควรปล่อยให้ลูกและพี่เลี้ยงได้อยู่ด้วยกันและใช้เวลาร่วมกันในขณะที่คุณแม่ยังอยู่ในห้องด้วยก่อนและหลังจากนั้นคุณแม่ค่อยปล่อยให้อยู่กันเองช่วงสั้นๆบ้างเพื่อให้ลูกเกิดความไว้ใจและสบายใจที่จะอยู่กับพี่เลี้ยงและแน่ใจว่าคุณแม่ก็ไม่ได้หนีหายไปไหนหรือเมื่อคุณแม่จะพาลูกไปเข้า daycare หรือโรงเรียนอนุบาลใหม่ควรพาเขาไปเยี่ยมชมโรงเรียนและทำความคุ้นเคยสักช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะให้เขาเริ่มเข้าเรียนจริงอย่างเต็มเวลา
ในการลาเด็กในแต่ละวันให้ทำอย่างเรียบง่ายและสม่ำเสมอด้วยท่าทีที่สบายๆและผ่อนคลายเพื่อให้เด็กรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดาๆไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอะไรและให้เด็กรู้สึกมั่นใจว่าสักพักคุณแม่เขาจะกลับมาอยู่กับเขาอีกโดยอาจจะอธิบายในเรื่องของเวลาง่ายๆเช่นเดียวแม่จะกลับมาตอนบ่ายตอนที่ลูกตื่นนอนแล้วหรือหลังทานข้าวเสร็จ
ดูจังหวะช่วงเวลาไม่ควรส่งเด็กไป daycare อยู่กับคนแปลกหน้าในช่วงลูกอายุประมาณ 8 เดือน ถึง 1 ปีซึ่งเป็นช่วงที่เด็กจะมีความกลัวคนแปลกหน้าค่อนข้างมากและพยายามอย่าปล่อยให้เด็กอยู่กับคนแปลกหน้าในช่วงที่เขากำลังง่วงหรือหิวหรือกำลังโยเยเพราะเด็กจะปรับตัวได้ยากควรเลือกเวลาจากไปในตอนที่ลูกได้นอนหลับเต็มอิ่มและทานนมหรืออาหารอิมแล้ว
Pain
ประสบการณ์ที่ทำให้ไม่สบายทั้งทางด้านความรู้สึกและอารมณ์ซึ่งความไม่สุขสบายเกิดร่วมกับการมีการทำลายหรือมีสิ่งที่มีศักยภาพในการทำลายเนื้อเยื่อของร่างกาย
ชนิดของความปวดที่พบบ่อยในเด็ก
ปวดเรื้อรัง เป็นความไม่สุขสบายระยะเวลายาวนานกว่า 6 Mo.
ปวดเป็นระยะ เป็นความปวดที่เป็นๆหายๆไม่ได้เกิดตลอดเวลาเช่นปวดหัวปวดท้อง
ปวดเฉียบพลัน เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายเช่นปวดจากการผ่าตัดปวดจากหัตถการรักษาพยาบาล
ปวดจากมะเร็ง เป็นความปวดจากการลุกลามของเซลล์มะเร็งเป็นความปวดเฉพาะที่
การตอบสนองด้านสรีรวิทยาต่อความปวด
อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่ม
เหงื่อที่ฝ่ามือ
เลือดมาเลี้ยงผิวหนัง
ความดันกะโหลกศีรษะ
การจัดการความปวด
ระดับคะแนน 4-6: รายงานแพทย์เพื่อให้ยาในกลุ่ม NSIDS หรือ Opioids
ระดับคะแนน 7-10: รายงานแพทย์เพื่อให้ยาในกลุ่ม Opioids (ชนิดรับประทาน) หรือชนิดฉีด
ระดับคะแนน 0-3: ให้ยาในกลุ่ม Acetaminophen
ภาวะวิกฤติ
การพยาบาลที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลางจึงเป็นหัวใจสำคัญของการดูแลผู้ป่วยประเภทต่างๆรวมถึงผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้ายเพื่อให้ครอบครัวได้มีโอกาสร่วมดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิตพยาบาลเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยและครอบครัวตลอดเวลาและมีบทบาทสำคัญในการนำพาผู้ป่วยให้ตายอย่างสงบและสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ความเจ็บป่วยในระยะวิกฤตเป็นสิ่งถูกคุกคามของชีวิตของผู้ป่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยเด็กต้องเผชิญความเจ็บปวดจากโรคและกระบวนการดูแลรักษาหัตถการต่างๆก่อให้เกิดความวิตกกังวลความกลัวเป็นทุกข์และเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วยเด็กและครอบครัวต้องเผชิญกับความพลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รักการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นสิ่งที่ยากและท้าทายสสำหรับพยาบาลผู้ให้การดูแล
Stress and Coping
Stress
เป็นการที่บุคคลรับรู้ว่าสัมพันธภาพระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อมนั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่กำลังจะเกิดอันตรายขึ้นกับความผาสุกหรือสภาวะสมดุลของตนเอง
เป็นความไม่สมดุลระหว่างแหล่งประโยชน์ของกลไกการปรับตัวของบุคคลกับความต้องการหรือการเรียกร้องจากสิ่งแวดล้อม
Coping
การที่บุคคลมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด
การมีปฏิกริยาตอบสนองของบุคคลเพื่อลดหรือขจัดภาวะเครียดที่เกิดขึ้น
เป็นกำรที่บุคคลพยายามใช้สติปัญญาและการแสดงออกทางพฤติกรรมในการจัดลดหรือเอาชนะปัจจัยหรือสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเครียดหรืออิทธิพลจากสิ่งเร้านั้นโดยจัดการกับทั้งปัญหาหรือสาเหตุและสภาวะอารมณ์ของตนเอง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด
การสูญเสียการควบคุมตนเอง (Loss of Control)
การบาดเจ็บของร่างกายและความเจ็บปวด (Bodily injury and pain)
ความกังวลจากการแยกจาก (Separation anxiety)
การจัดการกับความเครียด
ความพยายามในการแก้ไขความเครียดที่เกิดขึ้นเป็นความพยายามทั้งทางด้านการควบคุมอารมณ์ความคิดพฤติกรรมและการตอบสนองทางสรีรวิทยาของร่างกายรวมไปถึงความพยายามในการควบคุมปัจจัยสภาพแวดล้อมด้วย
มีเป้าหมายเพื่อกำจัดความเครียดและทำให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตตามปกติได้ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดนั้นอาจเป็นปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยภายในตัวเองก็ได้
การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย
ภาพลักษณ์ของแต่ละช่วงวัย
วัยก่อนเรียน
เด็กมีความสนใจและรับรู้เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศอย่างชัดเจนบิดามารดาและเพื่อนมีอิทธิพลต่อเด็กวัยนี้อย่างมากที่ให้เด็กรับรู้ว่าตัวเองเป็นเพศหญิงหรือเพศซาย
วัยเรียน
เด็กมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายอารมณ์และสังคมอย่างมากและเพื่อนมีส่วนเกี่ยวข้องในภาพลักษณ์ของเด็กวัยนี้เด็กอายุ 7 ปีจะเริ่มมีบุคลิกลักษณะเป็นของตนเอง
วัยหัดเดิน
ระยะการขับถ่ายทำให้เริ่มมีการควบคุมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะทำให้เป็นภาพลักษณ์ของเด็กวัยนี้ซึ่งบิดามารดาและผู้เลี้ยงดูจะต้องฝึกหัดการควบคุมการขับถ่ายของเด็กให้เด็กเกิดความมั่นใจต่อไป
วัยรุ่น
มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายอารมณ์และสังคมอย่างรวดเร็วมีการพัฒนาการทางเพศมีผลต่อภาพลักษณ์ของตนเองอย่างมากเช่นอ้วนมากเกินไปผอมเกินไปไม่สวยเป็นต้น
Death & Dying
เด็กอายุ 6 ถึง 8 ปี
พัฒนาความสามารถในการใช้เหตุผลและในแง่อนุรักษ์เด็กจะเข้าใจความสัมพันธ์ของเหตุและผล
"เด็กจะถามคำถามมากมายเกี่ยวกับความตายเพราะเด็กเข้าใจว่าความตายเกิดขึ้นได้ตามโอกาสเพียงอย่างเดียวและความเข้าใจเกี่ยวกับความตายที่ยังไม่สามารถเปรียบเทียบเข้ากับเกณฑ์มาตรฐานของผู้ใหญ่ได้
เด็กอายุ 3 ถึง 5 ปี
มีความคิดพัฒนาด้านความเป็นตัวของตัวเองและความคงทนถาวรของวัตถุความเป็นตัวของตัวเองก่อให้เกิดความคิดรวบยอดเรื่องการแยกจากดังนั้นการรับรู้เกี่ยวกับความตายจึงเริ่มต้นด้วยการแยกจาก
วัยทารก (แรกเกิด-2 ปี)
ยังไม่มีมโนทัศน์ของความตายเนื่องจากเด็กยังไม่สามารถแยกตนเองออกจากผู้อื่นได้
อายุ 6 เดือนเริ่มจำบิดามารดาได้กลัวคนแปลกหน้าเริ่มแสดงความวิตกกังวลเมื่อถูกแยกจาก
อายุ 8-12 เดือนยังไม่สามารถค้นหาสิ่งที่ซ่อนไว้เริ่มรู้ว่ามีมีสิ่งใดหายไปความตายของเด็กวันนี้มีความหมายเพียงการสูญเสียผู้ดูแลเท่านั้น
เด็กอายุ 9 ถึง 12 ปี
เด็กช่วงนี้จะเริ่มมีความคิดความเข้าใจด้านนามธรรมเด็กเริ่มรู้ว่าความตายเป็นการหยุดชีวิตร่างกายและเป็นสิ่งที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่พ้นความตายมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง
เด็กอายุมากขึ้นความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความตายเปลี่ยนไปจากสาเหตุภายนอกไปสู่สาเหตุภายใน
เด็กอายุมากกว่า 9 ปี
จะให้เหตุผลเชิงตรรกวิทยาและทางชีววิทยาได้อย่างถูกต้องในความหมายของคำว่าตาย
ให้บิดามารดามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กให้มากเท่าที่จะทำได้
ช่วยเหลือบิดามารดาและครอบครัวให้สามารถเผชิญกับความเศร้าโศกเสียใจ