Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเภทของการวิจัย, นางสาวสหทัย ชาวโพงพางเลขที่36ห้อง2, แหล่งอ้างอิง …
ประเภทของการวิจัย
พิจารณาจากประโยชน์ หรือความต้องการที่จะได้รับจากการวิจัยแบ่งเป็น 3 ประเภท
1 การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) หรือ การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) เป็นการวิจัยเพื่อหาทฤษฎี สูตร หรือสร้างกฎ เพื่อเป็นพื้นฐาน ในการศึกษา เรื่องอื่น ๆ ต่อไป
2 การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยเพื่อนำผลไปทดลอง ใช้แก้ไขปัญหาอื่น ๆ ต่อไป เช่น การวิจัยทางแพทย์
3 การวิจัยเชิงปฎิบัติ (Action Research) เป็นการวิจัยประยุกต์ในลักษณะ หนึ่งที่มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเรื่อง ๆ ไป ผลของการวิจัยนี้ใช้ได้ใน ขอบเขตของปัญหานั้น ๆ เท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ อื่น ๆ
พิจารณาจากลักษณะของข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
2 เชิงคุณภาพ (Wualitative Research) เป็นการใช้ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ และไม่ได้ใช้คณิตศาสตร์ หรือสถิติเข้ามาช่วย การเก็บทำได้โดย การใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ การบันทึก
1 เชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการใช้ข้อมูลทางคณิตศาสตร์ และสถิติ
พิจารณาจากระดับของการศึกษาตัวแปร
1 การวิจัยเพื่อการสำรวจ (Exploratory Study) เป็นการวิจัยเพื่อสำรวจตัวแปร และปรากฎการณ์ของตัวแปร เพื่อนำผลมาอธิบายการเกิดขึ้นของปรากฎการณ์นั้น ๆ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท
1) การวิจัยเพื่อตรวจสอบตัวแปร (Identified Variable)
2) การวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปร (Discovery of Reiationship Between Variables)
2 การวิจัยเพื่อตรวจสอบสมมุติฐาน (Hypothesis Testing Study) เป็นการศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎี เพื่อที่จะนำไปใช้ในการทำนาย การวิจัยชนิดนี้มีทางตั้งสมมุติฐาน และตรวจสอบดูว่าสมมุติฐานที่ตั้งขึ้นว่าถูกต้องหรือไม่
พิจารณาจากชนิดของข้อมูล แบ่งออกเป็น 2
1 เชิงประจักษ์ (Empirical Research) เป็นการวิจัยที่หาความจริงจากข้อมูลปฐมภูมิ โดยมีการเก็บข้อมูล และใช้สถิติในการวิเคราะห์
2 เชิงไม่ประจักษ์ (Nonempirical Research) เป็นการวิจัยที่หาความรู้ความจริงจากข้อมูลเอกสาร และวรรณกรรม ไม่การใช้สถิติมาวิเคราะห์
พิจารณาจากลักษณะการศึกษาตัวแปร แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
1 เชิงสำรวจ (Survey Research) เช่น การสำรวจทัศนคติ เพื่อหาข้อเท็จจริง
2 การศึกษาย้อนหลังในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว (Expost Factor Research) เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของตัวแปร จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ก่อน ส่วนใหญ่ใช้ในการศึกษา เช่น การศึกษาว่าเด็กสอบตกเกิดจากเหตุใด หรือมีบุคลิกภาพต่างกันอย่างไร
3 เชิงทดลอง (Experimantal Research) เป็นการศึกษาตัวแปร โดยการควบคุม โดยมุ่งวิจัย และสังเกตผลที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์
ประเภทของการวิจัยแบ่งตามวัตถุประสงค์และวิธีการเสนอข้อมูล
1 การวิจัยขั้นสำรวจ (exploratory research) เป็นการหาคำตอบเกี่ยวกับตัวแปรที่ศึกษาว่าเป็นอย่างไร เช่น จำนวน ร้อยละ มาก-น้อย สูง-ต่ำ เป็นต้น
2 การวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) เป็นการวิจัยคล้ายกับแบบสำรวจตรงที่ไม่มีการทดลอง
3 การวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (explanatory research) ไม่มีการทดลอง แต่หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ หรือหาปัจจัยที่มีผลต่อตัวแปรได้
4 การวิจัยเชิงคาดคะเน (predictive research) เป็นการวิจัยที่ให้ผลการวิจัยที่บอกสิ่งที่ยังไม่เกิด แต่คาดไว้ว่าจะเกิดอย่างไร
5 การวิจัยเชิงวินิจฉัย (diagnostic research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาปัญหาหรือสาเหตุของปัญหา เมื่อวิจัยเสร็จจะได้ทราบคำตอบ
ประเภทของการวิจัยแบ่งตามระเบียบวิธีการวิจัย
1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (historical research) ศึกษาว่าในอดีตเกิดอะไรขึ้น เพื่อทำนายว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร หรือบุคคลสำคัญนั้นถูกเลี้ยงดูมาอย่างไรตั้งแต่วัยเด็ก
2 การวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) ไม่มีการทดลองใดๆในการวิจัย ศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน
3 การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) มีการทดลอง
4 การวิจัยเชิงย้อนรอย (expost facto research) เป็นการวิจัยที่ศึกษาจากผลไปหาเหตุ ผลในปัจจุบันเกิดจากเหตุในอดีต
5 การวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) หาคำตอบเกี่ยวกับตัวแปรว่ามีคุณลักษณะอย่างไร จำนวนเท่าไร เป็นต้น
6 การวิจัยเชิงประเมินผล (evaluative research) ประเมินผลอาจใช้ CIPP แบบที่นักวิจัยไทยนิยม ประเมินว่า context คือบริบทของงานที่ประเมินเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์กับปัญหาสอดคล้องกันไหม input คือปัจจัยนำเข้า
ประเภทของการวิจัยแบ่งตามลักษณะของข้อมูล
1 การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research)
2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research)
3 การวิจัยแบบผสม (mixed methods)
แบบคู่ขนาน
แบบตามลำดับก่อน-หลัง
แบ่งตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
1การวิจัยจากเอกสาร (Documentary research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงาน จดหมายเหตุ ศิลาจารึกแล้วเสนอผลในเชิงวิเคราะห์
2การวิจัยจากการสังเกต (Observation research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต การวิจัยประเภทนี้นิยมใช้มากทางมนุษยวิทยาซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลในสังคมในแง่ของสถานภาพ (Status) และบทบาท (Role)
3การวิจัยแบบสำมะโน (Census research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุก ๆ หน่วยของประชากร
4การวิจัยแบบสำรวจจากตัวอย่าง (Sample survey research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง
5การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study) การศึกษาเฉพาะกรณีเป็นการวิจัยที่นักสังคมสงเคราะห์นิยมใช้มาก ที่เรียกว่าการศึกษาเฉพาะกรณี
งานวิจัยอื่นๆที่ควรรู้จัก
R2R (routine to research) ทำงานประจำตามปกติ แล้วพบปัญหา/จุดอ่อนในการทำงาน อาจเป็นเรื่อง workload คุณภาพงาน เวลาที่ใช้ทำงาน เงินที่ต้องใช้ไปเพื่อการทำงาน ความพึงพอใจของผู้รับบริการ เป็นต้น แล้วหาวิธี (treatment) มาแก้ไขปัญหา แล้วจึงเปรียบเทียบผลก่อน-หลัง
PAR (participatory action research) มักเป็นวิจัยที่ทำเพื่อพัฒนาชุมชน ให้คนในชุมชนร่วมทำวิจัย เริ่มตั้งแต่กำหนดปัญหาไปจนจบ ทำให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน และเป็นการพัฒนาที่เกิดขึ้นจริง
R&D (research and development) ทำการวิจัยหลายขั้นตอน เริ่มจากทำ research ดูว่าสถานการณ์ที่เกี่ยวกับปัญหานั้นเป็นอย่างไรบ้าง และนำผลของขั้นแรกมาออกแบบโปรแกรม/โครงการ/หลักสูตร ฯลฯ ที่จะตอบสถานการณ์ปัญหานั้น หลังจากนั้นก็นำโปรแกรม/โครงการ/หลักสูตร ฯลฯ ที่ออกแบบไว้มาใช้
Systematic review, meta-analysis, research synthesis ทั้ง 3 แบบนี้ ไม่เก็บข้อมูลภาคสนาม แต่ใช้งานวิจัยที่มีอยู่แล้วเก็บข้อมูลจากงานวิจัยเหล่านั้น หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์ และสังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่
นางสาวสหทัย ชาวโพงพางเลขที่36ห้อง2
แหล่งอ้างอิง
จากสื่อการเรียนรู้ของอาจาย์ดร.เยาว์ลักษณ์ มีบุญมาก