Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พัฒนาการของระบบต่างๆของทารกในครรภ์ - Coggle Diagram
พัฒนาการของระบบต่างๆของทารกในครรภ์
ระบบการไหลเวียนโลหิต
ทารกในครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 3 เริ่มมีการแลกเปลี่ยน สารอาหารระหว่างเลือดของตัวอ่อน และเลือดของมารดาผ่าน chorionic villi การไหลเวียนโลหิตของ ทารกในครรภ์แตกต่างจากการไหลเวียนของทารกหลังคลอดหลายอย่าง เช่น ระหว่างอยู่ในครรภ์ มารดา ทารกได้รับออกซิเจนจากการเปลี่ยนที่รกไม่ใช่ที่ปอด ส่วนเลือดที่ไหลผ่านปอดเพื่อนำไปเลี้ยง เซลล์ของปอด ไม่ใช่ให้ปอดทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ
ระบบประสาท
ระบบประสาท จะเจริญมากในระยะแรก (สัปดาห์ที่ 3 – 4) ของการตั้งครรภ์ ในขณะที่สตรีก็ยังไม่แน่ใจว่าตนตั้งครรภ์
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ประมาณสัปดาห์ที่ 12 มีปัสสาวะเกิดขึ้น ประมาณสัปดาห์ที่ 16 มี การหลั่งของปัสสาวะมาผสมอยู่ในน้ำหล่อเด็ก
ระบบสืบพันธุ์
ประมาณสัปดาห์ที่ 6 มีพัฒนาการของต่อมเพศ อายุครรภ์ 3 เดือน เริ่มแยกเพศได้
ระบบภูมิคุ้มกันโรค
ระบบภูมิคุ้มกันของทารกพัฒนาจนสามารถทำงานได้ตั้งแต่อายุครรภ์เพียง 13 สัปดาห์ ในระยะแรกๆ ของการพัฒนา พบ lymphocytes ในตับตั้งแต่อายุครรภ์เพียง 9 สัปดาห์ พบในเลือดและม้ามตั้งแต่อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ พบ T lymphocytes ในธัยมัสตั้งแต่อายุ ครรภ์ราว 14 สัปดาห์ ในกระแสเลือดของทารกจะมีเพียง lgG ซึ่งผ่านรกมาจากแม่ Antibody ในทารกแรกคลอด ส่วนมากสะท้อนถึงการมีภูมิคุ้มกันจากแม่ที่ได้มีมาก่อนและผ่านไปยังลูกIgG เริ่มผ่านรกตั้งแต่อายุครรภ์ 16 สัปดาห์
การเจริญเติบโตของรก สายสะดือ เยื่อหุ้มเด็ก และน้้าหล่อเด็ก
รก (Placenta) เป็นอวัยวะที่สร้างขึ้นมาในขณะตั้งครรภ์เมื่อมีการตกไข่ ไข่จะเคลื่อนที่ ไปในท่อนำไข่จนมาถึงมดลูก และฝังตัวที่โพรงมดลูก ประมาณวันที่ 6-7 หลังจากตกไข่ จากนั้นเซลล์ เริ่มแบ่งตัวและพัฒนากลายเป็นตัวอ่อนทารกและรก รกประกอบด้วย เนื้อรก สายสะดือ และเยื่อหุ้ม รก โดยรกจะเกาะอยู่ตรงส่วนผนังด้านในของมดลูก แต่อยู่นอกถุงน้ำคร่ำและจะมีสายสะดือเป็นตัว เชื่อมต่อระหว่างรกกับทารก รกต่อกับเส้นเลือดที่สายสะดือของทารก เชื่อมระหว่างรกกับทารก รกทำหน้าที่แทนระบบต่างๆ ในระหว่างที่เซลล์กำลังพัฒนาขึ้นเป็นอวัยวะต่างๆ หน้าที่ของรก คือ (https.theasianparent.com)
1) แลกเปลี่ยนสารอาหารจากแม่สู่ลูกในท้อง (nutrition) โดยเลือดลูกกับแม่จะไม่ผสม กัน แต่มีการแลกเปลี่ยนสารต่างๆระหว่างกัน
2) หายใจ (respiration) รกเปรียบเสมือนปอด คือ เป็นจุดแลกเปลี่ยนออกซิเจนและ คาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างแม่กับทารกในครรภ์
3) ขับถ่ายของเสีย (excretion) รกท าหน้าที่คล้ายกับไต คือ เป็นที่ขับถ่ายของเสียที่เกิด จากกระบวนการเมตาโบลิซึมของทารก
4) สร้างฮอร์โมน (hormone production) ท าหน้าที่คล้ายกับเป็นต่อมไร้ท่อชั่วคราวใน มดลูกซึ่งสามารถผลิตฮอร์โมนมากมายที่จ าเป็นระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนที่ส าคัญได้แก่ ฮอร์โมน เอสโตรเจน และโปรเจสเทอโรน 5) ป้องกันอันตราย (protection) รกเป็นโครงสร้างที่ขัดขวางไม่ให้สารหรือ microorganism บางอย่างผ่านเข้าไปท าอันตรายต่อลูกอ่อน
6) เป็นแหล่งเมตาโบไลต์สารบางอย่าง เช่น แอนติบอดี (antibody) หรือยาบางอย่างที่ ได้รับจากแม่จะถูกรกปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่ไม่เป็นอันตราย
ความสำคัญของรกในการสร้างฮอร์โมน
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน รกจะท าหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้นตลอดการ ตั้งครรภ์ โปรเจสเตอร์โรนมีเความส าคัญมาก ท าให้การตั้งครรภ์สามารถด าเนินต่อไปได้โดยการยับยั้ง การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ท าให้ร่างกายไม่ก าจัดทารกซึ่งถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย ออกมาโดยไปกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ฮอร์โมนเอสโตรเจน ถูกสร้างจากรกและต่อมหมวดไตของทารก ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีหน้าที่ เสริมสร้างเนื้อเยื่อเซลล์ต่างๆของคุณแม่ตั้งครรภ์ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดไปหล่อเลี้ยงที่มดลูกมากขึ้น เอสโตรเจนยังช่วยเปลี่ยนเนื้อเยือต่างๆให้อ่อนนุ่มขึ้นยืดขยายได้ดีเพื่อจะได้เหมาะแก่การคลอด นอกจากนี้ยังทำให้เต้านมขยายเพื่อเตรียมสำหรับการผลิตน้ำนมอีกด้วย
รกจะมีพัฒนาการไปพร้อมๆกับทารกในครรภ์ โดยจะมีขนาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีรูปร่างค่อนข้าง กลม มีรูปทรงแบนๆเป็นแผ่นๆ มีเส้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีความ หนาประมาณ 2-3เซนติเมตร ถ้าทารกตัวเล็ก รกก็จะเล็ก ถ้าทารกมีขนาดตัวใหญ่ รกก็จะใหญ่ไปด้วย โดยปกติเมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด รกจะมีน้ำหนักประมาณ 500 กรัม
สายสะดือ(Umbilical
สายสะดือ เป็นเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อระหว่างรกในผนังมดลูกของมารดากับหน้าท้องของเด็ก สายสะดือจะประกอบไปด้วยเส้นเลือด 3 เส้น คือ เส้นเลือดดำเส้นใหญ่จะมีหน้าที่ส่งอาหารและ ออกซิเจนไปสู่ทารกในครรภ์ ส่วนอีก 2 เส้นจะเป็นเส้นเลือดแดง มีหน้าที่ ของเสียออกจากร่างกาย ของทารกมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร และจะมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร อาจจะสั้นหรือยาวกว่านี้ก็ได้ สายสะดือจะยาวหรือสั้นนั้นไม่มีผลเสียอะไรกับทารก ขึ้นอยู่กับว่าสาย สะดือที่เชื่อมต่อทารกอยู่นั้นจะไปพันกับคอของทารกจนเกิดอันตรายหรือไม่นอกจากนั้นในสายสะดือยัง มีสารที่มีลักษณะเป็นเจลลี (Jelly) ที่ช่วยพยุง ปกป้อง และปรับอุณหภูมิของหลอดเลือดในสายสะดือ และยังประกอบด้วยเซลล์กล้ามเนื้อเรียบเส้นใยหรือพังผืดที่เคยเป็นท่อที่เชื่อม ต่อระหว่างกระเพาะ ปัสสาวะทารกกับสะดือทารก (Urachus) ซึ่งท่อนี้จะลีบฝ่อไปเริ่มตั้งแต่เมื่อทารกอายุครรภ์ได้ประมาณ 20 สัปดาห์สายสะดือทั่วไปจะมีความยาวเท่ากับช่วงยาวของลำตัวทารกคือ ประมาณ 50 เซนติ เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร
น้้าหล่อเด็ก (Amniotic fluid)
น้ำหล่อเด็กบางครั้งเรียก น้ำทูนหัวทารก เป็นของเหลวที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำ/ถุงที่เป็นที่อยู่ของ ทารกในครรภ์โดยน้ำคร่ำจะอยู่รอบ ๆตัวทารก ขณะอยู่ในครรภ์ในโพรงมดลูกของมารดา ทารกจะ ลอยตัวอยู่ในน้ำคร่ำในถุงน้ำคร่ำ โดยน้ำคร่ำนี้จะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันการกระทบกระเทือนต่อ ทารกทำให้ทารกเคลื่อนไหวน้ำคร่ำนี้ น้ำหล่อเด็กบางส่วน มาจากของเหลวจากเลือดของมารดาที่ซึมผ่านถุงน้ำคร่ำและ/หรือ ผิวหนังของทารกแต่ส่วนใหญ่มาจากปัสสาวะของทารกโดยปริมาณน้ำคร่ำจะมากหรือน้อย ขึ้นกับ ความสมดุลของ การกลืนน้ำคร่ำของทารกและการขับปัสสาวะของทารกที่อยู่ในครรภ์ หากทารกไม่มีไต จะไม่สามารถสร้างปัสสาวะได้ ทำให้ไม่มีน้ำคร่ำหรือมีน้อยมาก (Oligohydramnios) แต่หากทารกไม่ สามารถกลืนน้ำคร่ำได้ จะทำให้น้ำคร่ำมากกว่าปกติ ( Hydramnios หรือ Polyhydramnios)