Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 อาหารที่เหมาะสมสาหรับบุคคลในภาวะและวัยต่างๆ - Coggle Diagram
บทที่ 6
อาหารที่เหมาะสมสาหรับบุคคลในภาวะและวัยต่างๆ
โภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ :<3:
(Nutrition during Pregnancy)
สารอาหารที่ควรได้รับในขณะที่ตั้งครรภ์
(Nutrition requirement during pregnancy)
พลังงาน
การตั้งครรภ์ครบ 40 สัปดาห์ หรือ 260 วันของเต้านมต้องใช้พลังงานถึง 80,000 กิโลแคลอรี
หญิงปกติที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ต้องการพลังงาน 1750 กิโลแคลอรี เมื่อตั้งครรภ์จะต้องกินอาหารให้ได้พลังงานเพิ่มขึ้น
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำควรเพิ่มอีกวันละ 300 กิโลแคลอรี
โปรตีน
ร่างกายต้องการโปรตีนเพื่อสร้างเนื้อเยื่อ ทั้งกล้ามเนื้อและสมองของเด็กและสร้างเนื้อเยื่อทางฝ่ายแม่
ได้แก่ รก มดลูก เต้านม รวมทั้งน้ำข้างนอกเซลล์ด้วย
กรมอนามัย กองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ได้โปรตีนเพิ่ม อีกวันละ 25 กรัม
ธาตุเหล็ก
แม่มีการสร้างเม็ดเลือดเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณเลือดมีการขยายมากขึ้น
ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงและองค์ประกอบของฮีโมโกลบิน
ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายออกซิเจนในร่างายถ้าร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอจะเกิดการซีดได้
กองโภชนาการกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดราตุเหล็กเสริมวันละ 60 มิลลิกรัม
แคลเซียม
มีความสำคัญต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และการรักษาปริมาณมวลกระดูกของมารดา
ร่างกายสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้นทำให้การดูดซึมแคลเซียมเพิ่มขึ้น และยังช่วยป้องกันกันสลายแคลเซียมจากกระดูกจึงไม่จำเป็นที่หญิงตั้งครรภ์จะต้องได้รับแคลเซียมเพิ่ม
สังกะสี
เป็นประกอบของเอนไซม์สำคัญ
ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการระบบภูมิคุ้มกันอายุขัยของเซลล์
หญิงตั้งครรภ์ควรได้สังกะสีเพิ่มวันละ 2 มิลลิกรัม
ไอโอดีน
ภาวะขาดเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ทารกตายขณะคลอด หรือมีความผิดปกติของสมองและระบบประสาท
ควรได้ไอโอดีนเพิ่มวันละ 50 ไมโครกรัม
วิตามินบีหนึ่ง
ควรได้รับเพิ่มขึ้นอีกวันละ 0.3 มิลลิกรัม
วิตามึนบีหก
ช่วยในการเผาผลาญและสังเคราะห์กรดอะมิโน
ช่วยสังเคราะห์ heme
ปริมาณที่ควรได้รับเพิ่มเป็น 0.6มิลลิกรัม
วิตามินโฟลาซิน
ถ้าขาดจะส่งผลให้เด็กทารกที่คลอดออกมาพิการทางสมอง
หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับวันละ500ไมโครกรัม
อาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ :<3:
(Food for pregnancy)
หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการพลังงานวันละ 2050 กิโลแคลอรี
อาหารกลุ่มข้าว แป้ง วันละ 9 ทัพพี
อาหารกลุ่มผัก วันละ 6 ทัพพี
อาหารกลุ่มผลไม้ วันละ 5 ส่วน
อาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ วันละ 12 ช่อนกินข้าว
อาหารนมและผลิตภัณฑ์นม วันละ 3 แก้ว
อาหารกลุ่มไขมัน วันละ 5 ช้อนชา
หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการพลังงานวันละ 2050 กิโลแคลอรี
อาหารกลุ่มข้าว แป้ง วันละ 9 ทัพพี
อาหารกลุ่มผัก วันละ 6 ทัพพี
อาหารกลุ่มผลไม้ วันละ 5 ส่วน
อาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ วันละ 12 ช่อนกินข้าว
อาหารนมและผลิตภัณฑ์นม วันละ 3 แก้ว
อาหารกลุ่มไขมัน วันละ 5 ช้อนชา
อาหารกลุ่มผัก
เป็นแหล่งของวิตามิน แร่ธาตุและใยอาหาร
ได้แก่ กะหล่ำปลี คะน้า ฟักทอง ตำลึง ผักบุ้ง และผักที่มีตามพื้นบ้าน
โดยเลือกกินให้มีความหลากหลาย ใน 1วัน กินรวมกันให้ได้ 6 ทัพพี
อาหารกลุ่มผลไม้
ให้คุณค่าทางโภชนาการเช่นเดียวกับกลุ่มผัก
ได้แก่ กล้วยน้ำว้า มะละกอสุก สับปะรด ส้ม
โดยเลือกกินผลไม้หลากหลายตามฤดูกาล ใน 1 วัน กินรวมกันให้ได้ 5 ส่วน
อาหารกลุ่มเนื้อสัตว์
ให้สารอาหารจำพวกโปรตีนซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างเนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆ
ได้แก่ ปลาทู ปลาดุก ปลาช่อน ไข่ เนื้อหมู เนื้อไก่ เต้าหู้
อาหารในกลุ่มนี้ยังให้ธาตุเหล็ก และควรบริโภคตับสัตว์และอาหารทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งด้วย ใน 1วัน กินรวมกันให้ได้ 12 ช้อนกินข้าว
อาหารกลุ่มนมและผลิตภัณฑ์นม
อาหารกลุ่มนี้เป็นแหล่งแร่ธาตุ แคลเซียม และฟอสฟอรัสซึ่งร่างกายต้องการใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน
ได้แก่ นมสด นมเปรี้ยว ไอศกรีม ใน 1 วัน กินรวมกันให้ได้ 3 แก้ว
อาหารกลุ่มไขมัน น้ำตาลและเกลือ
ไขมันให้พลังงานช่วยดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์
ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันจากสัตว์ หัวกะทิ เนยเทียม
ควรจำกัดน้ำมันในการปรุงอาหารอาหารในกลุ่มนี้
เกลือและน้ำตาล ซึ่งแนะนำให้กินในปริมาณที่น้อยหรือเท่าที่จำเป็น ใน 1 วัน ไม่ควรกินไขมันเกิน 6 ช้อนชา น้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา เกลือ ไม่เกิน 1 ช้อนชา
หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการพลังงานวันละ 2,250 กิโลแคลอรี
อาหารกลุ่มข้าว-แป้ง
อาหารกลุ่มข้าว-แป้ง
กินวันละ 9 - 12 ทัพพี
อาหารกลุ่มผัก
กินวันละ 7 ทัพพี
อาหารกลุ่มผลไม้
กินวันละ 7 ส่วน
อาหารกลุ่มเนื้อสัตว์
กินวันละ 12 ส่วน
อาหารกลุ่มนมและผลิตภัณฑ์นม
กินวันละ 3 แก้ว
อาหารกลุ่มไขมัน
กินวันละ 5 ช้อนชา
โภชนาการสำหรับหญิงให้นมบุตร :<3:
(Nutrition requirement of lactating)
พลังงาน
ระยะให้นมบุตร แม่จำเป็นต้องได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น เพื่อใช้เป็นพลังงานในการผลิตน้ำนม
หญิงให้นมบุตรต้องได้รับพลังงานเพิ่มอีกวันละ 500 กิโลแคลอรี
โปรตีน
แม่จำเป็นต้องได้รับโปรตีนให้เพียงพอเพื่อใช้ในการสร้างน้ำนมสำหรับทารก และเพื่อซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ที่สูญเสียไปในการคลอดทารก
วิตามิน
3.1 วิตามินเอ
ควรได้รับวิตามินเอเพิ่มขึ้นอีกวันละ 375 ไมโครกรัม วิตามินเอจากไข่แดง ตับสัตว์ ผักใบเขียว และผักสีเหลือง
3.2 วิตามินดี
หญิงให้นมบุดรได้รับเท่าปกติก่อนตั้งครรภ์ซึ่งได้จากไข่แดง ตับปลา น้ำนม
3.3 วิตามินบีหนึ่ง
ควรได้เพิ่มอีก 0.3 มิลลิกรัม ซึ่งได้จากเนื้อหมู ถั่วเมล็ดแห้ง
3.4 วิตามินบีสอง
หญิงให้นมบุตรควรได้รับเพิ่มอีกวันละ 0.5 มิลลิกรัมซึ่งได้จากเนื้อสัตว์ ตับ ไข่ ถั่วต่างๆ ผักใบเขียว
3.5 วิตามินซี
ควรได้รับเพิ่มอีกวันละ 35 มิลลิกรัม
4.เกลือแร่
4.1 ธาตุเหล็ก
หญิงให้นมบุตรควรได้รับธาตุเหล็กจากอาหารวันละ 15 มิลลิกรัม ซึ่งได้จากการกินเครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว ผลไม้เพื่อให้ได้รับวิตามินซี่ ซึ่งจะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น
4.2 แคลเซียม
ในระยะให้นมบุตร แม่ต้องการแคลเซียมเท่าปกติ ซึ่งได้จากการดื่มน้ำมัน ปลาเล็กน้อยหรือปลาที่กินได้ทั้งกระดูก ผักใบเขียว
4.3 ไอโอดีน
หญิงให้นมบุตรจึงควรได้รับไอโอดีนเพิ่มอีกวันละ 50 ไมโครกรัม ซึ่งได้จากการกินอาหารทะเล เช่น หอย ปู กุ้ง ปลา
ข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันของคนไทยกำหนดให้หญิงให้นมบุตรได้รับพลังงานเพิ่มจากภาวะปกติอีกวันละ 500 กิโลแคลอรี่ ให้ได้รับโปรตีนเพิ่มอีกวันละ 25 กรัม
โภชนาการสำหรับทารก :<3:
(Nutrition during Infancy)
ทารกจะเจริญเติบโตเป็นปกติดีก็เมื่อได้อาหารเพียงพอกับที่ร่างกาย ในช่วงอายุ 6 เดือนแรก
1.พลังงาน (Energy)
สารอาหารที่ให้พลังงานได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน
ทารกอายุ 6 - 11 เดือน ควรได้รับวันละ 800 กิโลแคลอรี
2.โปรตีน (Protein)
ใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมน เอนไซม์ ภูมิคุ้มกันโรคติเชื้อ และให้พลังงาน
ทารกอายุ 6-11 เดือน ควรได้รับวันละ 15 กรัม
พบมากในอาหารพวกเนื้อสัตว์ นม ผลิตภัณฑ์นม ไข่ ถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์จากถั่ว
ความต้องการสารอาหารในทารก
(Nutrition requirement of infant)
วิตามินเอ (Vitamin A)
ช่วยในการมองเห็นรักษาสภาพของเยื่อบุผิวที่ผิว ต้านทานโรค
ทารกอายุ 6 -11 เดือน ควรได้รับวันละ 400ไมโครกรัม
พบมากในตับ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ผักใบเขียว ผักที่มีสีเหลือง
วิตามินดี (Vitamin D)
ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสเพื่อใช่ในการสร้างกระดูกและฟัน
ทารกอายุ 6-11 เดือน ควรได้รับวันละ 5 ไมโครกรัม
พบมากในไข่แดงตับปลา น้ำนม ปลาซาดีน ปลาทู
วิตามินอี (Vitamin E)
ช่วยลดการเกิดออกซิเดชั่นของกรดไขมันไม่อิ่มตัวและช่วยรักษาสภาพของเซลล์
ทารกอายุ 6-11 เดือน ควรได้รับวันละ5 มิลลิกรัม
พบในน้ำมันพืชไข่แดง ถั่วเมล็ดแห้ง ผักใบเขียว
วิตามินซี (Vitamin C)
จำเป็นในการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยรักษาและสมานแผล ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก
ทารกอายุ 6-11 เดือน ควรได้รับวันละ 35 มิลลิกรัม
พบมากในมะขามป้อม มะระขี้นก ฝรั่ง มะม่วงแก้วสุก
วิตามินบีหนึ่ง (Thiamin)
มีความสำคัญในกระบวนการเผาผลาญอาหารของคาร์โบไฮเดรต
ทารกอายุ 6-11 เดือน ควรได้รับวันละ 0.3 มิลลิกรัม
พบมากในข้าวกล้อง เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์รำข้าว งาเมล็ดธัญพืช
วิตามินบีสอง (Riboflavin)
จำเป็นต่อสุขภาพของผิวหนังและระบบประสาท
พบมากในนม เนย ไข ถั่วเมล็ดแห้ง เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว
ควรได้รับวันละ 0.4 มิลลิกรัม
วิตามินบีหก (Vitamin B-6)
จำเป็นต่อการสร้างและสังเคราะห์ DNA RNA และโปรตีน
ควรได้รับวันละ 0.5มิลลิกรัม
วิตามินบีสิบสอง (Vitamin B-12)
เป็นส่วนสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท ขาดจะทำให้เกิดโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่
ควรได้รับวันละ 0.5 ไมโครกรัม
พบมากในเนื้อสัตว์ ปลา ไข นม ถั่วเมล็ดแห้ง
แคลเซียม (Calcium)
เสริมสร้างกระดูกและฟัน ช่วยการแข็งตัวของเลือด ทำงานของหัวใจ
ควรได้รับวันละ 270 มิลลิกรัม
พบมากในนม ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง ผักใบเขียว
ฟอสฟอรัส (Phosphorus)
ควรได้รับวันละ 275 มิลลิกรัม
พบมากในเนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วต่างๆ
ไอโอดีน (Iodine)
ควรได้รับวันละ 90 ไมโครกรัม
พบมากในอาหารทะเล เกลืออนามัยที่เสริมไอโอดีน
ธาตุเหล็ก (Iron)
ควรได้รับวันละ 9.3 มิลลิกรัม
พบมากในตับ เลือด เนื้อสัตว์ ไข่แดง นุ่ม ถั่วเมล็ดแห้ง
สังกะสี (Zinc)
ควรได้รับวันละ 3 มิลลิกรัม
พบมากในอาหารทะเล ตับ ไข่แดง นม เมล็ดธัญพืช
ชนิดอาหารที่ให้ทารกตามวัย :<3:
เด็กอายุ 6 เดือน
กินนมแม่และอาหารอื่น 1 มื้อ
ข้าวบด 3 ช้อนกินข้าว ควรจะเป็นข้าวบดละเอียด
ไข่และเนื้อสัตว์ไข่แดงครึ่งฟ่องสลับกับดับบด 1 ช้อนกินข้าว หรือปลาบด 2 ช่อนกินข้าว โดยเนื้อปลา ได้แก่ ปลาทู ปลาช่อน
ผักสุกบดครึ่งช้อนกินข้าว ได้แก่ ผักตำลึง ผักกวางดุ้ง ฟักทอง
ผลไม้สุก 1-2 ชิ้น ได้แก่ มะละกอสุก มะม่วงสุก ส้ม กล้วยน้ำว้า ตอนแรกเริ่มให้ที่ละน้อยก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนได้ปริมาณตามที่แนะนำ
อาหารทารกอายุ 7 เดือน
กินนมแม่และอาหาร 1 มื้อ ดังนี้
ข้าวบด 4 ช้อนกินข้าว โดยข้าวบดอาจจะหยาบขึ้นกว่าตอนเด็กอายุ 6 เดือนได้ เพื่อพัฒนาการเคี้ยว
ไข่ทั้งฟอง ไข่ขาวและไข่แดงสลับกับเนื้อปลา 2 ช้อนกินข้าว หรือเนื้อหมู 2 ช้อนกินข้าว
ผักสุก 1 12 ช้อนกินข้าวโดยให้ผักหลายชนิดสลับกันไป
ผลไม้สุก 2-3 ชิ้น
อาหารเด็กอายุ 7 เดือนนี้เหมือนกับเด็กอายุ 6 เดือน แต่ปริมาณมากขึ้นและสามารถให้กินไข่ได้ทั้งฟอง ทั้งไข่ขาวและไข่แดง เมื่อให้เด็กกินอาหาร อิ่มแล้ว ให้เด็กดูดนมแม่จนอิ่ม
อาหารทารกอายุ 8-9 เดือน
กินนมแม่และอาหารอื่น 2 มื้อ
ข้าวหุงนิ่มๆ 5 ช้อนกินข้าว แบ่งกินมื้อละ 2-3 ช้อนกินข้าวไม่ต้องบดละเอียด เพราะฟันเด็กเริ่มขึ้น เพื่อให้เด็กได้เคี้ยว
ไข่ทั้งฟ้อง และเนื้อสัตว์ 2 ช้อนกินข้าว โดยแยกเป็น 2 มื้อ เช่น มื้อเช้าเป็นไข่ทั้งฟอง และมื้อถัดมาเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อหมู 2 ช้อนกินข้าว และอาจเปลี่ยนเป็นตับบ้าง
ผักสุกหั่น 2 ช้อนกินข้าว แบ่งเป็น 2 มื้อ โดยให้ชนิดของผักต่างๆกันไป เช่น มื้อเช้าเป็นตำลึง และมื้อต่อไปเป็นผักกาดขาว
กินผลไม้สุกวันละ 3-4ขึ้น ควรจะเป็นผลไม้ที่เนื้อนิ่มๆ เช่น ส้ม มะละกอ กล้วย มะม่วงสุก
อาหารทารก อายุ 10-12 เดือน
กินนมแม่และอาหารอื่น 3 มื้อ
ข้าวสุกหุงนิ่ม 5 ช้อนกินข้าว ให้กินใน 1 วัน และแบ่งกินเป็น 3 มื้อโดยมื้อเช้าอาจจะให้ปริมาณมากกว่ามื้ออื่นๆ ได้ ไข่ทั้งฟองและเนื้อสัตว์ 2 ช้อนกินข้าว โดยแยกออกเป็น 3 มื้อ
สำหรับเนื้อสัตว์ให้สลับกันไปเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา และดับสัตว์
ผักสุกหั่น 2 ช้อนกินข้าว ได้แก่ ฟักทอง ตำลึง ผักกวางตุ้ง และฝักเขียว สลับกัน จะได้เป็นการให้เด็กกินผักได้หลายชนิด
ผลไม้สุก ได้แก่ กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก มะม่วงสุก หลังอาหาร ทุกมื้อ หลังจากให้ลูกกินอาหารแล้ว ควรให้ลูกกินนมแม่ตามจนอิ่ม
โภชนาการสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน :<3:
(Nutrition during Preschool Child)
พลังงาน
เด็กวัยนี้ต้องการพลังงานเพื่อการเจริญเติบโต และทำกิจกรรมต่างๆ
เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้พลังงานวันละ 1000 กิโลแคลอรี เด็กอายุ 4-5ปี ควรได้รับวันละ 1300 กิโลแคลอรี
โปรตีน
เป็นวัยที่ดำลังเจริญเติบโตต้องการโปรตีนเพื่อใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ เอนไซม์ ฮอร์โมน สร้างภูมิคุ้มกันโรค และให้พลังงาน
เด็กอายุ 1-3 ควรได้โปรตีนวันละ 18 กรัม เด็กอายุ 4-5 ปี ควรได้รับวันละ 22 กรัม
วิตามินเอ
เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับวิตามินวันละ 400ไมโครกรัม
เด็กอายุ 4-5 ปี ควรได้รับวันละ 450 ไมโครกรัม พบมากในตับ ไข่แดง ผักใบเขียว
วิตามินซี
เด็กอายุ 1-3 ปี และเด็กอายุ 4-5 ปี ควรได้รับวิตามินซีวันละ 40 มิลลิกรัม
พบมากในผักสด และผลไม้สด
วิตามินบีหนึ่ง
เด็กอายุ 1-3 ปีควรได้รับวิตามินบี 1 วันละ 0.5 มิลลิกรัม
เด็กอายุ 4-5 ปี ควรได้รับวันละ 0.6มิลลิกรัม
พบมากในข้าวกล้อง เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ รำข้าว เมล็ดธัญพืช งา
วิตามินบีสอง
เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับวันละ 0.5มิลลิกรัม
เด็กอายุ 4-5 ปี ควรได้รับวันละ 0.6 มิลลิกรัม
พบมากใน นม เนย ไข่ ถั่วเมล็ดแห่ง เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว
วิตามินบีหก
เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับวันละ 0.5 มิลลิกรัม
เด็ก 4-5 ปี ควรได้รับวันละ 0.6 มิลลิกรัม
พบมากในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ข้าวกล้อง นม ไข่แดง ผักใบเขียว
วิตามินบีสิบสอง
เด็กอายุ 1-3ปี ควรได้รับวันละ 0.9 มิลลิกรัม
เด็กอายุ 4-5 ปี ควรได้รับวันละ 1.2 มิลลิกรัม
แคลเซียม
เด็กอายุ 1-3ปี ควรได้รับ วันละ 500 มิลลิกรัม
เด็กอายุ 4-5 ปีควรได้รับวันละ 800 มิลลิกรัม
พบมากในนม ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง ผักใบเขียว
ฟอสฟอรัส
เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับวันละ 460 มิลลิกรัม
เด็กอายุ 4-5 ปี ควรได้รับวันละ 500 มิลลิกรัม
พบมากในเนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วต่างๆ
ธาตุเหล็ก
เด็กอายุ 1-3ปี ควรได้รับวันละ 460 มิลลิกรัม
เด็กอายุ 4-5 ปี ควรได้รับวันละ 500 มิลลิกรัม
พบมากใน ตับ เลือด เนื้อสัตว์ ไข่แดง นม ถั่วเมล็ดแห้ง ผักใบเขียว
ไอโอดีน
เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับวันละ 90 มิลลิกรัม เท่ากับเด็กอายุ 4-5 ปี
พบมากในอาหารทะเล ผักที่อยู่ใกล้ทะเล
อาหารสำหรับเต็มวัยเรียน :<3:
(Food for preschool child)
หลักการจัดอาหารสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน
ควรจัดอาหารให้หลากหลายย่อยง่าย เคี้ยวง่าย รสไม่จัด สีสันน่ารับประทาน ปริมาณเหมาะสมครบ 5 หมู่
ควรเสริมอาหารประเทเต้าหู้และถั่วเมล็ดแห่งต่างๆแทนอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เด็กควรได้รับไข่และนมทุกวัน
3.ควรจัดอาหารที่มีส่วนประกอบของผักทุกวันให้มีความหลากหลาย เช่น ผักใบเขียว ผักสีเหลือง ผักสีแสด วันละ 1-2 ชนิด จะช่วยให้เด็กขับถ่ายสะดวก และบำรุงสุขภาพให้แข็งแรง
4.ควรฝึกให้เด็กรับประทานผลไม้ทุกวัน
5.ขนมหวานและอาหารว่าง ควรทำจากธัญพืชต่างๆ และถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเขียวต้มน้ำตาล กล้วยบวชชี ข้าวต้มมัด ขนมถั่วแปบ
6.ไม่ควรปรุงอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด หวานจัด ไขมันสูง
ไม่ควรให้ขนมหรือกินเล่นก่อนมื้ออาหาร 1-2 ชั่วโมง
ระมัดระวังในเรื่องความสะอาดของอาหาร ภาชนะ/อุปกรณ์ สถานที่ ตลอดถึงผู้เตรียมอาหารให้เด็กรับประทาน
โภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียน
(Nutrition during School Child)
เด็กวัยเรียน มีอายุ 6-10 ปีในเด็กหญิง และอายุ6-12 ปีในเด็กชาย อัตราการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียนจะช้ากว่าวัยทารกและวัยก่อนเรียน แต่การเจริญเติบโตจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
ความต้องการสารอาหารในเด็กวัยเรียน
(Nutrient requirement of school child )
พลังงาน
เด็กอายุ 6-8ปีทั้งชายและหญิง ควรได้รับพลังงานวันละ 1400 กิโลแคลอรี
เด็กอายุ 9-12ปี (ชาย)ควรได้รับพลังงานวันละ 1700 กิโลแคลอรี
เด็กอายุ 9-12 ปี (หญิง) ควรได้รับพลังงานวันละ 1600 กิโลแคลอรี
โปรตีน
เด็กวันเรียนอายุ 6-8 ปี มีความต้องการเป็น 28 กรัม/วัน
เด็กอายุ 9-12ปี (ชาย) มีความต้องการ 40 กรัม/วัน
เด็กอายุ 9-12 ปี (หญิง) มีความต้องการเป็น 41 กรัม/วัน
แคลเซียมและฟอสฟอรัส
เด็กอายุ 6-8 ปี ควรได้รับวันละ 800 มิลลิกรัม/วัน
เด็กอายุ 9-12ปี ควรได้รับ 1000 มิลลิกรัม/วัน
ขาดทำให้ร่างกายเจริญเติบโตไม่เต็มที่ นมและผลติภัณฑ์นมเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของแคลเซียม
ธาตุเหล็ก
เด็กอายุ 6-8 ปี เป็น 8.1 มิลลิกรัม
เด็กอายุ 9-12 ปี(ชาย) เป็น 11.8 มิลลิกรัม
เด็กอายุ 9-12 ปี (หญิง) เป็น19.1 มิลลิกรัม
ไอโอดีน
เด็กอายุ 6-8 ปี และวัย 9-12 ปี ควรเป็น 120ไมโครกรัม เพื่อป้องกันการเกิดคอพอกในเด็กวัยเรียน
สังกะสี
เด็กอายุ 6-8 ปี วันละ 4 มิลลิกรัม
เด็กอายุ 9-12 ปี วันละ 5 มิลลิกรัม
ถ้าขาดจะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก ขาดความอยากอาหาร แหล่งอาหารที่สำคัญ อาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหารทะเล
วิตามินดี
เด็กวัยเรียนอายุ 6-8 ปี และ 9-12 ปี เป็น 5 ไมโครกรัม/วัน
วิตามินดีในร่างกายส่วนใหญ่ไต่มาจากการสังเคราะห์
วิตามินดีขึ้นเองในร่างกายที่ผิวหนังโดยอาศัยแสงแดดเป็นตัวกระตัน และส่วนน้อยได้มาจากการบริโภควิตามินดีจากอาหาร
อาหารสำหรับเด็กวัยเรียน :<3:
(Food for school child)
การเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียนในช่วงอายุระหว่าง 6-12 ปี
เป็นไปอย่างช้าๆแต่ค่อนข้างสม่ำเสมอ
การจัดอาหารสำหรับเด็กวัยนี้ นับเป็นสิ่งที่พอแม่ ผู้ปกครอง และโรงเรียนควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ
เด็กในวัยนี้ควรให้กินอาหารเหมือนผู้ใหญ่ทุกอย่างเด็กวัยนี้มีความอยากอาหารดีมาก
การจัดอาหารสำหรับเด็กวัยเรียนที่มีความต้องการพลังงานวันละ 1600 กิโลแคลอรี และ 1700 กิโลแคลอรี โดยนำหลักการจัดกลุ่มอาหารจากธงโภชนาการมาใช้