Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
- อาการและอาการแสดงที่สงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ (Presumtive evidences of pregnancy)
- อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์ (Positive signs of pregnancy)
- อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์ (Positive signs of pregnancy)
-
สตรีเมื่อมีเพศสัมพันธ์ กับคู่สมรสและมีตั้งครรภ์ จะมีอาการและอาการแสดงบางอย่างเกิดขึ้นภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ สตรีทั่วไปมักเกิดความสงสัยว่าตนเองอาจตั้งครรภ์ หรือในสตรีที่ต้องการมีบุตรมากอาจเกิดจินตนาการ และมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เหมือนกับหญิงที่ตั้งครรภ์ เรียกว่า การตั้งครรภ์เทียม(pseudo pregnancy) ซึ่งการที่จะสรุปหรือวินิจฉัยว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจริงหรือไม่นั้น ต้องทาด้วยความรอบครอบโดยอาศัยการประเมินอาการและ อาการแสดงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงที่ใช้สาหรับวินิจฉัยการตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 3 ระดับ โดยเรียงจากความแม่นยาน้อยที่สุดไปหามากที่สุด คือ อาการและอาการแสดงที่สงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะตั้งครรภ์ และอาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์
(จันทกานต์ กาญจนเวทางกูล, 2551) ดังนี้
- อาการและอาการแสดงที่สงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ (Presumtive evidences of
pregnancy)
อาการและอาการแสดงในกลุ่มนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระที่เกิดขึ้นในระยะที่ 1 และเริ่มเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการตั้งครรภ์ อาการหรืออาการแสดงที่ทาให้เกิดความสงสัยว่าอาจจะมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น เป็นข้อมูลประกอบที่มีน้าหนักน้อยที่สุดในการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ ได้แก่
1.1. การขาดระดู (Amenorrhea) ประวัติเกี่ยวกับระดูเป็นสิ่งสาคัญในการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ เพราะการตั้งครรภ์จะทาให้ไม่มีระดู โดยเฉพาะในสตรีที่มีระดูสม่าเสมอแล้วขาดหายไปมากกว่า 4 สัปดาห์ ให้คิดเสมอว่าอาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้ แต่ประวัติการขาดระดูเพียงอย่างเดียวอาจทาให้การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ผิดพลาดได้ ดังนั้นการซักประวัติต้องถามถึงการมีเพศสัมพันธ์ และการคุมกาเนิดร่วมด้วย อย่างไรก็ตามประวัติระดูอาจทาให้การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ผิดพลาดได้ในกรณีต่อไปนี้
การขาดระดูที่ไม่ได้เกิดจากการตั้งครรภ์ พบได้ในกรณีดังต่อไปนี้
-
-
1) สตรีครรภ์แรกที่ตั้งครรภ์ก่อนมีระดูครั้งแรก (menarche) พบในวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุยังน้อย
2) สตรีใกล้วัยหมดระดู (premenopause) การขาดระดูครั้งแรกอาจทาให้สับสนระหว่างการเข้าสู่วัยหมดระดู (menopause) กับการตั้งครรภ์
3) ในสตรีที่ระดูมาสม่าเสมอ การมีเลือดระดูครั้งสุดท้ายเร็ว และน้อยกว่าปกติอาจทาให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นเลือดระดู แต่ความจริงเป็นเลือดที่เกิดจากการฝังตัวของไซโกตในเยื่อบุผนังมดลูก (implantation bleeding or heartman sign) ซึ่งเกิดจากการตั้งครรภ์แต่ทาให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเลือดระดู heartman sign พบได้ตั้งแต่ 6 วันหลังการปฏิสนธิ จนถึง 29-35 วัน หลังวันแรกของการมีระดูครั้งสุดท้าย
1.2.การเปลี่ยนแปลงของเต้านม (Breast change) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ estrogen, progesterone และ prolactin ซึ่งจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของท่อน้านม (alveoli duct) และต่อมน้านม (alveoli gland) ทาให้สตรีตั้งครรภ์เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
1) เต้านมมีขนาดโตขึ้น คัดตึงเต้านม บางรายอาจมีน้านมเหลือง (colostum) พบเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 2-3 เดือน
2) ลานหัวนม (areola) กว้างและมีสีเข้มขึ้น ตุ่ม montgomery tubercle ขยายขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากต่อมไขมัน (sebaceous gland) ที่กระจายอยู่บริเวณลานหัวนมโตขึ้น
3) เต้านมเทียม (secondary breast) มักพบบริเวณรักแร้ หรือ บริเวณ nipple line ซึ่งอาจทาให้รู้สึกปวดได้
4) การเปลี่ยนแปลงของเต้านมดังกล่าว ต้องแยกออกจากภาวะบางอย่าง เช่น สตรีที่มีเนื้องอกของต่อมใต้สมองที่สร้าง prolactin หรือในรายที่กินยากระตุ้นการหลั่ง prolactin นอกจากนี้ยังพบว่าสตรีที่คิดว่าตนเองตั้งครรภ์เนื่องจากอยากมีบุตรมาก (imaginary pregnancy) ก็พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของเต้านมคล้ายกับสตรีที่ตั้งครรภ์จริง