Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพ - Coggle Diagram
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพ
กฎหมายสาธารณสุขอื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งมีรัฐสภาทำหน้าที่ออกกฎหมาย
กฎหมายที่สำคัญโดยทั่วไปจะปรากฎในรูปพระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพ ในปัจจุบันจะเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิหน้าที่ในการป้องกันและรักษาไว่ซึ่งชีวิต ร่างกาย สุขภาพอนามัยของประชาชน เพื่อให้ปลอดภัยจากความเจ็บป่วยและมีสุขภาพอนามัยที่ดี
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข
เพื่อให้ปลอดภัยจากความเจ็บป่วยและมีสุขภาพอนามัยที่ดี
เป็นการใช้อำนาจเพื่อวางข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการหรือเงื่อนไขในการปฏิบัติ จึงได้ประกาศเป็นระเบียบ
เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายสาธารณสุขที่กำหนดสิทธิและหน้าที่ในการป้องกันและรักษาไว้ซึ่งชีวิต ร่างกายสุขภาพและอนามัยของประชาชน
ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการรับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
1.ผู้ที่กระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา อบจ. เทศบาล สุขาภิบาล อบต. หรือสภากาชาดไทย จะหมอบหมายให้ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ ต้องเป็นบุคคลซึ่งระเบียบนี้กำหนด
2.บุคคลซึ่งได้รับมอบหมาย จะทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้เฉพาะ
2.1 เพื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการหรือเงื่อนไขที่ระเบียบนี้กำหนด
2.2 ต้องเป็นการปฏิบัติราชการ หรืออยู่ในสถานพยาบาลของทางราชการเท่านั้น
2.3 บุคคลที่ได้รับมอบหมายตามระเบียบนี้ต้องอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
3.บุคคลที่สามารถทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ มีดังนี้
2.เจ้าพนักงานสาธารณสุข
3.ผู้สำเร็จประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์
1.พนักงานอนามัย
4.ผู้ช่วยพยาบาลและผดุงครรภ์ ผู้ช่วยพยาบาลและจิตเวช
5.พนักงานสุขภาพชุมชน
6.ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ชั้นสอง
จะทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ มีรายละเอียดดังนี้
การรักษาพยาบาลอื่น คือ
การให้น้ำเกลือในผู้ป่วยท้องเดินอย่างรุนแรง
การฉีดเซรุ่มแก้พิษงู
การสวนปัสสาวะ
การสวนล้างกระเพาะอาหารโดยใช้สายยางในรายที่สงสัยว่ารับประทานสารพิษ
ด้านอายุรกรรม ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการของโรค
ด้านศัลยกรรม
ผ่าฝี
เย็บแผลที่ไม่สาหัส
ชะล้าง ทำแผล ตกแต่งบาดแผล
ผ่าเอาสิ่งแปลกปลอมซึ่งอยู่ในตำแหน่งซึ่งไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกายออก โดยฉีดยาระงับความรู้สึกทางผิวหนัง
4.ด้านสูตินรีเวชกรรม
ทำคลอดในรายปกติ
ทำการช่วยเหลือขั้นต้นในรายที่มีการคลอดผิดปกติ
ทำการช่วยเหลือในกรณีที่จะมี การทำแท้ง หรือหลังแท้งแล้ว
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การฉีดวัคซีนป้องกันโรค
การวางแผนครอบครัว การฉีดยาคุมและจ่ายยาเม็ดคุมกำเนิด
การเจาะโลหิตจากปลายนิ้วหรือหลอดเลือดดำเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือเพื่อบริจาคเข้าธนาคารเลือด
ให้การปฐมพยาบาลเกี่ยวกับการได้รับสารพิษและสัตว์มีพิษกัดต่อย การแพ้ยา การแพ้เซรุ่ม
7.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ทำการประกอบวิชาชีพ เวชกรรมได้ และกระทำการด้านการวางแผนครอบครัว ใส่และถอดห่วงอนามัยได้
5.ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นสอง ผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลหรือประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลและจิตเวช ทำการประกอยวิชาชีพเวชกรรมได้
6.ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นสอง ซึ่งได้ผ่านการอบรมตามหลักสูตรของกระทรวงสาธารณสุข ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ และกระทำการใส่และถอดห่วงอนามัย เพื่อการวางแผนครอบครัวได้ภายใต้เงื่อนไขและหลักเกณฑ์
6.2 ผู้ขอรับการใส่ห่วงอนามัยได้คลอดบุตรมาแล้ว 45-60 วัน และยังไม่มีประจำเดือน
6.3 ผู้ขอรับการใส่ห่วงอนามัยได้คลอดหรือแท้งลูกมาแล้ว 30 วัน และยังไม่มีประจำเดือน
6.1 ได้ทดสอบผู้ขอรับการใส่ห่วงอนามัยแล้วว่าไม่ตั้งครรภ์
ให้พยาบาลหรือพยาบาลผดุงครรภ์ ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการผ่าตัดทำหมันหญิงหลังคลอด หรือหลักสูตรเกี่ยวกับการใส่และถอดยาฝังคุมกำเนิด ซึ่งผ่านการอบรมของกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ทำการผ่าตัดทำหมันหญิงหลังคลอดหรือใส่และถอดยาฝังคุมกำเนิดได้ แล้วแต่กรณี
ให้พยาบาลและพยาบาลการผดุงครรภ์ ที่ได้รับประกาศนียบัตรการศึกษาหรือการอบรมในหลักสูตรวิสัญญีพยาบาลจากกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร หรือสถาบันการศึกษาของรัฐบาล ทำการให้ยาสลบเฉพาะการให้สลบชนิด gerneral anesthesia
ให้บุคคลที่ผ่านการศึกษาหรือฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ทำการประกอบวิชาชีพได้
ให้บุคคลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการผดุงครรภ์โบราณของกระทรวงสาธารณสุข ทำการรับฝากครรภ์และทำคลอดในรายปกติได้
11.ให้ อสม. ที่ผ่านการอบรมได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถจากกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงสาธารณสุขยังแต่งตั้งให้เป็น อสม. อยู่ ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมและใช้ยาได้
การประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ตามวิธีการที่กำหนดไว้ในแบบเรียนด้วยตนเองของกระทรวงสาธารณสุข
ให้การปฐมพยาบาลเกี่ยวกับ
ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ไฟฟ้าดูด
เป็นลม
แผลสด กระดูกหัก ข้อเคลื่อน
ชัก
จมน้ำ
งูกัด สุนัขกัด หรือสัตว์อื่นกัด
ได้รับสารพิษ
เจาะเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อไข้จับสั่น การใช้ยา โดยให้ยาดังนี้
ยาสามัญประจำบ้าน
ยาที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม สั่งให้จ่ายให้แก่คนไข้เฉพาะรายและเฉพาะคราว
ยาสมุนไพรที่กำหนดในแบบเรียนด้วยตนเองของกระทรวงสาธารณสุขในงานสาธารณสุขมูลฐาน
12.ให้อาสาสมัครของสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยหรืออาสาสมัครของสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ทีผ่านการอบรมจากสถาบันดังกล่าวและได้รับหนังสือรับรองความรู้ ความสามารถจากกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงสาธารณสุขยังแต่งตั้งให้เป็นอาสาสมัครของสมาคมดังกล่าวอยู่ ทำการจ่ายยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีตราของสมาคมประทับที่แผงยาได้
13.การใช้ยาตามบัญชียา
ให้บุคคลที่ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ใช้ยาตามบัญชียาที่หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา อบจ. เทศบาล สุขาภิบาล อบต. หรือสภากาชาดไทยกำหนด ทั้งนี้ต้องไม่เกินรายการบัญชียาสามัญประจำบ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยยา รายการยาสถานีอนามัย
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541
การควบคุมสถานพยาบาลเพื่อต้องการควบคุมสถานที่ทำการตรวจรักษาโรคให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ถูกสุขลักษณะ เพื่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชน โดยยกเลิก พ.ร.บ. ฉบับเดิม คือ ฉบับ พ.ศ.2540
คำจำกัดความ
มาตรา 4 สถานพยาบาล
หมายถึง
สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะ ซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมาย
การประกอบโรคศิลปะ
การประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม
การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
การประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม
ผู้ป่วย
คือ ผู้ขอรับบริการในสถานพยาบาล
ผู้รับอนุญาต
คือ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
ผู้ดำเนินการ
คือ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล
ผู้ประกอบวิชาชีพ
คือ
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมการพยาบาล การผดุงครรภ์ ทันตกรรม เภสัชกรรม
ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
การประกอบโรคศิลปะ
สถานพยาบาล
แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.สถานพยาบาลประเภทไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน รักษาเฉพาะผู้ป่วยไป-กลับ เช่น คลินิก
2.สถานพยาบาลประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน รับตรวจผู้ป่วยไป-กลับ และค้างคืน เช่น โรงพยาบาล
การขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาล
ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการสถานพยาบาล
คุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
1.อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
2.ถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
3.ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
4.ไม่เป็นโรคที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
5.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
6.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
หน้าที่ของผู้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
การย้ายสถานพยาบาลไปประกอบกิจการที่อื่นต้องดำเนินการเช่นเดียวกันกับการขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลใหม่
ถ้าประสงค์จะเลิกกิจการสถานพยาบาล ต้องแจ้งเป็นหนังสือและจัดทำรายงานที่จะปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ป่วยให้ผูอนุญาตทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้วัน
ต้องแสดงรายละเอียดดังนี้ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายในสถานพยาบาลนั้น
ชื่อสถานพยาบาล
รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ ทันตกรรม เภสัชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลนั้น
อัตราค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการ
สิทธิของผู้ป่วย
ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อนุญาตที่ให้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งในการเลิกกิจการ เพื่อประโยชน์และส่วนได้ส่วนเสียของผู้ป่วยในสถานพยาบาลนั้น
ต้องแสดงใบอนุญาตของตนไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายในสถานพยาบาลแห่งนั้น
ถ้าพ้นจากหน้าที่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เกินเจ็ดวัน ผู้รับอนุญาตอาจมอบหมายให้บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตทราบภายในสามวัน นับแต่วันที่เข้าดำเนินการแทน
ถ้ามีการเปลี่ยนตัวผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนนั้น
ต้องไม่เรียกเก็บเงินหรือยินยอมให้มีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลหรือค่าบริการอื่นเกิดอัตราที่ได้แสดงไว้และต้องให้การบริการแก่ผู้ป่วยตามสิทธิที่แสดงไว้
อายุใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
การขอต่ออายุใบอนุญาตต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตแล้ว ผู้รับอนุญาตยังประกอบกิจการสถานพยาบาลต่อไปได้จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ
ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลมีอายุจนถึงสิ้นปีปฏิทินของปีที่สิบนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
การขออนุญาตดำเนินการสถานพยาบาล พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541
ผู้ขอรับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
2.ต้องไม่เป็นผูู้ดำเนินการสถานพยาบาลอยู่ก่อนแล้วสองแห่ง ถ้าเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนแห่งหนึ่งแล้ว จะเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งไม่ได้ แต่จะขออนุญาตเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งได้
3.ต้องเป็นผู้ที่สามารถควบคุมดูแลกิจการสถานพยาบาลได้โดยใกล้ชิด
1.เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะหรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมขึ้นอยู่กับว่าสถานพยาบาลนั้นเป็นสถานพยาบาลประเภทใดหรือให้บริการทางการแพทย์ใด
หน้าที่ของผู้ดำเนินการสถานพยาบาล
1.ต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลที่ตนได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการ ประกอบวิชาชีพผิดสาขา ชั้น หรือแผนตามที่ได้รับอนุญาต และต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้อื่นซึ่งไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพมาประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลที่ตนเป็นผู้ดำเนินการ
2.ต้องควบคุมดูแลมิให้มีการรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินจำนวนเตียงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
3.ต้องควบคุมดูแลให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม
กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม
หรือกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม
4.ต้องควบคุมดูแลสถานพยาบาลให้สะอาดเรียบร้อย ปลอดภัย และมีลักษณะ อันเหมาะสมแก่การใช้เป็นสถานพยาบาล
หน้าที่ร่วมกันของผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการสถานพยาบาล
3.ต้องจัดให้มีและรายงานหลักฐานเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล ผู้ป่วยและเอกสารอื่นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
2.ต้องจัดให้มีเครื่องมี เครื่องใช้ ยา และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นประจำสถานพยาบาลนั้น ตามชนิดที่กำหนดในกกระทรวง
4.ต้องควบคุมและดูแลการประกอบกิจการสถานพยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐาน การบริการตามที่รัฐมนตรีประกาศ
5.ต้องควบคุมดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน
6.ต้องควบคุมดูแลมิให้มีการใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานพยาบาลประกอบกิจการสถานพยาบาลผิดประเภท หรือผิดลักษณะการให้บริการตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
1.ต้องจัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามวิชาชีพและจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงตลอดเวลาทำการ
7.ต้องควบคุมดูแลมิให้โฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาชื่อ ที่ตั้งหรือกิจการสถานพยาบาล หรือคุณวุฒิ หรือความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลของตน
8.ต้องไม่จัดทำหรือยินยอมให้ผู้อื่นจัดทำหลักฐานเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการเอกสารแสดงการตรวจโรค เอกสารแสดงผลการรักษาพยาบาล หรือเอกสารกรณีอื่นอันเกี่ยว
กับการรักษาพยาบาลอันเป็นเท็จ
โทษ
กำหนดบทลงโทษที่สำคัญไว้ดังนี้
การปิดสถานพยาบาลชั่วคราว
2.ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการกระทำการหรือละเว้นกระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้อยู่ในสถาน
พยาบาลหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานพยาบาลเดือดร้อนหรือเกิดอันตราย
3.สถานพยาบาลไม่แก้ไขปรับปรุงการประกอบกิจการ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์
ตามที่ผู้อนุญาตมีคำสั่งภายในระยะเวลาที่กำหนด
1.ผู้รับอนุญาตไม่ชำระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานพยาบาลตามเวลาที่กำหนด
4.ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ
โทษทางอาญา
ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการสถานพยาบาลอาจได้รับโทษทางอาญาดังนี้
1.ไม่แสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ไม่มีชื่อสถานพยาบาล ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพ ไม่แจ้งอัตราค่ารักษาพยาบาลและไม่แจ้งสิทธิผู้ป่วยมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
3.ไม่ช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะอันตรายและไม่ช่วยเหลือ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.ไม่จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยาเวชภัณฑ์ ไม่จัดทำรายงานการรักษาพยาบาล ไม่ควบคุมและดูแลสถานพยาบาลให้เป็นไปตามกฎกระทรวง มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4.โฆษณาสถานพยาบาลอันเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินความจริง ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด มีโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทนับแต่วันที่ฝ่าฝืนจนกว่าจะระงับการโฆษณานั้น
5.จัดทำหลักฐานค่ารักษาพยาบาลหรือเอกสารแสดงผลการรักษาพยาบาลอันเป็นเท็จ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ผู้ประกอบวิชาชีพอาจมีบทบาทได้ดังต่อไปนี้
2.ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
3.ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
1.ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสถานพยาบาลในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิโดยคำแนะนำของสภาการพยาบาล
4.ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการและผู้ดำเนินการสถานพยาบาลประเภทต่างๆดังนี้
1.คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์
2.สถานพยาบาลการผดุงครรภ์
3.สถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523
โรคติดต่อ หมายถึง โรคซึ่งรัฐมนตรีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นโรคติดต่อ
โรคติดต่อต้องแจ้งความ หมายถึง โรคติดต่อซึ่งรัฐมนตรีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นโรคติดต่อต้องแจ้งความ
พาหะ หมายความว่า คนหรือสัตว์ ซึ่งไม่มีอาการของโรคติดต่อปรากฎแต่ร่างกายมีเชื้อโรคนั้นซึ่งอาจติดต่อถึงผู้อื่นได้
ผู้สัมผัสโรคหมายความว่า คนซึ่งได้ใกล้ชิด คน สัตว์ หรือสิ่งของ ติดโรค จนเชื้อโรคนั้นอาจติดต่อถึงผู้อื่นได้
ระยะฟักตัวของโรค หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจนถึงเวลาที่ผู้ติดโรคแสดงอาการป่วยของโรคนั้น
ระยะติดต่อของโรค หมายความว่า ระยะเวลาที่เชื้อโรคสามารถจะแพร่จากคนหรือสัตว์ที่มีเชื้อโรคไปยังผู้อื่นได้ โดยทางตรงหรือทางอ้อม
แยกกัก หมายความว่า การแยกผู้สัมผัสโรคหรือพาหะ ออกไว้ต่างหากจากผู้อื่นในเอกเทศ
กักกันหมายความว่า การแยกผู้สัมผัสโรค หรือพาหะให้อยู่ในที่เอกเทศจนกว่าจะพ้นระยะฟักตัวของโรคนั้นๆ
คุมไว้สังเกต หมายความว่า การควบคุมดูแลผู้สัมผัสหรือพาหะโดยไม่กักกัน อาจจะถอนอนุญาตให้ผ่านไปในที่ใดๆก็ได้ โดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อไปถึงท้องที่กำหนดไว้ ผู้นั้นต้องแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำท้องที่นั้น เพื่อรับการตรวจในทางแพทย์
เขตติดโรค หมายความว่า ท้องที่หนึ่งท้องที่ใด ในหรือนอกราชอาณาจักรที่มีโรคติดต่อเกิดขึ้น
พาหะ หมายความว่า ยาน สัตว์ หรือวัตถุ ซึ่งใช้ในการขนส่งคน สัตว์หรือส่งของทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ
เจ้าของพาหะ หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการควบคุมพาหนะ
ผู้เดินทาง หมายความว่า คนซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร รวมทั้งผู้ควบคุมพาหะ และคนประจำพาหนะ
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค หมายความว่า การกระทำทางการแพทย์โดยวิธีใดๆก็ตาม ยต่อคนหรือสัตว์เพื่อให้คนหรือสัตว์นั้นเกิดอำนาจต้านทานโรค
ที่เอกเทศ หมายความว่า ที่ใดๆซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนดให้เป็นที่สำหรับแยกกัก
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจตราดูแล และรับผิดชอบในการสาธารณสุขโดยทั่วไป หรือเฉพาะท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
โรคติดต่อต้อแจ้งความ20โรค
การแจ้งความโรคติดต่อ มาตรา 7 กำหนดเกี่ยวกับแจ้งความโรคติดต่อ ดังนี้
ในกรณีมีการป่วยหรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีการป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานพยาบาลให้เป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาลนั้น
ในกรณีที่มีการเจ็บป่วยหรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีการป่วยโดยโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในบ้านให้เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้าน หรือของผู้คุมดูแลบ้าน หรือของแพทย์ผู้ทำการรักษาพยาบาล
ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย หรือโรคติดต่อต้องแจ้งความเกิดขึ้น หรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้น ให้บุคคลดังต่อไปนี้แจ้งเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่ได้มีการชันสูตรทางแพทย์ตรวจพบว่าอาจมีเชื้ออันเป็นเหตุของโรคติดต่อดังกล่าว ให้เป็นหน้าที่ของผู้ทำการชันสูตรทางแพทย์ หรือของผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตรทางแพทย์นั้น
กระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับการแจ้งความตาม
กฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อมีสาระสำคัญดังนี้
เมื่อมีโรคติดต่ออันตราย หรือโรคติดต่อต้องแจ้งความเกิดขึ้น หรือมีเหตุสงสัยว่าได้มี
โรคติดต่เกิดขึ้น
ให้
เจ้าบ้านผู้ควบคุมดูแลบ้าน
ผู้ทำการชันสูตรทางแพทย์
หรือผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตรทางการแพทย์ แล้วแต่กรณี
แพทย์ผู้ทำการรักษาพยาบาล
ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล
แจ้งต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เริ่มมีการเจ็บป่วย
การแจ้งความ ดำเนินการดังนี้
เจ้าบ้านหรือผู้ควบคุมดูแลบ้าน ต้องแจ้ง
ชื่อและที่อยู่ของตน
ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย ชื่อ อายุ และ ที่อยู่ของผู้ป่วย
สถานที่ที่ผู้ป่วยพักรักษาตัวอยู่ วันเริ่มป่วย และอาการสำคัญของผู้ป่วย
แพทย์ผู้ทำการรักษพยาบาล หรือผู้รับผิดชอบในสถาน
พยาบาลต้องแจ้ง
ชื่อที่อยู่และสถานที่ทำงานของตน
ชื่อ อายุและที่อยู่ของผู้ป่วย สถานที่ที่ผู้ป่วยพักรักษาตัวอยู่
วันเริ่มป่วยและอาการสำคัญของผู้ป่วยวันแรกรับไว้รักษา
การวินิจฉัยโรคขั้นต้น และสภาพผู้ป่วยขณะแจ้งความ
ผู้ทำการชันสูตรทางแพทย์หรือผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตรทางแพทย์ต้องแจ้ง
ชื่อ ที่อยู่ และสถานที่ทำงานของตน
ชื่อ อายุ ที่อยู่ และสถานที่ทำงานของ ผู้ส่งวัตถุตัวอย่าง
การวินิจฉัยโรคขั้นต้น และผลการชันสูตร
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้รับแจ้งความให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแจ้งดังกล่าวรายงานต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขทันที
ผู้รับแจ้งความโรคติดต่อ
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตจังหวัดนั้นๆ
นายอำเภอเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตจังหวัดนั้นๆ
หัวหน้าฝ่ายสาธารณสุขเมื่อพัทยา เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในเขตเมืองพัทยา
นายกเทศมนตรี หัวหน้าฝ่ายสาธารณสุข ประธานกรรมการสุขาภิบาล และหัวหน้าฝ่ายสาธารณสุขสุขาภิบาล เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลนั้นๆแล้วแต่กรณี
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในเขตตำบลหรือหมู่บ้านนั้นๆแล้วแต่กรณี
ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ผู้มีอำนาจในการควบคุมโรคติดต่อตาม พ.ร.บ ฉบับนี้ ได้แก่
รัฐมนตรี ผู้ว่าราชการ-จังหวัด เจ้าพนักงานสาธารณสุข และพนักงานเจ้าหน้าที่
กฎหมายกำหนดกฎเกณฑ์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ดังนี้
2.ถ้าหากปรากฎว่ามีโรคติดต่ออันตรายเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่าในต่างประเทศนั้นๆเป็นเขตติดโรค
3.ค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ
1.กำหนดให้ช่องทางและด่านตรวจคนเข้าเมืองตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เป็นด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือไม่
โทษ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523 กำหนดบทลงโทษ ดังนี้
1.บุคคลใดไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุข เมื่อมีโรคติดต่ออันตราย หรือโรคติดต่อต้องแจ้งความเกิดขึ้น หรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีโรคติดต่อเกิดขึ้น มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
2.ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานสาธารณสุข เมื่อมีเหตุสงสัยว่าได้เกิดโรคติดต่ออันตรายขึ้นในบ้าน โรงเรือน สถานที่หรือยานพาหนะ หรือฝ่าฝืนเข้าไปในเขตติดโรค ซึ่งรัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดและประกาศไว้ มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
3.ถ้าเจ้าของยานพาหนะหรือผู้ควบคุมยานพาหนะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานสาธารณสุข เมื่อมีโรคติดต่ออันตรายเกิดขึ้นในท้องที่หรือเมืองท่าในต่างประเทศแล้วรัฐมนตรีประกาศให้เป็นเขตติดโรค โดยไม่จอดยานพาหนะ ณ สถานที่ที่กำหนดให้จนกว่าเจ้าพนักงานสาธารณสุขจะอนุญาตให้ไปได้ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์กับพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523ผู้ประกอบวิชาชีพอาจมีบทบาท ดังต่อไปนี้
1.ผู้แจ้งความโรคติดต่อ
เมื่อพบหรือสงสัยว่าผู้ป่วยหรือผู้มาขอรับบริการสาธารณสุขป่วยด้วยโรคติดต่ออันตราย
ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งเป็นผู้ตรวจพบหรือรับผิดชอบสถานพยาบาลต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เมื่อพบหรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีการป่วย
2.ผู้ควบคุมการระบาดของโรค
เมื่อมีผู้ป่วยโรคติดต่ออยู่ในความดูแล ผู้ประกอบวิชาชีพต้องให้ความสำคัญต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค การแยกผู้ป่วย การเฝ้าดูอาการเมื่อมีเหตุสงสัยว่าอาจเป็นโรคติดต่อ
การเคร่งครัดต่อมาตรฐานความปลอดภัยจะช่วยป้องกันกาแพร่ระบาดของโรคติดต่อ
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
กักกัน หมายความว่า การควบคุมผู้สัมผัสโรคหรือพาหะให้อยู่ในที่เอกเทศ
คุมไว้สังเกต หมายความว่า การควบคุมดูแลผู้สัมผัสโรคหรือพาหะโดยไม่กักกันและอาจจะอนุญาตให้ผ่านไปในที่ใด ๆ ก็ได้
แยกกัก หมายความว่า การแยกผู้สัมผัสโรคหรือพาหะไว้ต่างหากจากผู้อื่นในที่เอกเทศ
ระยะฟักตัวของโรค หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจนถึงเวลาที่ผู้ติดโรคแสดงอาการป่วยของโรคนั้น
ระยะติดต่อของโรค หมายความว่า ระยะเวลาที่เชื้อโรคสามารถแพร่จากคนหรือสัตว์ที่มีเชื้อโรค ไปยังผู้อื่นได้โดยทางตรงหรือทางอ้อม
เขตติดโรค หมายความว่า ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรที่มีโรคติดต่ออันตราย หรือโรคระบาดเกิดขึ้น
ผู้สัมผัสโรค หมายความว่า คนซึ่งได้เข้าใกล้ชิดคน สัตว์ หรือสิ่งของติดโรค จนเชื้อโรคนั้น อาจติดต่อถึงผู้นั้นได้
การสอบสวนโรค หมายความว่า กระบวนการเพื่อหาสาเหตุแหล่งที่เกิดและแหล่งแพร่ของโรค
พาหะ หมายความว่า คนหรือสัตว์ซึ่งไม่มีอาการของโรคติดต่อปรากฏแต่ร่างกายมีเชื้อโรคนั้น ซึ่งอาจติดต่อถึงผู้อื่นได้
การเฝ้าระวัง หมายความว่า การสังเกต การเก็บรวบรวม และการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจน การรายงาน และการติดตามผลของการแพร่ของโรคอย่างต่อเนื่องด้วยกระบวนการที่เป็นระบบ
โรคระบาด หมายความว่า โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคแน่ชัด ซึ่งอาจแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
พาหนะ หมายความว่า ยานพาหนะ สัตว์ หรือวัตถุ ซึ่งใช้ในการขนส่งคน สัตว์ หรือสิ่งของ
โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หมายความว่า โรคติดต่อที่ต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ หรือจัดเก็บ ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
เจ้าของพาหนะ หมายความรวมถึง ตัวแทนเจ้าของ ผู้เช่าตัวแทนผู้เช่า หรือผู้ครอบครอง พาหนะนั้น
โรคติดต่ออันตราย หมายความว่า โรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูงและสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ อย่างรวดเร็ว
ผู้ควบคุมพาหนะ หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการควบคุมพาหนะ
โรคติดต่อ หมายความว่า โรคที่เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคซึ่งสามารถแพร่โดยทางตรง หรือทางอ้อมมาสู่คน
รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้
2.ช่องทางเข้าออกแห่งใดในราชอาณาจักรให้เป็นด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและยกเลิกด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
3.การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
1.ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1.ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะแจ้งกําหนดวัน เวลา และสถานที่ที่พาหนะนั้น ๆจะเข้ามาถึงด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุม โรคติดต่อระหว่างประเทศ
2.ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในราชอาณาจักรยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
3.ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยังไม่ได้รับการตรวจจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และห้ามผู้ใดนําพาหนะอื่นใด เข้าเทียบพาหนะนั้น
4.เข้าไปในพาหนะและตรวจผู้เดินทาง สิ่งของ หรือสัตว์ที่มากับพาหนะ ตรวจตราและควบคุมให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะแก้ไขการสุขาภิบาลของพาหนะให้ถูกสุขลักษณะ
5.ห้ามเจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะนําผู้เดินทางซึ่งไม่ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของคณะกรรมการเข้ามาในราชอาณาจักร
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
บริการสาธารณสุข หมายความว่า บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งให้ โดยตรงแก่บุคคลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่จําเป็นต่อสุขภาพและการดํารงชีวิต
สถานบริการ หมายความว่า สถานบริการสาธารณสุขของรัฐของเอกชน และ ของสภากาชาดไทย
หน่วยบริการ หมายความว่า สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัตินี้
เครือข่ายหน่วยบริการ หมายความว่า หน่วยบริการที่รวมตัวกันและขึ้นทะเบียน เป็นเครือข่ายหน่วยบริการตามพระราชบัญญัตินี้
ค่าบริการ หมายความว่า เงินที่ผู้รับบริการจ่ายให้แก่หน่วยบริการในการรับ บริการสาธารณสุขแต่ละครั้ง
ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข หมายความว่า ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจาก การให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
สิทธิการรับบริการสาธารณสุข
มาตรา 5 บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 6 บุคคลใดประสงค์จะใช้สิทธิตามมาตรา 5 ให้ยื่นคำขอลงทะเบียนต่อสำนักงานหรือหน่วยงานที่สำนักงานกำหนด
มาตรา 38 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรียกว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”
มาตรา 42 ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดได้แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควรตามมาตรา 41เมื่อสำนักงานได้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการไปแล้วสำนักงานมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้กระทำผิดได้
มาตรา60 ในกรณีที่การกระทําผิดของหน่วยบริการตามมาตรา ๕๘ หรือมาตรา 59 เป็นการกระทําผิดร้ายแรงหรือเกิดซ้ําหลายครั้งให้เลขาธิการรายงานต่อคณะกรรมการควบคุม คุณภาพและมาตรฐานเพื่อพิจารณาดําเนินการ ดังต่อไปนี้
1.สั่งเพิกถอนการขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการนั้น
2.แจ้งต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเพื่อพิจารณา ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
แจ้งต่อรัฐมนตรีผู้กํากับดูแลเพื่อให้มีการดําเนินการทางวินัยแก่ผู้บริหารของ หน่วยบริการในกรณีที่เป็นสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
4.แจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดข้อกล่าวหา หรือข้อกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุขซึ่งมีส่วนรับผิดชอบในการกระทําผิดของหน่วย บริการ
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2550
สุขภาพ หมายความว่า ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล
ปัญญา หมายความว่า ความรู้ทั่ว รู้เท่าทันและความเข้าใจอย่าง แยกได้ในเหตุผลแห่งความดี ความชั่ว
ระบบสุขภาพ หมายความว่า ระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่ เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
บริการสาธารณสุข หมายความว่า บริการต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
บุคลากรด้านสาธารณสุข หมายความว่า ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกําหนดรองรับ
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วย สถานพยาบาล
สมัชชาสุขภาพ หมายความว่า กระบวนการที่ให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้อย่างสมานฉันท์เพื่อนําไปสู่การเสนอแนะนโยบายสาธารณะ
สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
มาตรา ๕ บุคคลมีสิทธิในการดํารงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
มาตรา ๖ สุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศและสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ซึ่งมีความจําเพาะซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพ หญิงตลอดช่วงชีวิต ต้องได้รับการสร้างเสริมและคุ้มครองอย่าง สอดคล้องและเหมาะสม
มาตรา ๗ ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนําไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทําให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้
เว้น แต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคล นั้นโดยตรง
ในกรณีที่เกิดความเสียหายหรืออันตรายแก่ผู้รับบริการเพราะเหตุ ที่ผู้รับบริการปกปิดข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้ง หรือแจ้งข้อความอันเป็นเท็จผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรือ อันตรายนั้น
จากข้อความที่กล่าวมามิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
ผู้รับบริการอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตและมีความจําเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วน
ผู้รับบริการไม่อยู่ในฐานะที่จะรับทราบข้อมูลได้ และไม่อาจ แจ้งให้บุคคลซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
ต้อง สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และอย่างน้อยต้องมี สาระสําคัญเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
(๕) การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
(๖) การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ
(๔) การสร้างเสริมสุขภาพ
(๗) การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญา ท้องถิ่นด้านสุขภาพการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและ การแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ
(๓) การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
(๘) การคุ้มครองผู้บริโภค
(๙) การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ
(๑๐) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
(๒) คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
(๑๑) การผลิตและการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข
(๑) ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
(๑๒) การเงินการคลังด้านสุขภาพ