Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Abnormality of passage - Coggle Diagram
Abnormality of passage
ความผิดปกติทางช่องคลอด
ความผิดปกติของช่องเชิงกรานแท้ (Abnormality of true pelvis)
1.ช่องเชิงกรานแคบ (Pelvic contraction)
1.2 เชิงกรานแคบที่ช่องภายใน (Midpelviccontraction) คือ ระยะระหว่างปุ่ม ischial spine ทั้งสองข้าง (Interspinoud diameter) แคบกว่า 9.5 ซม. พบได้มากกว่าช่องเชิงกรานแคบที่ช่องเข้า 3-4 เท่า
การดูแลรักษา
1.ส่งเสริมให้ผู้คลอดใช้แรงเบ่งจากการหดรัดตัวของมดลูกตามธรรมชาติ เพื่อผลักดันให้ Biparietal diameter ผ่านช่องภายในเชิงกรานออกมา
2.ในรายที่ส่วนนำผ่านลงมาแล้ว แพทย์ช่วยคลอดโดยใช้สูติศาสตร์หัตถการ มักใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วยดึงทารกออกมา
3.ในรายที่ส่วนนำไม่สามารถเคลื่อนผ่าน Ischial spine ลงมาได้ ควรผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
1.3 เชิงกรานแคบที่ช่องออก (Outlet contraction) คือ ระยะระหว่าง Ischial tuberosity < 8 ซม. และมุมใต้กระดูกหัวเหน่า (Subpubic arch/subpubicangle) แคบน้อยกว่า 85 องศา ภาวะนี้พบได้น้อย
การดูแลรักษา
ควรตัดฝีเย็บให้กว้างพอเพื่อป้องกันการฉีกขาด เพราะในรายที่ช่องออกแคบมักทำให้ฝีเย็บฮีกขาดได้มากขึ้น
1.1 เชิงกรานที่ช่องเข้า (Inlet contraction) คือ เส้นผ่านศูนย์กลางช่องเข้าตามแนวหน้า-หลัง (Obstetricconjugate) < 10 ซม. หรือเส้นผ่านศูนย์กลางช่องขวาง (Transvers diameter) < 12 ซม.
การดูแลรักษา
1.ทำผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
2.ผู้คลอดที่ส่วนนำกับช่องเชิงกรานผิดสัดส่วนไม่มาก อาจพิจารณาให้ทดลองคลอดทางหน้าท้องก่อน หากการคลอดไม่ก้าวหน้าควรผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
3.ผู้คลอดที่ผ่านการคลอดหลายครั้งแล้ว เฝ้าระวังอาการแและอาการแสดงของภาวะมดลูกใกล้จะแตกโดยเฉพาะ ถ้าพบ Bandl's ring ให้รีบรายงานแพทย์
4.งดให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
5.ผู้คลอดที่ทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ ควรเตรียมการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
1.4 เชิงกรานแคบทุกส่วน (Generally contracted pelvis) คือ ช่องเชิงกรานแคบทั้งช่องเข้า ช่องภายใน และช่องออก
การวินิจฉัย
1.ซักประวัติ เกี่ยวกับการคลอดในครรภ์ก่อน มักพบว่าเคยใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด การเจ็บครรภ์ยาวนาน หรือเคยเกิดอุบัติเหตุกระดูกเชิงกราน
2.การตรวจร่างกาย
2.2 ท่าทางการเดินมักพบลักษณะท่าทางที่ผิดปกติอาจแสดงถึงความผิดปกติของกระดูกเชิงกรานจากอุบัติเหตุ พิการแต่กำเนิด
2.1 วัดความสูง มักพบว่า ความสูง < 140 ซม.
2.3 ตรวจหน้าท้อง ประเมินความสูงยอดมดลูก เส้นรอบท้อง ส่วนนำ การเข้าสูู่ช่องเชิงกราน ท่าและทรงของทารก มักพบศีรษะไม่เข้าสู่ช่องเชิงกราน
3.การตรวจช่องเชิงกราน
3.1 ประเมินเส้นผ่านศูนย์กลางช่องเข้าตามแนวหน้า-หลัง ระยะจากส่วนนูนที่สุดของ Symphysis pubis ถึงส่วนที่นูนที่สุด Promontory of sacrum ต้องไม่ < 10 ซม.
3.2 ประเมินเส้นผ่านศูนย์กลางช่องขวาง (Transverse dimeter) ต้องไม่ < 10 ซม. ซึ่งแคบกว่า 10 ซม.
4.ตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยตรวจ Ultrasound วัดศีรษะทารกในครรภ์ พบ biparietal diameter 9.5-9.8 ซม. ในทารกครบกำหนด
เชิงกรานแตกหรือหัก (Pelvic fravture)
การมีกระดูกหักมีผลทำให้คลอดทางช่องคลอดไม่ได้ ต้องผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
3.เชิงกรานรูปร่างผิดปกติ ผิดสัดส่วน หรือพิการ (Pelvic abnormalities) มักเป็นแต่กำเนิด หรือพบภายหลังการขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น Kypholic pelvis, Scoliotic pelvis, Naegele's or Robert's pelvis เป็นต้น
สาเหตุ
3.ส่วนสูง < 140 ซม.
4.ขาดฮอร์โมนเพศหญิง
2.พิการตั้งแต่กำเนิดซึ่งมักเกิดร่วมกับความพิการของกระดูกสันหลังหรือขา
5.เชิงกรานยังไม่เจริญเต็มที่
1.การเจริญเติบโตผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด
6.เชิงกรานยืดขยายลำบาก
7.เป็นโรคกระดูก เนื้องอกหรือวัณโรคกระดูก
8.อุบัติเหตุที่ทำให้เชิงกรานหักแตก หรือเคลื่อน
ผลกระทบ
1.ผลกระทบของเชิงกรานแคบที่ช่องเข้า
ผลต่อการดำเนินการคลอด
2.ปากมดลูกเปิดขยายล่าช้า เพราะส่วนนำไม่กดกระชับปากมดลูกและมดลูกส่วนล่าง ส่งผลให้ปากมดลูกหดรัดตัวไม่มีประสิทธิภาพ จึงทำให้ปากมดลูกเปิดขยายล่าช้า
3.ทารกมักมีส่วนนำผิดปกติ เช่น ท่าหน้า ท่าก้น ท่าไหล่ พบได้มากเป็น 3 เท่า ของผู้คลอดเชิงกรานปกติ
1.ทารกผ่านช่องเชิงกรานได้ยากหรือไม่ได้เลย โดยเฉพาะในเชิงกรานชนิด Android หรือ Platypelloid
ผลต่อผู้คลอดและทารก
1.ส่วนนำที่กดช่องทางคลอดเป็นเวลานาน ส่งผลให้หลอดเลือดมาเลี้ยง เกิดเป็นเนื้อตาย ส่งผลให้เกิด Fistula ตามมา เช่น Vesico vaginalfistula, Rectovaginalfistula, Vesico cervicalfistula
2.ถุงน้ำแตกก่อนกำหนดหรือแตกในระยะต้นๆของการเจ็บครรภ์ เนื่องจากส่วนนำไม่ลงมากระชับกับช่องทางคลอด ส่งผลให้เพิ่มอัตราการติดเชื้อที่ถุงน้ำคร่ำและภาวะสายสะดือพลัดต่ำ
3.มดลูกแตก (Uterine rupture) ศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกราน ศีรษะจะไม่เข้าสู่อุ้งเชิงกรานและไม่เคลื่อนต่ำลงมา มดลูกส่วนบนจะหดรัดตัวและดึงรั้งมดลูกส่วนล่างให้บางลงเรื่อยๆ จึงพบ Bandl's ring อยู่สูงเกือบถึงระดับสะดือ ทำให้มดลูกแตกตามมาได้
4.ผู้คลอดเหนื่อย อ่อนเพลีย ขาดน้ำ เลือดเป็นกรด เกิดความกลัว วิตกกังวล หรือตึงเครียดด้านจิตใจ จากการเจ็บครรภ์คลอดยาวนาน
7.ทารกเกิด Caput succedaneum, Cephallhematooma ได้สูงเนื่องจากศีรษะถูกกดจากช่องทางคลอดเป็นเวลายาวนาน ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดี มีเลือดออกมาคั่งเกิดเป็นก้อนโนขึ้น
8.ทารกเกิดเนื้อตายของหนังศีรษะ Scalp necrosis เนื่องจากศีรษะถูกกดจากช่องทางคลอดเป็นเวลายาวนาน ทำให้ขาดเลือดมาเลี้ยง
6.ทารกมี Molding มากกว่าปกติ เนื่องจากช่องเข้าเชิงกรานแคบและมีแรงดันในโพรงมดลูกมาก อาจทำให้เกิดการฉีกขาด
5.ทารกในครรภ์เกิดภาวะ Fetal distress เนื่องจากการคลอดยาวนาน
2.ผลกระทบของเชิงกรานแคบที่ช่องภายใน
ผลต่อการดำเนินการคลอด
2.การหมุนภายในของศีรษะทารกถูกขัดขวาง ส่งผลให้ท้ายทอยทารกหยุดชะงักอยู่ที่ด้านข้างจึงเกิดภาวะ Transverse arrest of head
3.การหดรัดตัวของมดลูกไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากส่วนนำไม่สามารถเคลื่อนต่ำลงมากด กระชับกับปากมดลูกส่วนล่าง
1.ศีรษะทารกเคลื่อนต่ำช้า หรือเคลื่อนต่ำผ่านปุ่ม Ischial spine ไม่ได้เลย
ผลต่อผู้คลอดและทารก
ผลกระทบของเชิงกรานแคบที่ช่องภายในต่อผู้คลอดและทารกคล้ายกับผลกระทบของเชิงกรานแคบที่ช่องเข้า
3.ผลกระทบของเชิงกรานแคบที่ช่องออก (Outlet contraction)
3.1 การคลอดศีรษะยาก ภายหลังจากส่วนที่กว้างที่สุดของศีรษะทารกเคลื่อนผ่าน Ischail spine ลงมาได้แล้ว แต่ผู้คลอดที่มีเชิงกรานแคบที่ช่องออก จะทำให้ศีรษะทารกไม่สามารถเคลื่อนต่ำลงมายันใต้กระดูกหัวเหน่าได้ ถ้า Obstetric conjugate ยาวพอ ศีรษะทารกจะผ่านออกมาได้
3.2 การคลอดไหล่ยาก เมื่อศีรษะทารกคลอดออกมาได้มักมีการคลอดยากของไหล่ตามมา
3.3 ฝีเย็บขาดและยืดขยายมาก ซึ่งผู้ทำคลอดมักต้องตัดฝีเย็บให้ยาวมากขึ้น เพื่อให้ช่องทางคลอดกว้างพอที่จะช่วยให้ศีรษะและไหล่ของทารกคลอดออกมาได้
3.4ผู้คลอดอาจถูกทำสูติศาสตร์หัตถการ ในรายที่ศีรษะติดอยู่นาน ท่าก้น หรือทารกอยู่ในภาวะคับขัน
4.ผลกระทบของเชิงกรานแคบทุกส่วน มีผลกระทบต่อทุกระยะของการคลอดจะทำให้เกิดการคลอดติดขัดส่วนนำของทารกไม่สามารถเข้าสู่ช่องเชิงกรานได้
5.ผลกระทบของเชิงกรานแตกหรือหัก เมื่อกระดูกหักจะมีกระดูกใหม่งอกและหนาตัวขึ้น ทาจเชื่อมกันหรือไม่เข้ารูปตามเดิม จึงมีรูปร่างผิดปกติไป
6.ผลกระทบของเชิงกรานรูปร่างผิดปกติ ผิดสัดส่วน หรือพิการ ทำให้ผู้คลอดไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ จำเป็นต้องผ่าตัดทางหน้าท้อง
ภาวะศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกราน (Cephalopelvicdisproportion : CPD)
ชนิด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1.True disproportion คือ ศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนที่มีทารกมีศีรษะเป็นนำ มียอดศีรษะเป็นส่วนนำ มีท้ายทอยอยู่ด้านหน้า แต่ไม่สามารถคลอดออกมาได้
2.Relative disproportion คือ ศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกรานแบบสัมพันธ์ เป็นชนิดที่ทารกมีส่วนนำ ทรงและท่าผิดปกติ ตัวทารกอาจะไม่ใหญ่มาก แต่ส่วนที่ผ่านช่องเชิงกรานลงมามีขนาดใหญ่
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของช่องเชิงกรานทุกชนิด หรือความผิดปกติของช่องเชิงกรานทุกชนิด หรือความผิดปกติของทารก
ผลกระทบ
2.ผู้คลอดเหนื่อย อ่อนเพลีย ขาดน้ำ เนื่องจากการเจ็บครรภ์คลอดยาวนาน
3.มดลูกแตก เนื่องจากการคลอดติดขัด ซึ่งมีแรงดันในโพรงมดลูกที่เพิ่มขึ้นจากภาวะศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกราน
1.การคลอดยาก คลอดยาวนาน คลอดหยุดชะงักหรือคลอดติดขัด ส่งผลให้ต้องใช้สูติศาสตร์หัตถการในการช่วยคลอด
4.ภาวะสายสะดือพลัดต่ำ เนื่องจากส่วนนำของทารกไม่สามารถเคลื่อนต่ำลงมากระชับกับช่องทางคลอด หรือทารกท่าผิดปกติ
5.ช่องทางคลอดฉีกขาดมากเนื่องจากภาวะศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกราน
6.ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนเนื่องจากการคลอดติดขัด คลอดยากหรือคลอดยาวนาน
7.ทารกได้รับบาดเจ็บจากการคลอด เนื่องจากการคลอดติดขัด การคลอดยาก หรือการคลอดยาวนาน
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ เกี่ยวกับประวัติการคลอด ระยะเวลาเจ็บครรภ์คลอด มักพบว่า เคยใช้สูติศาสตร์หัตภการช่วยคลอดในครรภ์ก่อน ทารกตัวโตหรือเคยเกิดอุบัติเหตุกระดูกเชิงกรานหัก เป็นต้น
2.ตรวจร่างกาย
2.1 วัดความสูง มักพบ ความสูง < 140 ซม.
2.2 ท่าทางการเดิน มักพบลักษณะท่าทางการเดินที่ผดปกติอาจแสดงถึงความผิดปกติของกระดูกเชิงกรานจากอุบัติเหตุ
3.การตรวจหน้าท้อง ประเมินความสูงของยอดมดลูก เส้นรอบท้อง ส่วนนำ การเข้าสู่ช่องเชิงกราน ท่าและทรงของทารกในครรภ์ มักพบศีรษะไม่เข้าสู่ช่องเชิงกราน เมื่ออกแรงกดที่ยอดมดลูกพบว่า ศีรษะทารกจะเกยติดอยู่ที่รอยต่อกระดูกหัวเหน่า
4.การตรวจช่องเชิงกราน ประเมินลักษณะช่องเชิงกรานโดยการตรวจภายนอก และการตรวจภายใน
5.ตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการตรวจ Ultrasound วัดศีรษะทารกในครรภ์ พบ Biperietal diameter 9.5-9.8 ซม. ในทารกครบกำหนด
ความผิดปกติของช่องเชิงกรานส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อและเอ็น
1.ปากช่องคลอดและฝีเย็บผิดปกติ เช่น การตีบตัน แข็งไม่ยืดหยุ่น การมีเลือดคั่ง อาจเป็นตั้งแต่กำเนิดหรือภายหลังการผ่าตัด การติดเชื้อ อักเสบ บวม
2.ช่องคลอดผิดปกติ คือ การตีบแคบมาตั้งแต่กำเนิดหรือภายหลัง เช่น การมีพังผืดภายหลังการผ่าตัดช่องคลอด การติดเชื้อภายในช่องคลอดเรื้อรัง
3.ปากมดลูกผิดปกติ คือ การตีบแข็ง แคบมาตั้งแต่กำเนิดหรือภายหลัง เคยมีการฉีกขาด การผ่าตัดปากมดลูกมาก่อน ทำให้ปากมดลูกขยายตัวไม่ได้
4.ปากมดลูกบวม มักเกิดจากส่วนนำเคลื่อนต่ำลงมากดกับปากมดลูก หรือระยะเบ่งคลอด หรือรายที่ถุงน้ำแตกก่อนกำหนด จึงทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก ส่งผลให้ปากมดลูกบวม
5.มะเร็งปากมดลูก มักทำให้การเปิดขยายของปากมดลูกล่าช้ากว่าปกติ
6.มดลูกอยู่ผิดที่ (Uterine displacement)
6.1 มดลูกคว่ำหน้า (Anteflexion) มดลูกมักจะย้อยมาด้านหน้า ทำให้ Fetal axis pressure ไม่ดีอส่วนนำไม่เคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน แรงการหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี เมื่อมีการหดรัดตัวขณะคลอด
6.2 มดลูกคว่ำหลัง (Retroflexion) มักทำให้เกิดการแท้งในไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ อาจมีบางรายที่สามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อได้ แต่มักมีการเปิดขยายของปากมดลูกล่าช้า
7.เนื้องอก
7.1 Myoma uteri มักทำให้เกิดการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด ถ้าก้อนใหญ่ > 6 ซม. ส่งผลให้เกิดการคลอดติดขัด
7.2 Benign ovvarian tumor ทำให้ขัดขวางการเคลื่อนต่ำของทารก
การดูแลรักษา
1.รายที่มีความผิดปกติของปากช่องคลอด
1.2 ฝีเย็บแข็งตึงควรตัดฝีเย็บให้กว้างพอป้องกันการฉีกขาดเพิ่มเติม
1.3 ปากช่องคลอดบวมหรือมีเลือดคั่งควรผ่าตัดระบายเอาเลือดออกแล้วให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อ
1.1 ปากช่องคลอดตีบรายที่เกิดจากรอยแผลเป็นควรตัดฝีเย็บช่วยขณะคลอด แล้วเย็บให้ภายหลังคลอด ส่วนรายที่ตีบมากควรผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
2.รายที่มีความผิดปกติของช่องคลอด
2.1 ช่องคลอดตีบโดยกำเนิด ส่วนใหญ่เมื่อมีรงกดจากส่วนนำ จะสามารถคลอดทางช่องคลอด
2.2 การมีผนั้งกั้นช่องคลอดในรายที่มีผนั้งกั้นไม่มากนักจะฉีกขาดได้เอง ส่วนรายที่ผนังหนามากไม่สามารถขาดได้เองต้องทำการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
2.3 มีถุงน้ำหรือเนื้องอก ควรจะเอาถุงน้ำออกจะช่วยให้คลอดได้ง่ายขึ้น
3.รายที่มีความผิดปกติของปากมดลูก
3.1 ปากมดลุกตีบ ปกติในระยะคลอดปากมดลูกจะนุ่มลงเอง แต่ถ้ายังเหนียวมากอาจต้องทำผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
3.2 ปากมดลูกแข็ง ช่วยโดยใช้นิ้งมือใส่เข้าไปในรูปากมดลูกขยายโดยรอบ จะทำให้ปากมดลูกขยามากขึ้นถ้าไม่ได้ผลควรทำผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
3.3 ปากมดลูกด้านหน้าบวม มักเกิดจากการกดทับของส่วนนำ ควรจัดให้ผู้คลอดนอนตะแคง ยกปลายเตียงให้สูงข้ึ้น เพื่อลดการกดบนปากมดลูก ส่วนรายที่เบ่งก่อนเวลาควรสอนการหายใจเพื่อไม่ให้รู้สึกอยากเบ่งถ่าย
3.4 มะเร็งปากมดลูกผู้คลอดต้องผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องทุกราย
4.รายที่มีความผิดปกติของมดลูก
4.2 มดลูกคว่ำหลัง มักคลอดทางช่องคลอดไม่ได้
4.3 เนื้องอกของมดลูกมักทำให้แท้งคลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด ถ้าก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่จะทำให้การคลอดติดขัด ควรผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
4.1 มดลูกคว่ำหน้า ใช้ผ้ารัดหน้าท้องเพื่อประคองให้มดลูกอยู่ในตำแหน่งปกติ อาจช่วยให้การคลอดดำเนินได้ตามปกติ
5.รายที่มีความปกติของรังไข่ ได้แก่ เนื้องอกรังไข่ ต้องทำผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและตัดก้อนเนื้องอกออก
กระบวนการพยาบาล
การพยาบาลผู้คลอดที่มีความผิดปกติของช่องเชิงกรานแท้
การประเมินสภาพ
1.ประเมินเกี่ยวกับมารดา
1.1 สัญญาณชีพ ถ้าชีพจร > 90 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต < 90/60 mmHg และหายใจเร็ว > 24 ครั้ง/นาที แสดงถึงภาวะตกเลือด รายงานแพทย์
1.2 สภาพร่างกายของมารดา เกี่ยวกับอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย หมดแรง ขาดน้ำและอาหาร อาการเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความปวด
1.3 ความสูงยอดมดลูก เส้นรอบท้อง ถ้า > 40 ซม. รายงานแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือที่เหมาะสม
1.4 การหดรัดตัวของมดลูก ระยะนี้มักพบมดลูกหดรัดตัวถี่ รุนแรง และนานขึ้นทุก 2-3 นาที นาน 60-90 วินาที ระมัดระวังภาวะมดลูกแตก
1.5 สภาพจิตใจของมารดา ด้านความรู้สึกวิตกกังวล ความหวาดกลัวต่อการคลอด ถ้ามีจะมีผลทำให้มดลูกหดรัดตัวน้อยกว่าปกติ
1.6 ประวัติการคลอดในครรภ์ก่อน ระยะเวลาการเจ็บครรภ์คลอด ระยะเวลาการเบ่งคลอด การใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด การเกิดอุบัติเหตุ
1.7 ลักษณะช่องเชิงกราน ทั้งช่องเข้า ช่องภายใน และช่องออก
2.ประเมินทารกเกี่ยวกับขนาด ส่วนนำ การเข้าสู่ช่องเชิงกราน ท่าและทรงของทารกในครรภ์
3.ประเมินความก้าวหน้าของการคลอด เกี่ยวกับการเปิดขยายของปากมดลูก การเคลื่อนต่ำ การก้มและการหมุนภายในของศีรษะทารก และการหดรัดตัวของมดลูก
4.ติดตามความก้าวหน้าของการคลอดด้วย WHO partograph บันทึกข้อมูลอย่างถูกต้อง จะช่วยให้ทราบแนวโน้มความก้าวหน้าของการคลอดหรือความผิดปกติของความก้าวหน้าการคลอด
กิจกรรมการพยาบาล
1.ตรวจการหดรัดตัวของมดลูก ทุก 30 นาที - 1 ชม. โดยสังเกตความรุนแรง ความถี่ ลักษณะการหดรัดตัว รวมทั้งสังเกตอาการแสดงของภาวะมดลูกใกล้แตก
2.ผู้คลอดที่ถุงน้ำแตก จัดให้นอนพักบนเตียง และทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ ภายนอกเมื่อสกปรก รวมทั้งใส่ผ้าอนามัยซับน้ำคร่ำ สังเกตลักษณะสี กลิ่น ของน้ำคร่ำ
3.ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชม. และสังเกตภาวะตกเลือด ภาวะชัก หรือการติดเชี้อในโพรงมดลูก
4.ตรวจการเปิดขยายของปากมดลูก รวมทั้งการบวมของปากมดลูกและหนังศีรษะทารกด้วย ทุก 2 ชม. หากปากมดลูกเริ่มล่าช้าให้รายงานพทย์ทันที
5.ตรวจดูการเคลื่อนต่ำและการหมุนภายในของส่วนนำ โดยการก้ม การ Molding ถ้าส่วนนำเคลื่อนต่ำ หมุนภายใน ก้ม และ Molding ได้ดี แสดงว่ามีความก้าวหน้าของการคลอด
6.ติดตามความก้าวหน้าของการคลอดด้วย WHO partograph โดยบันทึกข้อมูลอย่างถูกต้อง จะช่วยให้ทราบความก้าวหน้าของการคลอดหรือความผิดปกติของความก้าวหน้าการคลอด
7.ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ทุก 30 นาที และสอบถามการดิ้นของทารกด้วย
8.ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่างอยู่เสมอ โดยกระตุ้นให้ปัสสาวะทุก 2 ชม.
9.ดูแลความสุขสบายร่างกาย และบรรเทาความเจ็บปวด
10.ผู้คลอดที่กลัวและกังวลมากควรอธิบายแผนการรักษา อยู่เป็นเพื่อนปลอบโยนให้กำลังใจ บอกความก้าวหน้าของการคลอดเป็นระยะๆ
11.รายที่แพทย์พิจารณาการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ต้องเตรียมร่างกายและจิตใจของผู้คลอด โดยการอธิบายถึงความจำเป็นของการรักษา การปฏิบัติตนก่อนและหลังการผ่าตัดและเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย
การประเมินผล
1.สัญญาณชีพปกติ
2.FHS อยู่ในช่วง 120-160 ครั้ง/นาที ชัดเจน จังหวะสม่ำเสมอ
3.Interval 6-10 นาที Duration 20-30 นาที Intensity +1,+2 ใน Latent phase Interval 3-5 นาที (ต้น Active phase) Interval 2-3 นาที (ปลาย Active phase) Duration 40-60 วินาที Intensity +3 ใน Active phase
4.ระยะที่ 1 ของการคลอด 8-24 ชม. เฉลี่ย 12 ชม.ในการคลอดครั้งแรก 4-12 ชม. เฉลี่ย 6 ชม.ในการคลอดครั้งหลัง
ระยะที่ 2 ของการคลอด 1-2 ชม. ไม่เกิน 2 ชม. ในการคลอดครั้งแรก 30 นาที-1 ชม. ไม่เกิน 1 ชม. ในการคลอดครั้งหลัง
ระยะที่ 3 ของการคลอด 5-15 นาที ไม่เกิน 30 นาที ทั้งในการคลอดครั้งแรกและครั้งหลัง
5.มีความก้าวหน้าของการคลอด Cervix dilate 1.2 ซม. ในการคลอดครั้งแรก และ 1.5 ซม. ในการคลอดครั้งหลังส่วนนำเคลื่อนต่ำลง 1 ซม./1 ชม.
6.ผู้คลอดเผชิญความเจ็บปวดได้เหมาะสม
7.ไม่มีการฉีกขาดเพิ่มของช่องทางคลอด
8.Total blood lass ไม่เกิน 500 ml0. ในชั่วโมงแรกหลังคลอดไม่เกิน 60 ml./ชม. ชั่วโมงที่ 2 ไม่เกิน 50 ml./ชม. และในชั่วโมงต่อมาไม่เกิน 30 ml./ชม.
การพยาบาลผู้คลอดที่มีความผิดปกติของช่องทางคลอดส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อและเอ็น
การประเมินสภาพ
1.ซักประวัติเกี่ยวกับ การเจริญพันธุ์ การมีระดู การมีเพศสัมพันธ์ุ ประวัติการคลอด การใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด การเกิดอุบัติเหตุการผ่าตัดบริเวณช่องคลอด ฝีเย็บอุ้งเชิงกราน
2.ตรวจร่างกายทั่วไป สัญญาณชีพ
3.ตรวจอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ สี ก้อนหรือสิ่งผิดปกติ
4.ตรวจภายใน เกี่ยวกับลักษณะช่องเชิงกราน ช่องทางคลอด ผนังช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก ก้อนหรือสิ่งผิดปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินการเปิดขยายของปากมดลูก การเคลื่อนต่ำของ
ส่วนนำหากความก้าวหน้าผิดปกติ รายงานแพทย์
2.ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
3.ฟัง FHS ในครรภ์ภ้าผิดปกติรายงานแพทย์
4.รายที่มดลูกคว่ำหน้า ดูแลพันผ้ารัดหน้าท้องประคองมดลูกไว้ให้กลับสู่ตำแหน่งปกติเพื่อให้การคลอดดำเนินไปตามปกติ
5.รายที่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ ควรดูแลป้องกันภาวะขาดน้ำในผู้คลอด ภาวะขาดออกซิเจนในทารก ช่วยเหลืออย่างเหมาะสม ตัดฝีเย็บให้กว้างพอ
6.รายที่ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ ควรเตรียมร่างกายและจิตใจเพื่อการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง