Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเตรียมและช่วยเหลือมารดาที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่องพิเศษ - Coggle Diagram
การเตรียมและช่วยเหลือมารดาที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่องพิเศษ
Biochemical Assessment
Amniocentesis
การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดโดยเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหาโครโมโซมของทารกที่ผิดปกติ
วิธีการเจาะ
เจาะะผ่านหน้าท้อง และผนังมดลูกเข้าสู่ถุงน้ำคร่ำ
ทำเมื่ออายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อน
ปวดเกร็งเล็กน้อยบริเวณท้องน้อย
การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ
กลุ่มเลือด Rh negative
คำแนะนำหลังการเจาะ
ควรสังเกต และมาพบแพทย์
ปวดเกร็งหน้าท้องมาก
ไข้ภายใน 2 สัปดาห์
มีน้ำหรือเลือดออกทางช่องคลอด
พักหลังจากการเจาะ1 วัน ควรงดการออกแรงมาก
งดการร่วมเพศ อีก 4-5 วัน ไ
ไม่ควรเดินทางไกลภายใน 7 วันหลังการเจาะน้ำคร่ำ
บทบาทของพยาบาล
ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
ภายหลังเจาะให้นอนหงาย กดแผลหลังจากเอาเข็มออก ประมาณ 1 นาที และปิดแผลด้วยพลาสเตอร์
ฟังเสียงหัวใจทารกทุก 15 นาที จนครบ 1 ชั่วโมง
วัด Vital signs 2 ครั้ง ห่างกัน 15 นาที
Amniotic fluid analysis
ดูสีของน้ำคร่ำ
Lecithin Sphingomyelin Ratio
เพื่อดู lung maturity
ค่าปกติ
26 สัปดาห์ แรกของการตั้งครรภ์ ค่า S > L
อายุครรภ์ 26-34 สัปดาห์ ค่า L / S ratio = 1:1
อายุครรภ์ 34-36 สัปดาห์ ค่า L จะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ S จะมีปริมาณลดลงเล็กน้อย ทำให้ ratio สูงขึ้น เปลี่ยนเป็น 2:1
L / S ratio > 2 แสดงว่าปอดทารกสมบูรณ์เต็มที่ โอกาสเกิด RDS ต่ำ
Shake Test
เป็นการทดสอบความสมบูรณ์ของปอดทารกในครรภ์ โดยใช้หลักการคงสภาพของฟองอากาศของสารลดแรงตึงผิวของปอด
การแปลผล
ฟองอากาศเกิดขึ้น 3 หลอดแรกแสดงว่าได้ผลบวก ปอดของทารกเจริญเต็มที่
ฟองอากาศ 2 หลอด แรก ได้ผล intermediate ปอดทารกยังไม่เจริญเต็มที่
ฟองอากาศเพียงหลอดเดียวหรือไม่พบเลย แสดงว่า ได้ผลลบ แสดงว่าการทดสอบปอดทารกยังเจริญไม่เต็มที่
.Fetoscopy
การส่องกล้องดูทารกในครรภ์ สอดเข้าไปในถุงน้ำคร่ำโดยผ่านผนังหน้าท้องของหญิงตั้งครรภ์เพื่อดูความผิดปกติของทารก
ขั้นตอนการทำ
งดน้ำงดอาหารก่อนทำ 6-8 ชั่วโมง
ตรวจสอบ FHS ก่อนและหลังทำ
ใช้ ultrasound เป็นตัวช่วยในการทำ
ต้องตรวจสอบปริมาณน้ำคร่ำหลังทำ
หลังทำงดการทำงานหนัก 1 – 2 สัปดาห์ เนื่องจากอาจมีอาการปวดท้อง
Chorionic villous sampling
การดูดเอาตัวอย่างของรกเด็กมาตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม Chromosome
ทำช่วง 10-13 wks. ไม่ควรทำ ก่อนอายุครรภ์ 10 สัปดาห์
cordocentesis
การเจาะดูดเลือดจากหลอดเลือดสายสะดือ
ทำช่วงขณะอายุครรภ์ 18 สัปดาห์
Alpha fetoprotein (AFP)
การตรวจเลือดมารดา ดูค่าโปรตีนที่สร้างมาจากรก
ค่าปกติ AFP 2.0 – 2.5 MOM (Multiple of median)
ค่า AFP สูงขึ้นหลังจากสัปดาห์ที่ 15 ของการตั้งครรภ์
anencephaly myelomeningocele
Spinabifida
congenital nephrosis
esophageal atresia
Turner’s syndrome
ค่า AFP ต่ำ
สัมพันธ์กับ Down’ syndrome
Biophysical Assessment
Ultrasound
การใช้คลื่นเสียงที่มีความถี่สูง ผ่านผิวหนังเข้าไปเนื้อเยื่อที่ต้องการตรวจ ดูขนาด ขอบเขต รูปร่าง การเคลื่อนไหวของอวัยวะ
การแปลผล Ultrasound
Gestational Sac : GS
ใช้ในการหาอายุครรภ์
อายุครรภ์ 5 -7 week
วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของถุงการตั้งครรภ์ ทั้ง 3 แนวคือ กว้าง ยาว สูง
Crown-rump lerght : CRL
อายุครรภ์ 7-14 week
ความยาวตั้งแต่ศีรษะถึงส่วนล่างสุดของกระดูกไขสันหลัง
Biparietal diameter : BPD
เส้นผ่าศูนย์กลางของส่วนที่ยาวที่สุดของศีรษะของทารก
คำนวณอายุครรภ์โดยประมาณ คือ BPD (ซม.) X 4 สัปดาห์
Femur length : FL
วัดจากส่วนหัวกระดูก-ปลายแหลมของปลายกระดูก
วัดก่อนอายุครรภ์ 24 สัปดาห์
Head cicumference : Hc
Abdominal circumference : Ac
Fetal Biophysical profile
การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงตรวจวัดการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆของทารกที่ถูกกระตุ้นและควบคุมด้วยระบบประสาทส่วนกลาง
ตัวแปร
การหายใจ
การเคลื่อนไหว
แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อ
การเต้นของหัวใจทารก
การวัดปริมาณน้ำคร่ำ
วิธีการตรวจ
เตรียมหญิงตั้งครรภ์ในท่านอน Semi-fowler ตะแคงซ้ายเล็กน้อย
ใช้ Ultrasound ตรวจวัดข้อมูล 5 ตัวแปรที่ต้องการ
กำหนดค่าคะแนนของแต่ละข้อมูล ข้อละ 2 คะแนน
เมื่อพบว่าปกติให้ 2 คะแนน และให้ 0 คะแนนเมื่อพบว่าผิดปกติ
เกณฑ์ปกติ คะแนน =2
วิธีนับลูกดิ้น
Count to ten
นับการดิ้นของทารกในครรภ์ให้ครบ 10 ครั้ง ในช่วงเวลา 2 ชั่วโมงต่อกัน ในท่านอนตะแคง
daily fetal movement record (DFMR)
การนับลูกดิ้น 3 เวลาหลังมื้ออาหาร ครั้งละ 1 ชั่วโมง
ถ้าน้อยกว่า 3 ครั้งต่อชั่วโมง แปลผลว่าผิดปกติ
นับต่ออีก 6-12 ชั่วโมงต่อวัน รวมจำนวนครั้งที่ดิ้นใน 12 ชั่วโมงต่อวัน
น้อยกว่า 10 ครั้ง ถือว่าผิดปกติ ทารกมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในครรภ์
Electronic fetal monitoring
เครื่องมือ
หัวตรวจ มี 2 แบบ
Tocodynamometer
ultrasonic transducer
การเต้นของหัวใจทารก
Baseline features
อัตราการเต้นของหัวใจทารก
Baseline fetal heart rate ปกติ 110 – 160 ครั้ง/นาที
Tachycardia > 160 ครั้ง/นาที
Bradycardia < 110 ครั้ง/นาที
Variability
อัตราการเต้นของหัวใจทารกที่มีการเปลี่ยนแปลง
รูปแบบ
Absent : ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง
Minimal : มีการเปลี่ยนแปลง 0 ถึง 5 beat / min
Moderate : มีการเปลี่ยนแปลง 6 ถึง 25 beat/min
Marked : มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า 25 beat/min
Periodic change
acceleration
อายุครรภ์ > 32 สัปดาห์ มากกว่าหรือเท่ากับ 15 bpm
นานกว่า 15 วินาที
อายุครรภ์ < 32 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 10 bpm
นานกว่า 10 วินาที
deceleration
Early deceleration
การลดลงของ FHR สัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูก
เป็น reflex เกิดจากการที่ศีรษะทารกถูกกด
Late deceleration
การลดลงของ FHR ไม่สัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูกการลดลง
เกิดจากทารก hypoxia
Variable deceleration
การลดลงของ FHR โดยอาจจะสัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูกหรือไม่ก็ได้ ไม่นานเกิน 2 นาที
เกิดจากสายสะดือถูกกด พบใน prolapse cord หรือ น้ำคร่ำน้อย
Prolonged deceleration
การลดลงของ FHR นานอย่างน้อย 2 นาที แต่ไม่ถึง 10 นาที
การแก้ไข : ตรวจสอบหาการพลัดต่ำของสายสะดือ
หลักการดูแลทารกที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ
เพิ่ม uterine blood flow
เพิ่ม umbilical circulation
เพิ่ม oxygen saturation
ลด uterine activity
Non-Stress Test (NST)
การแปลผล (NST)
Reactive
มี acceleration
มี baseline FHS ระหว่าง 120-160 ครั้ง/นาที
มี long term variability ที่ปกติ (6-25 bpm.)
ไม่มี deceleration ของการเต้นของหัวใจทารก
Non-reactive
ผลที่ได้จากการทดสอบไม่ครบตามข้อกำหนดของ reactive NST ในระยะเวลาของการทดสอบนาน 40 นาที
Suspicious
มีการเพิ่มของอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 2 ครั้งหรืออัตราการเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 15 ครั้ง/นาที
อยู่สั้นกว่า 15 วินาที เมื่อมีทารกดิ้น แต่กราฟที่ได้ต้องมี long term variability ที่ดี
Uninterpretable
คุณภาพของการทดสอบไม่สามารถแปลผลได้ตามข้อกำหนด ควรทำการทดสอบซ้ำภายใน 24-48 ชั่วโมง
การพยาบาลหลังการตรวจ
รายงานผลการตรวจให้แพทย์และผู้รับบริการทราบในกรณีที่ไม่แน่ใจผลการตรวจควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
ผล reactive ควรนัดหญิงตั้งครรภ์มาตรวจซ้ำอีกสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ถ้าผลเป็น non- reactive ก็ควรทำซ้ำ
ถ้าผลการตรวจเป็น suspicious ควรตรวจซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง
Contraction Stress test ; CST
การทดสอบดูการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจทารก ในครรภ์ขณะที่มดลูกหดรัดตัว
การแปลผล
Negative : มี UC 3 ครั้งใน10 นาที โดยไม่มี late deceleration
Positive : พบ late deceleration ทุกครั้งในระยะช่วงท้ายของการหดรัดตัวของมดลูก
Suspicious : มี late deceleration แต่ไม่เกิดขึ้นทุกครั้งของการหดรัดตัวของมดลูก
Unsatisfactory : เส้นกราฟไม่มีคุณภาพเพียงพอ หรือ UC ไม่ดีพอ
การติดตามผล CST
Negative : ทารกอยู่ในสภาพปกติ แนะนำนับลูกดิ้นและตรวจซ้ำใน 1 สัปดาห์
Positive : ทารกอยู่ในสภาพพร่องออกซิเจน ช่วยเหลือโดย Intrauterine resuscitation และหยุด Oxytocin ทันที หลังจากนั้น 15-30 นาทีให้ทำ CST ซ้ำ ถ้าผล Positive อีกครั้งควรสิ้นสุดการตั้งครรภ์