Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Abnormality of passenger ความผิดปกติของสิ่งที่คลอดออกมา - Coggle…
Abnormality of passenger
ความผิดปกติของสิ่งที่คลอดออกมา
ความผิดปกติของส่วนนำและท่าของทารก
ท่าท้ายทอยอยู่ด้านหลังแล้วไม่หมุนมาด้านหน้า
สาเหตุ
ศีรษะทารกก้มน้อยหรือช้าไปเมื่อเช้าสู่ซ่องเชิงกราน
ศีรษะทารกใหญ่หรือเล็กเกินไป ทำให้ไม่กระชับกับช่องทางคลอด
เชิงกรานแคบ โดยแคบในแนวขวางของ midpelvic เช่น แบบเชิงกราน Android or Anthropoid
4 ผนังหน้าท้องหย่อนยานมากเช่น ผู้ที่ฝานการคลอดมาหลายครั้ง
มีสิ่งก็ขวางการหมุน ช่น รกเกาะด้านหน้าของมดลูก เนื้องอกในช่องเชิงกราน
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี หรือแรงเบ่งน้อย
กล้ามเนื้อพื้นเชิงกรานหย่อน
ผลกระทบ
การคลอดยาวนาน คลอดยากหรือหยุดชะงัก
อาจต้องใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอดหรือทำฝาตัดคลอดทางหน้าท้อง
ผู้คลอดปวดหลังและเอวมาก เนื่องจากท้ายทอยมากดที่ sacral nerve
ผนังช่องคลอดและผีเย็บยืดยายและฉีกขาดได้มากเนื่องจากศีรษะทารกดันมาด้านหลังมาก และถ่างขยายผนังช่องทางคลอดด้านหลังและฝีเย็บให้ยึดเพื่อให้คลอดออกมาให้ได้หรือเนื่องจากการใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด
ปากมดลูกบวม และอาจฉีกขาดไต้เนื่องจากศีรษะทารกกดอยู่นานและมีลมเบ่งตั้งแต่ปากมดลูกยังเบิดไม่หมต
ผู้คลอดเหนื่อยล้า ติดเชื้อและตกเลือดหลังคลอดได้ง่ายเนื่องจากระยะการคลอดยาวนาน และช่องทางคลอดฉีกขาดมาก
กระทบกระเทือนด้านจิตใจมาก
ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจน
ทารกได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องมือช่วยคลอด
เครียด วิตกกังวล คับของใจ นื่องจากเจ็บครรภ์คลอดมาก ระยะคลอดยาวนานหรือกลัวตนเองและบุตรจะได้รับอันตรายจากการคลอด
การดูแลรักษา
กรณีที่ช่องเชิงกรานกว้างพอช่องคลอดและฝีเย็บยึดหยุ่นดี สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้อาจให้ยาช่วยกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวดี
ใช้มือช่วยหมุนศีรษะทารกให้เป็น OA โดยสอดมือเข้าไปคลำตรงบริเวณหูหารกแล้วช่วยหมุน ในกรณีที่ช่องเชิงกรานกว้างมากพอ
ใช้คีม Kielland forceps ช่วยหมุนเปลี่ยนท่า จาก OPP เป็น 0A แล้วดีงช่วยคลอดต่อไป
4 ใช้ครื่องดูดสุญญากาศในการช่วยคลอดในกรณีที่แพทย์ไม่ชำนาญการหมุนหรือใช้คีม
ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ในกรณีที่เชิงกรานชนิด Android
ท่าก้น
ผลกระทบ
1 ระยะการคลอดยาวนาน โดยเฉพาะระยะที่ 2 ของการคลอด
2 ถุงน้ำแตกก่อนกำหนดเนื่องจากถ้าผิดปกติ
3 การฉีกขาดของช่องทางคลอดอ่อน
4 การติดเชื้อหลังคลอด
5 การตกเลือดหลังคลอด ช่องทางคลอดฉีกขาดมาก
6 ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน
7 เลือดออกในสมองของทารก จากการดึงศีรษะทารกอย่างรวดเร็ว
8 ทารกได้รับบาดเจ็บจากการคลอด
9 อัตราการตายสูงกว่ากันคลอด ที่มีศีรษะเป็นส่วนนำ 3-5 เท่า
สาเหตุ
1 การคลอดก่อนกำหนด
2 ทารกตัวเล็ก
3 ครรภ์แฝดหรือครรภ์แฝดน้ำ
4 ผนังหน้าท้องหรือกล้ามเนื้อมดลูกหย่อน
5 กระดูกเชิงกรานแคบ
6 มีสิ่งกีดขวางการเข้าสู่ช่องเชิงกราน
7 ทารกโตช้าในครรภ์ ทารกตายในครรภ์หรือทารกพิการ รูปร่างผิดปกติ
ท่าหน้า
เกิดจากการเงยของศีรษะแทนที่จะก้ม ท้ายทอยอยู่ชิดกับหลัง มีคางเป็นส่วนนำ ถ้าคางอยู่ด้านหน้าของเชิงกรานจะคลอดได้เองทางช่องคลอด
ท่าหน้าผาก
สาเหตุ
1 เชิงกรานแคบหรือศีรษะทารกโต
2 ทารกมีรูปร่างผิดปกติเช่นกระดูกสันหลังผิดปกติ
3 ผนังหน้าท้องหย่อนมากทำให้ลำตัวทารกลงไปข้างหน้าและลำคอเหยียดตรงขึ้น
4 ครรภ์แฝดน้ำทำให้ทารกเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ
5 มีสิ่งกีดขวางในช่องเชิงกรานที่ขัดขวางการลงของท้ายทอย
ผลกระทบ
1 การคลอดยาวนาน
2 ผู้คลอดและทารกมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดยาวนาน
3 ผู้คลอดเหนื่อยล้ามีภาวะขาดน้ำ
4 อาจเกิดภาวะมดลูกแตกจากการคลอดติดขัด
5 ฝีเย็บและช่องทางคลอดฉีกขาด
6 ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจน
7 ถุงน้ำแตกก่อนกำหนดและ ภาวะสายสะดือพลัดต่ำบริเวณใบหน้าริมฝีปากลิ้นของทารกผิดรูปผิดร่าง อาจมีอาการหายใจลําบาก
ท่าขวาง
สาเหตุ/ปัจจัยส่งเสริม
1 ปัจจัยที่ทำให้ทารกเคลื่อนไหวได้สะดวกมากจากผนังหน้าท้องและมดลูกหย่อนยานครรภ์แฝดน้ำและการคลอดก่อนกำหนด
2 ปัจจัยที่ทำให้ทารกเข้าสู่ช่องเชิงกรานไม่ได้ คือรกเกาะต่ำ ช่องเชิงกรานแคบ เด็กหัวบาตร สายสะดือสั้นกว่าปกติ มีเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน
ผลกระทบ
1 การคลอดยาวนานหรือคลอดติดขัด
2 เกิดสายสะดือพลัดต่ำหรือถูกกดได้มาก
3 เกิดการติดเชื้อในโพรงมดลูกได้มาก
4 มีอาการเจ็บปวดมากจากไหล่มาอัดแน่นในช่องเชิงกราน
5 เกิดมดลูกแตก
6 ปากมดลูกและผนังช่องคลอดฉีกขาดได้มาก
7 ทารกมีโอกาสขาดออกซิเจนและเสียชีวิตได้มาก
8 ผู้คลอดมีความวิตกกังวลหวาดกลัวต่ออันตรายจากการคลอด
การช่วยคลอด
1 กรณีไม่มีข้อห้ามในการคลอดทางช่องคลอดให้ทำการหมุนกับทารกทางหน้าท้องเพื่อให้ศีรษะเป็นส่วนนำแล้วเจาะถุงน้ำคร่ำและให้ยาเร่งคลอด
2 ตัดคลอดทางหน้าท้องในกรณีผลกับทารกไม่ได้หรือถุงน้ำแตกแล้ว หรือสายสะดือพลัดต่ำหรือไหลอัดแน่นในช่องเชิงกราน
3 กรณีครรภ์แฝด ที่แฝดน้องอยู่ในท่าขวางหลังคลอดแบบพี่แล้วให้หมดกลับทารกให้ส่วนนำเป็นก้นแล้วทำคลอดท่าก้นทางช่องคลอด
4 กรณีทารกตายและตัวเล็กมากอาจให้คลอดทางช่องคลอดออกมาในลักษณะหัวไหล่ดันอยู่ใต้ กระดูกหัวหน้า
ท่าผสม
ท่าที่มีส่วนนำหลายอย่าง พบบ่อยคือ ศีรษะกับมือ ต้องทำผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ความผิดปกติของขนาดและรูปร่างของทารก
ทารกตัวโต (macromia) คือ ทารกที่น้ำหนักตั้งแต่ 4,000 กรัมขึ้นไป ทำให้คลอดยากเพราะศีรษะโต
ทารกหัวบาตร (hydrocephalus) มีการอุดตันของการไหลเวียนและการดูดซึมของน้ำไขสันหลัง ส่งผลให้เกิดการคั่งในสมองมากเกินไป ศีรษะจึงมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
ทารกแฝดติดกัน (conjoined twins) มักทำให้ทารกมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการคลอดยาก
ทารกท้องโตผิดปกติอาจพบในทารท้องมานน้ำ ดับและไตโด ทารกบวมน้ำส่งผลให้เกิดการคลอตยาก
การดูแลรักษา
ใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอดในรายที่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้
รายที่ประเมินได้ล่วงหน้าหรือรายที่ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้มักพิจารณาผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ผลกระทบ
มักเกิดการคลอดยาก คลอดยาวนาน หรือคลอดติดขัด
ช่องทางคลอดอ่อนฉีกขาด
กระบวนการพยาบาล
1 การพยาบาลผู้คลอดที่ทารกอยู่ในท่าท้ายทอยอยู่ด้านหลังแล้วไม่หมุนมาด้านหน้า
1 ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกอย่างใกล้ชิด
2 ดูแลให้ มดลูกหดรัดตัวดีเพื่อช่วยให้เกิดการหมุนการก้มและการเคลื่อนต่ำของศีรษะทารกได้ดี
3 จัดท่าผู้คลอดเพื่อช่วยการหมุนของทารกได้ดี
4 ให้ผู้คลอดงดน้ำและอาหารเนื่องจากอาจต้องช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการและให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
5 สอนแนะนำกระตุ้นให้ผู้คลอดใช้เทคนิคการบรรเทา เช่นการหายใจการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การลดหน้าท้องเป็นต้น
6 บรรเทาความกลัวหรือวิตกกังวล
7 ประเมินสภาพทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด
8 กระตุ้นให้เบ่jงอย่างถูกต้องเมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอด
9 เตรียมอุปกรณ์การช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการไว้ให้พร้อม
10 ช่วยคลอดท้ายทอย อยู่ด้านหลังทางช่องคลอดโดยการตัดฝีเย็บแบบเฉียงให้ยาวกว่าปกติเล็กน้อย
11 ประเมินทารกด้วย Apgar Score และให้การช่วยเหลือตามสภาพ
12 ประเมินปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอดเฝ้าระวังภาวะตกเลือด
2 การพยาบาลผู้คลอดที่ทารกอยู่ในท่าก้น
ระยะที่ 2 ของการคลอด
1 รายงานสูติแพทย์กุมารแพทย์และวิสัญญีแพทย์ เพื่อเตรียมการช่วยเหลือ
2 จัดเตรียมอุปกรณ์การทำคลอดท่าก้นและอุปกรณ์ฟื้นคืนชีพทารก
3 เตรียมผู้คลอดโดยจัดให้อยู่ในท่า Lithotomy position
4 ประเมินและบันทึกการหดรัดตัวของมดลูกทุก
5 นาทีฟังเสียงหัวใจทารกทุกครั้งที่มดลูกขยายตัวกระตุ้นให้ผู้คลอดเบ่งเมื่อส่วนนำลงมาต่ำแล้ว
6 สังเกตการทำคลอดของแพทย์และคอยให้ความช่วยเหลือ
7 จดบันทึกเวลาที่ก้นบริเวณปุ่มกระดูก โคนขาของทารกโผล่
8 ช่วยแพทย์ในการทำคลอดศีรษะ
9 ช่วยแพทย์ในการ ช่วยคลอดศีรษะด้วยคีม
10 เมื่อปากและจมูกทารกโผล่พ้นช่องคลอดให้ดูดสารคัดหลั่งในปากและจมูกอย่างรวดเร็ว
11 เมื่อทารกคลอดแล้วให้ช่วยแพทย์ในการช่วยชีวิตทารกโดยการทำทางเดินหายใจให้โล่งให้ออกซิเจนให้ความอบอุ่นร่างกาย
12 บันทึกข้อมูลการคลอดอย่างละเอียด
13 ระยะที่ 4 ของการคลอดเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดอย่างใกล้ชิด
ระยะรอคลอด
ให้ผู้คลอดงดน้ำและอาหาร ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจความเข้มข้นของเลือดและหมู่เลือด
รายที่ถุงน้ำคร่ำแตกให้รีบฟังเสียงหัวใจทารกและตรวจภายในทันที
ให้นอนพักบนเตียงในท่านอนตะแคง
ตรวจภายในเป็นระยะๆ ด้วยความระมัดระวัง
ประเมินและบันทึกการหดรัดตัวของมดลูก
ประเมินและบันทึกเสียงหัวใจทารกเป็นระยะๆ
ประเมินการดิ้นของทารก
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการคลอด แผนการรักษาเพื่อลดความวิตกกังวล
จัดเตรียมอุปกรณ์การช่วยทำคลอดท่าก้น
3 การพยาบาลผู้คลอดที่ทารกอยู่ในท่าหน้าผาก
1 ให้ผู้คลอดงดน้ำและอาหารทุกชนิดและดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
2 องค์ตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจความเข้มข้นของเลือดและหมู่เลือด
3 ให้ผู้คลอดนอนพักและทำกิจกรรมบนเตียงเพื่อป้องกันจนน้ำแตก
4 กรณีแพทย์พิจารณาให้คลอดทางช่องคลอด ให้ดูแลตรวจภายในประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและประเมินเสียงหัวใจทารก
5 ดูแลความสุขสบายของร่างกายและประคับประคองด้านจิตใจ
6 กรณีถ้าหน้าเป็นส่วนนำ ต้องตัดฝีเย็บแบบเสียงและให้ยาวมากขึ้นเนื่องจากฝีเย็บมีการเย็บแผลใหญ่มากจึงติดขัดได้ง่าย
6 ดูแลทารกแรกคลอดอย่างใกล้ชิด
4 การพยาบาลผู้คลอดที่ทารกอยู่ในท่าขวาง
1 หากพบผู้คลอด ที่สงสัยว่าทารกอยู่ในท่าขวางและถุงน้ำยังไม่แตกให้รีบรายงานแพทย์
2 ดูแลให้ผู้คลอดนอนพักผ่อนบนเตียง ลดการกระตุ้นต่างๆที่ทำให้ถุงน้ำแตก
3 กรณีถุงน้ำแตกแล้วให้ฟังเสียงหัวใจทารกอย่างใกล้ชิด โดย 30 นาทีแรกฟังทุก 5-10 นาทีต่อมาฟังทุก 15 ถึง 30 นาทีพร้อมสังเกตการดิ้นของทารก
4 ให้ผู้คลอดงดน้ำงดอาหาร ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำไว้เตรียม การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องฉุกเฉิน
5 กรณีทารกท่าขวางให้แพทย์พิจารณาให้หมุนกลับทารกทางหน้าท้อง
6 หกกรณีต้องการช่วยคลอดทางช่องคลอดให้รายงานกุมารแพทย์วิสัญญีแพทย์ และให้การพยาบาลเช่นเดียวกับคลอดท่าก้น
5 การพยาบาลผู้คลอดที่ทารก มีความผิดปกติของขนาดและรูปร่าง
1 ให้ผู้คลอดงดน้ำและอาหารทางปากทุกชนิดและดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
2 ดูแลให้ผู้คลอดนอนพักผ่อนบนเตียงลดการกระตุ้นต่างๆ
3 ประเมินและบันทึกเสียงหัวใจทารกในครรภ์เป็นระยะระยะ
4 รายที่ถุงน้ำคร่ำแตกให้รีบฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์และตรวจภายในทันทีเพื่อประเมินสายสะดือพลัดต่ำ
5 ตรวจภายในเป็นระยะถ้าถุงน้ำทูนหัว ยังไม่แตกควรตรวจด้วยความระมัดระวัง
6 ประเมินและบันทึกการหดรัดตัวของมดลูกทุก 30 นาที
7 ติดตามความก้าวหน้าของการคลอด
8 ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจความเข้มข้นของเลือด
9 จัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อการใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด
10 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการคลอดแผนการรักษาเพื่อให้ผู้คลอดลดความวิตกกังวล
6 การพยาบาลผู้คลอดที่มีการคลอดไหล่ยาก
1 ประเมินสภาพทารก ถ้าพบว่ามีความเสี่ยงให้รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาช่วยคลอด
2 การดูแลทารกแรกคลอดต้องประเมินอาการผิดปกติโดยเฉพาะอาการอัมพาตของแขนกระดูกไหปลาร้าและการฉีกขาดของกล้ามเนื้อคอ
3 ตรวจสอบการฉีกขาดของช่องทางคลอด และเย็บซ่อมแซมแผลฝีเย็บอย่างถูกวิธี
4 ประเมินปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอดและอาการแสดงของการตกเลือด
5 ให้การดูแลด้านจิตใจของผู้คลอดโดยอธิบายแผนการรักษา