Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการพยาบาลผู้คลอดที่มีความผิดปกติของสิ่งที่คลอดออกมา Abnormal of…
กระบวนการพยาบาลผู้คลอดที่มีความผิดปกติของสิ่งที่คลอดออกมา Abnormal of passenger
ความผิดปกติของส่วนนำและท่าของทารก
ท่าหน้าผาก
Brow presentation
สาเหตุ
ทารกมีรูปร่างผิดปกติ เช่น Anencephaly กระดูกสันหลังผิดปกติ
ผนังหน้าท้องหย่อนมากทำให้ลำตัวทารกลงไปข้างหน้าลำคอเหยียดตรงขึ้น
เชิงกรานแคบหรือศีรษะทารกโต พบได้บ่อย
ครรภ์แฝดน้ำทำให้ศีรษะเคลื่อนได้อย่างอิสระ
มีสิ่งกีดขวางในช่องเชิงกรานที่ขัดขวางการลงของท้ายทอย
ผลกระทบ
การคลอดยาวนาน เนื่องจากใบหน้าอ่อนนุ่ม ไม่สามารถแนบกระชับกับช่องทางคลอดได้ กระดูกใบหน้าไม่สามารถเกิดการเกยกันเพื่อลดขนาดได้
ผู้คลอดและทารกมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดยาวนานและใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด
ผู้คลอดเหนื่อยล้า มีภาวะขาดน้ำจากการคลอดยาวนาน
ฝีเย็บและช่องคลอดฉีกขาดมากเนื่องจากเส้นผ่านศูนย์กลางของส่วนที่ผ่านช่องคลอดออกมามีขนาดใหญ่
อาจเกิดภาวะมดลูกแตกจากคลอดติดขัด
ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจน
ถุงน้ำแตกก่อนกำหนดและอาจเกิดภาวะสายสะดือพลัดต่ำ เนื่องจากส่วนนำไม่แนบกระชับกับช่องทางคลอด
บริเวณใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้นของทารกบวมผิดรูปผิดร่าง อาจมีอาการหายใจลำบาก หรือไม่ค่อยดูดนมและอาจมีเลือดออกในกระโหลกศีรษะร่วมด้วย
การพยาบาล
การประเมินสภาพ
การตรวจครรภ์การคลำท้องด้วย Second Leopold handgrip มักคลำแนวแผ่นหลังได้ไม่ชัดเจน เนื่องจากหลังแอ่น การคลำส่วนนูนของศีรษะทารกด้วย Fourth Leopold handgrip พบส่วนนูนของศีรษะอยู่สูงไปทางด้านศ๊รษะผู้คลอด แต่อาจประเมินได้ยากระหว่างหน้าผากกับใบหน้าเป็นส่วนนำ
การตรวจ Ultrasound หรือ X-ray ในกรณีที่การประเมินด้วยการตรวจครรภ์ และ การตรวจภายในไม่ชัดเจนรวมทั้งช่วยวัดขนาดของศีรษะทารกกับกระดูกเชิงกรานมารดาเพื่อประเมินภาวะ Cephalopelvic disproportion
การตรวจภายในสามารถประเมินได้ง่ายกว่าการตรวจครรภ์
กรณีทารกมีหน้าเป็นส่วนนำ จะคลำได้หน้า ซึ่งมีลักษณะขรุขระ นุ่มและแข็ง ไม่สม่ำเสมอ คลำได้ปาก จมูก เบ้าตา อาจคล้ายกับทารกท่าก้น แต่สามารถแยกได้ดังนี้ ปาก สามารถสอดนิ้วเข้าไปได้ง่ายและคลำได้เหงือก ถ้าเป็นรูทวารหนักจะสอดนิ้วไม่ได้ คลำได้ปาก ซึ่งไม่ได้อยู่แนวเดียวกับโหนกแก้มทั้งสองข้างของทารก แต่จะอยู่ในตำแหน่งที่เป็นรูปสามเหลี่ยม ถ้าเป็นรูทวารหนักจะอยู่แนวเดียวกับปุ่ม ischial tuberosity ทั้งสองข้าง ก้น อาจคลำพบกระดูกก้นกบ และอาจมีขี้เทาติดนิ้วมือออกมา
กรณีทารกมีหน้าผากเป็นส่วนนำ จะคลำพบหน้าผากเป็นส่วนต่ำที่สุดที่ลงมาในช่องคลอด มีลักษณะนุ่ม อีกด้านหนึ่งของหน้าผากจะคลำพบแนวไรผมและขม่อมหน้า อยู่ค่อนไปด้านใดด้านหนึ่งของช่องเชิงกราน
กิจกรรมการพยาบาล
กรณีแพทย์พิจารณาให้คลอดทางช่องคลอด ให้ตรวจภายในเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการคลอดเป็นระยะ ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกการมีรอยคอด Bandl's ring เพื่อประเมินความก้าวหน้าของการคลอด ประเมินเสียงหัวใจทารก เพื่อเฝ้าระวังภาวัขาดออกซิเจน
ดูแลความสุขสบายของร่างกาย และประคับประคองด้านจิตใจ
ให้ผู้คลอดนอนพักและทำกิจกรรมบนเตียง เพื่อป้องกันถุงน้ำแตก ซึ่งอาจทำให้เกิดสายสะดือพลัดต่ำ
กรณีท่าหน้าเป็นส่วนนำ ต้องตัดฝีเย็บแบบเฉียงและให้ยาวมากขึ้นเนื่องจากฝีเย็บมีการยืดขยายมาก จึงฉีกขาดได้ง่าย
ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจความเข้มข้นของเลือดและหมู่เลือดตามแผนการรักษา
ดูแลทารกแรกคลอด โดยดูดสารคัดหลั่งจากปาก จมูกด้วยความนุ่มนวล ประเมินอาการบวมน้ำของใบหน้า พร้อมทั้งอธิบายให้ผู้คลอดเข้าใจ เพื่อลดความกังวล ประเมินความผิดปกติของการหายใจ ประเมินการดูดกลืน ก่อนให้ทารกดูดนมต้องแน่ใจว่าสามารถดูดกลืนได้ดี
ให้ผู้คลอดงดน้ำงดอาหารทางปากทุกชนิด และดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
ท่าก้น
Breech presentation
การพยาบาล
ประเมินสภาพ
การตรวจครรภ์
การสังเกตลักษณะหน้าท้อง มักพบ มดลูกมีรูปร่างสามเหลี่ยมที่มียอดอยู่ด้านล่าง
ตรวจด้วย Leopold handgrip
third Leopold handgrip คลำบริเวณหัวเหน่าพบลักษณะนุ่ม ใหญ่ ไม่เรียบ คลำไม่พบร่องคอ คลำส่วนนูนของท้ายทอยแลหน้าผากไม่ได้
first Leopold handgrip พบบริเวณยอดมดลูก มีลักษณะกลมแข็ง เรียบ เล็ก คลอนไปมาได้
fourth Leopold handgrip คลำพบก้นเข้าสู่ช่องเชิงกราน ไม่พบ cephalicprominence
การฟังเสียงหัวใจทารก หากอายุครรภ์ตั้งแต่ 34 สัปดาห์ขึ้นไป ตำแหน่งที่ฟังได้ยินชัดเจนจะอยู่เหนือเส้นที่ลากจากสะดือขึ้นไปยัง anterior superior iliac spine หรือระดับสะดือนขึ้นไป
การตรวจภายในอย่างระมัดระวัง ไม่ทำให้ถุงน้ำคล่ำแตก
คลำได้ร่องบุ๋มของรูทวารหนัก รายที่ถุงน้ำแตกอาจมีขี้เทาติดมือออกมา
คลำได้ร่องก้น กระดูก sacrum, spinous process และ ischial tuberosities ทั้งสองข้าง
คลำพบเท้า หากพบเท้าอยู่ข้างๆก้น แสดงว่าเป็นชนิด complete breech แต่ถ้าคลำได้เท้าหรือเข่าอยู่ต่ำกว่าก้น แสดงว่าเป็นชนิด incomplete breech
ตรวจพบลักษณะนุ่มแต่ไม่เรียบ หรือพบส่วนเท้าหรือเข่าทารก
คลำได้อวัยวะเพศถัดไปจากรอยบุ่มของทวารหนัก และอีกด้านหนึ่งคลำได้กระดูกก้นกบซึ่งใช้บอกท่าของทารก
การซักประวัติมักได้รับข้อมูลว่า ผู้คลอดรู้สึกทารกดิ้นบริเวณส่วนล่างของมดลูกมากกว่าส่วนบน บางรายรู้สึกเจ็บบริเวณชายโครง ท้องอืด ท้องเฟ้อ แสบยอดอก หายใจลำบาก ซึ่งอาจเกิดจากศีรษะทารกกดทับบริเวณชายโครง และกระเพาะอาหาร
การถ่ายภาพรังสี มักทำในรายที่ประเมินได้ไม่ชัดเจน จากการตรวจครรภ์ และตรวจภายใน เพื่อประเมินท่าและส่วนนำของทารก และช่วยประเมินท่าก้น ทรง ความผิดปกติ ความพิการของทารกภายในครรภ์
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ช่วยประเมินท่า และส่วนนำของทารก ชนิดของท่าก้น ทรง ความผิดปกติ ความพิการของทารกในครรภ์ เป็นวิธีที่ปลอดภัยมากกว่าการถ่ายรังสี
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ผู้คลอดงดน้ำ และอาหารทางปากทุกชนิด และดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เนื่องจากอาจมีความจำเป็นต้องช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน เช่น การช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการหรือการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจความเข้มข้นของเลือดและหมู่เลือด ตามแผนการรักษาเนื่องจากอาจมีความจำเป็นต้องช่วยเหลือการคลอดในภาวะฉุกเฉิน เช่น การช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการหรือการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
รายที่ถุงน้ำคร่ำแตกให้รีบฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ และตรวจภายในทันที เพื่อประเมินสายสะดือ การเปิดขยายของมดลูก ระดับส่วนนำ และลักษณะของน้ำคร่ำ การมีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ
ให้นอนพักบนเตียงในท่านอนตะแคง โดยเฉพาะรายที่ถุงน้ำแตกแล้ว เพื่อป้องกันภาวะสายสะดือพลัดต่ำ
ประเมินและบันทึกเสียงหัวใจทารกในครรภ์เป็นระยะๆ ระยะปากมดลูกเปิดเร็ว ฟังทุก 30 นาที-1ชั่วโมง ระยะที่สองของการคลอด ควรฟังทุกครั้งที่มดลูกคลายตัว
ตรวจภายในเป็นระยะๆ ถ้าถุงน้ำทูนหัวยังไม่แตกควรตรวจด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้น้ำทูนหัวแตก
ประเมินและบันทึกการหดรัดตัวของมดลูกทุกๆ 30 นาที - 1 ชั่วโมง เนื่องจากมดลูกมักหดรัดตัวไม่ดี และส่งเสริมให้มดลูกหดรัดตัวดี โดยกระตุ้นให้ปัสสาวะทุก 2-4 ชั่วโมง จัดให้นอนตะแคง
ประเมินการดิ้นของทารกในครรภ์เป็นระยะๆ ถ้าสายสะดือพลัดต่ำหรือถูกกด ทารกจะดิ้นแรงมากในระยะแรก ต่อมาจะดิ้นน้อยลงเรื่องๆ จนหยุดดิ้น
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการคลอด แนการดูแลรักษา เพื่อให้ผู้คลอดเข้าใจ คลายความวิตกกังวล รู้สึกปลอดภัย
จัดเตรียมอุปกรณ์การช่วยทำคลอดท่าก้น ทีมงานและอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพทารกไว้ให้พร้อม
สาเหตุ
ครรภ์แฝด หรือครรภ์แฝดน้ำ
ผนังหน้าท้องหรือกล้ามเนื้อมดลูกหย่อน เช่น กรณีผ่านการคลอดมาหลายครั้ง
ทารกตัวเล็ก
กระดูกเชิงกรานแคบ
การคลอดก่อนกำหนด
มีสิ่งกีดขวางการเข้าสู่ช่องเชิงกราน เช่น รกเกาะต่ำ ครรภ์แฝด เนื้องอกในมดลูก
ผลกระทบ
เลือดออกในสมองของทารก จากการดึงศีรษะทารกอย่างรวดเร็วทำเกิดการฉีกขาดของเยื่อหุ้มสมองและมีเลือดออก โดยเฉพาะรายที่คลอดก่อนกำหนดซึ่งกระดูกศีรษะยังอ่อนจึงถูกกระทบกระเทือนได้ง่ายและการขาดออกซิเจนเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เส้นเลือดฝอยเปราะและแตกง่าย
ทารกได้รับบาดเจ็บจากการคลอด เนื่องจากการใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด การดึงศีรษะทารกอย่างแรงหรือผิดวิธี เช่น เลือดออกในกระโหลกศีรษะ กระดูกคอเคลื่อนหรือหัก
ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนเนื่องจากภาวะสายสะดือพลัดต่ำหรือถูกกดจากการที่ส่วนนำไม่แนบกระชับกับช่องทางคลอดหรือจากทารกหายใจก่อนศีรษะคลอดออกมาภายนอกทำให้สำลักน้ำคร่ำเข้าไปในปอด
อัตรการตายสูงกว่าการคลอดที่มีศีรษะเป็นส่วนนำ 3-5 เท่า
ตกเลือดหลังคลอดช่องทางคลอดฉีกขาดมาก หรือมดลูกแตกจากการใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด
การติดเชื้อหลังคลอด เนื่องจากมีการฉีกขาดของช่องทางคลอดมากจากการใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอดร่วมกับมีถุงน้ำแตกเป็นเวลานาน
การฉีกขาดของช่องทางคลอดอ่อน เนื่องจากการคลอดศีรษะยาก ศีรษะมักเงย มีการเกยกันของกระดูกน้อย มักเกิดจากการใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด การดึงทารกอย่างรุนแรง
ถุงน้ำแตกก่อนกำหนดเนื่องจากท่าผิดปกติ และมักเกิดการติดเชื้อร่วมด้วย
ระยะการคลอดยาวนานโดยเฉพาะระยะที่ 2 ของการคลอดอาจเกิดการคลอดหยุดชะงัก เกิดได้ทั้งในกลไกการคลอดของก้น ไหล่ และศีรษะแต่มักเกิดกับศีรษะ เพราะศีรษะมักเงยเกิดการเกยกันของกระดูกกะโหลกศีรษะน้อย การหมุนภายในไม่สำเร็จ
ชนิดการคลอด
การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ศีรษะทารกอยู่ในลักษณะก้ม
คาดคะเนน้ำหนักทารกน้อยกว่า 3,500 กรัม
มีก้นเป็นส่วนนำแบบ frank breech
อายุครรภ์ 36 - 42 สัปดาห์
ช่องเชิงกรานมีขนาดและรูปร่างปกติ
มีอุปกรณ์และบุคลากรทางการแทพย์พร้อม
การคลอดทางช่องคลอด
การช่วยคลอด
การดึงทารกออกมา
การคลอดเอง
วิธีการทำคลอด
การคลอดเอง
spontaneous breech delivery
คือการช่วยพยุงให้ทารกคลอดออกมาเองตามธรรมชาติ
การช่วยคลอด
breech assisting or partial breech extraction
การทำคลอดไหล่และแขน
Muller's method
ใช้ผ้าคลุมก้น 45 องศา จนไหล่หน้าคลอดผ่านใต้ symphysis pubis แล้วโน้มขึ้นจนไหล่หลังคลอดผ่านฝีเย็บออกมาหากไม่สำเร็จให้ทำคลอดไหล่หลังก่อน
Classical method
ทำคลอดไหล่หลังก่อนแล้วหมุนให้ไหล่หน้ามาด้านหลังแล้วจึงทำคลอดแบบไหล่หลัง ใช้ในรายที่คลอดยาก เช่น ทารกตัวโต ครรภ์แรก หรือใช้วิธี Muller's method ไม่ได้ผล
Lovset's method
การดึงทารกลงด้านล่างพร้อมกับหมุนให้ไหล่หลังกลับไปคลอดทางด้านหน้า ไหล่หน้าจะเปลี่ยนมาเป็นไหล่หลัง ให้ดึงพร้อมกับหมุนทวนกลับให้ไหล่กลับมาอยู่ด้านหน้าตามเดิม และคลอดผ่าน symphysis pubis
วิธีการทำคลอดศีรษะ
Mauriceau-Smillie-Veit's maneuver เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด วางมือไว้ใต้ลำตัวทารกให้หน้าอกทารกพาดอยู่บนแขนของผู้ทำคลอด
การใช้ piper forceps คือการช่วยคลอดศีรษะทารกภายหลังจากศีรษะเข้าสู่อุ้งเชิงกรานเรียบร้อยแล้ว
การดึงทารกออกมา
breech extraction or total breech extraction
การดึงก้นออกมา,การทำคลอดไหล่และแขน,การทำคลอดศีรษะ
การเปลี่ยนให้เท้าเป็นส่วนนำ breech decomposition รายที่มีก้นเป็นส่วนนำแบบcomplete breech หรือ footling breech ผู้ทำคลอดสอดมือเข้าไปจับเท้าแล้วดึงออกมา จากนั้นก้นและลำตัวจะคลอดตามออกมาแต่หากมีก้นเป็นส่วนนำแบบ frank breech
การใช้นิ้วดึง digital groin extraction ใช้ในรายที่ทารกมีขาพาดลำตัว frank breech โดยผู้ทำคลอดใช้นิ้วชี้เกี่ยวที่ขาหนีบด้านหน้าแล้วดึงก้นออกมาจนตะโพกหน้ามายังใต้ symphysis pubis จากน้ันใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างเกี่ยวขาหนีบด้านหลังแล้วดึงออกมาพร้อมกัน โดยดึงขณะมดลูกหดรัดตัวและผู้คลอดช่วยเบ่งอย่างถูกวิธี พร้อมทั้งผู้ช่วยต้องช่วยกดบริเวณยอดมดลูกร่วมด้วย
ข้อควรระวัง
ช่วยป้องกันการฉีกขาดของฝีเย็บขณะที่ก้น ลำตัว ไหล่ และศีรษะคลอดออกมา
เมื่อก้นคลอดออกมาจนถึงระดับสะดือแล้ว ให้ใช้นิ้วดึงสายสะดือให้เคลื่อนต่ำออกมาภายนอก เพื่อลดการกดทับของสายสะดือ ถ้าสายสะดือถูกกดอยู่ใต้กระดูกหัวเหน่าให้ค่อยดันสายสะดือมาอยู่ด้านข้างของปากช่องคลอด
การตัดฝีเย็บ ต้องตัดทุกรายแบบเฉียงและตัดให้ยาวมากกว่าปกติ เพื่อให้ศีรษะคลอดได้ง่าย ควรตัดก่อนที่ก้นทารกจะโผล่ออกมา เพราะอาจตัดถูกก้นได้
เมื่อไหล่คลอดออกมาแล้ว ต้องรอให้ศีรษะทารกก้มและหมุนภายในก่อน และต้องแน่ใจว่าปากมดลูกเปิดหมด
สวนปัสสาวะทิ้งก่อนทำการช่วยคลอด
รายที่การคลอดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนแพทย์ไม่สามารถมาช่วยคลอดได้ทัน ให้ช่วยโดยการตัดฝีเย็บและช่วยพยุงทารกออกมาตามวิธ๊ของ Brancht maneuver
ท่าหน้า
Face presentation
เกิดจากการเงยของศีรษะแทนที่จะก้มตามปกติเมื่อผ่านเข้าสู่ช่องเชิงกรานจะคลอดได้เองทางช่องคลอด ความก้าวหน้าของการคลอดจะใกล้เคียงกับการคลอดปกติ เนื่องจากเส้นผ่านศูนย์กลางส่วนที่กว้างที่สุดใกล้เคียงกับท่า OA ส่วนรายที่คางอยู่ด้านหลังของช่องเชิงกรานนั้นมีร้อยละ 70 ที่สามารถหมุนมาอยู่ด้านหน้าและคลอดทางช่องคลอดได้แต่อาจล่าช้ากว่า แต่ถ้าไม่หมุนมาด้านหน้ามักพบในรายที่ทารกตัวโตมาก หรือเชิงกรานแคบมากมักต้องทำผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ท่าขวาง
Transverse lie
การช่วยคลอด
ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในกรณีต่อไปนี้
ถุงน้ำแตกแล้ว
สายสะดือพลัดต่ำ
ไหล่อัดแน่นในช่องเชิงกราน
หมุนกลับทารกไม่สำเร็จ หรือมีข้อห้าม
กรณีครรภ์แฝดที่แฝดน้องอยู่ในท่าขวาง ภายหลังจากแฝดพี่คลอดแล้ว ให้หมุนกลับทารกภายในเพื่อให้ส่วนนำเป็นก้น แล้วช่วยทำคลอดท่าก้นทางช่องคลอด
กรณีไม่มีข้อห้ามในการคลอดทางช่องคลอด เมื่อเริ่มเจ็บครรภ์ ให้ทำการหมุนกลับทารกทางหน้าท้องเพื่อให้ศีรษะเป็นส่วนนำ แล้วเจาะถุงน้ำคร่ำและให้ยาเร่งคลอด
กรณีทารกตายและตัวเล็กมาก อาจให้คลอดทางช่องคลอด ทารกอาจคลอดออกมาในลักษณะหัวไหล่ดันอยู่ใต้กระดูกหัวเหน่า ศีรษะอยู่ด้านบน โดยก้น ลำตัว และอกจะคลอดออกมาก่อน แล้วไหล่และศีรษะจะคลอดตามออกมา หรือคลอดออกมาในลักษณะทารกหักพับกลางลำตัว ศีรษะชิดหน้าอกเอาลำตัวคลอดออกมาก่อน
สาเหตุ
มีปัจจัยที่ทำให้ ทารกเข้าสู่ช่องเชิงกรานไม่ได้
รกเกาะต่ำ
ช่องเชิงกรานแคบ
ทารกหัวบาตร
สายสะดือสั้นกว่าปกติมาก
มีเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน
อื่นๆ เช่น ครรภ์แฝด พบในแฝดผู้น้องภายหลังจากแฝดผู้พี่คลอดแล้ว
มีปัจจัยที่ทำให้ทารกเคลื่อนไหวได้สะดวกมาก
ครรภ์แฝดน้ำ
การคลอดก่อนกำหนด
ผนังหน้าท้องและมดลูกหย่อนยาน พบมากที่สุด
ผลกระทบ
การคลอดยาวนานหรือคลอดติดขัดเนื่องจากท่าผิดปกติ
เกิดสายสะดือพลัดต่ำหรือถูกกดได้มาก โดยเฉพาะในช่วงหลังที่การคลอดดำเนินต่อไปและไหล่เคลื่อนต่ำลงมา
ปากมดลูกและผนังช่องท้องฉีกขาดได้มาก เนื่องจากท่าผิดปกติ
เกิดการติดเชื้อในโพรงมดลูกได้มาก เนื่องจากถุงน้ำมักแตกในระยะแรกๆ โดยเฉพาะรายที่มีแขนยื่นผ่านปากมดลูกออกมา
ทารกมีโอกาสขาดออกซิเจนและเสียชีวิตได้มาก เนื่องจากไหล่จะลงมาอัดแน่นในช่องเชิงกราน ทำให้เกิดการคลอดติดขัด มดลูกจึงหดรัดตัวมาก
มีอาการเจ็บปวดมาก เนื่องจากไหล่จะลงมาอัดแน่นในช่องเชิงกราน ทำให้เกิดการคลอดติดขัด มดลูกจึงหดรัดตัวมาก
ผู้คลอดมีความวิตกกังวล หวาดกลัวต่ออันตรายจากการคลอด
เกิดมดลูกแตก เนื่องจากไหล่จะลงมาอัดแน่นในช่องเชิงกราน ทำให้เกิดการคลอดติดขัด มดลูกจึงหดรัดตัวมาก
การพยาบาล
การประเมินสภาพ
การตรวจครรภ์พบว่า รูปร่างมดลูกอยู่ในแนวขวางหรือเฉียงกับลำตัว ระดับยอดมดลูกอยู่ต่ำกว่าปกติ คลำได้ศีรษะหรือก้นทางด้านข้างของหน้าท้อง ตำแหน่งของเสียงหัวใจทารกอยู่ต่ำกว่าระดับสะดือ
การตรวจภายในระยะแรก มักคลำส่วนนำไม่ได้หรืออยู่สูงมาก ระยะหลังเมื่อส่วนนำเคลื่อนต่ำลงมาแล้ว มักคลำพบลักษณะแข็งและนุ่ม ไม่สม่ำเสมอ
การซักประวัติการมีถุงน้ำแตกก่อนกำหนด ให้สงสัยว่าทารกอาจอยู่ในท่าขวาง
การตรวจ Ultrasound หรือ X-ray กรณีที่ตรวจด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลชัดเจนหรือต้องการประเมินขนาดของช่องเชิงกราน ทารกในครรภ์ ความผิดปกติของทารก เพื่อเป็นแนวทางการช่วยคลอด
กิจกรรมการพยาบาล
หากพบผู้คลอดที่สงสัยว่าทารกอยู่ในท่าขวางและถุงน้ำยังไม่แตกให้รีบรายงานแพทย์ให้มีการวินิจฉัยที่ชัดเจน
ดูแลให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียง ลดการกระตุ้นต่างๆ ที่จะส่งเสริมให้ถุงน้ำแตก
กรณีถุงน้ำแตกแล้ว ให้ฟังเสียงหัวใจทารกอย่างใกล้ชิด โดยระยะ 30 นาทีแรกฟังทุก 5-10 นาทีต่อมาทุก 15-30 นาที พร้อมทั้งสังเกตการดิ้นของทารก หากพบทารกดิ้นมากกว่าปกติ หรือเสียงหัวใจผิดปกติ ให้รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือ
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียง ให้สารน้ำทางหลอดเหลือดดำไว้ และเตรียมความพร้อมเพื่อการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องฉุกเฉิน ในกรณีที่ถุงน้ำแตกแล้ว หรือมีสายสะดือพลัดต่ำ
กรณีทารกท่าขวางที่แพทย์พิจารณาให้หมุนกลับทารกทางหน้าท้อง ให้ดูแลเช่นเดียวกับการหมุนกลับทารกท่าก้น
กรณีต้องช่วยคลอดทางช่องคลอด ให้รายงานกุมารแพทย์ วิสัญญีแพทย์ และให้การพยาบาลเช่นเดียวกับการคลอดทารกท่าก้นทางช่องคลอด
ท่าท้ายทอยอยู่ด้านหลังแล้วไม่หมุนมาด้านหน้า
Occiput posterior persistence
ผลกระทบ
ปากมดลูกบวม และอาจฉีกขาดได้เนืองจากศีรษะทารกกดอยู่นานและมีลมเบ่งตั้งแต่ปากมดลูกยังเปิดไม่หมด
ผนังช่องคลอดและฝีเย็บยืดขยาย และฉีกขาดได้มากเนื่องจากศีรษะทารกดันมาด้านหลังมาก และถ่าวขยายผนังช่องทางคลอดด้านหลัง และฝีเย็บให้ยืดเพื่อให้คลอดออกมาให้ได้หรือเนื่องจากการใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด
ผู้คลอดเหนื่อยล้า ติดเชื้อและตกเลือดหลังคลอดได้ง่ายเนื่องจากระยะการคลอดยาวาน และช่องคลอดฉีกขาดมาก
ผู้คลอดปวดหลังหรือเอวมาก เนื่องจากท้ายทอยมากดที่ sacral nerve
กระทบกระเทือนด้านจิตใจมาก
อาจต้องใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอดหรือทำการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจน
การคลอดยาวนาน คลอดยากหรือหยุดชะงัก
ทารกได้รับอันตรายจากการใช้เค่องมือช่วยคลอด
เครียด วิตกกังวล คับข้องใจ เนื่องจากเจ็บครรภ์คลอดมาก ระยะคลอดยาวนาน หรือกลัวตัวเองและบุตรจะได้รับอันตรยจากการคลอด
การดูแลรักษา
ใช้มือช่วยหมุนศีรษะทารกให้เป็น OA โดยสอดมือเข้าไปคลำตรงบริเวณหูทารกแล้วช่วย ในกรณีที่ช่องเชิงกรานกว้างมากพอ
ใช้คีม Kielland forceps ช่วยหมุนเปลี่ยนท่า จาก OPP เป็น OA แล้วดึงช่วยคลอดต่อไป
กรณีที่ช่องเชิงกรานกว้างพอ ช่องคลอดและฝีเย็บยืดหยุ่นดี สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ อาจให้ยากระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวดี
ใช้เครื่องดูดสุญญากาศในการช่วยคลอดในกรณีที่แพทย์ไม่ชำนาญการหมุนหรือใช้คีม
ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ในกรณีที่เชิงกรานชนิด Android
สาเหตุ
ผนังหน้าท้องหย่อนยานมาก เช่น ผู้ที่ผ่านการคลอดหลายครั้ง
มีสิ่งกรีดขวางการหมุน เช่น รกเกาะด้านหน้าของมดลูก เนื้องอกในเชิงกราน
เชิงกร่นแคบ โดยในแนวขวางของ midpelvic เช่น แบบเชิงกราน Android or Anthrodroid
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี หรือแรงเบ่งน้อย
ศีรษะทารกใหญ่หรือเล็กเกินไป ทำให้ไม่กระชับกับช่องทางคลอด
กล้ามเนื้อพื้เชิงกรานหย่อน
ศีรษะทารกก้มน้อยหรือช้าไปเมื่อเข้าสู่ช่องเชิงกราน
การพยาบาล
การประเมินสภาพ
การตรวจภายใน โดยตรวจหา sagital suture และตำแหน่งของ posterior fontanel ในรายที่มี occiput posterior จะพบ sagital suture อยู่ในแนวหน้าหลังของช่องทางคลอด และตำแหน่งของ posterior fontanel อยู่ใกล้กับกระดูกก้นกบ
อาการที่ชวนสงสัยว่าทารกอยู่ในท่าท้ายทอยอยู่ด้านหลัง เฉียงหลัง หรือขวาง ได้แก่ อาการปวดหลังและเอวมากแม้ในขณะมดลูกคลายตัว ผู้คลอดมีลมเบ่งตั้งแต่ระยะปากมดลูกเปิดน้อย ปากมดลูกบวม ศีรษะท่รกมีก้อนโน ระยะที่1 หรือ2 ของการคลอดยาวนานเป็ต้น
การฟังเสียงหัวใจทารก ในรายที่มี occiput posterior มักฟังได้ยินใกล้เส้นกึ่งกลางลำตัวผู้คลอด แต่เสียงจะเบากว่ารายที่ทารกมี occiput anterior ส่วนรายที่มี occiput เฉียงหลังหรือ occiput transverse มักได้ยินที่บริเวณด้านข้างของลำตัวผู้คลอด
ประเมิความรู้สึก หรือการรับรู้เกี่ยวกับการคลอด โดยการซักถาม
การตรวจครรภ์ โดยการ ดู คลำ ฟัง
การสังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์ มักพบว่าทารกดิ้นทั่วท้อง
การตรวจโดย second leopold handgrip หากทารกอยู่ใน longitudinal lie ในรายที่มี occiput posterior มักคลำได้เฉพาะ small part หรือคลำได้ large part อยู่บริเวณด้านข้างของหน้าท้อง
การสังเกตลักษณะหน้าท้อง มักพบรอยบุ๋มบริเวณต่ำกว่าสะดือ และมีรอยนูนบริเวณเหนือหัวเหน่าเล็กน้อย เกิดจากส่วนขิงซอกคอและหน้าอกที่บุ๋มลงไป ส่วนรอยนูนเป็นบริเวณหน้าผาก ซึ่งลักษณะหน้าท้องจะคล้ายกับภาวะกระเพาะปัสสาวะเต็ม ภาวะBandl's ring และการเกยของศีรษะที่ขอบกระดูกหัวเหน่า
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้มดลูกหดรัดตัวดี เพื่อช่วยให้เกิดการหมุน การก้มและการเคลื่อนต่ำของศีรษะทารกได้ดี โดยการกระตุ้นให้ปัสสาวะทุก 2-4 ชั่วโมง หากแพทย์พพิจารณาให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลุกต้องดูแลให้ได้รับยาอย่างถูกต้อง เฝ้าระวังภาวะมดลูกแตก
จัดท่าผู้คลอดเพื่อช่วยการหมุนของทารกดีขึ้น การช่วยให้มดลูกหดรัดตัวดี และบรรเทาปวดจากการกดทับ sacral nerve เมื่อท้ายทอยอยู่ด้านหลัง โดยการจัดท่า
ท่าคุกเข่าฟุบหน้าบนหมอน (modified knee-chest position) ท่านี้ได้ผลดีกว่าท่านอนตะแคง
ท่าคลาน (four-leg position) ท่านี้ได้ผลดีกว่าท่าอื่นๆ แต่อาจเมื่อยมือ และแขน จึงควรพักในท่านอนตะแคงหรือคุกเข่าฟุบหน้าบนหมอนเป็นระยะ
ท่าศีรษะและลำตัวสูง (upright position) เป็นท่าที่ทำให้เกิดการหมุน การก้มและการเคลื่อนต่ำของศีรษะทารกได้ดี
นอนตะแคง (lateral posterior or sim s position)
ประเมินการหดรัดตัวของมูกอย่างใกล้ชิด หากหดรัดตัวแต่ละครั้งน้อยกว่า 40 วินาที หดรัดตัวมากกว่า 3 นาที หดรัดตัวแรง หรือไม่ประสานกัน ให้รายงานแพทย์
ให้ผู้คลอดงดน้ำและอาหารทางปากทุกชนิด เนื่องจากอาจต้องช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ และดูให้สาร้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันภาะเหนื่อย อ่อนเพลีย ขาดน้ำ และแรงเบ่งน้อย
บรรเทาความกลัว หรือวิตกกังวล เกี่ยวกับการคลอดสุขภาพตนเอง และทรกผู้คลอด ด้วยการเป็นผู้ฟังที่ดี ตอบข้อสักถาม อยู่เป็นเพื่อน ยอมรับพฤติกรรม และให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการคลอด สาเหตุการคลอดยาก แผนการรักษา และพูดคุยให้กำลังใจ
ประเมินสภาพทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด โดยฟังเสียงหัวใจทารกทุก 30 นาที ในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว ระยะที่ 2 ของการคลอด ฟังทุกครั้งที่มดลูกคลายตัว พร้อมทั้งสังเกตการมีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ และเตรียมอุปกรณ์การช่วยฟื้นคืนชีพให้พร้อมใช้
สอนแนะกระตุ้นให้ผูู้คลอดใช้เทคนิคการบรรเทาปวดด้วยวิธีต่างๆ เช่น เทคนิคการหายใจ การเพ่งสนใจ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การลูบหน้าท้อง การนวดการประคบหรือการกดจุด เป็นต้น ช่วยนวดหลังและก้นกบ และดูแลความสุขสบายทั่วไป เพื่อให้ผู้คลอดสามารถเผชิญความเจ็บปวดได้เหมาะสม ถ้าเจ็บปวดมากควรรายงานแพทย์
กระตุ้นให้เบ่งอย่างถูกต้องเมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอด หากเบ่งคลอดนาน 30 นาที ไม่คลอดควรรายงานแพทย์
เตรยีมอุปกรณ์การช่วบคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการไว้ให้พร้อม เพื่อเตรียมการ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง เพราะอาจคลอดทางช่องคลอดไม่ได้
ช่วยคลอดท่าท้ายทอยอยู่ด้านหลังทางช่องคลอด โดยการตัดฝีเย็บแบบเฉียงให้ยาวกว่าปกติเล็กน้อย ไม่ควรตัดแบบตรง เพราะจะฉีกขาดไปถึงทวารหนักได้มาก
เมื่อศีรษะทารกโผล่ออกมาแล้วมือขวายังคงรวบฝีเย็บไว้ มือซ้ายกดศีรษะลงเพื่อให้ศีรษะเงยจนหน้าผากผ่านใต้รอยต่อกระดูกหัวเหน่าออกมา
หลังจากหน้าากทารกคลอด ใช้มือขวาเปลี่ยนมาจับศีรษะบริเวณขมับทั้งสองข้างไว้และพลักลง เพื่อให้ใบหน้าคลอดออกมา
ก่อนที่ศีรษะจะโผล่ คือ เห็นศีรษะทางช่องคลอดประมาณ 4-5 เซนติเมตร ขม่อมหน้ามายันใต้รอยต่อกระดูกหัวเหน่า ใช้มือรวบฝีเย็บและผลักขึ้นเพื่อให้ศีรษะก้มศีรษะจะเคลื่อนออกมาจนท้ายทอยวางบนฝีเย็บ ใช้ SOB ผ่านปากช่องคลอดออกมา
ประเมินทารกด้วย APGAR score แล้วให้การช่วยเหลือตามสภาพ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยเฉพาะบริเวรศีรษะอาจพบก้อนโนที่ศีรษะ
ประเมินเลือดที่ออกทางช่องคลอด เฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมักมีการฉีกขาดของช่องทางคลอดมาก
ท่าผสม
Compound presentation
ท่าที่มีส่วนนำหลางอย่าง พบบ่อยคือ ศีรษะกับมือ มักต้องทำผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ความผิดปกติของขนาดและรูปร่างของทารก
ทารกหัวบาตร
Hydrocephalus
มีการอุดตันของการไหลเวียนและการดูดซึมของน้ำไขสันหลัง ส่งผลให้เกิดการคั่งในสมองมากเกินไป ศีรษะจึงมีขนาดใหญ่มากกว่าปกติ ทำให้มีการผิดสัดส่วนกับช่องเชิงกราน การเคลื่อนออกไม่สะดวก และอาจเกิดมดลูกแตกได้
ทารกแฝดติดกัน
Conjoined twins
มักทำให้ทารกมีขนาดใหญ่มากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการคลอดยาก
ทารกตัวโต
Macrosomia
ทารกที่น้ำหนักตั้งแต่ 4,000 กรัมขึ้นไป ทำให้คลอดยากเพราะศีรษะโต บางรายแม้จะคลอดศีรษะได้แต่อาจติดไหล่
ทารกท้องโตผิดปกติอาจพบในทารกท้องมารน้ำ ตับและไตโต ทารกบวมน้ำส่งผลให้เกิดการคลอดยาก
การคลอดไหล่ยาก
ผลกระทบ
ทารกขาดออกซิเจนขณะคลอด จากการคลอดไหล่ยาก
ทารกเสียชีวิต จากภาวะ chromic brain injury
ทารกบาดเจ็บจากการช่วยคลอด เช่น เส้นประสาทไขสันหลังระดับคอบาดเจ็บ กระดูกต้นแขน กระดูกไหปลาร้า หรือกระดูกต้นคอหักหรือเคลื่อน กล้ามเนื้อคอฉีดขาด เป็นต้น
ผู้คลอดช่องทางคลอดฉีกขาดหรือชอกช้ำ ได้แก่ บริเวณปากช่องคลอด ฝีเย็บ ผนังช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก
ผู้คลอดตกเลือดหลังคลอด จากช่องทางคลอดฉีกขาดหรือมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
สายสะดือถูกกดทับ ตรงตำแหน่งระหว่างลำตัวทารกกับกระดูกช่องเชิงกรานส่งผลให้ทารกขาดออกซิเจนหรือเสียชีวิตหากช่วยเหลือช้า
ผู้คลอดได้รับอันตราย ได้แก่ มดลูกแตก การติดเชื้อหลังคลอด กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงานจากระยะการคลอดยาวนาน หรือช่วยคลอดด้วยวิธีต่างๆ
การพยาบาล
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ มักพบว่า ผู้คลอดเป็นโรคเบาหวาน เคยคลอดบุตรตัวโตก่อน หรือระยะที่สองของการคลอดยาวนาน
การตรวจร่างกาย มักพบว่า ผู้คลอดอ้วน น้ำหนักเพิ่มมากกว่า 15 กิโลกรัม ตลอดการตั้งครรภ์
การตรวจครรภ์ มักพบว่า ขนาดหน้าท้องใหญ่กว่าปกติ คาดคะเนน้ำหนักทารกมากกว่า 4,00 กรัม
การประเมินภายหลังศีรษะทารกคลอดแล้ว มักพบว่า ศีรษะมีขนาดใหญ่ คางแนบสนิทอยู่กับปากช่องคลอด เมื่อดึงศีรษะทารกลงด้านล่างเพื่อทำคลอดไหล่หน้า มักพบว่าไม่มีการเคลื่อนลง และไม่มีการหมุนภายในของไหล่
กิจกรรมการพยาบาล
กรณีที่ประเมินสภาพแล้วพบว่ามีความเสี่ยง ให้รายงานแพทย์ทราบ เพื่อพิจารณาช่วยคลอดด้วยวิธีการที่เหมาะสม
กรณีที่มีการคลอดไหล่ยากภายหลังจากศีรษะคลอดออกมาแล้ว ให้รีบรายงานแพทย์ กุมารแพทย์ เตรียมทีมบุคลากรการพยาบาล และอุปกรณ์การฟื้นคืนชีพทารกให้พร้อม
กรณีที่ทำคลอดไหล่หน้าตามวิธีปกติไม่สำเร็จ ให้เปลี่ยนมาทำคลอดไหล่หลังก่อน
รีบขอความช่วยเหลือจากทีมบุคลากรการพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด
รายที่ทารกมีสายสะดือพันคอ ห้ามตัดสายสะดือ เนื่องจากทารกอาจขาดออกซิเจนหากการช่วยคลอดล่าช้า
รายที่ต้องรอแพทย์ ให้สวนปัสสาวะที่ค้างทิ้ง ช่วยเหลือเบื้อต้นก่อนด้วยวิธีของ McRoberts วิธีนี้ช่วยทำให้กระดูกสันหลังและกระเบนเหน็บเหยียดตรงขึ้น
รายที่ใช้วิ๊ของ McRoberts ไม่ได้ผล ให้ใช้วิธีการกดเหนือหัวเหน่า ร่วมด้วย วิธีนี้ช่วยทำให้ไหล่หน้าลอดผ่านใต้กระดูกหัวเหน่าออกมา
รายที่ช่วยเหลือด้วยวิธีข้างตนแล้วไม่สำเร็จ ให้ช่วยด้วยวิธ๊การหมุนไหล่ทารกแบบหมุนไขควง แพทย์มักเป็นผู้ลงมือทำเนื่องจากเป็นวิธีที่าก ต้องปฏิบัติดังนี้ ให้ยาสลบเพื่อให้กล้ามเนื้อมดลูก ช่องคลอด และฝีเย็บคลายตัว ตัดฝีเยบให้กว้างมากขึ้น ให้ออกซิเจนแก่ผู้คลอด สวยปัสสาวะทิ้ง ดูดสารคัดหลั่งในปากและจมูก หลีกเลี่ยงการกระตุ้นการหายใจ เพื่อป้องกันการสำลักน้ำคร่ำ ลงมือทำ โโยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางเข้าไปในช่องคลอดทางด้านไหล่หลังจนถึงรักแร้ทารก แล้วออกแรงดัน
ใช้วิธีการช่วยคลอดไหล่หลัง (delivery of posterior arm) หากใช้วิธีการข้างต้นไม่สำเร็จ โดยสอดมือเข้าไปล้วงปลายแขนหลัง ดันที่ข้อพับของข้อศอก ให้แขนงอแล้วจึงจับมือ ทารกดึงให้ผ่านหน้าอกออกมา พร้อมหมุนไหล่หน้าไปในแนวเฉียง จะทำให้คลอดไหล่หน้าออกมาได้ มักพบกระดูกต้นแขนหักได้มาก
ใช้วิธี Zavanelli maneuver หากใช้วิธีการทั้งหมดไม่ได้ผล คือ หมุนและดันศีรษะทารกย้อนกลับเข้าไปในอุ้งเชิงกรานให้อยู่ในท่าเดิมก่อนคลอด แล้วน้ำไปผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง อาจพิจารณาให้ยาคลายการหดรัดตัวของมดลูก มีภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง เช่น การบาดเจ็บของเส้นประสาทหรือสมองของทารก ผู้คลอดมีการติดเชื้ออย่างรุนแรง ช่องทางคลอดฉีกขาด หรือมดลูกแตก
การดูแลทารกแรกคลอดต้องประเมินอาการผิดปกติ โดยเฉพาะอาการอัมพาตของแขน กระดูกไหปลาร้าหัก การฉีกขาดของกล้ามเนื้อคอ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด ให้ช่วยชีวิตตามสภาพอาการของทารก
ตรวจสอบการฉีกขาดของช่องทางคลอดอ่อน เย็บซ่อมแซมแผลฝีเย็บอย่างถูกวิธี หากฉีกขาดมากใหรายงานแพทย์
ประเมินปริมาณเลือดที่ออกมาทางช่องคลอด และอาการแสดงของการตกเลือด
ให้การดูแลด้านจิตใจของผู้คลอด โดยการอธิบายแผนการรักษา การพยาบาลที่ได้รับ รายที่ทารกมีอาการดีแล้ว นำทารกมาให้โอบกอด สัมผัส และดูดนม เพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพ
สาเหตุ
ทารกตัวโตมาก
ผู้คลอดเป็นเบาหวาน หรือมีประวัติเป็นโรคเบาหวานในการตั้งครรภ์ก่อน
ผู้คลอดอ้วน โดยเฉพาะรายที่น้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม หรือน้ำหนักเพิ่มมากกว่า 15 กิโลกรัมตลอดการตั้งครรภ์
คาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์มากกว่า 4,000 กรัม
การตั้งครรภ์เกินกำหนด
ทารกมีเนื้องอกหรือพิการบริเวณต้นคอ ไหล่ และทรวงอก
การตั้งครรภ์เกินกำหนด
การพยาบาล
การประเมินสภาพ
การตรวจครรภ์ มักพบว่า คลำพบศีรษะขนาดใหญ่ในรายที่ทารกหัวบาตรขนาดหน้าท้องใหญ่กว่าปกติ คาดคะเนน้ำหนักทารกมากกว่า 4,000 กรัม และมักพบทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
การตรวจร่างกาย มักพบว่าผู้คลอดอ้วน หรือน้ำหนักเพิ่มมากกว่า 15 กิโลกรัม ตลอดการตั้งครรภ์ในรายทารกตัวใหญ่
การตรวจภายใน มักคลำส่วไม่ได้ หรืออยู่สูงมากหรือส่วนนำผิดปกติ
การซักประวัติ มักพบว่า ผู้คลอดเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งส่งผลกระทบให้ทารกตัวโตกว่าปกติ ตั้งครรภ์เกินกว่ากำหนด เนื่องจากทารกมักอยู่ในท่าผิดปกติ
การตรวจ ultrasound หรือ X-ray มักพบความผิดปกติได้อย่างชัดเจน
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินและการหดรัดตัวของมดลูก ทุก 30 นาที -1 ชั่วโมง เนื่องจากมดลูกมักหดรัดตัวไม่ดี โดยกระตุ้นให้ปัสสาวะทุก 2-4 ชั้วโมง จัดให้นอนตะแคง 8
ติดตามความก้าวหน้าของการคอดด้วย WHO partograph โดยบันทึกข้อมูลอย่างถูกต้อง จะช่วยให้ทราบแนวโน้มความก้าวหน้าของการคลอดหรือความผิดปกติของความก้าวหน้าการคลอด
ตรวจภายในเป็นระยะๆ ถ้าถุงน้ำทูนหัวยังไม่แตกควรตรวจด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้ถุงน้ำทูนหัวแตก
รายที่ถุงน้ำคร่ำแตกให้รีบฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์และตรวจภายในทันที เพื่อประเมินสายสะดือพลัดต่ำการเปิดขยายของปากมดลูก ระดับส่วนนำ ชนิดของส่วนนำ และลักษณะของน้ำคร่ำ การมีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ
ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจความเข้มข้นของเลือดและหมู่เลือดตามแผนการรักษา และเตรียมความพร้อมเพื่อการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องฉุกเฉิน ในกรณีที่ถุงน้ำแตกแล้ว หรือมีสายสะดือพลัดต่ำ
ประเมินและบันทึกเสียงหัวใจทารกในครรภ์เป็นระยะๆ ระยะปากมดลูกเปิดเร็วฟังทุก 30 นาที -1 ชั่วโมง ระยะที่ 2 ของการคลอด ฟังทุกครั้งที่มดลูกคลายตัว
จัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อการใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด และอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพทารกไว้ให้พร้อม
ดูแลให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียง ลดการกระตุ้นต่างๆ ที่จะส่งเสริมให้ถุงน้ำแตกส่วนรายที่ถุงน้ำแตกแล้ว ให้นอนพักบนเตียงในท่านอนตะแคง เพื่อป้องกันภาวะสายสะดือพลัดต่ำ
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการคลอด แผนการดูแลรักษา เพื่อให้ผู้คลอดเข้าใจคลายความวิตกกังวล รู้สึกปลอดภัย
ให้ผู้คลอดงดน้ำและอาหารทางปากทุกชนิด และดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
การดูแลรักษาความผิดปกติของขนาดและรูปร่างของทารก
ใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอดในรายที่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้
รายที่ประเมินได้ล่วงหน้าหรือรายที่ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้มักพิจารณาผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ผลกระทบ
ช่องทางคลอดอ่อนฉีกขาด
มักเกิดการคลอดยาก คลอดยาวนาน หรือคลอดติดขัด