Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์, นางสาวจิณห์จุฑา ชอบทดกลาง รหัส…
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ มีรายละเอียดดังนี้
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
การแบ่งตัวภายหลังการปฏิสนธิ
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์
การเจริญของทารกในครรภ์และภายหลังคลอด
พัฒนาการของระบบต่างๆของทารกในครรภ์
การเจริญเติบโตของรก สายสะดือ เยื่อหุ้มเด็ก และน้ำหล่อเด็ก
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
แบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะก่อนเกิดตัวอ่อน (Ovum, Zygote , Blastocyst) เริ่มจากการมีเพศสัมพันธุ์ 2 สัปดาห์
ระยะตัวอ่อน (The Embryonic Stage) ต้นสัปดาห์ที่3 - สัปดาห์ที่ 8
ระยะตัวแก่ (The Fetal Stage) สัปดาห์ที่9– ครบกาหนดคลอด
การแบ่งตัวภายหลังการปฏิสนธิ
วันที่ 1 แบ่งตัวแบบ mitosis จาก 1 เป็น 2 เซล เรียก Clevage stage
วันที่ 4 เจริญเป็น morula ลักษณะคล้ายลูกน้อยหน่า มีจำนวนเซลล์ 12 – 16 เซลล์ แต่ละเซลล์เรียกว่า Blastomere
วันที่ 5-6 เจริญเป็น Blastocyst ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจาก morula คือ
zona pellucidaหายไป
outer cell mass เจริญเป็น trophoblast
inner cell mass เจริญเป็นตัวเด็กภายในช่องว่างระหว่างเซลล์ของ inner cell Mass จะเจริญเป็น blastocoele
วันที่ 7 เกิดการฝังตัวของ Blastocyst ที่บริเวณโพรงมดลูกส่วนบน โดยจะเอาด้านที่มี
inner cell mass ที่เรียกว่า embryonic pole แตะลงบนเยื่อบุโพรงมดลูก และแทรกตัวกินทะลุเข้า ไปในระบบไหลเวียนเลือดของแม่บริเวณมดลูก
วันที่ 13 การฝังตัวเสร็จสมบูรณ์ การที่ตัวอ่อนฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูกของแม่ อาจทำให้มีเลือดออกมาทางช่องคลอดของแม่ เรียกว่า Implantation bleeding
สัปดาห์ที่ 3 ระยะนี้จะมีการเจริญอย่างชัดเจน 3 อย่าง คือ
Trophoblast ซึ่งเจริญไปเป็นรกและ chorion
Body stake ซึ่งเจริญไปเป็นสายสะดือ
Embryoblast ซึ่งเจริญไปเป็น ทารก น้าหล่อเด็ก และ amnion
ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว เยื่อบุมดลูกก็จะเปลี่ยนแปลงไปเป็น decidua
หลังจากมีการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งจะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
Deciduavera(perietalis) คือส่วนของเยื่อบุรอบผนังมดลูกยกเว้นบริเวณ chorionic vesicle
Decidua basalis (serotina) คือ ส่วนของเยื่อบุข้างใต้ chorionic vesicle และติดกับ myometrium
Decidua capsularis(reflexa) คือส่วนของเยื่อบุที่ปกคลุม chorionic vesicle หันทางด้านโพรงมดลูก
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์
ในช่วงอายุ 1-3 เดือนแรก
จะมีการเจริญของเนื้อเยื่อภายในตัวเด็ก
ชั้นนอก (ectoderm) จะเจริญให้ส่วนที่ปกคลุมและสัมผัสสิ่งภายนอกได้แก่ระบบ
ประสาท ผิวหนัง ฯลฯ
ชั้นกลาง (mesoderm) จะเจริญไปเป็นโครงกระดูก กล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์
ชั้นใน (endoderm) จะเจริญไปเป็นส่วนที่ดาดภายในอวัยวะต่างๆ เช่น epithelial cells
สัปดาห์ที่ 9–12 อายุครรภ์ 3 เดือน
ทารกในครรภ์ (fetus) ยาวประมาณ 7.5 ซม. หนัก 28 กรัม วัดความยาว Crown-rump ได้ 6- 7 ซม. มีเล็บ นิ้วมือ นิ้วเท้า มีเปลือกตา (แต่ยังปิดอยู่) มี หลอดเสียงริมฝีปาก จมูกสูงขึ้น ศีรษะยังคงโตมากประมาณ 1/3 ของความสูงตลอดร่างกาย หน้าผาก สูง อวัยวะเพศชายหรือหญิงเห็นได้ชัด ทารกในครรภ์สามารถแสดงการตอบสนองได้ เช่น รู้จักขยับ ขา เท้า นิ้วหัวแม่มือ และศีรษะ ปากอ้าและหุบ และกลืนเป็น ถ้าแตะที่เปลือกตาจะกลอกตา แตะ ที่ฝ่ามือจะทำท่ากำ แตะที่ริมฝีปากจะดูดปาก แตะที่ผ่าเท้าจะกางนิ้วเท้า
สัปดาห์ที่ 13–16 อายุครรภ์ 4 เดือน
ยาวประมาณ 16 ซม หนัก 120 กรัม ความยาว Grown-rump ของเด็กวัดได้ 12 ซม. ร่างกายยาวออกจนทำให้ศีรษะมีสัดส่วนเป็น 1⁄4 ของความสูง ทั้งตัว สายสะดือยาวเท่ากับทารกในครรภ์โดยจะยาวคู่กันต่อไปในขณะที่รกได้พัฒนาเต็มที่แม่รู้สึกได้ว่า ทารกดิ้น
สัปดาห์ที่ 17-20 อายุครรภ์ 5 เดือน
ยาวประมาณ 25 ซม. หนัก 340-450 กรัม เริ่มมีขนอ่อน และไข (vernix caseosa) มีผมและคิ้ว เล็บเจริญขึ้น สามารถฟังเสียงหัวใจได้จากการฟังเสียงหัวใจ ทางหน้าท้อง
สัปดาห์ที่ 21-24 อายุครรภ์ 6 เดือน
ยาวประมาณ 30 ซม. หนัก 630 กรัม ตาหลับและลืม ได้ ผิวหนังเหี่ยวย่น มีสีชมพูหรือแดง ภายในปอดเริ่มสร้างสาร surfactant ในปอด
สัปดาห์ที่ 25-28 อายุครรภ์ 7 เดือน
ยาวประมาณ 35 ซม. หนัก 1,200 กรัม ความยาว Grown-rump ของเด็กวัดได้ 25 ซม. มีพัฒนาการของปอดเพียงพอที่จะมีการแลกเปลี่ยนของก๊าช ถ้า คลอดในระยะนี้และได้รับการดูแลอย่างดีอาจมีชีวิตรอดได้ ร้องเสียงค่อย ตัวผอม การเคลื่อนไหวของ แขน ขา ดี
สัปดาห์ที่ 29-32 อายุครรภ์ 8 เดือน
ยาวประมาณ 40 ซม. หนัก 1,700 กรัม ความยาว Grown-rump ของเด็กวัดได้ 28 ซม. มีไขมันมากขึ้นเพื่อช่วยปรับตัวรับอุณหภูมิที่แตกต่างไปภายนอก มดลูก เล็บยาวถึงปลายนิ้ว rooting reflex ดี sucking refles แรง อัณฑะเริ่มลงมาในถุงอัณฑะถ้า คลอดจะสามารถเลี้ยงรอดได้ร้อยละ 40-50
สัปดาห์ที่ 33-36 อายุครรภ์ 9 เดือน
ยาวประมาณ 45 ซม. หนัก 2,200–2,500 กรัม ความยาว Grown-rump ของเด็กวัดได้ 32 ซม. ผิวหนังตึง ขนอ่อนหายไปเกือบหมด เล็บพ้นปลายนิ้ว
สัปดาห์ที่ 37-40 อายุครรภ์ 10 เดือน
ยาวประมาณ 50 ซม. หนัก 3,000-3,400 กรัม ความ ยาว Grown-rump ของเด็กวัดได้ 36 ซม. มีความสมบูรณ์ทุกอย่างของเด็กครบกำหนด ผิวหนังเรียบตึง สีชมพู ผมบนศีรษะยาว ลักษณะอวัยวะสืบพันธุ์เจริญสมบูรณ์ หลังคลอด ทารกจะร้องทันที มีการ
เคลื่อนไหวของแขน ขา ลืมตา ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะเป็นปกติ ดูดนมได้
การเจริญของทารกในครรภ์และภายหลังคลอด
การเจริญของทารกในครรภ์และภายหลังคลอดเป็น 2 ลักษณะ คือ
Cephalo-caudal directionเจริญจากหัวถึงหาง ศีรษะเจริญได้เร็วกว่าส่วนอื่นเป็นการเจริญทั้งในหน้าที่และขนาด เช่น ยกศีรษะได้ก่อน แล้วจึงสามารถใช้ตัวก่อนใช้แขนขา
Medial- lateral direction เจริญจากส่วนกลางออกไปสู่ด้านข้าง เช่น ลำตัวมีการเจริญก่อนแขนขาแล้วจึงไปถึงนิ้วมือ นิ้วเท้า
พัฒนาการของระบบต่างๆของทารกในครรภ์
ระบบการไหลเวียนโลหิต
ทารกในครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 3 เริ่มมีการแลกเปลี่ยน สารอาหารระหว่างเลือดของตัวอ่อน และเลือดของมารดาผ่าน chorionic villi การไหลเวียนโลหิตของ ทารกในครรภ์แตกต่างจากการไหลเวียนของทารกหลังคลอดหลายอย่าง เช่น ระหว่างอยู่ในครรภ์ มารดา ทารกได้รับออกซิเจนจากการเปลี่ยนที่รกไม่ใช่ที่ปอด ส่วนเลือดที่ไหลผ่านปอดเพื่อนาไปเลี้ยง เซลล์ของปอด ไม่ใช่ให้ปอดทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ
ระบบประสาท
ระบบประสาท จะเจริญมากในระยะแรก (สัปดาห์ที่ 3 – 4) ของการตั้งครรภ์ ในขณะที่สตรีก็ยังไม่แน่ใจว่าตนตั้งครรภ์
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ประมาณสัปดาห์ที่ 12 มีปัสสาวะเกิดขึ้น ประมาณสัปดาห์ที่ 16 มีการหลั่งของปัสสาวะมาผสมอยู่ในน้ำหล่อเด็ก
ระบบสืบพันธุ์
ประมาณสัปดาห์ที่ 6 มีพัฒนาการของต่อมเพศ อายุครรภ์ 3 เดือน เริ่มแยก เพศได้
ระบบภูมิคุ้มกันโรค
ระบบภูมิคุ้มกันของทารกพัฒนาจนสามารถทางานได้ตั้งแต่อายุครรภ์ เพียง 13 สัปดาห์ ในระยะแรกๆ ของการพัฒนา พบ lymphocytes ในตับตั้งแต่อายุครรภ์เพียง 9 สัปดาห์ พบในเลือดและม้ามตั้งแต่อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ พบ T lymphocytes ในธัยมัสตั้งแต่อายุ ครรภ์ราว 14 สัปดาห์
ในกระแสเลือดของทารกจะมีเพียง lgG ซึ่งผ่านรกมาจากแม่ Antibody ในทารกแรกคลอด ส่วนมากสะท้อนถึงการมีภูมิคุ้มกันจากแม่ที่ได้มีมาก่อนและผ่านไปยังลูกIgG เริ่มผ่านรกตั้งแต่อายุครรภ์ 16 สัปดาห์
การเจริญเติบโตของรก สายสะดือ เยื่อหุ้มเด็ก และน้ำหล่อเด็ก
รก (Placenta)
เป็นอวัยวะที่สร้างขึ้นมาในขณะตั้งครรภ์เมื่อมีการตกไข่ ไข่จะเคลื่อนที่ ไปในท่อนำไข่จนมาถึงมดลูก และฝังตัวที่โพรงมดลูก ประมาณวันที่ 6-7 หลังจากตกไข่ จากนั้นเซลล์ เริ่มแบ่งตัวและพัฒนากลายเป็นตัวอ่อนทารกและรก รกประกอบด้วย เนื้อรก สายสะดือ และเยื่อหุ้ม รก โดยรกจะเกาะอยู่ตรงส่วนผนังด้านในของมดลูก แต่อยู่นอกถุงน้ำคร่ำและจะมีสายสะดือเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างรกกับทารก
หน้าที่ของรก
แลกเปลี่ยนสารอาหารจากแม่สู่ลูกในท้อง (nutrition) โดยเลือดลูกกับแม่จะไม่ผสมกัน แต่มีการแลกเปลี่ยนสารต่างๆระหว่างกัน
หายใจ (respiration) รกเปรียบเสมือนปอด คือ เป็นจุดแลกเปลี่ยนออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างแม่กับทารกในครรภ์
ขับถ่ายของเสีย (excretion) รกทำหน้าที่คล้ายกับไต คือ เป็นที่ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมตาโบลิซึมของทารก
สร้างฮอร์โมน (hormone production) ทำหน้าที่คล้ายกับเป็นต่อมไร้ท่อชั่วคราวใน
มดลูกซึ่งสามารถผลิตฮอร์โมนมากมายที่จำเป็นระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนที่สาคัญได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเทอโรน
ป้องกันอันตราย (protection) รกเป็นโครงสร้างที่ขัดขวางไม่ให้สารหรือ microorganism บางอย่างผ่าน เข้าไปทำอันตรายต่อลูกอ่อน
เป็นแหล่งเมตาโบไลต์สารบางอย่าง เช่น แอนติบอดี (antibody) หรือยาบางอย่างที่
ได้รับจากแม่จะถูกรกปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่ไม่เป็นอันตราย
สายสะดือ(Umbilical cord)
สายสะดือ เป็นเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อระหว่างรกในผนังมดลูกของมารดากับหน้าท้องของเด็ก
สายสะดือจะประกอบไปด้วยเส้นเลือด 3 เส้น คือ
เส้นเลือดดาเส้นใหญ่จะมีหน้าที่ส่งอาหาร และออกซิเจนไปสู่ทารกในครรภ์
ส่วนอีก 2 เส้นจะเป็นเส้นเลือดแดง มีหน้าที่ นำของเสียออกจากร่างกาย
สายสะดือจะยาวหรือสั้นนั้นไม่มีผลเสียอะไรกับทารก ขึ้นอยู่กับว่าสาย สะดือที่เชื่อมต่อทารกอยู่นั้นจะไปพันกับคอของทารกจนเกิดอันตรายหรือไม่นอกจากนั้นในสายสะดือยัง มีสารที่มีลักษณะเป็นเจลลี่ (Jelly) ที่ช่วยพยุง ปกป้อง และปรับอุณหภูมิของหลอดเลือดในสายสะดือ และยังประกอบด้วยเซลล์กล้ามเนื้อเรียบเส้นใยหรือพังผืดที่เคยเป็นท่อที่เชื่อม ต่อระหว่างกระเพาะ ปัสสาวะทารกกับสะดือทารก (Urachus) ซึ่งท่อนี้จะลีบฝ่อไปเริ่มตั้งแต่เมื่อทารกอายุครรภ์ได้ประมาณ 20 สัปดาห์สายสะดือทั่วไปจะมีความยาวเท่ากับช่วงยาวของลำตัวทารกคือ ประมาณ 50 เซนติเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร
น้ำหล่อเด็ก (Amniotic fluid)
น้ำหล่อเด็ก บางครั้งเรียก น้ำทูนหัวทารก เป็นของเหลวที่อยู่ในถุงน้าคร่ำ/ถุงที่เป็นที่อยู่ของทารกในครรภ์โดยน้ำคร่ำจะอยู่รอบๆตัวทารก ขณะอยู่ในครรภ์ในโพรงมดลูกของมารดาทารกจะลอยตัวอยู่ในน้ำคร่ำในถุงน้ำคร่ำ โดยน้ำคร่ำนี้จะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันการกระทบกระเทือนต่อ ทารกทำให้ทารกเคลื่อนไหวน้ำคร่ำนี้
นางสาวจิณห์จุฑา ชอบทดกลาง
รหัส 61122230028 เลขที่ 25
น้กศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2