Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การช่วยเหลือผู้ใช้บริการในสภาวะฉุกเฉิน อุบัตืเหตุหมู่ และการบรรเทาสาธารณภ…
การช่วยเหลือผู้ใช้บริการในสภาวะฉุกเฉิน
อุบัตืเหตุหมู่ และการบรรเทาสาธารณภัย
การจัดบริการในหน่วยฉุกเฉิน
ความหมาย
Triage (อ่านว่า ทรีอาดย์) หรือการคัดกรอง มาจากศัพท์ภาษาฝรั่งเศส trier หมายถึงการค้นหา การคัดแยก ในทางการแพทย์ triage หรือการคัดกรอง ผู้ป่วย หมายถึงการซักประวัติและการตรวจอย่างรวดเร็ว เพื่อการคัดแยกผู้ป่วยออกเป็นกลุ่ม หรือประเภทตามลำดับความรุนแรง (ร้ายแรง) ของการเจ็บป่วยนั้น
ประโยชน์ของการคัดกรองผู้ป่วย
ช่วยลดความเครียด และเพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติในการได้รับทราบว่าตนเองได้เข้าสู่ระบบการดูแลรักษาพยาบาล
ช่วยลดความล่าช้าในการตรวจรักษาผู้ป่วยโดยแพทย์
ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาทันการณ์และเหมาะสม
การลดค่าใช้จ่าย เพราะผู้ป่วยเจ็บหน้าที่ได้รับการักษาก่อนจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า เมื่อรอคอยในการอยู่ในห้องฉุกเฉินแล้วอาการรุนแรงมากขึ้น
ระบาดวิทยาของผู้เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ
แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม
Early Deaths
.
ระยะเวลาในการเสียชีวิตเป็นนาทีถึงชั่วโมง
สาเหตุการเสียชีวิตอาจเกิดจากเลือกออกในเยื่อหุ้มสมอง เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด มีลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด ตับหรือม้ามแตก หรือมีการเสียเลือดอย่างมาก
ในช่วงนี้ เป็นช่วง Golden hour ที่มีความสำคัญอย่างมากในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย ถ้ามีระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่ดี จะสามารถดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ท าให้มีโอกาสรอดมากยิ่งขึ้น
Late Deaths
.
ระยะเวลาในการเสียชีวิตอาจเป็นวันถึงสัปดาห์หลังได้รับอุบัติเหตุ
สาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด หรืออวัยวะภายในร่างกายล้มเหลว
อัตราการตายของผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดูฉลรักษาผู้ป่วยในช่วงแรก
Immediate Deaths (การตายแบบฉับพลัน)
.
อาจเกิดขึ้นในเวลาเป็นวินาที ถึงนาที
สาเหตุการตายเกิดจากการขาดอาการหายใจ เส้นเลือดขนาดใหญ่ฉีกขาดทำให้เกิดการเสียเลือดอย่างมาก หรือหัวใจได้รับการระทบอย่างรุนแรง
การตายในช่วงนี้เป็นการตายที่เราสามารถป้องกันได้ แต่ไม่สามารถรักษาได้
การแบ่งประเภทของการ Triage
การคัดกรองที่จุดเกิดเหตุ (Field Triage)
.
เป็นการคัดกรองผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล ซึ่งปกติเป็นหน้าที่ของEmergency Medical Services โดยวัตถุประสงค์เพื่อแยกผู้ป่วยเป็นกลุ่ม เพื่อจัดลำดับของการช่วยเหลือที่เหมาะสมทั้งการรักษาพยาบาลเบื้องต้น และนำส่งโรงพยาบาลเป็นกลุ่ม และนำส่งโรงพยาบาลปลายทาง
.
การคัดแยกผู้บาดเจ็บจำนวนมาก (DisasterTriage)Disaster หมายถึงสถานการณ์ที่เกินขีดความสามารถของหน่วยตอบสนอง ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อการทำงานในภาวะปกติของหน่วยกู้ชีพนั้นๆ
START (Simple Triage and Rapid Treatment)
ผู้ป่วยที่ไม่หายใจให้ทำการเปิดทางเดินหายใจ โดยวิธีการ Head-Tilt/ Chin-Liftถ้าผู้ป่วยไม่หายใจจัดเป็นกลุ่มสีดำ (deceased) แต่ถ้าผู้ป่วยกลับมาหายใจหลังเปิดทางเดินหายใจให้จัดเป็นกลุ่มสีแดง (immediate)
.
4 more items...
ผู้ป่วยที่สามารถเดินได้ ให้ผู้ป่วยเดินออกมาจากที่เกิดเหตุด้วยตัวเอง โดยให้ผู้ป่วยเดินออกมายังบริเวณที่ปลอดภัย และจัดผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็น “กลุ่มผู้ป่วยสีเขียว” หรือ “walking wounded” หรือ“minor” ผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ต้องการการรักษาเร่งด่วนผู้ป่วยกลุ่มที่เหลืออยู่ในจุดเกิดเหตุเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินได้ โดยจะประกอบไปด้วยผู้ป่วย
ในกลุ่มสีแดง (immediate) สีเหลือง (delayed) และสีด า (deceased)
JumpSTART
ใช้ในเด็กอายุ 1-8 ปี
กรณีผู้ป่วยเด็กที่ไม่หายใจหลังจากเปิดทางเดินหายใจแล้ว ให้คลำชีพจรก่อน ถ้าไม่มีชีพจรให้เป็นสีดำ ถ้ามีชีพจรให้ช่วยหายใจ 5 ครั้ง ถ้าผู้ป่วยกลับมาหายใจได้เองให้เป็นสีแดง แต่หลังจากช่วยหายใจ ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจด้วยต้นเองให้เป็นสีดำ
การประเมินการหายใจใช้น้อยกว่า 15 ครั้ง/นาที หรือมากกว่า 45 ครั้ง/นาที จึงจัดเป็นกลุ่มสีแดง
การประเมินการรู้สึกตัวในเด็ก
1 more item...
การคัดแยกที่จุดเกิดเหตุ (Primary Triage) โดยทำที่จุดเกิดเหตุโดยการใช้ Triage sieve
ผู้ป่วยที่สามารถเดินได้ ให้ผู้ป่วยเดินออกจากที่เกิดเหตุ และจัดผู้ป่วยกลุ่มนี้ T3,minimal, สีเขียว
2.ถ้าเปิดทางเดินหายใจแล้วผู้ป่วยไม่หายใจ ให้จัดอยู่ในกลุ่ม T4, Expectant, สีน้ำเงิน/สีดำ
ถ้าเปิดทางเดินหายใจแล้ว ผู้ป่วยหายใจได้ ให้จัดผู้ป่วยอยู่ในกลุ่ม T1,Immediate, สีแดง
ถ้าหายใจน้อยกว่า10 ครั้ง/นาที หรือมากกว่า 30 ครั้ง/นาที ให้จัดผู้ป่วยอยู่ใน T1, Immediate, สีแดง
ถ้าผู้ป่วยหายใจ 10-29 ครั้ง/นาที
ชีพจรมากกว่า 120 ครั้ง/นาที ให้จัดอยู่ในกลุ่ม T1, Immediate, สีแดง ชีพจรน้อยกว่า 120 ครั้ง/นาที ให้จัดอยู่ในกลุ่ม T2, Delay, สีเหลือง
การคัดแยกก่อน/ขณะอยู่ในจุดรักษาพยาบาล (Secondary Triage)
Triage revised trauma score (TRTS)
7 more items...
การคัดแยกผู้ป่วยที่มีจำนวนไม่มาก (Prehospital Triage)
หลักการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุนอกโรงพยาบาลจะใช้หลัก Scoop and ran เพื่อจะนำผู้ป่วยส่งไปยังศูนย์อุบัติเหตุ (Trauma center) ให้เร็วที่สุด การรักษาผู้ป่วยจะทำเบื้องต้นที่จุดเกิดเหตุและรีบนำส่งทันที
แบ่งตามอาการบาดเจ็บของผู้ป่วย
ประเภทสีเหลือง หมายถึง ผู้ป่วยประเภทนี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ให้การดูแลรักษาพยาบาลอย่างถูกต้อง ก็อาจทำให้สูญเสียชีวิตหรือพิการได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ผู้ป่วยประเภทนี้จะมีอาการหรืออาการแสดงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
. ประเภทสีเขียว ผู้ป่วยนัด Follow Up หรือผู้ป่วยเดินได้ สามารถรอการรักษาได้
ประเภทสีแดง หมายถึง ผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาที่จำเพาะเจาะจงทันที ไม่สามารถรอได้ การเสียเวลาที่จุดเกิดเหตุจะทำให้ช่วงเวลาที่สำคัญ (Golden hour) ในการรักษาภาวะนั้นๆไป
ประเภทสีดำ เป็นกลุ่มที่ผู้ป่วยเสียชีวิต หรือมีโอกาสรอดชีวิตน้อยมากแบบประเมินการตอบสนองของร่างกายหลังการบาดเจ็บ
การจำแนกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
การพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน
ความสำคัญของการให้
พยาบาลฉุกเฉิน
.
.
สามารถป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บมีอาการมากหรือหนักกว่าเดิม
สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดทรมานได้
สามารถส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บได้อย่างปลอดภัย
สามารถรักษาชีวิตของผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บได้
บทบาทหน้าที่ของ
พยาบาลชุมชนจะต้องเกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน
.
ด้านการป้องกัน ต้องจัดระบบ วางแผน และเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนบุคลากรให้พร้อมสามารถให้บริการได้รวดเร็วเหมาะสมทันเหตุการณ์ รวมทั้งความสะดวกของสถานที่สำหรับการดูแลชุนจะต้องสามารถให้คำแนะนำในเรื่องของคามปลอดภัยทั้งในบ้าน โรงเรียน และสถานที่สาธารณ
.
ด้านการรักษาพยาบาล ต้องประเมินและจำแนกประเภทผู้ป่วยและ ผู้บาดเจ็บเพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้ การช่วยเหลือต้องทำได้ ทั้งในสถานที่เกิดเหตุ ขณะการเคลื่อนย้าย และเมื่อผู้ป่วยมาถึงหน่วยฉุกเฉิน
.
ด้านการดูแลต่อเนื่องหลังจากการผ่านภาวะวิกฤต เมื่อผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤต แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อในโรงพยาบาล หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า พยาบาลชุมชนจะต้องทำการเคลื่อนย้ายและส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย หรือในกรณีที่มีแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ พยาบาลชุมชนต้องให้คำแนะน าก่อนการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและวางแผนการเยี่ยมบ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องทำให้การฟื้นฟูสมรรถภาพได้ผลดี ช่วยให้กลับสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่เป็นภาระของครอบครัวสังคม
หมายถึง
การช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บทั้งทางด้านร่างกาย และอารมณ์ในเบื้องต้นโดยพยาบาลหรือบุคคลากรทางการแพทย์ ที่ผ่านการฝึกอบรมจนเกิดความชำนาญ ก่อนส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลหรือก่อนการได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์
หลักการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน อุบัติเหตุหมู่และการบรรเทาสาธารณภัย
ภาวะภัยพิบัติ (Disaster)
เหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงต่อทั้งชีวิตและสิ่งแวดล้อมจนกำลังในพื้นที่ไม่สามารถรับมือหรือจัดการได้ต้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก (External assistance)
อุบัติภัยหมู่ (Mass Casualty Incident, MCI)
เหตุการณ์ที่ทำให้มีผู้บาดเจ็ดหลายคนในคราวเดียวกันโดยที่ผู้บาดเจ็บหลายคนนั้นอาจจะเป็นเพียงอุบัติภัยหมู่โรงพยาบาลใหญ่ เนื่องจากมีอุปกรณ์และศักยภาพในการจัดการได้ไม่ยาก แต่ในขณะเดียวกันอาจจะเป็นภัยพิบัติ (Disaster) ของโรงพยาบาลเล็กก็ได้
วงจรการเกิดภัยพิบัติ (disaster cycle)
.
2 ระยะเกิดภัยพิบัติ
(impact phase)
เป็นช่วงเวลาเป็นที่มีภัยพิบัติเกิดขึ้นก่อให้เกิดความเสียหายทั้งแก่ชีวิต และทรัพย์สิน ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ผู้ประสบภัยไม่สามารถควบคุมได้
เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต้องเริ่มเข้ามาให้การช่วยเหลือเบื้องต้น
ระยะหลังเกิดภัยพิบัติ (post-impact phase)
เป็นช่วงเวลาที่ภัยพิบัติได้เกิดขึ้นผ่านไปแล้ว
เป็นช่วงเวลาที่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต้องเข้าไปให้การช่วยเหลือด้านการบรรเทาทุกข์และฟื้นฟูสภาพผู้ประสบภัย
ระยะก่อนเกิดภัยพิบัติ
(pre-impact phase)
เป็นช่วงเวลาที่ยังไม่มีภัยพิบัติเกิดขึ้นนับตั้งแต่ช่วงเวลาปกติที่ยังไม่มีสิ่งบอกเหตุว่าจะมีภัยพิบัติเกิดขึ้นจนถึงเวลาที่มีสิ่งบอกเหตุกำลังจะมีภัยพิบัติเกิดขึ้น
เป็นช่วงเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ
ประเภทของภัยพิบัติ
(type of disaster)
การแบ่งประเภทตามลักษณะการเกิดหรือสาเหตุ
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (natural disaster)
ภัยพิบัติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ อาจเกิดจากความประมาท
ภัยจากเทคโนโลยีต่างๆ
การแบ่งตามสถานการณ์
ภัยพิบัติในภาวะปกติ
วาตภัย
อุทกภัย
ภัยพิบัติในภาวะฉุกเฉิน
ภัยจากการจลาจล
ภัยจากการก่อวินาศกรรม
ภัยพิบัติในภาวะสงคราม
การตอบสนองทางการแพทย์ในภาวะภัยพิบัติ
การเตรียมความพร้อม (preparation)
.
การวางแผน (plan)
การจัดหาอุปกรณ์ (Equipment)
การจัดอบรม (Training)
การตอบสนองใน
ภาวะภัยพิบัติ (Response)
Command and control (การควบคุมและระบบสั่งการ)
Safety (ความปลอดภัย)
Assessment (การประเมิน)
Triage (การคัดแยกผู้บาดเจ็บ)
Treatment (การรักษา)
Transport (การขนย้าย)
Communication(การสื่อสาร)
หลักการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน อุบัติเหตุหมู่และการบรรเทาสาธารณภัย
แนวทางการปฏิบัติในระยะก่อนเกิดภัยพิบัติ
การประเมินสถานการณ์ภัยพิบัติ
การจัดทำแผนหรือร่วมจัดทำแผนรับภัยพิบัติ
แนวทางในการปฏิบัติในระยะเกิดภัยพิบัติ
.
การประเมินสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น
ประกาศใช้แผนและประเมินความพร้อมรับสถานการณ์ภัยพิบัติ
ปฏิบัติการให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
การประสานงานเพื่อช่วยเหลือและส่งต่อผู้ประสบภัย
จัดทำทะเบียนบันทึกเหตุการณ์และรายงานเหตุการณ์ภัยพิบัติ
การประเมินสถานการณ์
แนวทางการปฏิบัติในระยะหลังเกิดภัยพิบัติ
.
การประเมินสถานการณ์หลังเกิดภัยพิบัติ
การช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์
การจัดทำบันทึกรายงาน
การประสานงานกับแหล่งสนับสนุน
การประเมินผลการปฏิบัติการในสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น
การฟื้นฟูสภาพผู้ประสบภัย
การฟื้นฟูสภาพความชำรุดเสียหายของสิ่งของต่างๆ
การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น (CPR)
ภาวะหัวใจหยุดเต้น สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ตามจังหวะการเต้นของหัวใจ
ภาวะหัวใจหยุดเต้นที่มีจังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจได้แก่ asystole และ pulseless electrical activity (PEA)
ภาวะหัวใจหยุดเต้นที่มีจังหวะการเต้นของหัวใจที่สามารถรักษาได้ด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ได้แก่VF และ Pulseless ventricular tachycardia (pVT)
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเกิดนอกโรงพยาบาล (Out-of-hospital cardiac arrest: OHCA)
.
การรับรู้ภาวะหัวใจหยุดเต้น และการแจ้งระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน(EMS)สังเกตอาการที่อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจหยุด โดยใช้การสังเกตที่สำคัญคือ ผู้ป่วยหมดสติไม่ตอบสนอง (unresponsiveness) และไม่หายใจ (not breathing normally) ซึ่งมีความสำคัญมากเพื่อที่จะทำให้สามารถแจ้ง EMS และเริ่มทำ CPR ได้อย่างรวดเร็ว
การทำ CPR ที่มีคุณภาพสูงโดยทันที (Immediate high-quality CPR)การเริ่มทำ CPR ทันทีสามารถเพิ่มโอกาสรอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้น 2-4 เท่า
การกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว (Rapid defibrillation)การกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าอย่างรวดเร็วภายในเวลา 3-5 นาที หลังจากที่ผู้ป่วยหมดสติสามรถทำให้โอกาสรอดชีวิตของผู้สูงถึง 50-70%
ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐานและขั้นสูง (Basic and advanced emergency medical services)
การช่วยฟื้นคืนชีพชั้นสูงและการดูแลภายหลังภาวะหัวใจหยุดเต้น (Advanced life support and post arrest care)
ขั้นตอนในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
.
ประเมินความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุ (Verify scene safety)ตรวจสอบดูโดยการสังเกตดูตำแหน่งที่เกิดเหตุและสิ่งแวดล้อมรอบข้างอย่างรวดเร็ว
ประเมินผู้ป่วย โดยตบที่หัวไหล่ของผู้ป่วย เบาๆ พร้อมตะโกนถามว่า “คุณๆเป็นอย่างไรบ้างคะ (ครับ)” เพื่อประเมินการตอบสนองของผู้ป่วย ควรทำอย่างระมัดระวังในผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกต้นคอ
เรียกขอความช่วยเหลือจาก EMS ทันทีสำหรับประชาชนทั่วไป: หากผู้ป่วยไม่มีการตอบสนอง ให้เรียกขอความช่วยเหลือในทันที
ขอความช่วยเหลือ 1669 โดยขอผู้ช่วยเหลือและเครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (Automatedexternal defibrillator: AED) ทันที
จัดหาเครื่อง AED และอุปกรณ์ฉุกเฉิน
ให้ตะโกนร้องของความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่บริเวณข้างเคียง
ในทางปฏิบัติให้บุคคลกรทางการแพทย์การท าประเมินการหายใจและชีพจรทำไปพร้อมกัน ก่อนที่จะใช้โทรศัพท์มือถือขอความช่วยเหลือกับEMS
ประเมินการหายใจและชีพจร (Check for breathing and check pulse)
.
ผู้ป่วยมีชีพจร และมีการหายใจปกติ (normal breath, has pulse): ผู้ให้ความช่วยเหลือเฝ้าระวังจนกระทั้ง EMS มาถึง
ผู้ป่วยมีชีพจรแต่มีการหายใจไม่ปกติ (no normal breath, has pulse) ผู้ให้ความช่วยเหลือทำการเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจ โดยให้ช่วยหายใจ 1 ครั้งทุกๆ 5-6 วินาที หรือประมาณ 10-12 ครั้งต่อนาที
ผู้ป่วยไม่มีชีพจร และไม่หายใจมีเพียงการหายใจเฮือก (no breathing or only gasping,no pulse) เริ่มช่วยเหลือ ทำการ CPR และใช้เครื่อง AED ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ โดยการท า CPR ตามขั้นตอน C-A-B
การกดหน้าอก (C: Chest compressions)
.
กดหน้าอกให้มีความลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว (5 ซม.) แต่ไม่ควรลึกเกิน 2.4 นิ้ว (6 ซม.)
กดหน้าอกด้วยอัตราความเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที
ปล่อยให้มีการขยายของทรวงอกกลับคืนจนสุด (chest recoil) รบกวนการกดหน้าอกให้น้อยที่สุด โดยแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 10 วินาที
ช่วยหายใจอย่างเพียงพอ (ช่วยหายใจ 2 ครั้งหลังการกดหน้าอก 30 ครั้ง การช่วยหายใจแต่ละครั้งนานกว่า 1 วินาที) อัตราส่วนการช่วยหายใจ 30:2
หลีกเลี่ยงการช่วยหายใจมากเกิน (เช่น ช่วยหายใจบ่อยครั้งเกิน หรือช่วยหายใจด้วยแรงที่มากไป
การเปิดทางเดินหายใจ (“A”managing the Airway)
ให้ใช้วิธีการ head tilt-chin lift เพื่อทำการเปิดทางเดินหายใจในผู้ป่วยที่ไม่มีการบาดเจ็บที่คอหรือศีรษะ สำหรับผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บของไขสันหลัง ให้ใช้วิธี manual spinal motion restriction และให้เปิดทางเดินหายใจด้วยวิธี jaw thrust เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง วิธีการท า jaw thrust ให้ใช้มือทั้งสองข้างจับที่มุมของ mandible และยกไปด้านหน้าให้ฟันล่างยื่นออกมาหน้า ต่อฟันบน โดยขณะทำต้องไม่มีการเคลื่อนของกระดูกคอ ถ้าผู้ป่วยไม่อ้าปากให้ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างดัน mandible เพื่อเปิดปากผู้ป่วย
การช่วยหายใจ (“B” Rescue breathing)
.
การช่วยหายใจแบบปากต่อปาก (Mouth-to-Mouth) ทำได้โดยการเปิดทางเดินหายใจโดยใช้วิธี head tilt - chin lift และประกบปากของผู้ช่วยเหลือให้ปากของผู้ป่วยให้สนิท ปิดจมูก ผู้ช่วยเหลือทำการสูดลมเข้าปอดด้วยปริมาตรเท่าปกติและเป่าลมเข้า
การช่วยหายใจแบบใช้อุปกรณ์ป้องกัน (Mouth-to-Barrier Device) เช่น pocket mask, face shield เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่อาจติดต่อผ่านจากการสัมผัสโดยตรง
การช่วยหายใจแบบปากต่อจมูก (Mouth-to-Nose) และการช่วยแบบ Mouth-to-Stoma สำหรับการเป่าจมูกแนะนำให้ทำในกรณีที่ไม่สามารถช่วยหายใจทางปากได้ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณปาก หรือไม่สามารถเปิดปากได้ เป็นต้น - การช่วยหายใจโดยใช้ Bag และ Mask (bag-mask device)แนะนำให้เลือกใช้หน้ากากที่มีความใส เพื่อให้เห็นว่าผู้ป่วยอาเจียนหรือสำลักอาหารหรือไม่และเลือกหน้ากากที่ครอบใบหน้าได้พอดี คลุมบริเวณปากและจมูกได้อย่างมิดชิด
การช็อกไฟฟ้าหัวใจโดยใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจแบบอัตโนมัติ (AED defibrillation)
การใช้เครื่อง AED มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สามารถทำการกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจได้อย่างรวดเร็วก่อนที่ผู้ให้ความช่วยเหลือที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์จะมาถึงที่เกิดเหตุ ซึ่งโอกาสรอดชีวิตในผู้ที่มีภาวะ VF และ pVT จะสูงที่สุด เมื่อผู้ประสบเหตุทำการ CPR ทันที และทำการช็อกไฟฟ้าหัวใจภายใน 3-5 นาทีหลังจากผู้ป่วยหมดสติ ผู้ให้ความช่วยเหลือควรทำ CPR อย่างต่อเนื่องโดยที่รบกวนการกดหน้าอกน้อยที่สุด
การดูแลผู้บาดเจ็บในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล
คือ
กระบวนการรักษาพยาบาลต่อผู้บาดเจ็บในระยะเวลาตั้งแต่เกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจนกระทั่งถึงโรงพยาบาล โดยมีจุดประสงค์ลดความรุนแรง อัตราตาย ความพิการ ลดความทุกข์ทรมาน ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
ขั้นตอนในการดูแลผู้ป่วยนอก
.
การตรวจพบว่ามีเหตุบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน (Detection)
เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจะมีการแจ้งเหตุโดยพลเมืองดี ศูนย์สั่งการมีหน้าที่ในการจัดส่งชุดปฏิบัติการออกทำการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บต่อไป
การดำเนินการตอบสนอง (Response)
.
.
.
คัดแยกระดับความรุนแรงของเหตุที่แจ้ง (Priority dispatch) และจัดส่งทีมปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อตอบสนองให้เหมาะสม
การให้คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นทางโทรศัพท์ Pre-arrival instruction ซึ่งมีประจำศูนย์สั่งการ
การดำเนินการตอบสนอง (Response)เป็นการส่งทีมแพทย์ฉุกเฉินที่อยู่ใกล้ และมีศักยภาพเหมาะสมที่สุดออกทำการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
การดูแล ณ จุดเกิดเหตุ (On Scene Care)
ประเมินเหตุการณ์ (Scene Size Up)
ประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยรอบ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติการเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความปลอดภัย
ประเมิน หากเป็นผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ (Trauma) จำนวนตำแหน่งของผู้ป่วยหรือ
ผู้บาดเจ็บทั้งหมด และกลไกการบาดเจ็บ (Mechanism of injury) เพื่อวางแผนขอความช่วยเหลือ
การประเมินเบื้องต้น (Initial Assessment)
Airway and C-spine
จะต้องทำการป้องกัน C-spine ให้ไม่ขยับโดยการทำ Manual in –line และนำhard collar มาใส่ให้กับผู้ป่วยพร้อมๆกันหากทางเดินหายใจไม่เปิดโล่ง การรักษาเบื้องต้นที่จะทำ ณ ที่เกิดเหตุ คือ การจัดท่า ได้แก่Head Tilt, Chin Lift, ถ้าผู้ป่วยสงสัยเรื่อง C-spine ทำเฉพาะท่า Jaw Thrust เท่านั้น
Breathing
ประเมินอาการของการหายใจลำบาก ใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องช่วยหายใจ หายใจเร็ว ตื้น หน้าอกบุ๋ม (retrection) เป็นต้น
Circulation
เป็นการประเมินหาจุดเลือดออก ภาวะช็อค โดยดูจากความเร็วและความแรงของชีพจร Capillary refiling time ระดับความรู้สึกตัว เป็นต้น ณ จุดเกิดเหตุ หากเลือดออก ให้ทำการกดบริเวณที่มีบาดแผโดยตรงก่อน แล้วจึงเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
Disability
โดยประเมิน GCS
Exposure and Disability
หากมีกระดูกหักให้ดามกระดูกเบื้องต้น จากนั้นทำการพลิกตัวผู้ป่วย แบบ Lod-roll เพื่อตรวจบริเวณหลังของผู้ป่วยคร่าวๆ ระหว่างนั้นนำ Spinal board มาเตรียมรอง ก่อนจะพลิกตัวผู้ป่วยกลับไป และทำการรัดตรึงผู้ป่วยเพื่อเตรียมขนย้ายส่งโรงพยาบาลต่อไป
การดูแลระหว่างการนำส่ง (Care on Transit)
เป็นการดูแลขณะผู้ป่วยอยู่บนรถกู้ชีพ
การนำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสม ( Transfer to Definitive care)
.
Level IV ดูแลกู้ชีพได้เบื้องต้นเท่านั้น และทำการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลระดับสูงต่อไป
Level III มีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินและแพทย์เฉพาะทางอุบัติเหตุสามารถทำการเอกซเรย์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีอุปกรณ์ในการมอนิเตอร์ต่างๆ มีระบบปรึกษาศัลยแพทย์ และแพทย์เฉพาะทาง และมีระบบทะเบียนผู้บาดเจ็บ (Trauma registry)
Level II มีคุณสมบัติเหมือนในระดับ 3 โดยมีเพิ่มเติมคือ มีแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ อย่างครบถ้วนและสามารถผ่าตัดฉุกเฉินได้ตลอด 24 ชม.
Level I มีคุณสมบัติเหมือนในระดับ 2 มีศัลยแพทย์เฉพาะทางทุกสาขา สามารถทำการผ่าตัดฉุกเฉินได้ตลอด 24 ชม. สามารถทำการฟอกไตได้ตลอด 24 ชม. มีระบบในการจัดการควบคุมการเกิดอุบัติเหตุ การป้องกันอุบัติเหตุและการให้ความรู้ประชาชนทั่วไป รวมถึงมีการรวบรวมข้อมูลเพื่อรายงานเป็นงานวิจัย
การรายงานเหตุการณ์/ การแจ้งของความช่วยเหลือ (Reporting)
การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ open pneumothorax
การรักษาเบื้องต้น ทำได้โดยการปิดแผลด้วยแผ่นพลาสติปลอดเชื้อแล้วปิดขอบ 3 ด้าน (Three side Dress) ซึ่งทำให้อากาศจากภายนอกไม่สามารถเข้าสู่ช่องอกได้ในช่วงหายใจเข้า แต่อากาศในช่องปอดสามารถออกสู่ภายนอกได้ในช่วงหายใจออก
การดูแลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะช็อคและการห้ามเลือดนอกโรงพยาบาล
.
ดูแลทางเดินหายใจส่วนบน (Airway) การหายใจ (Breathing) ให้เป็นปกติ แล้วให้ออกซิเจนประคับประคองระบบทางเดินหายใจ
ประเมินหาตำแหน่งที่เสียเลือดจากบาดแผลภายนอกและทำการห้ามเลือดรวมทั้งพยายามมองหาสาเหตุของการเสียเลือดภายในร่างกายให้ได้
นำส่งผู้บาดเจ็บไปยังศูนย์อุบัติเหตุที่มีความเหมาะสม
การให้สารน้ำอย่างเหมาะสมการห้ามเลือดผู้บาดเจ็บที่เสียเลือดนอกโรงพยาบาลที่เกิดจากการเสียเลือดจากภายนอกร่างกาย
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีการแพ้ชนิดรุนแรง
หากสงสัยว่าเป็น anaphylactic Shock ฉีด epinephrine (1:1000)0.0. มล./กก. IM
หากอาการไม่ดีขึ้น กรณีมี Cardiopulmonary arrest ให้
CPR
ให้epinephrine ขนาดสูง
ให้สารน้ำอย่างรวดเร็ว
Atropine กรณีมีbradycardia หรือ asystole
ย้ายเข้าICU
หากดีขึ้น
-สักเกตอาการ 4-6 ชม.
-ให้ยาantihistamine
สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นในทางเดินหายใจ
(Foreign body airway obstruction)
การรักษาภาวะทางเดินหายใจอุดกันบางส่วน (เล็กน้อย)
ควรปล่อยให้ไอเอาสิ่งแปลกปลอมออกมาเอง และกระตุ้นให้ไอแรงๆ เพราะการไอจะทำให้เกิดแรงดันทางเดินหายใน (airway pressure) สูงอย่างต่อเนื่อง ควรสังเกต อาการและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
การรักษาภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นโดยสมบูรณ์
หากผู้ป่วยอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป ยังไม่สติอยู่ให้ช่วยด้วยวิธีการตบหลัง (back blow) การรัดกระตุกใต้ลิ้นปี่ (abdominal thrust) และกดกระแทกที่หน้าอก (chest thrust) ล้วนได้ผลดี และประมาณ50% ของ FBAO ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการช่วยเหลือวิธีเดียว ถ้าทำ abdominal thrust ไม่ได้ผลอาจเปลี่ยนไปใช้วิธี chest thrust แทน
เด็กอายุที่ไม่เกิน 1 ปี จับคว่ำตบหลัง 5ครั้ง สลับจับหงายแล้วกดหน้ากด 5 ครั้ง
การรักษาภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นในผู้สำลักที่หมดสติ
ควรประคงผู้สำลักนอนกับพื้น เรียกหน่วย EMS ทันที แล้วเริ่ม CPR (กดหน้าอก) ทันทีโดยไม่ต้องคลำชีพจร ท าการกดหน้าอก 30:2 ในแต่ละครั้งที่เปิดทางเดินหายใจระหว่างการท า CPR ผู้ปฏิบัติควรมองหาสิ่งแปลกปลอมในปาก และเอาออกถ้าพบในกรณีที่ไม่พบสิ่งแปลกปลอมในปากไม่ควรเอานิ้วลงไปควานหาสิ่งแปลกปลอมในปาก
การทำ abdominal thrusts หรือ Heimlich maneuver
กำมือหันด้านนิ้วหัวแม่มือเข้าหาผู้ป่วย วางมือเหนือสะดือเล็กน้อยโดยอ้อมจากด้านหลัง ใช้มืออีกข้างกำรอบมือข้างเดิม แล้วออกออกแรงดันท้องของผู้ป่วยไปทางด้านศีรษะทันที ออกแรงดันซ้ำจนกระทั้งสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาก
กรณีที่ผู้สำลักอ้วนมาก หรือเป็นหญิงท้องแก่ ให้ทำ chest thrust โดยใช้มือโอบรอบบริเวณหน้าอกแทนพึงระวังว่าการทำ abdominal thrust ไม่ควรทำในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เพราะอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บได้
ผู้ป่วยไฟไหม้
การคิดคำนวณเปอร์เซ็นไฟไหม้
ศีรษะ (หน้า, หลัง) 4.5 x 2= 9
แขน (หน้า, หลัง) 4.5 x 2 x 2=18
ขา (หน้า, หลัง) 9 x 2 x 2=36
ลำตัวด้านหน้า18=18
ลำตัวด้านหลัง18=18
อวัยวะสืบพันธุ์ 1=1
แนะนำให้ให้สารละลาย ringer lactate
ในปริมาณ 4 มล.Xน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) X % บาดแผลไฟไหม้
โดยแบ่งให้ครึ่งหนึ่งของปริมาณที่คำนวณได้ใน 8 ชั่วโมงแรก และ อีกครั้งละ 1 ใน 4 ของปริมาณที่คำนวณได้ ในช่วง 8-16 ชั่วโมง และ 16-24 ชั่วโมงต่อมา
นายคณาธิป ชอบผล เลขที่ 8