Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Abnormality of Physical Condition ความผิดปกติของสภาพร่างกายของผู้คลอด -…
Abnormality of Physical Condition
ความผิดปกติของสภาพร่างกายของผู้คลอด
ผู้คลอดที่มีความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ขาดน้ำ หรือมีความไม่สมดุลของสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ ส่งผลให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวไม่ดี มีความสามารถในการเผชิญความเจ็บปวดลดลง มีแรงเบ่งน้อย และระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนาน
ผู้คลอดที่มีน้ำหนักตัวผิดปกติ โดยเฉพาะรายที่น้ำหนักมากกว่า 80 กิโลกรัม ส่งผลให้เกิดการคลอดยาก เนื่องจากมักมีภาวะช่องเชิงกรานแคบ
อายุ โดยเฉพาะรายที่มีอายุมากกว่า 35 ปี หรือน้อยกว่า 17 ปี รายที่มีอายุมากส่งผลให้เกิดการคลอดยากหรือตกเลือดหลังคลอดจากภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดี ส่วนรายที่มีอายุน้อย ส่งผลให้เกิดการคลอดยากจากภาวะช่องเชิงกรานแคบ
ผู้คลอดที่มีความสูงน้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะรายที่มีความสูงน้อยกว่า 145 เซนติเมตร ส่งผลให้เกิดการคลอดยาก เนื่องจากมักมีภาวะช่องเชิงกรานแคบ
มีประวัติได้รับอุบัติเหตุของกระดูกเชิงกราน หรือความพิการ ผิดรูป ส่งผลให้เกิดการคลอดยาก เนื่องจากมักมีภาวะช่องเชิงกรานแคบ
ผู้คลอดมีโรคทางอายุรกรรม เช่น โรคหัวใจ โรคหอบหืด โรคตับ โรคไต หรือ ผู้คลอดมีภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม เช่น ภาวะความดันโลหิสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะเลือดออกก่อนการเจ็บครรภ์คลอด มักส่งผลให้อาการของโรครุนแรงขึ้น หรือเกิดอันตรายต่อมารดาและทารก เมื่อเข้าสู่ระยะคลอดหรือเมื่อเบ่งคลอด
กระบวนการพยาบาลผู้คลอดที่มีความผิดปกติของสภาพร่างกายของผู้คลอด
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ผู้คลอดมีโอกาสได้รับอันตรายจากการเบ่งคลอดเนื่องจากมีโรคทางอายุรกรรมหรือภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม
ผู้คลอดและทารกได้รับอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคทางอายุรกรรม หรือภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม
มีโอกาสเกิดการคลอดยาก เนื่องจากช่องเชิงกรานผิดปกติหรือทารกตัวใหญ่
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของข้อวินิจฉัยที่ 2 ผู้คลอดปลอดภัยไม่เกิดอันตรายจากการเบ่งคลอด เนื่องจากมีโรคทางอายุรกรรม หรือภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม
วัตถุประสงค์ของข้อวินิจฉัยที่ 3 ไม่เกิดการคลอดยากหรือคลอดยาวนาน
วัตถุประสงค์ของข้อวินิจฉัยที่ 1 ผู้คลอดปลอดภัยทุกระยะของการคลอดไม่เกิดอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคทางอายุรกรรม หรือภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม
กระประเมินสภาพ
การซักประวัติ เกี่ยวกับ โรคประจำตัว โรคทางอายุรกรรม การได้รับอุบัติเหตุบริเวณช่องเชิงกราน
การตรวจร่างกาย เกี่ยวกับ น้ำหนักตัว ความสูง ภาวะขาดน้ำและอิเล็กโทรไลต์ภาวะกระดูกเชิงกรานผอดรูป พิการหรือการได้รับอุบัติเหตุ
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจความเข้มข้นของเม็ดเลือด หมู่เลือด ตามแผนการรักษาในรายที่จำเป็น
ประเมินสภาพทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด ทุก 30 นาที ใน active phase ทุก 1 ชั่วโมง ใน latent phase และทุกครั้งที่มดลูกคลายตัว ในระยะที่ 2 ของการคลอด เพื่อเฝ้ารังวังภาวะ fetal distress และเตรียมอุปกรณ์และทีมงานการช่วยกู้ชีพทารกไว้ให้พร้อม
กระตุ้นให้เบ่งคลอดอย่างถูกวิธีในระยะที่ 2 ของการคลอด ในรายที่ไม่มีข้อห้าม
ตรวจภายในเป็นระยะๆ ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินการเปิดขยาย ความบางของปากมดลูก ลักษณะถุงน้ำ การก้ม การหมุน และการเคลื่อนต่ำของทารกของส่วนนำ หากไม่ก้าวหน้าต้องรายงานแพทย์เพื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือที่เหมาะสม
รายที่มีโรคหัวใจ โรคไต หอบหืด ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ต้องไม่ให้เบ่งแรงและนานเกินไป คือ ไม่เกินครั้งละ 6 วินาที เพื่อป้องกันอันตรายจากการเบ่งคลอด
วัดสัญญาณชีพ เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้คลอด
ดูแลช่วยคลอดหรือช่วยแพทย์ทำสูคิศาสตร์หัตถการช่วยคลอด ตามแผนการรักษาอย่างถูกต้อง