Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพัฒนาองค์กรและเครื่องมือในการพัฒนาองค์กร - Coggle Diagram
บทที่ 3
การพัฒนาองค์กรและเครื่องมือในการพัฒนาองค์กร
การพัฒนาองค์กร (Organization Development)
เป็นความพยายามที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์กรทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการควร
มุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรเป็นหลักไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล
ลักษณะสําคัญของการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาจะมุ่งเน้นไปที่วัฒนธรรมขององค์การ
( Organization Cultural ),ค่านิยม (Value) และทัศนคติของบุคคลภายในองค์การ โดยการพัฒนาจะต้องกระทําเป็นระบบ
หลักการพัฒนาองค์กร
(Organization Development Principle)
กําหนดเป้าหมาย ( Goal Sating )
กําหนดนโยบายร่วมกัน
ทั้งฝ่ายผู้บริหารและสมาชิกในองค์การอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา
มีความเข้าใจในสถานการณ์ ( Understand Relations )
ต้องอาศัยความเข้าใจร่วมกันเพราะความต้องการของบุคคลจะเป็นตัวอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทํางาน
3.การปรับปรุงสัมพันธภาพ ( Improving Relations )
ไม่ว่าคนในองค์การจะมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันหรือไม่ก็ตามควรได้รับการเปิดเผยเพื่อให้ต่างฝ่ายได้รู้ถึงปัญหา เมื่อรู้ถึงปัญหาทุกคนจะพยายามปรับตัวเข้าหากันและตั้งใจทํางานมากขึ้น
ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินการ
ดําเนินการการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้ความสนับสนุนและความร่วมมือ ระบบการทํางานของมนุษย์ขึ้นอยู่กับดุลภาพของงาน (Balance of force) ภายในระบบของหน่วยงาน
5.การเชื่อมโยง (Linking)
ความสามารถในการโน้มน้าวคน
ในหน่วยงานให้มีความเข้าใจที่ดีต่อกันมากที่สุด
วัตถุประสงค์ในการพัฒนาองค์การ
1.เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ
2.เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการ
เปลี่ยนแปลง
3.เพื่อพัฒนากระบวนการทํางานอย่างมีแผน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน
4.ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข วัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญ
5.มุ่งส่งเสริมหลักการทํางานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล
6.เน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคน
7.กระจายการตัดสินใจไปยังผู้ปฏิบัติ
8.ส่งเสริมให้สมาชิกตระหนักในความรับผิดชอบต่อตําแหน่งและหน้าที่
9.มุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลและองค์การเข้าด้วยกัน
ขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ
1.การรวบรวมข้อมูล(Data Gathering)
เพื่อตรวจวินิจฉัยปัญหา และกําหนดยุทธศาสตร์
ในการใส่สิ่งสอดแทรกที่เหมาะสมสําหรับองค์การ
2.การตรวจวินิจฉัยปัญหา(Diagnosis) เพื่อให้รู้ว่าวัฒนธรรมที่เป็นอยู่สอดคล้องกับความต้องการหรือมีความแตกต่างกันเพียงไรต้องมีวิจารณญาณ ประสบการณ์
3.การกําหนดยุทธวิธี(tactic or Intervention )
การกําหนดสิ่งสอดแทรกหรือการเลือกวิธีการที่จะ
นํามาใช้ในการพัฒนาองค์กร
4.การประเมินผล( Evaluation ) ช่วยในการ
ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการพัฒนาองค์การว่าสอดคล้องกับเป้าหมาย เกณฑ์ และมาตรฐานที่กําหนดไว้เพียงใด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาองค์กร(Organization Development Tools)
1.การบริหารที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นตัวกําหนด
(MBO : Management by objective)
การวางแผนเพื่อจัดองค์การที่หัวหน้าและลูกน้องมีบทบาทร่วมกันในการกําหนดเป้าหมายและขอบเขตของงาน
4 ขั้นตอนดังนี้
กําหนดวัตถุประสงค์ (Setting of objectives)
ปรับโครงสร้างขององค์การ (Revision of organization structure)
กําหนดจุดตรวจสอบ (Estabishing check points)
การประเมินการปฏิบัติงาน(Appraisal of performance)
2.ระบบควบคุมคุณภาพ/กลุ่มคุณภาพ
(Quality control circle : QCC,QC)
การดําเนินการ
โดยคนกลุ่มน้อย ดําเนินกิจกรรมเพิ่มพูนคุณภาพโดยตนเองอย่างอิสระ ณ สถานที่ทํางานเดียวกัน
3.การจัดการคุณภาพโดยรวม
(Total quality management : TQM)
การจัดระบบและวินัย
ในการทํางาน เพื่อป้องกันความผิดพลาดเสียหาย และมุ่งสร้างคุณค่า (value)
วัตถุประสงค์ ทําเพื่อลดต้นทุนและต้องการพัฒนาคุณภาพเพื่อสร้างความพอใจและความซื่อสัตย์ของลูกค้า
มีประสิทธิผล 6 ประการ
1.การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)
2.การมอบหมายงานแก่พนักงาน(Employee Empowerment)
3.การกําหนดมาตรฐานเทียบเคียง (Benchmarking)
4.การจัดส่งสินค้าแบบทันเวลาพอดี(Just in time : JIT)
5.Taguchi technique การปรับปรุงผลิตภัณฑ์
ตั้งแต่่ช่วงที่มีการออกแบบ
6.ความรู้ในการใช้เครื่องมือ(Knowledge of TQM tools)
4.การบริหารแบบซิกซิกมา
(Six sigma) เป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นความ
เป็นเลิศ ซึ่งได้มีการกำหนดแนวทางในด้านต่าง ๆเพื่อให้การปรับปรุงองค์การเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานที่มีความสามารถ
ขั้นตอน 4 ขั้นตอน
Measurement เป็นการขั้นตอนการวัดว่าองค์การอยู่ที่ใด black belt จะกระทำเพื่อวัดจุดวิกฤตต่อคุณภาพ (Critical to Quality : CTQ) หรือการวัดสิ่งที่มีผลกระทบต่อลักษณะคุณภาพหรือผลการ
ปฏิบัติงานมากที่สุด
Analyze เป็นการวิเคราะห์ว่าปัญหาต่าง ๆ เริ่มมาจากที่ใด เพื่อหาทางแก้ไขโดยการเปรียบเทียบศักยภาพขององค์การและคู่แข่ง
Improvement การแก้ไขกระบวนการในขั้นนี้ black belt จะเป็นผู้ระบุลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่
ต้องปรับปรุงเพื่อให้บรรลุผลในการปฏิบัติงานและบรรลุวัตถุประสงค์ทางด้านการเงิน
Control การควบคุมในขั้นนี้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อช่วยให้ black belt กำหนดมาตรการต่างๆเพื่อ
เป็นตัวควบคุมตัวแปรที่สำคัญ ให้อยู่ในช่วงมาตรฐานใหม่
5.ระบบการบริหารแบบลีน
(Lean Management System)
แนวการออกแบบหรือการปรับปรุงกระบวนการหรือคุณค่าที่เป็นระบบโดยมี
วัตถุประสงค์ ในการกำจัดของเสีย ปรับปรุงคุณภาพ ลดต้นทุน เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าปรับปรุงความพอใจให้กับพนักงาน เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน
6.องค์กรแห่งการเรียนรู้
(Learning organization : LO)
องค์กรที่มีทักษะ มีความสามารถ
ในการแสวงหา การสร้างสรรค์ การถ่ายทอดความรู้ และทำความเข้าใจกับความรู้ใหม่ได้อย่างลึกซึ้ง (Insight)จนสามารถนำความรู้มาปรับปรุงพฤติกรรมของคนในองค์กร จนนำไปสู่การสร้างผลผลิตได้อย่างมากมาย
วินัย 5 ประการ:Peter Senge
Personal Mastery ความเป็นเซียนส่วนบุคคล
Mental Modelการยึดติดในใจ อคติ ความฝังใจ โลกทัศน์หรือความคิดความเข้าใจที่คนมีต่อโลก
Share vision ฝันเดียวกัน สมาชิกในองค์การมีการกำหนดเป้าหมาย (Goals) ค่านิยม
(Value)การมีวิสัยทัศน์ (vision) พันธกิจ (Mission) ร่วมกัน
เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย
Team learningการเรียนรู้เป็นทีม กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิก มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์ ระหว่างสมาชิกในองค์กรอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
System thinking ระบบการคิดของคนในองค์กร การคิดอย่างเป็นระบบ สิ่งต่าง ๆ มีการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ และ
บูรณาการอย่างเป็นองค์รวม
7.การบริหารจัดการความรู้
(Knowledge Management : KM)
การบริหารจัดการเพื่อให้คนที่ต้องการใช้ความรู้ ได้รับความรู้ที่ต้องการในเวลาที่ต้องการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
ความรู้สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
Tacit Knowledge ทักษะจากประสบการณ์ไม่สามารถบรรยายเป็นถ้อยคำ
Explicit Knowledge บรรยาย/ถ่ายทอดเป็นทฤษฎี
การแก้ไขปัญหา คู่มือฐาน ข้อมูลทุกคนสามารถเข้าถึงได้
8.การบริหารการเปลี่ยนแปลง
(Change management)
การจัดการณ์กับเหตุการณ์สถานการณ์ หรือลักษณะที่ต่างไปจากเดิมให้ดีขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
ขั้นตอนในการบริหารการเปลี่ยนแปลง 3 ขั้นตอน
การวางแผนการเปลี่ยนแปลง (Planning for Change)
การนำแผนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ
(Implementing Change)
2.1 การกำหนดกลยุทธ์ในการนำแผนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ
2.2 การสื่อสารความเข้าใจถึงแผนการเปลี่ยนแปลง
2.3 การจัดแบ่งงาน
2.4 การจัดกำลังคน
2.5 การจัดระเบียบวิธีการดำเนินงาน
2.6 การพัฒนาบุคคล
2.7 การทำให้การเปลี่ยนแปลงกลายเป็นแบบแผนวัฒนธรรมขององค์การ
2.8 การจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรในการบริหารการเปลี่ยนแปลงนั้น
การติดตามประเมินผลและรักษาผลการเปลี่ยนแปลง (Evaluating and Maintaining Change)
9.การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award
:PMQA)
เป็นกระบวนการพัฒนาองค์กรภาคราชการ โดยนำ “เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ” ที่ได้รับพัฒนาจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติและสำนักงาน ก.พ.ร. มาใช้กับระบบราชการการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
มีจุดมุ่งเน้นที่สำคัญ 6 ประการด้วยกัน คือ
การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์
มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความสำคัญกับประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ปรับปรุงระบบบริหารจัดการให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว
พัฒนาการบริหารคนและการพัฒนาคน มีความคิดริเริ่มและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศ
ทำงานโดยมุ่งผลลัพธ์เป็นสำคัญ(ประโยชน์สุขของประชาชน)
10.การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
(RESULT BASED MANAGEMENT - RBM )
การบริหารโดยมุ่งเน้นผลการปฏิบัติงานหรือผลสัมฤทธิ์เป็นหลักจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8
วัตถุประสงค์คือทำงานให้เสร็จตามกำหนด เกิดผลดีต่อหน่วยงานและส่วนราชการใช้ทรัพยากรของทางราชการให้คุ้มค้า
11.วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best practice)
วิธีการปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือ
คือการปฏิบัติที่ทำให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศโดยมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างเห็น
ได้ชัด มีส่วนสำคัญที่ทำให้ผลการดำเนินงานเป็นเลิศ ได้รับการยอมรับจากบุคคลหรือองค์กรที่เชื่อถือได้
ขั้นตอนการทำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best practice) มีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอน
1.กระตุ้น และเปิดรับความคดิ
ดำเนินการตามขั้น ตอนการเสนอความคิด
ประเมินความคดิ และให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อ
การปรับปรุง
4.นำความคิดไปปฏิบัติ
5.ทบทวนเพื่อขยายผลความคดิ
6.ยกย่อง ชมเชย และประกาศความสำเร็จ
7.วัดผล ทบทวน และปรับปรุง
12.เบ็นซ์มาร์คกิ้ง ( Benchmarking )
กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
และแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) กับองค์กรอื่นภายใต้กฎกติกาสากล
ขั้นตอนการทำเบ็นซ์มาร์คกิ้ง ( Benchmarking ) ส่วนใหญ่ มีอยู่ด้วยกัน 4 ขั้นตอน คือ
1.ประเมินตัวเอง ดูตัวชี้วัด
2.เทียบสมรรถนะ หาค่า benchmark
3.ศึกษาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ best practices
4.ประยุกต์สู่การปรับปรุง action plan