Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พัฒนาการของระบบต่างๆของทารกในครรภ์, นางสาวสุภิญญา คำพันธ์ 61122230090…
พัฒนาการของระบบต่างๆของทารกในครรภ์
ระบบการไหลเวียนโลหิต
ทารกในครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 3 เริ่มมีการแลกเปลี่ยนสารอาหารระหว่างเลือดของตัวอ่อน และเลือดของมารดาผ่าน chorionic villi การไหลเวียนโลหิตของทารกในครรภ์แตกต่างจากการไหลเวียนของทารกหลังคลอดหลายอย่าง เช่น ระหว่างอยู่ในครรภ์มารดา ทารกได้รับออกซิเจนจากการเปลี่ยนที่รกไม่ใช่ที่ปอด ส่วนเลือดที่ไหลผ่านปอดเพื่อนำไปเลี้ยงเซลล์ของปอด ไม่ใช่ให้ปอดทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ
ระบบประสาท
ระบบประสาท จะเจริญมากในระยะแรก (สัปดาห์ที่ 3 – 4) ของการตั้งครรภ์ในขณะที่สตรีก็ยังไม่แน่ใจว่าตนตั้งครรภ์
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ประมาณสัปดาห์ที่ 12 มีปัสสาวะเกิดขึ้น ประมาณสัปดาห์ที่ 16 มีการหลั่งของปัสสาวะมาผสมอยู่ในน้ำหล่อเด็ก
ระบบสืบพันธุ์
ประมาณสัปดาห์ที่ 6 มีพัฒนาการของต่อมเพศ อายุครรภ์ 3 เดือน เริ่มแยกเพศได้
ระบบภูมิคุ้มกันโรค
ระบบภูมิคุ้มกันของทารกพัฒนาจนสามารถทางานได้ตั้งแต่อายุครรภ์
เพียง 13 สัปดาห์ ในระยะแรกๆ ของการพัฒนา พบ lymphocytes ในตับตั้งแต่อายุครรภ์เพียง 9 สัปดาห์ พบในเลือดและม้ามตั้งแต่อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ พบ T lymphocytes ในธัยมัสตั้งแต่อายุครรภ์ราว 14 สัปดาห์
การเจริญเติบโตของรก สายสะดือ เยื่อหุ้มเด็ก และน้้าหล่อเด็ก
รก (Placenta)
เป็นอวัยวะที่สร้างขึ้นมาในขณะตั้งครรภ์เมื่อมีการตกไข่ ไข่จะเคลื่อนที่ไปในท่อนำไข่จนมาถึงมดลูก และฝังตัวที่โพรงมดลูก ประมาณวันที่ 6-7 หลังจากตกไข่ จากนั้นเซลล์เริ่มแบ่งตัวและพัฒนากลายเป็นตัวอ่อนทารกและรก รกประกอบด้วย เนื้อรก สายสะดือ และเยื่อหุ้มรก โดยรกจะเกาะอยู่ตรงส่วนผนังด้านในของมดลูก แต่อยู่นอกถุงน้ำคร่ำและจะมีสายสะดือเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างรกกับทารก รกต่อกับเส้นเลือดที่สายสะดือของทารก เชื่อมระหว่างรกกับทารก
หน้าที่ของรก คือ
1.แลกเปลี่ยนสารอาหารจากแม่สู่ลูกในท้อง (nutrition) โดยเลือดลูกกับแม่จะไม่ผสมกัน แต่มีการแลกเปลี่ยนสารต่างๆระหว่างกัน
2.หายใจ (respiration) รกเปรียบเสมือนปอด คือ เป็นจุดแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างแม่กับทารกในครรภ์
ขับถ่ายของเสีย (excretion) รกทำหน้าที่คล้ายกับไต คือ เป็นที่ขับถ่ายของเสียที่เกิด จากกระบวนการเมตาโบลิซึมของทารก
4.สร้างฮอร์โมน (hormone production) ทำหน้าที่คล้ายกับเป็นต่อมไร้ท่อชั่วคราวในมดลูกซึ่งสามารถผลิตฮอร์โมนมากมายที่จำเป็นระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนที่สำคัญได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเทอโรน
ป้องกันอันตราย (protection) รกเป็นโครงสร้างที่ขัดขวางไม่ให้สารหรือmicroorganism บางอย่างผ่านเข้าไปทำอันตรายต่อลูกอ่อน
6.เป็นแหล่งเมตาโบไลต์สารบางอย่าง เช่น แอนติบอดี (antibody) หรือยาบางอย่างที่ได้รับจากแม่จะถูกรกปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่ไม่เป็นอันตราย
สายสะดือ(Umbilical cord (Umbilical cord )
สายสะดือ เป็นเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อระหว่างรกในผนังมดลูกของมารดากับหน้าท้องของเด็ก
สายสะดือจะประกอบไปด้วยเส้นเลือด 3 เส้น คือ เส้นเลือดดำเส้นใหญ่จะมีหน้าที่ส่งอาหารและออกซิเจนไปสู่ทารกในครรภ์ ส่วนอีก 2 เส้นจะเป็นเส้นเลือดแดง มีหน้าที่ นำของเสียออกจากร่างกายของทารก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร และจะมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร อาจจะสั้นหรือยาวกว่านี้ก็ได้
นอกจากนั้นในสายสะดือยังมีสารที่มีลักษณะเป็นเจลลี (Jelly) ที่ช่วยพยุง ปกป้อง และปรับอุณหภูมิของหลอดเลือดในสายสะดือและยังประกอบด้วยเซลล์กล้ามเนื้อเรียบเส้นใยหรือพังผืดที่เคยเป็นท่อที่เชื่อม ต่อระหว่างกระเพาะปัสสาวะทารกกับสะดือทารก (Urachus) ซึ่งท่อนี้จะลีบฝ่อไปเริ่มตั้งแต่เมื่อทารกอายุครรภ์ได้ประมาณ 20 สัปดาห์สายสะดือทั่วไปจะมีความยาวเท่ากับช่วงยาวของลาตัวทารกคือ ประมาณ 50 เซนติ เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร
น้้าหล่อเด็ก (Amniotic fluid)
น้ำหล่อเด็กบางครั้งเรียก น้ำทูนหัวทารก เป็นของเหลวที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำ/ถุงที่เป็นที่อยู่ของทารกในครรภ์โดยน้ำคร่ำจะอยู่รอบ ๆตัวทารก ขณะอยู่ในครรภ์ในโพรงมดลูกของมารดา ทารกจะลอยตัวอยู่ในน้ำคร่ำในถุงน้ำคร่ำ โดยน้ำคร่ำนี้จะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันการกระทบกระเทือนต่อทารกทำให้ทารกเคลื่อนไหว
น้ำหล่อเด็กบางส่วน มาจากของเหลวจากเลือดของมารดาที่ซึมผ่านถุงน้ำคร่ำ และ/หรือ ผิวหนังของทารกแต่ส่วนใหญ่มาจากปัสสาวะของทารกโดยปริมาณน้ำคร่ำจะมากหรือน้อย ขึ้นกับความสมดุลของการกลืนน้ำคร่ำของทารกและการขับปัสสาวะของทารกที่อยู่ในครรภ์ หากทารกไม่มีไตจะไม่สามารถสร้างปัสสาวะได้ ทำให้ไม่มีน้ำคร่ำหรือมีน้อยมาก (Oligohydramnios) แต่หากทารกไม่สามารถกลืนน้ำคร่ำได้ จะทำให้น้้ำคร่ำมากกว่าปกติ ( Hydramnios หรือ Polyhydramnios)
นางสาวสุภิญญา คำพันธ์ 61122230090 เลขที่ 83