Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพัฒนาองค์กรและเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรนางสาวศรินญา เมฆฉาย…
บทที่ 3
การพัฒนาองค์กรและเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรนางสาวศรินญา เมฆฉาย รหัสนักศึกษา (603101091)
ความหมายองค์การ
การรวมตัวของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อมาร่วมมือ (หรือประสานงาน) ทำงาน
บางอย่างให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ วัฒนธรรมองค์การ
ความหมายการพัฒนาองค์กร (Organization Development)
การพัฒนาองค์กร หรือที่นิยมเรียกกันว่า OD เป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารและพัฒนา
องค์กรเพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหาก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
การพัฒนาองค์กร คือ ความพยายามอย่างมีแผนที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กร
เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์กรทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
หลักการพัฒนาองค์กร(Organization Development Principle)
กำหนดเป้าหมาย ( Goal Sating ) ควรมีการประชุม อภิปราย
มีความเข้าใจในสถานการณ์ ( Understand Relations ) ต้องอาศัยความเข้าใจร่วมกัน
การปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ ( Improving Relations ) การมีสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันในองค์การ
ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้ความสนับสนุน
5.การเชื่อมโยง (Linking) แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ
วัตถุประสงค์ในการพัฒนาองค์การ
1.เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ
2.เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหา
3.เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การ
4.ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข วัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญ
5.มุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล
6.เน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคน
7.กระจายการตัดสินใจไปยังผู้ปฏิบัติ
8.ส่งเสริมให้สมาชิกตระหนักในความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่
9.มุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลและองค์การเข้าด้วยกัน
ขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ
1.การรวบรวมข้อมูล(Data Gathering) การรวบรวมสภาพปัญหาในองค์การ
2.การตรวจวินิจฉัยปัญหา(Diagnosis)เพื่อให้รู้ว่าวัฒนธรรมที่เป็นอยู่สอดคล้องกับความต้องการ
3.การกำหนดยุทธวิธี(tactic or Intervention ) การกำหนดสิ่งสอดแทรกหรือการเลือกวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กร
4.การประเมินผล( Evaluation ) เป็นขั้นตอนสำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งในการพัฒนาองค์การที่ช่วยในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการพัฒนาองค์การ
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาองค์กร(Organization Development Tools)
การบริหารที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นตัวกำหนด (MBO : Management by objective)หมายถึง การ
วางแผนเพื่อจัดองค์การที่หัวหน้าและลูกน้องมีบทบาทร่วมกันในการกำหนดเป้าหมายและขอบเขตของงาน
ระบบควบคุมคุณภาพ/กลุ่มคุณภาพ (Quality control circle : QCC,QC) หมายถึง การดำเนินการ
โดยคนกลุ่มน้อย ดำเนินกิจกรรมเพิ่มพูนคุณภาพโดยตนเองอย่างอิสระ ณ สถานที่ทำงานเดียวกัน
การจัดการคุณภาพโดยรวม (Total quality management : TQM)หมายถึง การจัดระบบและวินัย
ในการทำงาน เพื่อป้องกันความผิดพลาดเสียหาย และมุ่งสร้างคุณค่า (value)
Six sigma หมายถึง โอกาสของการเกิดข้อผิดพลาดเพียง 3.4 ครั้งต่อล้านครั้ง ข้อผิดพลาดในที่นี้ คือ
สิ่งใดก็ตามที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของขบวนการผลิตและบริการ ซึ่งมุ่งเน้นให้เกิดความพึงพอใจของลูกค้า
ลีน(Lean) คือปรัชญาในการผลิตที่ถือว่าความสูญเปล่า (Wastes) เป็นตัวการที่ทำให้เวลาที่ใช้ในการ
ผลิตยาวนานขึ้น ดังนั้นการผลิตแบบลีน (Lean) จึงเป็นการนำเทคนิคต่างๆมาใช้เพื่อกำจัดความสูญเปล่า
ลีนคือ แนวการออกแบบหรือการปรับปรุงกระบวนการหรือคุณค่าที่เป็นระบบ โดยมี
วัตถุประสงค์ ในการกำจัดของเสีย ปรับปรุงคุณภาพ ลดต้นทุน เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า
องค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning organization : LO) หมายถึง องค์กรที่มีทักษะ มีความสามารถ
ในการแสวงหา การสร้างสรรค์ การถ่ายทอดความรู้ และทำความเข้าใจกับความรู้ใหม่ได้อย่างลึกซึ้ง (Insight)
วินัย 5 ประการในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
1.Personal Mastery ความเป็นเซียนส่วนบุคคล
2.Mental Modelการยึดติดในใจ อคติ ความฝังใจ โลกทัศน์หรือความคิดความเข้าใจที่คนมีต่อโลก
3.Share visionฝันเดียวกัน สมาชิกในองค์การมีการกำหนดเป้าหมาย (Goals)
4.Team learningการเรียนรู้เป็นทีม กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิก
System thinking ระบบการคิดของคนในองค์กร การคิดอย่างเป็นระบบ สิ่งต่าง ๆ
การบริหารจัดการความรู้ หมายถึงการบริหารจัดการเพื่อให้คนที่ต้องการใช้ความรู้ ได้รับความรู้ที่
ต้องการในเวลาที่ต้องการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
Public Sector Management Quality Award หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่า PMQA เป็น
กระบวนการพัฒนาองค์กรภาคราชการ
การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์
มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความสำคัญกับประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ปรับปรุงระบบบริหารจัดการให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว
พัฒนาการบริหารคนและการพัฒนาคน มีความคิดริเริ่มและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศ
ทำงานโดยมุ่งผลลัพธ์เป็นสำคัญ(ประโยชน์สุขของประชาชน)
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์( RESULT BASED MANAGEMENT - RBM )หมายถึง การบริหารโดย
มุ่งเน้นผลการปฏิบัติงานหรือผลสัมฤทธิ์เป็นหลักจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best practice)หมายถึง วิธีการปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือ
คือการปฏิบัติที่ทำให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยมีคุณลักษณะที่สำคัญ
เบ็นซ์มาร์คกิ้ง ( Benchmarking )หมายถึงกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
และแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)
การบริหารการเปลี่ยนแปลง(Change management) หมายถึงการจัดการณ์กับเหตุการณ์
สถานการณ์ หรือลักษณะที่ต่างไปจากเดิมให้ดีขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
การวางแผนการเปลี่ยนแปลง (Planning for Change)
การนำแผนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ (Implementing Change)
การติดตามประเมินผลและรักษาผลการเปลี่ยนแปลง (Evaluating and Maintaining Change)