Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การคลอด, นางสาว วรินทร์ทิพย์ เผ่าวัฒนา เลขที่ 108 - Coggle Diagram
การคลอด
การช่วยเหลือการคลอดปกติ
-
-
การเตรียมผู้ทำคลอด
-
เมื่อจะทำการตรวจทางช่องคลอด หรือทำคลอด ต้องผูก mask เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระยะคลอดและหลังคลอด โดยเฉพาะเชื้อ beta hemolytic streptococci ซึ่งอยู่ตามระบบทางเดินหายใจและปากของคนและก่อให้เกิดพยาธิสภาพด้วยการติดเชื้อทางน้ำลายได้
-
-
-
การปูผ้า
ปูผ้ารองก้น จับมุมผ้า และคลี่ผ้าออกให้ความยาวของผ้าคลี่ลงด้านล่าง จับผ้าตลบให้ชายผ้าปิดมือทั้ง 2 ข้าง ให้ผู้คลอดยกก้นขึ้น และสอดผ้าเข้าใต้ก้นผู้คลอด
สวมถุงเท้าหรือปลอกขา โดยสวมขาข้างที่ใกล้ตัวผู้ทำคลอดก่อน โดยสอดมือทั้ง 2 เข้าไปใต้ชายผ้าที่พับตลบไว้ วางปลายถุงเท้าไว้บนข้อพับแขนข้างใดข้างหนึ่งเพื่อป้องกันการ contaminate ให้ผู้คลอดยกเท้าขึ้น กระดกปลายเท้าลงผู้ทำคลอดสวมถุงเท้าเข้าไปจนถึงโคนขาแล้วให้ผู้คลอดชันเข่าไว้ หลังจากนั้นสวมถุงเท้าด้านไกลตัวโดยวิธีเดียวกัน
ปูผ้าให้ผู้คลอดโดยผืนที่ 1 ปูหน้าท้องโดยจับผ้าที่สันทบบนสุดกับล่างสุดแล้วยกผ้า คลี่ออกจะได้เป็นผ้าครึ่งผืน ปูให้สันทบอยู่ด้านบน
การเชียร์เบ่ง
ผู้ทำคลอดจะต้องดูแลให้ผู้คลอดเบ่งเมื่อปากมดลูกเปิดหมด และเบ่งในขณะที่มดลูกมีการหดรัดตัว ให้ผู้คลอดนอนหงายชันเข่าทั้งสองข้าง เอามือทั้งสองข้างจับที่ข้อเท้าหรือข้างเตียง ให้ส้นเท้าจิกกับเตียงให้เต็มที่ เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัวให้ผู้คลอดสูดลมหายใจเข้าทางจมูกและเป่าลมหายใจออกทางปากหนึ่งครั้งเพื่อหายใจล้างปอด จากนั้นสูดลมหายใจเข้าเต็มที่แล้วกลั้นลมหายใจไว้ยกศีรษะจนคางจรดหน้าอก (C-shaped, Up-right position) ออกแรงเบ่งลงก้นเหมือนการเบ่งถ่ายอุจจาระ ประมาณ 6–8 วินาที ไม่ควรเกิน 10 วินาทีต่อครั้ง ให้ผู้คลอดเบ่งซ้ำ หากมดลูกยังหดรัดตัวแข็งอยู่ เมื่อมดลูกคลายตัวให้หยุดเบ่ง โดยหายใจล้างปอดหนึ่งครั้ง หายใจตามปกติ และนอนพักจนกว่ามดลูกจะหดรัดตัวครั้งใหม่จึงเชียร์เบ่งต่อ ไม่ควรให้ผู้คลอดเบ่งนานเกินไปเพราะจะทำให้เกิดความดันในช่องอกและช่องท้องเพิ่มมากขึ้นจนเลือดไหลกลับสู่หัวใจได้ลดลง (Valsalva maneuver) ความดันโลหิตลดต่ำลง หัวใจเต้นเร็วขึ้น เมื่อผู้คลอดหยุดเบ่งความดันโลหิตจะสูงขึ้น หัวใจช้าลง
-
-
-
การทำคลอด
การทำคลอดศีรษะ
ผู้ทำคลอดจะอยู่ด้านขวาของผู้คลอด ใช้นิ้วมือซ้ายของผู้คลอดช่วยกดศีรษะทารกบริเวณ vertex ไว้ ไม่ให้ศีรษะทารกเงยเร็วเกินไป ส่วนอุ้งมือขวาจับผ้า safe perineum วางทาบลงบนฝีเย็บให้นิ้วหัวแม่มือและอีก4นิ้วอยู่คนละด้าน วางผ้า safe perineum ให้ต่ำกว่าขอบฝีเย็บ 1-2 ซม. เพื่อจะได้สังเกตการฉีกขาดของฝีเย็บได้ชัด ให้มองเห็นบริเวณ forcheete ด้วยและพร้อมที่จะดันศีรษะทารกเงยขึ้นด้วย
เมื่อบริเวณใต้ท้ายทอยออกมายันใต้ subpubic archแล้ว มือขวจับผ้า safe perineum และวางที่บริเวณ perineum โดยไม่ขยับเขยื้อน จนกระทั่งส่วนที่กว้างที่สุดของศีรษะทารกคลอดออกมาหรือศีรษะทารกมี crowning จากนั้นผู้คลอดเปลี่ยนมือที่ไม่ถนัดที่กดบริเวณท้ายทอยมาโกยศีรษะทารกที่เหลือบริเวณฝีเย็บให้เงยขึ้น พร้อมกับใช้มือที่ถนัดช่วยรูดฝีเย็บให้ผ่านพ้นหน้าและคางของทารก
บอกให้ผู้คลอดหยุดเบ่งและหายใจลึกๆ ยาวๆเพื่อรอกลไกลการคลอดและป้องกันการฉีกขาดของ ฝีเย็บ ทิ้งผ้า safe perineum ลงถังขยะหมุนศีรษะทารกตาม Restitution ที่เกิดขึ้นเพื่อให้ทารกกลับมาอยู่ในท่าเดิมทำการ Eternul rotation ต่อเพื่อให้ศีรษะทารกหันมาอยู่ตรงกับหลัง บางคนอาจหมุนให้ศีรษะเงยขึ้น เพื่อให้สามารถ Suction ได้ง่าย
ผู้ทำคลอดใช้สำลีชุบ N.S.S. บีบพอหมาด เช็ดตาทารกโดยเช็ดจากหัวตาไปหางตา และใช้ลูกสูบยางแดงดูดมูกออกจากปาก ลำคอและจมูกของทารกจนหมด
การทำคลอดไหล่
การทำคลอดไหล่หน้า
ผู้คลอดใช้มือจับขมับโดยเอามือประกบให้อยู่ระหว่างอุ้งมือทั้งสองข้างแล้วค่อยๆโน้มศีรษะทารกลงมาข้างล่างตามแนวของช่องเชิงกรานส่วนบน เมื่อเห็นไหล่หน้าจนถึงซอกรักแร้ทั้งหมด ห้ามเอามือดึงรั้งใต้คางทารกเป็นอันขาดเพราะอาจทำ อันตรายแก่ประสาทบางส่วนได้ การดึงศีรษะทารกลงมามากๆ เพื่อทำคลอดไหล่นั้นบางรายทำให้เกิดการฉีก ขาดของกล้ามเนื้อ Stermomastoid และมีเลือดขังอยู่ได้ ซึ่งภายหลังจะเกิดแผลเป็นและพังผืดขึ้น ทำให้เกิดการดึงรั้งกล้ามเนื้อข้างนั้นให้มีการเจริญยืดยาวได้ ทำให้คอเอียง ( Congenital torticolis ) ดังนั้นจึงควรทำ วยความนุ่มนวลและเวลาดึงโน้มลงตามแนวทิศทางของทางคลอดจริงๆ
การทำคลอดไหล่หลัง
จับศีรษะทารกให้อยู่ระหว่างอุ้งมือทั้งสองข้างเช่นเดียวกับการทำคลอด ไหล่หน้า แล้วยกศีรษะทารกขึ้นในทิศทางประมาณ 45 องศากับแนวดิ่ง ห้ามสอดนิ้วเข้าไปดึงรักแร้หรือไต้คาง ทารก เพราะจะทำอันตรายต่อกลุ่มประสาทที่ไปเลี้ยงบริเวณใต้แขน ( Brachiat plexus ) ทำให้ทารกที่เกิด ออกมามี Erb - Duchenne Paralysis ขณะเดียวกันจะต้องดูบริเวณฝีเย็บด้วยจนกระทั่งแขนทั้งสองคลอดออก มาแล้วจึงหยุดดึงทารก ในการทำคลอดไหล่หลังนี้ฝีเย็บจะเกิดการฉีกขาดได้เพราะมารดาอาจจะเบ่งดันทารก ออกมาตรงๆ โดยที่ผู้ทำคลอดให้การช่วยเหลือไม่ทัน หรือเป็นเพราะผู้คลอดยกศีรษะทารกให้ไหล่หลังคลอดไม่ พอคือไม่ตรงกับแนวหนทางคลอดส่วนล่าง แทนที่ bisacromial diameter ของทารกจะผ่านออกตรงๆ กลับ เป็นส่วนเส้นรอบอกของทารก ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าออกมา
การทำคลอดลำตัว
เมื่อไหล่ทั้งสองข้างคลอดออกมาแล้ว ลำตัวและแขน ขา ซึ่งเป็นส่วนที่เล็กกว่าก็จะ คลอดตามมาได้ง่ายโดยงอตัวข้างๆ ตามลักษณะของแนวช่องทางคลอด และหากเห็นท้องทารก ให้หยุด Suction อีกครั้ง ( ถ้าไม่ทันก็ให้ทำคลอดทั้งตัวก่อนก็ได้ ) ควรดึงตัวทารกออกมาช้าๆ เพื่อให้มดลูกปรับขนาดได้ ตามธรรมชาติ เพราะถ้าดึงออกเร็วเกินไปจะทำให้ความดันในโพรงมดลูกลดลงอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้เกิดการ เกร็ง ( spasm ) เกิดภาวะปากมดลูกหดรัดตัว ( cervical cramp ) ทำให้เกิดภาวะรกค้างได้ เมื่อทารกคลอดหมด ทั้งตัวแล้วให้ดูเวลาทารกคลอดและ วางทารกลงบนผ้า sterile โดยวางทารกให้ตะแคงหันหลังเข้าหาปากช่อง คลอดของมารดาและจัดให้สายสะดือวางพาดอยู่บนลำตัว การที่วางทารกเช่นนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้มือและแขน ขา ของทารกซึ่งจะเคลื่อนไหวไปมาเวลาทารกดิ้นไป Contaminate บริเวณ anus ได้ และเป็นการป้องกันการ สำลักจากเมือกต่างๆ ที่อยู่ในปากและจมูกของทารก ขณะเดียวกันก็ทำให้มีการ drainage ดีด้วย หลังจากนั้นต้อง clear air way และกระตุ้นทารกจนกว่าทารกจะร้องและหายใจเองได้ดี
การ clamp สายสะดือ ต้อง clamp ผูกสายสะดือ2ตำแหน่ง โดยตำแหน่งที่1 จะ clamp ห่างจากหน้าท้องทารกประมาณ 2-3 ซม. โดยต้อง clamp ให้แน่นและให้ปลายกรรไกรพอดี ไม่โผล่ยาวเกินไป เพื่อป้องกันเลือดไหลออกจากตัวทารกหลังจากตัดสายสะดือ แล้ว clamp ตัวที่2ห่างจากตัวที่1ประมาณ3-4 ซม.
การผูกและตัดสายสะดือ
การ clamp สายสะดือ ผู้ทำคลอดต้อง clamp ผูกสายสะดือ 2 ตำแหน่ง โดยตำแหน่งที่ 1 จะ clamp ห่างจากหน้าท้องทารกประมาณ 2 - 3 ซม. โดยต้อง clamp ให้แน่น และให้ปลายกรรไกรพอดี ไม่โผล่ยาวเกินไป เพื่อป้องกันเลือดไหลออกจากตัวทารกหลังจากตัดสายสะดือ และรูดเลือดกลับไปด้านมารดา แล้ว clamp ตัวที่ 2 ห่างจากตัวที่ 1 ประมาณ 3-4 ซม.
ก่อนตัดสายสะดือผู้ทำคลอดต้องทาความสะอาดสายสะดือบริเวณที่จะตัดคือ ระหว่าง clamp ที่ 1 และที่ 2 ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น alcohol 70 % แล้ววางสายสะดือบนนิ้วกลางและนิ้วนางของมือข้างที่ไม่ถนัด ส่วนนิ้วชี้และนิ้วก้อยให้วางทับบนสายสะดือ สอดสำลีชุบน้ำยาฆ่าเชื้อไว้ใต้สายสะดือตรงตำแหน่งที่จะตัด มือข้างที่ถนัดถือกรรไกรตัดสายสะดือโดยหันปลายกรรไกรเข้าหาอุ้งมือที่พาดสายสะดือไว้ แล้วกำอุ้งมือข้างนั้นไว้ขณะตัด
การตัดสายสะดือควรห่างจาก clamp ตัวที่ 1 ประมาณ 1 ซม. ขณะตัดต้องไม่ดึงรั้งสายสะดือเพราะจะทำให้เกิดการฉีกขาดตรงรอยต่อระหว่างสายสะดือกับผิวหนังหน้าท้องทารก เมื่อตัดเสร็จให้วางสายสะดือข้างที่ติดอยู่กับมารดา และสอดไว้ใต้ผ้าคลุมหน้าท้องหรือวางไว้บนผ้าคลุมหน้าท้องของมารดา และใช้ towel clip เกี่ยวยางรัดสายสะดือ หลังจากนั้นคลาย clamp ออก และบีบสายสะดือข้างที่ติดหน้าท้องทารกเพื่อทดสอบดูว่ามีเลือดซึมออกมาหรือไม่
การตัดและซ่อมแซมฝีเย็บ
การตัดฝีเย็บ
ความหมาย
คือ การตัดเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อบางส่วนของช่องคลอดและฝีเย็บ เพื่อขยายทางคลอดให้กว้างขึ้น ศีรษะและไหล่ของทารกจะได้ผ่านออกมาโดยสะดวก
ประโยชน์ของการตัดฝีเย็บ
-
ป้องกันการฉีกขาดของ Perineal body, External anal sphincter และผนังของ rectum
-
-
-
ชนิดของการตัดฝีเย็บ
Lateral episiotomy เป็นการตัดจาก posterior fourchette ไปทางด้านข้าง ขนานกับแนวราบ ไม่ควรตัดเฉียงขึ้นไปมาก เพื่อหลีกเลี่ยงการตัด Bartholin’s gland วิธีนี้ไม่นิยมทำ เนื่องจากเสียเลือดมาก แผลหายช้า หลังจากแผลหายแล้วรูปร่างของช่องคลอดมักผิดปกติ และอาจตัดโคนท่อ Bartholin’s gland
Median episiotomy เป็นการตัดจาก posterior fourchette ลงไปตามแนวดิ่งและควรหยุดห่างจากกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักอย่างน้อย 1 ชม. เป็นวิธีที่นิยมทำ เนื่องจากเสียเลือดน้อย การเย็บซ่อมแซมทำได้ง่ายและไม่รู้สึกเจ็บปวดที่บาดแผลภายหลังคลอดเท่ากับแบบ Medio-Lateral แต่มีโอกาสฉีกขาดลุกลามไปถึง rectum ได้มากกว่าแบบ Medio-Lateral episiotomy ตัด 2-3เซนติเมตร
Medio - Lateral episiotomy เป็นการตัดจากจุด posterior fourchette ลงไป โดยทำมุมกับแนวดิ่ง 45 องศา เป็นวิธีที่นิยมทำอีกวิธีหนึ่งเนื่องจากมีโอกาสฉีกขาดลุกลามไปถึง rectum ได้น้อยกว่าแบบ median แต่การเย็บซ่อมแซมยากกว่า median
การซ่อมแซมฝีเย็บ
-
ระดับการฉีกขาดของฝีเย็บ
-
-
-
Fourth degree tear เป็นการฉีกขาดเช่นเดียวกับ Third degree tear และมีการฉีกขาดต่อจากกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักจนถึงผนังของ Rectum
ชนิดของการเย็บแผล
Interrupted simple suture คือ การเย็บแผลทั้งสองข้างให้มาบรรจบกันตรงกลางแล้วผูกปม การเย็บควรใช้เข็มตักให้ห่างจากขอบแผลประมาณ 1 เซนติเมตร และลึกลงข้างใต้แผลประมาณ 1 ซม. หรือมากกว่า แล้วแต่ความลึกของแผล เพื่อป้องกันไม่ให้เหลือช่องว่างใต้แผล การเย็บวิธีนี้ทำได้ง่ายและเร็ว ใช้เย็บเยื่อบุผนังช่องคลอด กล้ามเนื้อของช่องคลอดและฝีเย็บ
Horizontal figure-of-eight suture (การเย็บรูปเลข 8 ) ใช้เย็บจุดเลือดออก เย็บ rectus sheath และแผลอื่น ๆ แทนการเย็บแบบที่ 1 ได้
Continuous non-locking ใช้ไหมเส้นเดียวเย็บตลอดความยาวของแผลแล้วจึงผูกปม วิธีนี้ทำได้ง่าย ใช้เย็บเนื้อเยื่อที่ไม่ต้องการแรงยึดมากนัก เช่น เนื้อเยื่อและไขมันใต้ผิวหนัง
Continuous lock วิธีเย็บคล้ายกับแบบ simple suture แต่ใช้ไหมเส้นเดียวกันเย็บตลอดความยาวของแผล ใช้เย็บในรายที่ต้องการให้ส่วนที่เย็บตึงมากกว่าวิธีที่ 3 เป็นการช่วยให้เลือดหยุด ใช้เย็บเยื่อบุผนังช่องคลอด กล้ามเนื้อของช่องคลอดและฝีเย็บ
Subcuticular stitch ใช้เย็บชั้นใต้ผิวหนัง เริ่มต้นจากมุมแผล แล้วใช้เข็มแทงใต้ผิวหนังเข้าไปห่างจากขอบอย่างน้อย 0.3 เซนติเมตร เข้าและออกในขอบแผลทั้งสองข้างที่ระดับเดียวกันจนถึงมุมแผลอีกข้างจึงผูกปม การเย็บวิธีนี้มีข้อดี คือ แผลเล็ก เรียบ สวยงาม แต่มีข้อเสีย คือ ถ้าแผลไม่ตื้นพอจะทำให้มีช่องว่างใต้ผิวหนังมาก อาจเกิดก้อนเลือดคั่งข้างในและแผลไม่ติด
-