Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
สตรีเมื่อมีเพศสัมพันธ์ กับคู่สมรสและมีตั้งครรภ์ จะมีอาการและอาการแสดงบางอย่าง เกิดขึ้นภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ สตรีทั่วไปมักเกิดความสงสัยว่าตนเองอาจตั้งครรภ์ หรือในสตรีที่ ต้องการมีบุตรมากอาจเกิดจินตนาการ และมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เหมือนกับหญิงที่ตั้งครรภ์ เรียกว่า การตั้งครรภ์เทียม(pseudo pregnancy) ซึ่งการที่จะสรุปหรือวินิจฉัยว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น จริงหรือไม่นั้น ต้องท าด้วยความรอบครอบโดยอาศัยการประเมินอาการและ อาการแสดงต่างๆ ที่ เกิดขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงที่ใช้ส าหรับวินิจฉัยการตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 3 ระดับ โดยเรียงจากความแม่นย าน้อยที่สุดไปหามากที่สุด คือ อาการและอาการแสดงที่สงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะตั้งครรภ์ และอาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์ ดังนี้
- อาการและอาการแสดงที่สงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ (Presumtive evidences of pregnancy)
อาการและอาการแสดงในกลุ่มนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระที่เกิดขึ้นในระยะที่ 1 และเริ่มเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการตั้งครรภ์ อาการหรืออาการแสดงที่ท าให้เกิดความสงสัยว่าอาจจะมีการ ตั้งครรภ์เกิดขึ้น เป็นข้อมูลประกอบที่มีน้ าหนักน้อยที่สุดในการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ ได้แก
1.1. การขาดระดู (Amenorrhea) ประวัติเกี่ยวกับระดูเป็นสิ่งสำคัญในการวินิจฉัยการ ตั้งครรภ์ เพราะการตั้งครรภ์จะทำให้ไม่มีระดู โดยเฉพาะในสตรีที่มีระดูสม่ำเสมอแล้วขาดหายไป มากกว่า 4 สัปดาห์ ให้คิดเสมอว่าอาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้ แต่ประวัติการขาดระดูเพียงอย่างเดียว อาจทำให้การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ผิดพลาดได้ ดังนั้นการซักประวัติต้องถามถึงการมีเพศสัมพันธ์ และ การคุมกำเนิดร่วมด้วย อย่างไรก็ตามประวัติระดูอาจทำให้การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ผิดพลาดได้ในกรณี ต่อไปนี้
1) สตรีที่คุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนอาจทำให้ระดูคลาดเคลื่อน หรือขาดหายได้ โดยเฉพาะหลังหยุดใช้ยาคุมกำเนิด
2)สตรีที่มีภาวะเครียด จะมีผลทาให้ขาดระดูเนื่องจากไม่มีภาวะไข่ตก
3)สตรีในระยะให้นมบุตร และยังไม่มีระดูเลยตั้งแต่หลังคลอดบุตร 4) สตรีที่เข้าสู่วัยหมดระดู (menopause) การขาดระดูจากการตั้งครรภ์แต่ทำให้เข้าใจผิดว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
1.2.การเปลี่ยนแปลงของเต้านม (Breast change) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของestrogen, progesterone และ prolactin ซึ่งจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของท่อน้ำนม (alveoli duct)
และต่อมน้ำนม (alveoli gland) ทาให้สตรีตั้งครรภ์เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
1) เต้านมมีขนาดโตขึ้น คัดตึงเต้านม บางรายอาจมีน้ำนมเหลือง (colostum) พบ เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 2-3 เดือน 2) ลานหัวนม (areola) กว้างและมีสีเข้มขึ้น ตุ่ม montgomery tubercle ขยาย ขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากต่อมไขมัน (sebaceous gland) ที่กระจายอยู่บริเวณลานหัวนมโตขึ้น 3) เต้านมเทียม (secondary breast) มักพบบริเวณรักแร้ หรือ บริเวณ nipple line ซึ่งอาจท าให้รู้สึกปวดได้ 4) การเปลี่ยนแปลงของเต้านมดังกล่าว ต้องแยกออกจากภาวะบางอย่าง เช่น สตรี ที่มีเนื้องอกของต่อมใต้สมองที่สร้าง prolactin หรือในรายที่กินยากระตุ้นการหลั่ง prolactin นอกจากนี้ยังพบว่าสตรีที่คิดว่าตนเองตั้งครรภ์เนื่องจากอยากมีบุตรมาก (imaginary pregnancy) ก็ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของเต้านมคล้ายกับสตรีที่ตั้งครรภ์จริง
1.3.คลื่นไส้ อาเจียน (Nousea and Vomitting) การตั้งครรภ์จะรบกวนการทำงาน ของระบบทางเดินอาหารทำให้คลื่นไส้ ผะอืดผะอม รับประทานอาหารได้น้อย สตรีตั้งครรภ์บางราย อาจมีอาการคลื่นไส้อย่างเดียว หรือมีอาการอาเจียนร่วมด้วย เรียกว่า morning sickness พบได้ ประมาณครึ่งหนึ่งของสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 6-12 สัปดาห์ และจะเป็นอยู่นาน 6-8 สัปดาห์ หลังจากนั้นแล้วอาการจะค่อยๆดีขึ้น แต่บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนตลอดการ ต้ังครรภ์ เรียกว่า ภาวะอาเจียนไม่สงบ (hyperemesis gravidarum)
1.4. อ่อนเพลีย (Fatigue) เป็นอาการที่พบบ่อยโดยเฉพาะระยะ 3 เดือนแรกของการ ตั้งครรภ์เนื่องจากสตรีตั้งครรภ์มีเมตตาบอลิสมเพิ่มขึ้น สตรีตั้งครรภ์จะรู้สึกอ่อนเพลีย อยากนอนหรือ นั่งพัก ซึ่งเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกายขณะตั้งครรภ์ อาการอ่อนเพลียจะ รู้สึกดีขึ้นหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
1.5. ปัสสาวะบ่อย (Disterbance in urination) เกิดในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากมดลูกมีขนาดโตขึ้นและไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะทำให้กระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลงจึง รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ แต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นมดลูกจะลอยพ้นเชิงกรานมาอยู่ในช่องท้อง ทำให้กระเพาะปัสสาวะถูกกดน้อยลงอาการปัสสาวะบ่อยก็จะดีขึ้น และจะกลับมาปัสสาวะบ่อยอีกครั้ง เมื่อใกล้คลอดเนื่องจากศีรษะทารกเคลื่อนต่ำลงสู่ช่องเชิงกรานและกดเบียดกระเพาะปัสสาวะอีกครั้ง
1.6. สีผิวหนังเปลี่ยนแปลง (Skin change) เกิดจากมีการสะสมเม็ดสีเพิ่มมาก ขึ้น (pigmentation) ซึ่งนอกจากจะพบในสตรีตั้งครรภ์แล้ว อาจพบได้ในสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิด หรือสตรีที่อ้วนมาก การเปลี่ยนแปลงสีผิวหนังในสตรีที่ตั้งครรภ์ที่สังเกตได้ มีดังนี้
1) ผิวคล้ำบริเวณใบหน้า โหนกแก้ม หน้าผาก และจมูก ลักษณะคล้ายฝ้า เรียกว่า chloasma หรือ the mask of pregnancy มักพบหลังอายุครรภ์ 16 สัปดาห์ 2) หน้าท้องลาย (abdominal striae) หรืออาจมีเต้านมลาย และยังพบแถบเส้นสี เข้มกลางหน้าท้อง (linear nigra) อีกด้วย เนื่องจากเป็นบริเวณที่มี melanin ที่ผิวหนังมาก
1.7. เยื่อบุช่องคลอดเปลี่ยนแปลง (Vaginal mucosa changes) สีเยื่อบุช่องคลอด จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินคล้ำหรือม่วงแดง (Chadwick’s sign) เกิดจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงมากและมี เลือดคั่งที่บริเวณเยื่อบุช่องคลอด นอกจากจะพบในสตรีตั้งครรภ์แล้วยังพบได้ในสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดชนิด conbined pill ที่มีส่วนผสมของ estrogen และ progesterone
1.8. รู้สึกเด็กดิ้น (Fetal movement) เป็นการรับรู้ของมารดาว่าบุตรดิ้น ซึ่งการรู้สึก ว่าทารกในครรภ์ดิ้นเป็นครั้งแรกเรียกว่า quickening โดยสตรีครรภ์แรกจะเริ่มรู้สึกเมื่ออายุครรภ์ 1820 สัปดาห์ ส่วนสตรีครรภ์หลังจะรู้สึกเร็วกว่า คือเมื่ออายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ การเคลื่อนไหวของ ทารกในครรภ์จะบ่อยและแรงขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ซึ่งการรับรู้นี้จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความหนา ของหน้าท้อง และตำแหน่งที่รกเกาะ อย่างไรก็ตามการดิ้นของทารกเป็นเพียงการรับรู้ของสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งอาจผิดพลาดได้ เช่น สตรีบางรายอาจเข้าใจผิดคิดว่าการเคลื่อนไหวของลำไส้เป็นความรู้สึกว่าทารกในครรภ์ดิ้น
- อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะตั้งครรภ์ (Probable signs of pregnancy) อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะตั้งครรภ์ หมายถึง อาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะมีการ ตั้งครรภ์เกิดขึ้น แต่ไม่ถึงกับยืนยันว่ามีการตั้งครรภ์
-
- อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์ (Positive signs of pregnancy) อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะตั้งครรภ์ หมายถึง อาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์ เกิดขึ้นอย่างแน่นอนและมีความแม่นยำร้อยละ 100 ได้แก่
3.1. การเต้นของหัวใจทารก (Fetal heart movement) สามารถตรวจสอบได้จาก 1) การฟังเสียงเต้นของหัวใจผ่านทางหน้าท้องด้วย stethoscope โดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะเริ่มได้ยินเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 17 สัปดาห์ และเมื่ออายุครรภ์ 19 สัปดาห์จะสามารถฟังเสียง หัวใจทารกเต้นได้ทุกคน ซึ่งมีอัตราการเต้นระหว่าง 120-160 ครั้งต่อนาที 2) การใช้ Doppler ultrasound เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงพุ่งเข้าหาหลอด เลือดของทารกที่กำลังมีการไหลเวียนเลือด และคลื่นจะสะท้อนเป็นคลื่นเสียงกลับเข้าสู่เครื่องแปลง สัญญาณเสียงอีกต่อหนึ่ง วิธีนี้สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ เป็นต้นไป
3.2. การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ (Fetal movement) เป็นการเคลื่อนไหวที่ ไม่ใช่เกิดจากการรับรู้ของมารดา แต่ได้จากการตรวจพบของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ ครรภ์ 20 สัปดาห์ โดยใช้มือสัมผัสกับหน้าท้องแล้วคอยรับความรู้สึกเมื่อทารกดิ้น
3.3. การตรวจพบทารกโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ทางช่องคลอดจะตรวจพบถุงที่เกิดจากการตั้งครรภ์ (gestational sac) ในโพรงมดลูกได้ตั้งแต่ 16 วัน หลังปฏิสนธิ ส่วนการตรวจทางหน้าท้องจะพบได้ช้ากว่า
3.4.ภาพเงากระดูกทารก การตรวจพบเงากระดูกทารกในภาพรังสี (X-ray) ซึ่งมักเริ่ม เห็นหลังอายุครรภ์ 16 สัปดาห์ แต่ในทางปฏิบัติการวินิจฉัยการตั้งครรภ์โดยวิธีนี้ไม่ใช้กันแล้ว เนื่องจาก อาจเกิดอันตรายต่อทารกโดยเฉพาะในช่วงที่ทารกยังเป็นตัวอ่อน (embryo) ปกติจะใช้การตรวจด้วย คลื่นเสียงความถี่สูงแทนซึ่งปลอดภัยกว่าและตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ