Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์,…
กฎหมายสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พุทธศักราช 2541
คือ
ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ถูกสุขลักษณะ
เพื่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชน
การควบคุมสถานพยาบาลเพื่อต้องการควบคุมสถานที่ทำการตรวจรักษาโรค
โดยยกเลิก พ.ร.บ. ฉบับเดิม คือ ฉบับ พ.ศ.2540
คำจำกัดความ
มาตรา 4 “สถานพยาบาล”
หมายความว่า
สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะ
จัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมาย
การประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม
การประกอบวิชาชีพการพยาบาล กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
“ผู้ป่วย”
หมายความว่า
ผู้ขอรับบริการในสถานพยาบาล
“ผู้รับอนุญาต”
หมายความว่า
ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
“ผู้ดำเนินการ”
หมายความว่า
ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล
“ผู้ประกอบวิชาชีพ”
หมายความว่า
ผู้ประกอบโรคศิลปะ
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
การพยาบาลการผดุงครรภ์
ทันตกรรม
เภสัชกรรม
สถานพยาบาล
2 ประเภท
1.สถานพยาบาลประเภทไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
รักษาเฉพาะผู้ป่วยไป-กลับ
2.สถานพยาบาลประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
รับตรวจผู้ป่วยไป-กลับ และค้างคืน
การขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการสถานพยาบาล
คุณสมบัติ
1.มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
2.มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
3.ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาหรือจำคุก
4.ไม่เป็นโรคที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
5.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
6.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ
หน้าที่ของผู้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
1.ต้องแสดงใบอนุญาตของตนไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายในสถานพยาบาลแห่งนั้น
2.ต้องแสดงรายละเอียดดังข้างล่างนี้ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายในสถานพยาบาลนั้น
ชื่อสถานพยาบาล
รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
การพยาบาล การผดุงครรภ์
อัตราค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการ
สิทธิของผู้ป่วย
3.การย้ายสถานพยาบาลไปประกอบกิจการที่อื่นต้องดำเนินการเช่นเดียวกันกับการขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลใหม่
4.ถ้าประสงค์จะเลิกกิจการสถานพยาบาล
ต้องแจ้งเป็นหนังสือและจัดทำรายงานที่จะปฏิบัติเกี่ยว
กับผู้ป่วยให้ผู้อนุญาตทราบล่วงหน้าอย่างน้อย15 วัน
5.ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อนุญาตที่ให้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งในการเลิกกิจการ
เพื่อประโยชน์และส่วนได้ส่วนเสียของผู้ป่วยใสถานพยาบาลนั้น
6.ถ้าพ้นจากหน้าที่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เกิน7วัน
มีคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตทราบภายใน3วัน
ผู้รับอนุญาตอาจมอบหมายให้บุคคล
7.ถ้ามีการเปลี่ยนตัวผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตทราบ
ภายใน30วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนนั้น
8.ต้องไม่เรียกเก็บเงินหรือยินยอมให้มีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล
อายุใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
มีอายุจนถึงสิ้นปีปฏิทินของปีที่สิบนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
การขออนุญาตดำเนินการสถานพยาบาล พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พุทธศักราช 2541
คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
1.เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
2.ต้องไม่เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลอยู่ก่อนแล้ว2แห่ง
3.ต้องเป็นผู้ที่สามารถควบคุมดูแลกิจการสถานพยาบาลได้โดยใกล้ชิด
หน้าที่ของผู้ดำเนินการสถานพยาบาล
1.ต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลที่ตนได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการ
2.ต้องควบคุมดูแลมิให้มีการรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินจำนวนเตียงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
3.ต้องควบคุมดูแลให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม
กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์
4.ต้องควบคุมดูแลสถานพยาบาลให้สะอาดเรียบร้อย ปลอดภัย
หน้าที่ร่วมกันของผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการสถานพยาบาลพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541
1.ต้องจัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
จำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงตลอดเวลาทำการ
2.ต้องจัดให้มีเครื่องมี เครื่องใช้ ยา และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นประจำสถานพยาบาลนั้น
3.ต้องจัดให้มีและรายงานหลักฐานเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
เก็บรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพที่ตรวจสอบได้ไม่น้อยกว่า5ปี
4.ต้องควบคุมและดูแลการประกอบกิจการสถานพยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐาน
5.ต้องควบคุมดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้อง
รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน
6.ต้องควบคุมดูแลมิให้มีการใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานพยาบาล
ประกอบกิจการสถานพยาบาลผิดประเภท
7.ต้องควบคุมดูแลมิให้โฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาชื่อ ที่ตั้งหรือกิจการสถานพยาบาล
8.ต้องไม่จัดทำหรือยินยอมให้ผู้อื่นจัดทำหลักฐานเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการ
หรือเอกสารกรณีอื่นอันเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเป็นเท็จ
โทษ กำหนดบทลงโทษที่สำคัญไว้ดังนี้
การปิดสถานพยาบาลชั่วคราว
1.ผู้รับอนุญาตไม่ชำระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานพยาบาลตามเวลาที่กำหนด
2.ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการกระทำการหรือละเว้นกระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้อยู่ในสถานพยาบาล
3.สถานพยาบาลไม่แก้ไขปรับปรุงการประกอบกิจการ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์
4.ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ
พนักงานเจ้าหน้าที่ได้สั่งให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการแล้วแต่กรณี
โทษทางอาญา
1.ไม่แสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย
ไม่มีชื่อสถานพยาบาล
ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพ
ไม่แจ้งอัตราค่ารักษาพยาบาล
มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
2.ไม่จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยาเวชภัณฑ์
ไม่จัดทำรายงานการรักษาพยาบาล
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.ไม่ช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะอันตรายและไม่ช่วยเหลือ
มีโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4.โฆษณาสถานพยาบาลอันเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินความจริง
ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
จนกว่าจะระงับการโฆษณานั้น
และปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทนับแต่วันที่ฝ่าฝืน
5.จัดทำหลักฐานค่ารักษาพยาบาลหรือเอกสารแสดงผลการรักษาพยาบาลอันเป็นเท็จ
มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ประกอบวิชาชีพอาจมีบทบาทได้ดังต่อไปนี้
1.ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสถานพยาบาลในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิโดยคำแนะนำของสภาการพยาบาล
2.ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
3.ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
4.ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการและผู้ดำเนินการสถานพยาบาลประเภทต่างๆดังนี้
1.คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ให้บริการด้านการพยาบาล
การดูแลมารดาและทารกก่อนคลอด
และหลังคลอด ยกเว้นการทำคลอด
2.สถานพยาบาลการผดุงครรภ์ ให้บริการมารดาและทารกก่อนคลอดและหลังคลอดการคลอดปกติ
โดยสามารถรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนไม่เกิน 30 เตียง
3.สถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง
ให้บริการผู้ป่วยเรื้อรังโดยวิธีการทางการพยาบาล
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พุทธศักราช 2523
“โรคติดต่อ”
หมายความว่า
โรคซึ่งรัฐมนตรีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นโรคติดต่อและให้ความหมายรวมถึงโรคซึ่งรัฐมนตรี
“โรคติดต่อต้องแจ้งความ”
หมายความว่า
โรคติดต่อซึ่งรัฐมนตรีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นโรคติดต่อต้องแจ้งความ
“พาหะ”
หมายความว่า
คนหรือสัตว์ ซึ่งไม่มีอาการของโรคติดต่อ
ปรากฎแต่ร่างกายมีเชื้อโรคอาจติดต่อถึงผู้อื่นได้
“ผู้สัมผัสโรค”
หมายความว่า
คนซึ่งได้ใกล้ชิด คน สัตว์ หรือสิ่งของ ติดโรค
จนเชื้อโรคนั้นอาจติดต่อถึงผู้อื่นได้
“ระยะฟักตัวของโรค”
หมายความว่า
ระยะเวลาตั้งแต่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
จนถึงเวลาที่ผู้ติดโรคแสดงอาการป่วยของโรคนั้น
“ระยะติดต่อของโรค”
หมายความว่า
ระยะเวลาที่เชื้อโรคสามารถจะแพร่จากคนหรือสัตว์ที่มีเชื้อโรคไปยังผู้อื่นได้
“แยกกัก”
หมายความว่า
การแยกผู้สัมผัสโรคหรือพาหะ ออกไว้ต่างหากจากผู้อื่นในเอกเทศ
“กักกัน”
หมายความว่า
การแยกผู้สัมผัสโรค หรือพาหะให้อยู่ในที่เอกเทศจนกว่าจะพ้นระยะฟักตัวของโรคนั้นๆ
“คุมไว้สังเกต”
หมายความว่า
การควบคุมดูแลผู้สัมผัสหรือพาหะโดยไม่กักกัน
อาจจะถอนอนุญาตให้ผ่านไปในที่ใดๆก็ได้
“เขตติดโรค”
หมายความว่า
ท้องที่หนึ่งท้องที่ใด ในหรือนอก
ราชอาณาจักรที่มีโรคติดต่อเกิดขึ้น
“พาหะ”
หมายความว่า
ยาน สัตว์ หรือวัตถุ
ใช้ในการขนส่งคน สัตว์หรือส่งของทางบก ทางน้ำ
“เจ้าของพาหะ”
หมายความว่า
ผู้รับผิดชอบในการควบคุมพาหนะ
“ผู้เดินทาง”
หมายความว่า
คนซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร รวมทั้งผู้ควบคุมพาหะ
“การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค”
หมายความว่า
การกระทำทางการแพทย์โดยวิธีใดๆก็ตาม
ต่อคนหรือสัตว์เพื่อให้คนหรือสัตว์นั้นเกิดอำนาจต้านทานโรค
“ที่เอกเทศ”
หมายความว่า
กักกันคนหรือสัตว์ที่ป่วยหรือมีเหตุผลสงสัยว่าป่วยเป็นโรคติดต่อใดๆ
เพื่อป้องกันและควบคุมมิให้โรคนั้นแพร่หลาย
“เจ้าพนักงานสาธารณสุข”
หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจตราดูแล
“พนักงานเจ้าหน้าที่”
หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี”
หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
โรคติดต่อต้อแจ้งความ20โรค
การแจ้งความโรคติดต่อ มาตรา 7 กำหนดเกี่ยวกับแจ้งความโรคติดต่อ
ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย
หรือโรคติดต่อต้องแจ้งความเกิดขึ้น
ให้บุคคลดังต่อไปนี้แจ้งเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือ
พนักงานเจ้าหน้าที่
การแจ้งความ ดำเนินการดังนี้
เจ้าบ้านหรือผู้ควบคุมดูแลบ้าน
ต้องแจ้งชื่อและที่อยู่ของตนความสัมพันธ์กับผู้ป่วย ชื่อ อายุ และ ที่อยู่ของผู้ป่วย
สถานที่ที่ผู้ป่วยพักรักษาตัวอยู่ วันเริ่มป่วย และอาการสำคัญของผู้ป่วย
แพทย์ผู้ทำการรักษพยาบาล หรือผู้รับผิดชอบในสถาน
พยาบาล
ต้องแจ้งชื่อที่อยู่และสถานที่ทำงานของตน
ชื่อ อายุและที่อยู่ของผู้ป่วย สถานที่ที่ผู้ป่วยพักรักษาตัวอยู่
วันเริ่มป่วยและอาการสำคัญของผู้ป่วยวันแรกรับไว้รักษา การวินิจฉัยโรคขั้นต้น และสภาพผู้ป่วยขณะแจ้งความ
ผู้ทำการชันสูตรทางแพทย์หรือผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตรทางแพทย์
ชื่อ ที่อยู่ และสถานที่ทำงานของตน ชื่อ อายุ ที่อยู่ และสถานที่ทำงานของ ผู้ส่งวัตถุตัวอย่างการวินิจฉัยโรคขั้นต้น และผลการชันสูตร
ผู้รับแจ้งความโรคติดต่อ
ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตกรุงเทพมหานคร
หัวหน้าฝ่ายสาธารณสุขเมื่อพัทยา เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในเขตเมืองพัทยา
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตจังหวัดนั้นๆ
นายอำเภอเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตจังหวัดนั้นๆ
นายกเทศมนตรี หัวหน้าฝ่ายสาธารณสุข ประธานกรรมการสุขาภิบาล
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในเขต
ตำบลหรือหมู่บ้านนั้นๆแล้วแต่กรณี
กฎหมายกำหนดกฎเกณฑ์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
1.กำหนดให้ช่องทางและด่านตรวจคนเข้าเมืองตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
2.ถ้าหากปรากฎว่ามีโรคติดต่ออันตรายเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรี
3.ค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ
โทษตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523 กำหนดบทลงโทษ
1.บุคคลใดไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุข เมื่อมีโรคติดต่ออันตราย
มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
2.ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
3.ถ้าเจ้าของยานพาหนะหรือผู้ควบคุมยานพาหนะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
สาธารณสุข
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ประกอบวิชาชีพอาจมีบทบาท
1.ผู้แจ้งความโรคติดต่อ
เมื่อพบหรือสงสัยว่าผู้ป่วยหรือผู้มาขอรับบริการสาธารณสุขป่วยด้วยโรคติดต่ออันตราย
ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งเป็นผู้ตรวจพบหรือรับผิดชอบสถานพยาบาลต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขภายใน 24 ชั่วโมง
2.ผู้ควบคุมการระบาดของโรค
เมื่อมีผู้ป่วยโรคติดต่ออยู่ในความดูแล ผู้ประกอบวิชาชีพต้องให้แยกผู้ป่วย
การเคร่งครัดต่อมาตรฐานความปลอดภัยจะช่วยป้องกันกาแพร่ระบาดของโรคติดต่อ
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พุทธศักราช 2558
“โรคติดต่อ”
หมายความว่า
โรคที่เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคซึ่งสามารถแพร่โดยทางตรง หรือทางอ้อมมาสู่คน
“โรคติดต่ออันตราย”
หมายความว่า
โรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูงและสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ อย่างรวดเร็ว
“โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง”
หมายความว่า
โรคติดต่อที่ต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ หรือจัดเก็บ ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
“โรคระบาด”
หมายความว่า
โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคแน่ชัด
“พาหะ”
หมายความว่า
คนหรือสัตว์ซึ่งไม่มีอาการของโรคติดต่อปรากฏแต่ร่างกายมีเชื้อโรคนั้น อาจติดต่อได้
“ผู้สัมผัสโรค”
หมายความว่า
คนซึ่งได้เข้าใกล้ชิดคน สัตว์ หรือสิ่งของติดโรค จนเชื้อโรคนั้น อาจติดต่อได้
“ผู้ควบคุมพาหนะ”
หมายความว่า
ผู้รับผิดชอบในการควบคุมพาหนะ
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้
1.ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
2.ช่องทางเข้าออกแห่งใดในราชอาณาจักรให้เป็นด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
ยกเลิกด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
3.การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ เมื่อมีเหตุอันสมควร หรือมีเหตุสงสัยว่าพาหนะนั้นมาจากท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรที่มีโรคระบาด
ให้เจ้าพนักงาน ควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจหน้าที่
1.ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะแจ้งกําหนดวันเวลา และสถานที่ที่พาหนะนั้นๆ
เข้ามาถึงด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
2.ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในราชอาณาจักรยื่นเอกสาร
ต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
3.ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
ยังไม่ได้รับการตรวจ จากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
ห้ามผู้ใดนําพาหนะอื่นใด เข้าเทียบพาหนะนั้น
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรค
ติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อ ระหว่างประเทศ
4.เข้าไปในพาหนะและตรวจผู้เดินทาง สิ่งของ หรือสัตว์ที่มากับพาหนะ
ตรวจตราและควบคุมให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะแก้ไขการสุขาภิบาลของพาหนะให้ถูกสุขลักษณะ
5.ห้ามเจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะนําผู้เดินทางซึ่งไม่ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของคณะกรรมการเข้ามาในราชอาณาจักร
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พุทธศักราช 2545
บริการสาธารณสุข
หมายความว่า
บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
โดยตรงแก่บุคคลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค
สถานบริการ
หมายความว่า
สถานบริการสาธารณสุขของรัฐของเอกชน และ ของสภากาชาดไทย
หน่วยบริการ
หมายความว่า
สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัตินี้
เครือข่ายหน่วยบริการ
หมายความว่า
หน่วยบริการที่รวมตัวกันและขึ้นทะเบียน เป็นเครือข่ายหน่วยบริการตามพระราชบัญญัติ
ค่าบริการ
หมายความว่า
เงินที่ผู้รับบริการจ่ายให้แก่หน่วยบริการในการรับ บริการสาธารณสุขแต่ละครั้ง
สิทธิการรับบริการสาธารณสุข
มาตรา 5
บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 6
บุคคลใดประสงค์จะใช้สิทธิตามมาตรา 5
ให้ยื่นคำขอลงทะเบียนต่อสำนักงานหรือหน่วยงานที่สำนักงานกำหนด
เพื่อเลือกหน่วยบริการ เป็นหน่วยบริการประจำ
มาตรา 38
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรียกว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
มาตรา 42
ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ
โดยหาผู้กระทำผิดได้แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควรตามมาตรา 41
มาตรา60
ในกรณีที่การกระทําผิดของหน่วยบริการตามมาตรา ๕๘ หรือมาตรา 59
เป็นการกระทําผิดร้ายแรงหรือเกิดซ้ําหลายครั้ง ให้เลขาธิการรายงานต่อคณะกรรมการควบคุม
คุณภาพและมาตรฐานเพื่อพิจารณา
ดําเนินการ ดังต่อไปนี้
1.สั่งเพิกถอนการขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการนั้น
2.แจ้งต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเพื่อพิจารณา ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
แจ้งต่อรัฐมนตรีผู้กํากับดูแลเพื่อให้มีการดําเนินการทางวินัยแก่ผู้บริหารของหน่วยบริการ
4.แจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดข้อกล่าวหา
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พุทธศักราช 2550
“สุขภาพ”
หมายความว่า
ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม
เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล
“ปัญญา”
หมายความว่า
ความรู้ทั่ว รู้เท่าทันและความเข้าใจอย่าง แยกได้ในเหตุผลแห่งความดี
ความชั่ว ความมีประโยชน์และความมีโทษ
“ระบบสุขภาพ”
หมายความว่า
ระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่ เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
“บริการสาธารณสุข”
หมายความว่า
บริการต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคาม สุขภาพ
“บุคลากรด้านสาธารณสุข”
หมายความว่า
ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกําหนดรองรับ
“ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข”
หมายความว่า
ผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วย สถานพยาบาล
“สมัชชาสุขภาพ”
หมายความว่า
กระบวนการที่ให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้
สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
มาตรา 5
บุคคลมีสิทธิในการดํารงชีวิตในสิ่งแวดล้อม
สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
มาตรา 6
สุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศและสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ซึ่งมีความจําเพาะ
ซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพ หญิงตลอดช่วงชีวิต ต้องได้รับการสร้างเสริม
มาตรา 7
ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล
เว้น แต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคล นั้นโดยตรง
จากข้อความที่กล่าวมามิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
1.ผู้รับบริการอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตและมีความ
จําเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วน
ผู้รับบริการไม่อยู่ในฐานะที่จะรับทราบข้อมูลได้ และไม่อาจแจ้งให้บุคคลซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ผู้ใดจะนําไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทําให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ต้อง สอดคล้องกับ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสาระสําคัญเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
(2) คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
(3) การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
(4) การสร้างเสริมสุขภาพ
(5) การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
(ุ6) การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ
(7) การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญา ท้องถิ่น
(8) การคุ้มครองผู้บริโภค
(9) การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ
(10) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
(11) การผลิตและการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข
(12) การเงินการคลังด้านสุขภาพ
นางสาวรัตน์ศิการ์ ยิ้มใหญ่ เลขที่ 19 รุ่น 36/2 รหัสนักศึกษา 612001099