Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การช่วยเหลือผู้ใช้บริการในภาวะฉุกเฉิน อุบัติเหตุหมู่ และการบรรเทาสาธารณภัย…
การช่วยเหลือผู้ใช้บริการในภาวะฉุกเฉิน อุบัติเหตุหมู่ และการบรรเทาสาธารณภัย
🛡การจัดบริการในหน่วยฉุกเฉิน
การพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน
หมายถึง การช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บทั้งทางด้านร่างกาย และอารมณ์ในเบื้องต้นโดยพยาบาลหรือบุคคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมจนเกิดความชำนาญ
ความสำคัญของการให้พยาบาลฉุกเฉิน
สามารถป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บมีอาการมากหรือหนักกว่าเดิม
สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดทรมานได้
สามารถรักษาชีวิตของผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บได้
จากการวิเคราะห์ในละคร
ผู้ป่วยทุกคนได้รับการพยาบาลฉุกเฉินเบื้องต้นสามารถรอดชีวิตจากเหตุการณ์ฉุกเฉินได้โดยปลอดภัย
สามารถส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บได้อย่างปลอดภัย
จากการวิเคราะห์ในละคร
ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุแต่ละรายสามารถที่จะไปถึงโรงพยาบาลได้อย่างปลอดภัยเพื่อที่จะทำการรักษาในขั้นตอนต่อไป
บทบาทหน้าที่ของพยาบาลชุมชนจะต้องเกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินใน 3 ด้าน
✔
ด้านการป้องกัน
จัดระบบ วางแผน และเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนบุคลากรให้พร้อม
สามารถให้บริการได้รวดเร็วเหมาะสมทันเหตุการณ์
✔
ด้านการรักษาพยาบาล
ต้องประเมินและจำแนกประเภทผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บเพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้ การช่วยเหลือต้องทำได้ทั้งในสถานที่เกิดเหตุ ขณะการเคลื่อนย้าย และเมื่อผู้ป่วยมาถึงหน่วยฉุกเฉิน
✔ด้านการดูแลต่อเนื่องหลัง จากการผ่านภาวะวิกฤต
พยาบาลชุมชนจะต้องทำการเคลื่อนย้ายและส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย หรือในกรณีที่มีแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ พยาบาลชุมชนต้องให้คำแนะนำก่อนการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและวางแผนการเยี่ยมบ้าน
🛡การจำแนกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
triage
หรือการคัดกรองผู้ป่วย หมายถึงการซักประวัติและการตรวจอย่างรวดเร็ว เพื่อการคัดแยกผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มหรือประเภทตามลำดับความรุนแรง (ร้ายแรง) ของการเจ็บป่วยนั้น
➰การแบ่งประเภทของการ Triage
⨢การคัดกรองที่จุดเกิดเหตุ (Field Triage)
1. การคัดแยกผู้บาดเจ็บจำนวนมาก (Disaster Triage)
💢START (Simple Triage and Rapid Treatment)**
ประเมินการหายใจ (respiratory) การไหลเวียนโลหิต (perfusion) และระดับความรู้สึกตัว (mental status) : RPM
คัดแยกผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่ม
สีแดง🟥 เป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนโดจัดการรักษาเป็นกลุ่มแรก
สีเหลือง 🟨 เป็นกลุ่มผู้ป่วยถัดไปที่ต้องการรักษาพยาบาล
สีเขียว 🟩 เป็นกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มถัดไปที่ได้รับการรักษาถัดจากสีเหลือง
สีดำ ⬛ เป็นกลุ่มที่ไม่ต้องทำการช่วยเหลือเนื่องจากโอกาสรอด
ชีวิตน้อยมาก
ขั้นตอนการคัดแยกผู้ป่วย
1. ผู้ป่วยที่สามารถเดินได้
ให้ผู้ป่วยเดินออกมาจากที่เกิดเหตุด้วยตัวเอง ผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็น “กลุ่มผู้ป่วยสีเขียว” หรือ “walking wounded” 🟩 ผู้ป่วยกลุ่มที่เหลืออยู่ในจุดเกิดเหตุเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินได้ ประกอบไปด้วยผู้ป่วย 🟥🟨⬛
2. ผู้ป่วยที่ไม่หายใจให้ทำการเปิดทางเดินหายใจ โดยวิธีการ Head-Tilt/ Chin-Lift
ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจจัดเป็นกลุ่มสีดำ (deceased) ⬛ แต่ถ้าผู้ป่วยกลับมาหายใจหลังเปิดทางเดินหายใจให้จัดเป็นกลุ่มสีแดง (immediate) 🟥
3. ผู้ป่วยกลุ่มที่หายใจได้ ให้ประเมินอัตราการหายใจ
อัตราการหายใจ > 30 ครั้งต่อนาที จัดผู้ป่วยในกลุ่มสีแดง (immediate) 🟥
อัตราการหายใจ < 30 ครั้งต่อนาที ให้ประเมินชีพจรที่ข้อมือ ถ้าคลำชีพจรที่ข้อมือไม่ได้ หรือ capillary refill > 2 วินาที จัดผู้ป่วยในกลุ่มสีแดง (immediate) 🟥
ให้ประเมินการรู้สึกตัวต่อไป โดยถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทำตามคำสั่งได้ให้จัดเป็นกลุ่มสีแดง (immediate) 🟥 แต่ถ้าผู้ป่วยสามารถทำตามคำสั่งได้ให้จัดเป็นสีเหลือง (delayed) 🟨
💢 JumpSTART ซึ่งใช้ในเด็กอายุ 1-8 ปี
1
. กรณีผู้ป่วยเด็กที่ไม่หายใจหลังจากเปิดทางเดินหายใจแล้ว ให้คลำชีพจรก่อน ถ้าไม่มีชีพจร จัดผู้ป่วยอยู่สีดำ ⬛
ถ้ามีชีพจรให้ช่วยหายใจ 5 ครั้ง ถ้าผู้ป่วยกลับมาหายใจได้เองให้เป็น สีแดง🟥แต่หลังจากช่วยหายใจถ้าผู้ป่วยไม่หายใจด้วยตนเองให้เป็นสีดำ ⬛
2
. การประเมินการหายใจใช้น้อยกว่า 15 ครั้ง/นาที หรือมากกว่า 45 ครั้ง/นาที จึงจัดเป็น กลุ่มสีแดง🟥
3
. การประเมินการรู้สึกตัวในเด็ก
A = Alert = สีเหลือง 🟨
V = Verbal ตอบสนองต่อเสียงเรียกอย่างเหมาะสม = สีเหลือง 🟨
P = Pain ตอบสนองต่อความเจ็บป่วยอย่างเหมาะสม = สีเหลือง 🟨
U = Unresponsive ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น = สีแดง 🟥
2. การคัดแยกตามหลักของ Major Incident Medical Management and Support (MIMMS)
1️⃣ การคัดแยกที่จุดเกิดเหตุ (Primary Triage)
ผู้ป่วยที่สามารถเดินได้ ให้ผู้ป่วยเดินออกจากที่เกิดเหตุ สีเขียว 🟩
หลังจากนั้นทีมกู้ชีพจะเข้าไปประเมินผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินได้ โดยการประเมินทางเดินหายใจ (air way)
ผู้ป่วยที่สามารถหายใจได้ ให้ประเมินอัตราการหายใจ (Breathing) โดยถ้าหายใจ <10 ครั้ง/นาที หรือ > 30 ครั้ง/นาที จัดผู้ป่วยอยู่ใน T1, Immediate, สีแดง 🟥
ถ้าผู้ป่วยหายใจ 10-29 ครั้ง/นาที ให้ประเมินการไหลเวียน (Circulation)
2️⃣ การคัดแยกก่อน/ ขณะอยู่ในจุดรักษาพยาบาล (Secondary Triage)
ใช้หลัก Triage sort จะทำในบริเวณที่ปลอดภัย (Cool zone) ในต่ำแหน่งก่อนเข้าสู่จุด
รักษาพยาบาล หรือเรียกว่า Triage gate โดยมีเจ้าหน้าที่กู้ชีพขั้นสูงที่มีความชำนาญหรือ แพทย์ ประจำ
• ประโยชน์ของการคัดกรองผู้ป่วย
ช่วยลดความเครียด และเพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติในการได้เข้าสู่ระบบการดูแลรักษาพยาบาล
ช่วยลดความล่าช้าในการตรวจ
ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาทันการณ์และเหมาะสม
การลดค่าใช้จ่าย
• ระบาดวิทยาของผู้เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ
แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม
1️⃣Immediate Deaths (การตายแบบฉับพลัน)
อาจเกิดขึ้นในเวลาเป็นวินาที ถึงนาที
สาเหตุการตายเกิดจากการขาดอาการหายใจ เส้นเลือดขนาดใหญ่ฉีกขาด
การตายในช่วงนี้เป็นการตายที่เราสามารถป้องกันได้ แต่ไม่สามารถรักษาได้
2️⃣Early Deaths
ระยะเวลาในการเสียชีวิตเป็นนาทีถึงชั่วโมง
สาเหตุการเสียชีวิตอาจเกิดจากเลือกออกในเยื่อหุ้มสมอง เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด
ในช่วงนี้ เป็นช่วง Golden hour ที่มีความสำคัญอย่างมากในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยถ้ามีระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่ดี จะสามารถดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ทำให้มีโอกาสรอดมากยิ่งขึ้น
3️⃣Late Deaths
ระยะเวลาในการเสียชีวิตอาจเป็นวันถึงสัปดาห์หลังได้รับอุบัติเหตุ
สาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด หรืออวัยวะภายในร่างกายล้มเหลว
อัตราการตายของผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดูฉลรักษาผู้ป่วยในช่วงแรก
•การจำแนกประเภทผู้บาดเจ็บ
ประเภทสีแดง🟥หมายถึง ผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาที่จำเพาะเจาะจงทันที ไม่สามารถรอได้
ประเภทสีเหลือง 🟨 หมายถึง ผู้ป่วยประเภทนี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ให้การดูแลรักษาพยาบาลอย่างถูกต้อง
ประเภทสีเขียว🟩 ผู้ป่วยนัด Follow Up หรือผู้ป่วยเดินได้ สามารถรอการรักษาได้
ประเภทสีดำ⬛ เป็นกลุ่มที่ผู้ป่วยเสียชีวิต หรือมีโอกาสรอดชีวิตน้อยมาก
🛡การดูแลผู้บาดเจ็บในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล
ขั้นตอนในการดูแลผู้ป่วยนอก
การตรวจพบว่ามีเหตุบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน (Detection)
เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจะมีการแจ้งเหตุโดยพลเมืองดี หรือผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์มายังศูนย์สั่งการ และศูนย์สั่งการมีหน้าที่ในการจัดส่งชุดปฏิบัติการออกทำการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บต่อไป
การรายงานเหตุการณ์/ การแจ้งของความช่วยหลือ (Reporting)
เป็นการแจ้งเหตุไปยังศูนย์สั่งการโดยใช้เบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินหมายเลข 166 หรือ หมายเลข 1669
การดำเนินการตอบสนอง (Response)
เป็นการส่งทีมแพทย์ฉุกเฉินที่อยู่ใกล้ และมีศักยภาพเหมาะสมที่สุดออกทำการช่วยเหลือ
ผู้บาดเจ็บ โดยรูปแบบการตอบสนองจะเป็นทีมกู้ชีพพื้นฐาน (Basic life support) หรือทีมกู้ชีพขั้นสูง
การดูแล ณ จุดเกิดเหตุ (On Scene Care) ประกอบด้วย 2 ส่วน
ประเมินเหตุการณ์ (Scene Size Up)
ประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยรอบ การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเอง
ประเมิน หากเป็นผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ (Trauma) จ านวนต่ำแหน่งของผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บทั้งหมด และกลไกการบาดเจ็บ (Mechanism of injury) เพื่อวางแผนขอความช่วยเหลือ
การประเมินเบื้องต้น (Initial Assessment)
ประเมินและรักษาจะแบ่งตามลำดับความสำคัญ (A-B-C-D-E)
การดูแลระหว่างการนำส่ง (Care on Transit)
เป็นการดูแลขณะผู้ป่วยอยู่บนรถกู้ชีพ
การนำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสม (Transfer to Definitive care)
Level IV
ดูแลกู้ชีพได้เบื้องต้นเท่านั้น และทำการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลระดับสูงต่อไป
Level III
มีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินและแพทย์เฉพาะทางอุบัติเหตุสามารถทำการเอกซเรย์ได้
Level II
มีคุณสมบัติเหมือนในระดับ 3 โดยมีเพิ่มเติมคือ มีแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ
Level I
มีคุณสมบัติเหมือนในระดับ 2 มีศัลยแพทย์เฉพาะทางทุกสาขา สามารถทำการผ่าตัด
ฉุกเฉินได้ตลอด 24 ชม.
🛡หลักการเตรียมรับผู้ป่วยอุบัติเหตุหมู่
การบรรเทาสาธารณภัย
ภาวะภัยพิบัติ (Disaster)
หมายถึง เหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงต่อทั้งชีวิตและสิ่งแวดล้อม จนก าลังในพื้นที่ไม่สามารถรับมือ
อุบัติภัยหมู่ (Mass Casualty Incident, MCI)
เหตุการณ์ที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายคนในคราวเดียวกันโดยที่ผู้บาดเจ็บหลายคนนั้นอาจจะเป็นเพียงอุบัติภัยหมู่โรงพยาบาลใหญ่ เนื่องจากมีอุปกรณ์และศักยภาพในการจัดการได้ไม่ยาก
ประเภทของภัยพิบัติ (type of disaster)
การแบ่งประเภทตามลักษณะการเกิดหรือสาเหตุ
1.1 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (natural disaster)
1.2 ภัยพิบัติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
1.3 ภัยจากเทคโนโลยีต่างๆ
การแบ่งตามสถานการณ์
2.1 ภัยพิบัติในภาวะปกติ
2.2 ภัยพิบัติในภาวะฉุกเฉิน
2.3 ภัยพิบัติในภาวะสงคราม
🛡หลักการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน อุบัติเหตุหมู่และการบรรเทาสาธารณภัย
🔥ระยะก่อนเกิดภัยพิบัติ (pre-impact phase)
การเตรียมแผน เพื่อรองรับสถานการณ์ทั้งด้าน
บุคลากรสถานที่ ยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ
🔥ระยะเกิดภัยพิบัติ
(impact phase)
ช่วยเหลือเบื้องต้น ระยะนี้อาจจะใช้เวลามากน้อยเท่าไรขึ้นอยู่กับขนาดของภัยพิบัติที่เกิดขึ้น
🔥
ระยะหลังเกิดภัยพิบัติ
(post-impact phase)**
ช่วยเหลือด้านการบรรเทาทุกข์และฟื้นฟูสภาพผู้ประสบภัย ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ที่อยู่อาศัย รวมทั้งการจัดอาชีพเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทางด้านเศรษฐกิจด้วย
🔥disaster cycle
มีลักษณะการเกิดที่ต่อเนื่องสามารถแบ่งได้เป็นระยะๆ โดยใช้เวลาเป็นตัวกำหนด การแบ่งระยะต่างๆ ของการเกิดภัยพิบัติที่นิยมใช้โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
🛡 การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น (CPR)
💔ภาวะหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest)
สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท
ภาวะหัวใจหยุดเต้นที่มีจังหวะการเต้นของหัวใจที่สามารถรักษาได้ด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ได้แก่VF และ Pulseless ventricular tachycardia (pVT)
ภาวะหัวใจหยุดเต้นที่มีจังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
ได้แก่ asystole และ pulseless electrical activity (PEA)
การจมน้ำ (Drowning)
เมื่อหน้าจมอยู่ในน้ำ ในระยะแรกจะกระตุ้นปฏิกิริยาตอบสนองโดยอัตโนมัติ (reflex) ทำให้มีการกลั้นหายใจ ระหว่างช่วงเวลานี้ผู้จมน้ำมักจะกลืนน้ำลงไปในกระเพาะ เมื่อเกิดการกลั้นหายอย่างต่อเนื่องจะท าให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน และภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด (hypercarbia) reflex laryngospasm อาจช่วยป้องกันการผ่านของน้ำเข้าปอดได้ชั่วคราว แต่ในท้ายที่สุดแล้วเมื่อ reflex นี้หมดลงผู้จมน้ำจะสำลักน้ำเข้าปอด
💦ห่วงโซ่ของการรอดชีวิตของการจมน้ำ (Drowning chain of survival)
ป้องกันไม่ให้เกิดการจมน้ำ (Prevent drowning) ทั้งบุคคลที่อยู่ในน้ำและรอบๆบริเวณน้ำ
การรับรู้ว่าอาจมีการจมน้ำ (Recognize distress) การเรียกหาความช่วยเหลือ
ใช้อุปกรณ์ช่วยให้ผู้จมน้ำลอยตัว (Provide floatation)
ช่วยผู้จมน้ำขึ้นจากน้ำทันที (Remove from water) โดยต้องคำนึงความปลอดภัยของผู้
ช่วยเหลือ
ช่วย CPR ถ้ามีข้อบ่งชี้ (Provide care as need)
🔥การคิดคำนวณเปอร์เซ็นต์ไฟไหม้
ในปริมาณ 4 มล. x น้ำหนักตัว x %บาดแผลไฟไหม้
แนะนำให้สารละลาย ringer lactate
ระดับแผลไฟไหม้
ระดับ 1 ผิวหนังชั้นกำพร้า มีแผลแดง ไม่มีตุ่ม
ระดับ 2 มีถุงน้ำ น้ำเหลือง
ระดับ 3 ทำล้ายหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด
จากการวิเคราะห์ในละคร
ผู้ป่วยโดนไฟไหม้บริเวณส่วนช่วงบน ระดับ 3 บริเวณแผลมีการหดตัวและแข็งโดนมีการทำร้ายชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด บริเวณแผลมีสีน้ำตาลไหม้ หรือดำ หนาแข็งเหมือนแผ่นหนัง แห้งและกร้าน ทำให้บริเวณช่วงบนหายใจไม่สะดวก ดังนั้นแพทย์จึงทำการตัดเพื่อเจาะบริเวณคอ ทำให้สามารถหายใจได้