Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษา1และ2 เรื่อง การพยาบาลมารดาที่มีเลือดออกในระยะตั้งครรภ์,…
กรณีศึกษา1และ2
เรื่อง การพยาบาลมารดาที่มีเลือดออกในระยะตั้งครรภ์
กรณีศึกษาที่1
1.หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดภาวะใดพร้อมอธิบายเหตุผล
หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดภาวะแท้งคุกคาม(Threatened abortion)
เพราะ หญิงตั้งครรภ์รายนี้มีเลือดออกทางช่องคลอด โดยที่ปากมดลูกยังไม่มีการเปิด ก่อนอายุครรภ์ 20สัปดาห์ มีอาการปวดหน่วงท้องน้อย อีกทั้งมีการตรวจพิเศษโดยการ U/S พบ gestational sac และพบ FHS
3.ภายหลังได้รับการรักษาและอาการดีขึ้น พยาบาลควรให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านแก่หญิงตั้งครรภ์รายนี้อย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุด
Reassurance ผู้ป่วยว่าตัวอ่อนในครรภ์ยังมีการเต้นของหัวใจอยู่ปกติ
แนะนำให้นอนพักผ่อน
จัดให้ผู้ป่วยฝากครรภ์ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง High risk
แนะนำผู้ป่วย ถ้ามีอาการปวดท้องมากขึ้นหรือเลือดออกมากขึ้น ก็อาจเกิดการแท้งขึ้นได้ ให้รีบกลับมาตรวจที่โรงพยาบาลและเก็บเนื้อเยื่อหรือก้อนเลือดที่ออก ทางช่องคลอดมาให้แพทย์ดูด้วย
ให้คําแนะนาเกี่ยวกับการทำกิจวัตรประจำวันทเหมาะสม เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การยืนนาน ๆ เพื่อลดการหดรัดตัวของมดลูก งดเว้นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกาะของทารก เช่น งดการมีเพศสัมพันธ์ การยกของหนัก หรือกิจกรรมใด ๆก็
2.จงระบุข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่สำคัญที่สุดสำหรับหญิงตั้งครรภ์และวางแผนการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
กลัวตนเองและทารกในครรภ์เสียชีวิต เนื่องจากอาการและอาการแสดงของการตกเลือดก่อนคลอด
ข้อมูลสนับสนุน
:
มีเลือดสีแดงสดออกประมาณ 50cc.
ตรวจภายในไม่ปิดปากมดลูกเปิด
U/S พบ gastational sac และพบ FHS Positive
วัตถุประสงค์
: หญิงตั้งครรภ์สามารถปรับตัวเผชิญกับสถานการณ์ของความเจ็บป่ยได้
เกณฑ์การประเมิน
หญิงตั้งครรภ์มีความกลัวเกี่ยวกับการเสียชีวิตของตนเองและทารกในครรภ์ลดลง และสามารถเผชิญกับสถานการณ์ความเจ็บป่วยได้
การพยาบาล
:
ดูแลให้พักบนตียง (bed rest) ให้ยานอนหลับหรือยาระงับปวดตามแผนการรักษา เพื่อให้ร่างกายได้พักเต็มที่
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบ และเข้าใจถึงภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้น แนวทางการรักษาพยาบาลที่จะได้รับ
ให้งดการตรวจทางช่องคลอดและงดสวนอุจจาระ เพื่อลดการกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก และเลือดที่ออกทางช่องคลอดเป็นระยะๆ หากพบมดลูกหดรัดตัวเพิ่มขึ้นหรือมีเลือดออกมากขึ้นให้รายงานแพทย์
ดูแลให้ได้รับการตรวจความก้าวหน้าของการตั้งครรภ์ ได้แก่ การทดสอบการตั้งครรภ์ หรือการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงตามแผนการรักษา
ติดตามตรวจอัลตราซาวน์ เพื่อประเมินการเพิ่มขนาดของ gestational sac และตรวจ FHS
รับฟังสิ่งที่สตรีตั้งครรภ์พูดคุยด้วยท่าทีที่สนใจ เป็นกันเอง ปลอบโยน ให้เกิดกำลังใจ และความมั่นใจ ตอบข้อซักถามด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อลดความวิตกกังวล และความกลัว
กรณีศึกษาที่2
1.ผู้คลอดมีโอกาสมีภาวะใดพร้อมอธิบาย
ผู้คลอดรายนี้มีภาวะรกเกาะต่ำ(Placenta previa)
เพราะจากการให้ประวัติว่า มีเลือดออกจากทางช่องคลอด โดยไม่มีอาการเจ็บครรภ์ร่วม สามารถคลำส่วนของทารกได้ชัดเจน ในท่าROA ฟัง FHS ได้ และได้รับการตรวจพิเศษด้วยการ U/S พบ Placenta grade2 at lower uterine segment คือ รกที่เกาะต่ำที่บริเวณขอบของ internal os พอดี
2.จงระบุข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้คลอดและวางแผนการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
:
เสี่ยงต่อการกำซาบเลือดไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีภาวะรกเกาะต่ำ
ข้อมูลสนับสนุน
:
มีเลือดออกจากช่องคลอด 50cc.
U/S พบ Placenta grade2 at lower uterine segment
วัตถุประสงค์
:
ประสิทธิภาพการกำซาบเลือดเพิ่มขึ้น
การพยาบาล
:
ดังต่อไปนี้
-ประเมินภาวะที่มีเลือดออกจากช่องคลอดโโยให้ใส่ผ้าอนามัย (โดยการชั่งนน. 1กรัม=1มล.)
-ประเมินดูเยื่อบุตา ริมฝีปาก เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของภาวะซีด
-ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนบนเตียง
-ดูแลให้นอนในท่าศีรษะสูง 20-30องศา เพื่อให้ส่วนนำทารกกดรถไว้ ช่วยให้เลือดออกน้อยลง
-ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ทุก 30นาที และวัดสัญญาณชีพทุก 1 ชม.
-งดการตรวจภายในและทางทวารหนัก
-งดสวนอุจจาระ
เกณฑ์การประเมิน
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยความดันโลหิตไม่เกิน 140/90 อัตราการเต้นของหัวใจไม่เกิน 120ครั้ง/นาที
อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ ปกติ 110-160 ครั้ง/นาที และสม่ำเสมอ
3.ภายหลังได้รับการรักษาและอาการดีขึ้น พยาบาลควรให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านแก่หญิงตั้งครรภ์รายนี้อย่างไรถึงจะเหมาะสม
งดร่วมเพศ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดชา กาแฟและสูบบุหรี่
นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอในท่านอนตะแคงซ้าย
จัดทำโดย
นางสาวชุติมา โชคดีทวีทรัพย์ รหัสนักศึกษา 602701022