Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเภทของการวิจัย, น.ส.พลอยไพริน กิมเฮียะ รุ่น36/2 เลขที่ 3 (612001083) -…
ประเภทของการวิจัย
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิจัยจากเอกสาร (Documentary research)
ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงาน จดหมายเหตุ ศิลาจารึก
แล้วเสนอผลในเชิงวิเคราะห์
การวิจัยจากการสังเกต (Observation research)
การวิจัยประเภทนี้นิยมใช้มากทางด้านมานุษยวิทยาซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลในสังคมในแง่ของ
สถานภาพ (Status) และบทบาท (Role)
การวิจัยแบบสำมะโน (Census research)
เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุก ๆ หน่วยของประชากร
การวิจัยแบบสำรวจจากตัวอย่าง (Sample survey research)
เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง
การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study)
เป็นการวิจัยที่นักสังคมสงเคราะห์นิยมใช้มาก
การศึกษาเรื่องที่สนใจในขอบเขตจำกัดหรือแคบ ๆ ศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องนั้น ๆ
เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง และจะได้หาทางแก้ไขหรือช่วยเหลือต่อไป
การศึกษาแบบต่อเนื่อง (Panel study)
เป็นการศึกษาที่มีการเก็บข้อมูลเป็น ระยะ ๆ
ๆ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง จะช่วยให้เข้าใจและทราบถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี
การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research)
ผู้วิจัยเก็บข้อมูลมาจากการทดลอง
เป็นผลมาจากการกระทำ (Treatment) โดยมีการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ระเบียบวิธีการวิจัย
การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (historical research)
ศึกษาว่าในอดีตเกิดอะไรขึ้น ปัจจุบันเป็นอย่างไร
หาความสัมพันธ์ตัวแปรบางตัวในอดีตกับปัจจุบัน เพื่อทำนายว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร
การวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research)
ไม่มีการทดลองใดๆในการวิจัย ศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน
การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research)
การวิจัยเชิงย้อนรอย (expost facto research)
เป็นการวิจัยที่ศึกษาจากผลไปหาเหตุ ผลในปัจจุบันเกิดจากเหตุในอดีต
เริ่มจากกำหนดผลหรือตัวแปรตามก่อนแล้วค่อยค้นหาสาเหตุ
การวิจัยเชิงสำรวจ (survey research)
หาคำตอบเกี่ยวกับตัวแปรว่ามีคุณลักษณะอย่างไร จำนวนเท่าไร
สำรวจ(ถาม)ทุกคน แต่คนทั่วไปไม่ค่อยเคร่งครัดเรื่องนี้
การวิจัยเชิงประเมินผล (evaluative research)
ประเมินผลอาจใช้ CIPP แบบที่นักวิจัยไทยนิยม
context คือบริบทของงานที่ประเมินเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์กับปัญหาสอดคล้องกันไหม
input คือปัจจัยนำเข้า เช่น งบประมาณ บุคลากร อุปกรณ์ เพียงพอไหม
process คือ กระบวนการทำได้ครบไหม มีปัญหาอะไรเข้ามาแทรกไหม
และ product คือผลผลิต ได้ผลเป็นอย่างไร บรรลุวัตถุประสงค์ไหม
วัตถุประสงค์และวิธีการเสนอข้อมูล
การวิจัยขั้นสำรวจ (exploratory research)
เป็นการหาคำตอบเกี่ยวกับตัวแปรที่ศึกษาว่าเป็นอย่างไร ไม่มีการเปรียบเทียบ ไม่มีการหาความสัมพันธ์
ex. จำนวนร้อยละ มาก-น้อย สูง-ต่ำ
การวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research)
คล้ายกับแบบสำรวจตรงที่ไม่มีการทดลอง แต่สามารถมีการเปรียบเทียบตัวแปร
ex. การบริการตามการรับรู้ของพยาบาลเปรียบเทียบกับการบริการตามการรับรู้ของผู้ป่วย
การวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (explanatory research)
ไม่มีการทดลอง แต่หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ หรือหาปัจจัยที่มีผลต่อตัวแปร
ex. พิสูจน์ว่าปัจจัยด้านเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ นั้นมีปัจจัยใดที่มีผลต่อการดื่มน้ำอัดลม
การวิจัยเชิงคาดคะเน (predictive research)
เป็นการวิจัยที่ให้ผลคาดไว้ว่าจะเกิดอย่างไร
ex. หาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งกับความวิตกกังวล ถ้ามีความสัมพันธ์กันหมายความว่า ถ้าความเข้มแข็งเปลี่ยน ความวิตกกังวลจะเปลี่ยนด้วย
การวิจัยเชิงวินิจฉัย (diagnostic research)
เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาปัญหาหรือสาเหตุของปัญหา
งานวิจัยอื่นๆที่ควรรู้จัก
R2R (routine to research)
ทำงานประจำตามปกติ แล้วพบปัญหา/จุดอ่อนในการทำงาน
แล้วหาวิธี (treatment) มาแก้ไขปัญหา แล้วจึงเปรียบเทียบผลก่อน-หลัง
PAR (participatory action research)
เป็นวิจัยที่ทำเพื่อพัฒนาชุมชน ให้คนในชุมชนร่วมทำวิจัย
ทำให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน และเป็นการพัฒนาที่เกิดขึ้นจริง
R&D (research and development)
ทำการวิจัยหลายขั้นตอน
เริ่มจากทำ research ดูว่าสถานการณ์ที่เกี่ยวกับปัญหานั้นเป็นอย่างไรบ้าง และนำผลของขั้นแรกมาออกแบบ ที่จะตอบสถานการณ์ปัญหานั้น
หลังจากนั้นก็นำโปรแกรม/โครงการ/หลักสูตร ฯลฯ ที่ออกแบบไว้มาใช้
Systematic review, meta-analysis, research synthesis
ทั้ง 3 แบบนี้ ไม่เก็บข้อมูลภาคสนาม
ใช้งานวิจัยที่มีอยู่แล้วเก็บข้อมูลจากงานวิจัยเหล่านั้น หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์ และสังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่
ประโยชน์ของการนำผลการวิจัยไปใช้
การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์ (basic or pure research)
มุ่งสร้างทฤษฎี สูตร หรือกฎ เพื่อเป็นพื้นฐาน ในการศึกษา
ผลจากการวิจัยจะเป็นสูตร กฎ หรือทฤษฎีในการเรียนหรือการวิจัยในสาขานั้นๆต่อไป
การวิจัยประยุกต์ (applied research)
เป็นวิจัยที่นำผลวิจัยที่เกิดขึ้นไปใช้ในการทำงานจริง
ex. เมื่อมีความรู้ว่าสารในพืชชนิดหนึ่งทำให้น้ำตาลลดลงได้ ก็ทำวิจัยเพื่อทดลองยานั้นในผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลสูง เมื่อได้ผลเป็นอย่างไรก็จะนำไปสู่การตัดสินใจใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวานต่อไป
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research)
เป็นการวิจัยที่มุ่งทำให้เกิดผลที่เป็นพัฒนางานหรือแก้ไขข้อบกพร่องของหน่วยงาน
ผลที่ได้จากการวิจัยแบบนี้มีความเฉพาะเจาะจง เฉพาะที่หน่วยงานนั้นๆ
ความสามารถในการควบคุมตัวแปร
การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research)
เป็นการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนได้เต็มที่
ex. ปลูกข้าวโพดในห้องทดลองที่ควบคุมอุณหภูมิให้เป็น 20 C
การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (quasi experimental research)
เป็นการวิจัยที่ควบคุมได้บางส่วน
ex. เปรียบเทียบว่านักเรียนห้องใดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า แต่เด็กนักเรียนอาจคุยกันในช่วงนั่งรถประจำทางกลับบ้านตอนเย็น
การวิจัยเชิงธรรมชาติ (naturalistic research)
ไม่ต้องควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนใดๆ ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ
ลักษณะของข้อมูล
การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research)
การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research)
การวิจัยแบบผสม (mixed methods)
แบบคู่ขนาน
แบบตามลำดับก่อน-หลัง
น.ส.พลอยไพริน กิมเฮียะ รุ่น36/2 เลขที่ 3 (612001083)