Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การเตรียมและช่วยเหลือมารดาทารกที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ …
บทที่ 3 การเตรียมและช่วยเหลือมารดาทารกที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ
Biochemical Assessment
Amniocentesis
การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดโดยเจาะน้ำคร่ำ เพื่อตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ที่ผิดปกติ เช่น ตั้งครรภ์อายุตั้งแต่ 35 ปี โรคโลหิตจาง ธาลัสซีเมีย
วิธีการเจาะ
ทำโดยวิธีการปราศจากเชื้อ เจาะโดยใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านหน้าท้อง และผนังมดลูกเข้าสู่ถุงน้ำคร่ำ มาส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ทำเมื่ออายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อน
ปวดเกร็งเล็กน้อยบริเวณท้องน้อย มีเลือดหรือน้ำคร่ำออกทางช่องคลอด โอกาสแท้ง ทารกตาย หรือเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดพบประมาณ 0.5%
การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ การติดเชื้อในกระแสเลือดขั้นรุนแรงเกิดขึ้นน้อยกว่า 1 รายจากการเจาะ1,000 ราย
กลุ่มเลือด Rh negative มารดาสร้างภูมิต้านทานต่อเม็ดเลือดแดงของทารกในครรภ์ ทำได้โดยการฉีด Anti-D immunoglobulin หลังการตรวจ
คำแนะนำหลังการเจาะ
ควรสังเกต และมาพบแพทย์หากมีอาการเหล่านี้
ปวดเกร็งหน้าท้องมาก
ไข้ภายใน 2 สัปดาห์
มีน้ำหรือเลือดออกทางช่องคลอด
พักหลังจากการเจาะ1 วัน ควรงดการออกแรงมาก เช่น ยกของหนัก ออกกำลังกาย และงดการร่วมเพศ อีก 4-5 วัน ไม่ควรเดินทางไกลภายใน 7 วันหลังการเจาะน้ำคร่ำ
บทบาทของพยาบาล
• ดูแลให้ปัสสาวะเพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
• ดูแลจัดท่า วัดความดันโลหิต และฟังเสียงหัวใจของทารก
• จัดเตรียมอุปกรณ์ให้สะอาดปราศจากเชื้อ
• ภายหลังเจาะให้นอนหงาย กดแผลหลังจากเอาเข็มออก ประมาณ 1 นาที และปิดแผลด้วยพลาสเตอร์
• ฟังเสียงหัวใจทารกทุก 15 นาที จนครบ 1 ชั่วโมง
• วัด Vital signs 2 ครั้ง ห่างกัน 15 นาที
Amniotic fluid analysis ดูความสมบูรณ์ของปอด
วิธีที่นิยมทำ 3 วิธี
จากการดูสีของน้ำคร่ำ มีเลือดปน ใสหรือขุ่น มีสีของขี้เทาปนหรือไม่ (Amniotic fluid clear, Thin meconium, Thik Meconium)
การตรวจหาค่า L/S ratio (Lecithin Sphingomyelin Ratio)
Shake Test
Lecithin Sphingomyelin Ratio
การตรวจหาค่า L/S ratio เพื่อดู lung maturity
ค่าปกติของ L/S rotio
➢ อายุครรภ์ 26-34 สัปดาห์ ค่า L / S ratio = 1:1
➢ อายุครรภ์ 34-36 สัปดาห์ ค่า L จะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ S จะมีปริมาณลดลงเล็กน้อย ทำให้ ratio สูงขึ้น เปลี่ยนเป็น 2:1
➢ L / S ratio > 2 แสดงว่าปอดทารกสมบูรณ์เต็มที่ โอกาสเกิด RDS ต่ำ
➢ 26 สัปดาห์ แรกของการตั้งครรภ์ ค่า S > L
Shake Test
เป็นการทดสอบความสมบูรณ์ของปอดทารกในครรภ์ โดยใช้หลักการของความสามารถในการคงสภาพของฟองอากาศของสารลดแรงตึงผิวของปอด (Surfactant)
วิธีการทำ
ใช้หลอด 5 หลอด ใส่น้ำคร่ำจำนวน 1 cc , 0.75 cc , 0.5 cc , 0.25 cc และ 0.2 cc ตามลำดับแล้วเติม normal saline Solution ในหลอดที่ 2 , 3 , 4 และ 5 ทำให้ส่วนผสมเป็น 1 cc ทุกหลอดแล้วเติม Ethanol 95 % ทุกหลอดเขย่านาน 15 วินาที ทิ้งไว้นาน 15 นาที
การแปลผล
• ถ้าพบว่ามีฟองอากาศเกิดขึ้น 3 หลอดแรกแสดงว่าได้ผลบวก ปอดของทารกเจริญเต็มที่
• ถ้าพบฟองอากาศ 2 หลอด แรก ได้ผล intermediate ปอดทารกยังไม่เจริญเต็มที่
• ถ้าพบฟองอากาศเพียงหลอดเดียวหรือไม่พบเลย แสดงว่า ได้ผลลบ แสดงว่าการทดสอบปอดทารกยังเจริญไม่เต็มที่
*ถ้าได้ลบ ควรตรวจหาค่า L/S ratio ต่อไป เพราะอาจเป็นผลลบลวง false negative แต่ผลบวกลวงพบได้น้อย
Alpha fetoprotein (AFP)
เป็นการตรวจเลือดมารดา ดูค่าโปรตีนที่สร้างมาจากรก ใช้ค่านี้ในการตรวจสอบความผิดปกติของรก และเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับรก (ระยะเวลาในการตรวจ 16-18 wks.)
ค่า AFP สูงขึ้นหลังจากสัปดาห์ที่ 15 ของการตั้งครรภ์ แสดงว่าทารกมีความผิดปกติของ open neural tube
ค่าปกติ AFP 2.0 – 2.5 MOM (Multiple of median)
ค่า AFP ต่ำ สัมพันธ์กับ Down’ syndrome
Turner Syndrome
เป็นภาวะผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบในเพศหญิง เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม X โดยผู้ป่วยภาวะนี้จะมีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว ทำให้ผู้ป่วยมีลักษณะเฉพาะ คือ มีรูปร่างเตี้ย คอมีพังผืด และปลายแขนกางออก ทั้งยังส่งผลให้ผู้ป่วยมีรังไข่ที่ไม่เจริญ ไม่มีประจำเดือน และอาจเกิดภาวะมีบุตรยาก
anencephaly
(ภาวะกะโหลกศีรษะไม่ปิด)
Spinabifida
ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (spina bifida) ซึ่งมีถุงยื่นผ่านจากกระดูกไขสันหลังออกมาตามตำแหน่งที่บกพร่องนั้น
โรคมัยอีโลเมนิ่งโกซีล (Myelomeningocele)
• ความผิดปกติใน 2 - 3 สัปดาห์ ของการตั้งครรภ์ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนทำให้ไม่สามารถเชื่อมตัวที่บริเวณหลังส่วนเอว ฉะนั้นไขสันหลังจึงเกิดได้ไม่สมบูรณ์และเป็นแผ่นแบนอยู่ที่ผิวของร่างกายล้อมรอบด้วยผิวหนัง เนื่องจากไขสันหลังเกิดขึ้นไม่สมบูรณ์ ฉะนั้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อขาก็ไม่สมบูรณ์ด้วย ทำให้เกิดอัมพาตของขาแต่กำเนิด
Fetoscopy
ขั้นตอนการทำ
• งดน้ำงดอาหารก่อนทำ 6-8 ชั่วโมง
• ตรวจสอบ FHS ก่อนและหลังทำ
• ใช้ ultrasound เป็นตัวช่วยในการทำ
• ต้องตรวจสอบปริมาณน้ำคร่ำหลังทำ
• หลังทำงดการทำงานหนัก 1 – 2 สัปดาห์ เนื่องจากอาจมีอาการปวดท้อง
• ภาวะแทรกซ้อน แท้งบุตร 12 % เลือดออกทางช่องคลอด ติดเชื้อน้ำคร่ำรั่วอย่างรุนแรงเลือดแม่กับเลือดลูกปนกัน
การส่องกล้องดูทารกในครรภ์ หรือเรียกว่า laparo amnioscope สอดเข้าไปในถุงน้ำคร่ำโดยผ่านผนังหน้าท้องของหญิงตั้งครรภ์เพื่อดูความผิดปกติของทารก
Chorionic villous sampling
• ไม่สามารถตรวจพบภาวะเยื่อหุ้มไขสันหลังปิดไม่สนิทที่เรียกว่า Spina Bifida ได้
• ทำช่วง 10-13 wks. ไม่ควรทำ ก่อนอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ เพราะเพิ่มอัตราการเกิดทารกพิการแบบ limb reduction defect โดยทั่วไปเกิดเมื่อทำ ขณะอายุครรภ์ 7 สัปดาห์
• การดูดเอาตัวอย่างของรกเด็กมาตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม Chromosome เช่นเดียวกันกับการตรวจน้ำคร่ำ สามารถบอกความผิดปกติของโครโมโซม
Cordocentesis
การเจาะดูดเลือดจากหลอดเลือดสายสะดือ โดยทั่วไปเจาะจากหลอดเลือดดำ เนื่องจากการเจาะหลอดเลือดแดงจะกระตุ้นให้เกิดหลอดเลือดหดรัดตัว หัวใจทารกเต้นช้าลง
• ทำ ช่วงขณะอายุครรภ์ 18 สัปดาห์