Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาองค์กร (Organization Development Tools) - Coggle…
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาองค์กร (Organization Development Tools)
การบริหารที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นตัวกำหนด (MBO : Management by objective)
ความหมาย
การวางแผนเพื่อจัดองค์การที่หัวหน้าและลูกน้องมีบทบาทร่วมกันในการกำหนดเป้าหมายและขอบเขตของงานเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามต้องการ
Peter Drucker
เป็นผู้พัฒนาแนวคิดและเผยแพร่ในหนังสือ Practice of management ค.ศ. 1954
ลักษณะของการบริหาร
เน้นความสำคัญของการวางแผนเพื่อการกำหนดวัตถุประสงค์ชัดเจน และวัดผลได้
ขั้นตอนของการบริหาร
กำหนดวัตถุประสงค์ (Setting of objectives)
ปรับโครงสร้างขององค์การ (Revision of organization structure) มีการกำหนดลักษณะงาน (Job description)
กำหนดจุดตรวจสอบ (Estabishing check points)
การประเมินการปฏิบัติงาน(Appraisal of performance)
ระบบควบคุมคุณภาพ/กลุ่มคุณภาพ (Quality control circle : QCC,QC)
ความหมาย
การดำเนินการโดยคนกลุ่มน้อย ดำเนินกิจกรรมเพิ่มพูนคุณภาพโดยตนเองอย่างอิสระ ณ สถานที่ทำงานเดียวกัน ร่วมกันปรับปรุงสถานที่ทำงานให้สะอาดแจ่มใสน่าอยู่ ใช้เทคนิควิธีการ QC พัฒนาตนเองและพัฒนาร่วมกัน
วัตถุประสงค์
เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมงานและภาวะผู้นำของ first line supervisor โดยการให้พัฒนาตนเอง
ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขวัญกำลังใจ และควบคุมคุณภาพปัญหาในงานและแก้ไขปรับปรุงงาน
เพื่อกิจกรรมคุณภาพทั่วทั้งองค์กรเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
หลักการ
การวางแผน (Plan : P) ค้นหาปัญหา (โอกาสพัฒนา)
การปฏิบัติ (Do : D) นำวิธีแก้ปัญหาที่เลือกไปปฏิบัติ
การตรวจสอบ (Check : C) เปรียบเทียบก่อนและหลังว่าแตกต่างกันอย่างไร พร้อมหาสาเหตุแก้ไข
การแก้ไขปรับปรุง (Act : A) หากเป็นที่พอใจและยอมรับทุกฝ่ายนำไปกำหนดมาตรฐานและเผยแพร่
การจัดการคุณภาพโดยรวม
(Total quality management : TQM)
ความหมาย
การจัดระบบและวินัยในการทำงานเพื่อป้องกันความผิดพลาดเสียหาย และมุ่งสร้างคุณค่า (value)
เริ่มพัฒนาใน USA ตามแนวทางของ Deming โตในญี่ปุ่น (ตายในไทย)
ความสัมพันธ์ของ TQM
ให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented)
มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)
สมาชิกทุกคนต้องมีส่วนร่วม (employee Involvement)
วัตถุประสงค์
ลดต้นทุน พัฒนาคุณภาพ
สร้างความพอใจในงานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน
สร้างความพอใจและความซื่อสัตย์ของลูกค้า
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและการเจริญเติบโตในอนาคตขององค์กร
Edward Deming
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)
การมอบหมายงานแก่พนักงาน (Employee Empowerment)
การกำหนดมาตรฐานเทียบเคียง (Benchmarking)
การจัดส่งสินค้าแบบทันเวลาพอดี (Just in time : JIT)
Taguchi technique การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ช่วงที่มีการออกแบบ
ความรู้ในการใช้เครื่องมือ (Knowledge of TQM tools)
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award :PMQA)
ความหมาย
กรอบหรือกติกาในการบริหารจัดการและกรอบในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐที่เหมือนกันทั้งประเทศและเป็นมาตรฐานสากล
วัตถุประสงค์
การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์
มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความสำคัญกับประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ปรับปรุงระบบบริหารจัดการให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว
พัฒนาการบริหารคนและการพัฒนาคน มีความคิดริเริ่มและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศ
ทำงานโดยมุ่งผลลัพธ์เป็นสำคัญ (ประโยชน์สุขของประชาชน)
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (RESULT BASED MANAGEMENT - RBM)
ความหมาย
การบริหารโดยมุ่งเน้นผลการปฏิบัติงานหรือผลสัมฤทธิ์เป็นหลักจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8
ผลผลิต(Outputs) และผลลัพธ์ (Outcomes) ของการทำงาน เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ (Results)
วัตถุประสงค์
ทำงานให้เสร็จตามกำหนด
เกิดผลดีต่อหน่วยงาน
ส่วนราชการใช้ทรัพยากรของทางราชการให้คุ้มค่า
เน้นการทำงานโดยึดผลลัพธ์เป็นหลัก มีการวัดผลลัพธ์ และค่าใช้จ่ายตามปกติ
การบริหารแบบซิกซิกม่า (Six sigma)
ความหมาย
โอกาสของการเกิดข้อผิดพลาดเพียง 3.4 ครั้งต่อล้านครั้ง ข้อผิดพลาดในที่นี้ คือสิ่งใดก็ตามที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของขบวนการผลิตและบริการซึ่งมุ่งเน้นให้เกิดความพึงพอใจของลูกค้า
ถูกนำมาใช้เป็นชื่อเรียกของวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพในขบวนการใดๆ โดยเน้นการลดความไม่แน่นอน และการปรับปรุงขีดความสามารถในการทำงานให้ได้ตามเป้าหมาย
การบริหารแบบซิกซิกม่า (Six sigma) เป็นการบริหารที่เกิดขึ้นปี พ.ศ. 2533 โดยกลุ่มวิศวกรของบริษัท Motorola ภายใต้การนำของ Dr.Mikel Harry ซึ่งได้เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดนี้
กลยุทธ์
Measurement เป็นการขั้นตอนการวัด เพื่อวัดจุดวิกฤตต่อคุณภาพ (Critical to Quality : CTQ)
Analyze เป็นการวิเคราะห์ว่าปัญหาต่างๆ
Improvement การแก้ไข
Control การควบคุม
ระบบการบริหารแบบลีน
(Lean Management System)
ลีน (Lean) คือปรัชญาในการผลิตที่ถือว่าความสูญเปล่า (Wastes) เป็นตัวการที่ทำให้เวลาที่ใช้ในการผลิตยาวนานขึ้น ดังนั้นการผลิตแบบลีน (Lean) จึงเป็นการนำเทคนิคต่างๆมาใช้เพื่อกำจัดความสูญเปล่า
กิจกรรมต่างๆ ในการผลิต
กิจกรรมที่เพิ่มคุณค่า (Value-Added Activities หรือ VA) คือกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุดิบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า (Non-Value Added
Activities หรือ NVA) คือกิจกรรมใดๆ ที่ใช้ทรัพยากร
หลักการ 4 ศูนย์
เสียเป็นศูนย์ (Zero defect)
การรอคอยเป็นศูนย์ (Zero delay)
วัสดุคงคลังเป็นศูนย์ (Zero inventory)
อุบัติเหตุเป็นศูนย์ (Zero accident)
แนวคิดพื้นฐาน
การพยายามรักษาการไหลของสินค้าให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและใช้ระบบการผลิตแบบ Just in time
เทคนิคการปรับเปลี่ยนสายการผลิตเป็นไปโดยรวดเร็วและลดเวลาในการตระเตรียมเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต
องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organization : LO)
ความหมาย
องค์กรที่มีทักษะ มีความสามารถในการแสวงหา การสร้างสรรค์ การถ่ายทอดความรู้ และทำความเข้าใจกับความรู้ใหม่ได้อย่างลึกซึ้ง (Insight)
Peter Senge
Personal Mastery ความเป็นเซียนส่วนบุคคล
Mental Modelการยึดติดในใจ อคติ ความฝังใจ โลกทัศน์หรือความคิดความเข้าใจที่คนมีต่อโลก
Share vision ฝันเดียวกัน
Team learning การเรียนรู้เป็นทีม
System thinking ระบบการคิดของคนในองค์กร
การบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
ความหมาย
การบริหารจัดการเพื่อให้คนที่ต้องการใช้ความรู้ ได้รับความรู้ที่ต้องการในเวลาที่ต้องการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
การบันทึกความรู้ และวิธีการแก้ปัญหาของบุคลากร
Tacit Knowledge
ทักษะจากประสบการณ์ไม่สามารถบรรยายเป็นถ้อยคำหรือสูตรซ่อนเร้น ฝังลึกขึ้นกับความเชื่อทักษะในการกลั่นกรองความรู้ พัฒนาและแบ่งปันกันได้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
Explicit Knowledge
บรรยาย/ถ่ายทอดเป็นทฤษฎี การแก้ไขปัญหา คู่มือฐาน ข้อมูลทุกคนสามารถเข้าถึงได้
ต้องเริ่มที่เป็นปัญหาเร่งด่วนระบุความรู้ที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา และมีความสำคัญขององค์การควรเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อนวางแผนทั้งระบบก่อน แล้วลงมือทำควบคู่กันไป
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change management)
ความหมาย
การจัดการณ์กับเหตุการณ์ สถานการณ์ หรือลักษณะที่ต่างไปจากเดิมให้ดีขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
ขั้นตอนในการบริหาร
การวางแผนการเปลี่ยนแปลง (Planning for Change)
การนำแผนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ (Implementing Change)
2.1 การกำหนดกลยุทธ์ในการนำแผนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ
2.2 การสื่อสารความเข้าใจถึงแผนการเปลี่ยนแปลง
2.3 การจัดแบ่งงาน
2.4 การจัดกำลังคน
2.5 การจัดระเบียบวิธีการดำเนินงาน
2.6 การพัฒนาบุคคล
2.7 การทำให้การเปลี่ยนแปลงกลายเป็นแบบแผนวัฒนธรรมขององค์การ
2.8 การจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรในการบริหารการเปลี่ยนแปลงนั้น
การติดตามประเมินผลและรักษาผลการเปลี่ยนแปลง (Evaluating and Maintaining Change)
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice)
ความหมาย
วิธีการปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จหรือคือการปฏิบัติที่ทำให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ
คุณลักษณะที่สำคัญ
มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างเห็นได้ชัด
มีส่วนสำคัญที่ทำให้ผลการดำเนินงานเป็นเลิศ
ได้รับการยอมรับจากบุคคลหรือองค์กรที่เชื่อถือได้
ได้รับการยอมรับจากลูกค้า และผู้ส่งมอบเป็นจำนวนมากทำซ้ำได้
แสดงผลลัพธ์เชิงปริมาณที่เป็นที่ยอมรับ/วัดผลได้
ขั้นตอนการทำ
กระตุ้นและเปิดรับความคิด
ดำเนินการตามขั้นตอนการเสนอความคดิ
ประเมินความคิด และให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการปรับปรุง
นำความคิดไปปฏิบัติ
ทบทวนเพื่อขยายผลความคิด
ยกย่อง ชมเชยและประกาศความสำเร็จ
วัดผล ทบทวน และปรับปรุง
เบ็นซ์มาร์คกิ้ง (Benchmarking)
ความหมาย
กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
และแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) กับองค์กรอื่นภายใต้กฎกติกาสากล
แนวคิด
องค์กรใดองค์กรหนึ่งนั้นไม่ได้เก่งไปทุกเรื่อง มีองค์กรที่เก่งกว่าในบางเรื่อง
การศึกษาจากประสบการณ์ตรงขององค์กรอื่น แล้วนำมาประยุกต์ให้เหมาะสม จะช่วยประหยัดเวลาและลดการดำเนินงานแบบลองผิดลองถูก
ขั้นตอนการทำ
ประเมินตนเอง ดูตัวชี้วัด
เทียบสมรรถนะ หาค่า Benchmark
ศึกษาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practices
ประยุกต์สู่การปรับปรุง Action Plan