Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy…
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์
(Pregnancy Induced Hypertension)
ระยะตั้งครรภ์
ตรวจร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ เช่น มีการบวมตามร่างกาย การตรวจวัดค่าความดันโลหิต การตรวจปัสสาวะ ทุกครั้งที่มาตรวจครรภ์ตามนัด เพื่อหาความผิดปกติที่อาจเกิดได้ขณะตั้งครรภ์
แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและการป้องกันไม่ให้มีความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น เช่น
การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควรงดอาหารหมักดอง และอาหารที่มีรสชาติเค็ม ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อช่วยในการควบคุมค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์พักผ่อนอย่างเพียงพอ 8-10 ชั่วโมง และหลีกเลี่ยงความเครียด เพื่อป้องกันความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น
แนะนำหากหญิงตั้งครรภ์มียาที่ต้องรับประทานเพื่อควบคุมค่าความดันโลหิต ควรรับประทานให้ครบถ้วนและต่อเนื่องตามแผนการรักษา ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองและไม่ควรหยุดยาเอง
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์นับลูกดิ้นอย่างถูกวิธี เพื่อสังเกตอาการผิดปกติของทารกในครรภ์
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์สังเกตอาการของความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง เช่น การมีภาวะบวมน้ำ มีอาการปวดศีรษะมาก หน้ามืด มีตาพร่ามัว เจ็บแน่นบริเวณลิ้นปี่ ควรมาพบแพทย์ทันที
ระยะคลอด
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น เช่น ปวดศีรษะมาก หน้ามืด มีตาพร่ามัว เจ็บแน่นบริเวณลิ้นปี่ เพื่อติดตามความรุนแรงของโรค
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการหายใจ อย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามและประเมินความรุนแรงของโรค
ประเมินทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด โดยการฟังเสียงหัวใจทารกเป็นระยะ และตรวจติดตามอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ เพื่อติดตามสภาพทารกในครรภ์
พิจารณาให้คลอดทางช่องคลอดเป็นทางเลือกแรก หรือใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอดในระยะที่ 2 เพื่อป้องกันความดันโลหิตสูงขณะเบ่งคลอดของมารดา
หลีกเลี่ยงการใช้ยาชาเข้าในช่องไขสันหลังโดยตรง (spinal anesthesia) เพราะมีผลกดการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติก ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง เกิดการไหลเวียนเลือดที่รกลดลงและเกิดอันตรายต่อทารกได้ ควรให้ยาชาเข้าในช่อง epidural ของไขสันหลังอย่างต่อเนื่อง (continuous epidural anesthesia) เป็นวิธีระงับปวดได้ดี
ดูแลให้ได้รับยาลดความดันโลหิตตามแผนการรักษา
ดูแลติดตามอาการข้างเคียงของยาลดความดันโลหิต
ระยะหลังคลอด
ในผู้ป่วย preeclampsia ส่วนใหญ่มีอาการดีขึ้นหลังคลอด ควรดูแลให้ยา magnesium sulfate ต่อจนครบ 24 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อป้องกันอาการชักได้
ประเมินสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลง
แนะนำให้เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ได้ปกติ
เฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด
แนะนำการคุมกำเนิด ผู้ป่วย preeclampsia ไม่เป็นข้อบ่งห้ามในการคุมกำเนิดทุกชนิด ถ้าความดันโลหิตของผู้ป่วยลงมาปกติภายหลังคลอดและผู้ป่วยไม่ต้องการให้นมบุตร สามารถรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดได้
แนะนำให้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในหญิงที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง เพื่อควบคุมความดันโลหิตให้คงที่
ให้ความรู้แก่มารดาครรภ์แรกที่เกิด mild preeclampsia มีโอกาสเกิด preeclampsia ในครรภ์ต่อไปสูงขึ้นเล็กน้อย ในรายที่ได้รับการวินิจฉัย Severe preeclampsia มีโอกาสเกิดเป็นซ้ำอีกร้อยละ 30-50 ในครรภ์ถัดไป จึงควรแนะนำการฝากครรภ์ให้เร็วที่สุดและสม่ำเสมอในครรภ์ถัดไป และผู้ป่วยที่เกิด preeclampsia ในขณะตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงเรื้อรังในภายหลังได้
นางสาวธัญญามาศ สร้อยระย้า เลขที่ 34 (603101034)