Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของสภาพร่างกายของผู้คลอด (Abnormality of physical condition) -…
ความผิดปกติของสภาพร่างกายของผู้คลอด (Abnormality of physical condition)
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ เกี่ยวกับ โรคประจำตัว โรคทางอายุรกรรม การได้รับอุบัติเหตุบริเวณช่องเชิงกราน
การตรวจร่งกาย เกี่ยวกับ น้ำหนักตัว ความสูง ภาวะขาดน้ำและอิเล็กโทรไลต์ ภาวะกระดูกเชิงกรานผิดรูป พิการหรือการได้รับอุบัติเหตุ
การพยาบาล
วัดv/s เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้คลอด
ตรวจภายในเป็นระยะๆ ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินการเปิดขยาย ความบางของปากมดลูก หากไม่ก้าวหน้าต้องรายงานแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือ
ประเมินสภาพทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด ทุก 30 นาที ใน active phase ทุก 1 ชั่วโมง ใน latent phase และทุกครั้งที่มดลูกคลายตัวในระยะที่ 2 ของการคลอด
ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษาอย่างเพียงพอ
ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจความเข้มข้นของเม็ดเลือด หมู่เลือด ตามแผนการรักษา
กระตุ้นให้เบ่งคลอดอย่างถูกวิธีในระยะที่ 2 ของการคลอด
รายที่มีโรคหัวใจ โรคไต หอบหืด ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ต้องไม่ให้เบ่งแรงและนานเกินไป คือ ไม่เกินครั้งละ 6 วินาที
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ผู้คลอดและทารกได้รับอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคทางอายุรกรรม หรือภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม
ผู้คลอดมีโอกาสได้รับอันตรายจากการเบ่งคลอดเนื่องจากมีโรคทางอายุรกรรม หรือภาวะแทรกช้อนทางสูติกรรม
มีโอกาสเกิดการคลอดยาก เนื่องจากช่องเชิงกรานผิดปกติหรือทารกตัวใหญ่
เกิดจาก
1.ผู้คลอดมีความเหนื่อยล้า อ่อนพสีย หรือมีความไม่สมดุลของสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์
ส่งผล
กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
การเผชิญความเจ็บปวดลดลง
มีแรงเบ่งน้อย
ระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนาน
มีโรคทางอายุรกรรม เช่น
โรคหัวใจ โรคหอบหืด โรคตับ โรคไต
ส่งผล
อาการของโรครุนแรงขึ้น หรือเกิดอันตราย
ต่อมารดาและทารกเมื่อเข้าสู่ระยะคลอดหรือเมื่อเบ่งคลอด
มีน้ำหนักตัวผิดปกติ
โดยเฉพาะรายที่น้ำหนักมากกว่า 80 กิโลกรัม
ส่งผล
ทารกตัวใหญ่ ทำให้คลอดยาก
กล้ามเนื้อพื้นเชิงกรานหนายืดขยายไม่ดี
อายุ โดยเฉพาะผู้ที่อายุ >35 ปี หรือ <17ปี
ส่งผล
อายุ >35 ปี
การคลอดยาก/ตกเลือดหลังคลอด จากภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
อายุ < 17 ปี
คลอดยากจากภาวะช่องเชิงกรานแคบ
มีประวัติได้รับอุบัติเหตุของกระดูกเชิงกราน
หรือความพิการ ผิดรูป
ส่งผล
มีภาวะช่องเชิงกรานแคบ
4 มีความสูงน้อยกว่าปกติ
โดยเฉพาะสูง <145 เซนติเมตร
ส่งผล
คลอดยากจากภาวะช่องเชิงกรานแคบ